Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 …
บทที่ 6
แบบเรียนและวรรณกรรมสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงปัจจุบัน (รัชกาลที่ 6-9)
การพัฒนาหลักสูตรสมัยพระราชบัญญัติ
ประถมศึกษา
เมื่อปี พ.ศ.2464 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 นั้นประเทศไทยได้ใช้หลักสูตรการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.2456 อยู่แล้ว หลักสูตรนั้นเรียกว่า “หลักสูตรหลวง”
ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ประกาศใช้แผนการศึกษาปี พ.ศ.2475
โดยยึดแนวหลักสูตรหลวงเป็นหลักกำหนด รวมเวลาที่ผู้เรียนต้องเรียน
ตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมัธยมตอนปลาย 12 ปี
พ.ศ. 2479 ได้มีการปรับปรุงแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปี 2475
รวมเวลาเรียนในสายอาชีวศึกษา(ไม่รวมอนุบาล) 13 ปี
ในปี พ.ศ. 2497 และ 2503 ได้มีการเปลี่ยนแปลงหนังสือแบบเรียนเป็นอย่างมาก หลักสูตรการศึกษาของไทยที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงคือ หลักสูตรฉบับปี 2521 รวมระยะเวลาเรียน 12 ปี หลักสูตร พ.ศ. 2521
เป็นหลักสูตรที่ใช้มาจนถึงปี พ.ศ. 2551 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศใช้หลักสูตรใหม่เรียกว่า “หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551” ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศที่มีการใช้จนถึงปัจจุบัน
การพัฒนาหนังสือแบบเรียนภาษาไทย
ในสมัยพระราชบัญญัติประถมศึกษา
เป็นหนังสือแบบเรียนที่กระทรวงธรรมการอนุญาตให้พิมพ์ใช้ในโรงเรียน หลังจากที่ผู้เขียนส่งต้นฉบับให้กระทรวงธรรมการตรวจสอบแล้ว
เป็นหนังสือแบบเรียนที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงธรรมการ หลังจากที่โรงเรียน
พิจารณาเห็นว่าหนังสือเล่มนั้นแต่งดีและถูกต้อง
เป็นหนังสือแบบเรียนที่กรมราชบัณฑิต กระทรวงธรรม
การจัดพิมพ์ขึ้น โดยมีตราแผ่นดินพิมพ์ติดไว้ที่หน้าปก
วรรณกรรมสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองถึงสมัยปัจจุบัน
สาเหตุและเหตุการณ์ที่สำคัญแล้วส่งผลต่อความเจริญด้านวรรณกรรมนับตั้งแต่สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองถึงสมัยปัจจุบัน
การตั้งวรรณคดีสโมสร
การประกวดผลงานวรรณกรรม
ความนิยมในการอ่านฯลฯ
ความเปลี่ยนแปลงของอุดมการณ์ทางการเมือง
ความแพร่หลายทางด้านการพิมพ์หนังสือและวารสาร
รัชกาลที่6 ทรงแปลบทละครที่มีชื่อเสียงของวิลเลียม
เชคสเปียร์ กวีชาวอังกฤษไว้หลายเรื่อง เช่น เวนิสวานิช ตามใจท่าน ฯลฯ แล้วยังทรงแต่งบทละครของไทย บทพระราชนิพนธ์มีทั้งบันเทิงคดีและสารคดีหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง นอกจากรัชกาลที่ 6 แล้ว ยังมีกวีและนักปราชญ์ราชบัณฑิตอีกจำนวนมากซึ่งสร้างผลงานต่อเนื่องมาจากสมัยปฏิรูปการศึกษา
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 8 วรรณกรรมตะวันตกประเภทร้อยแก้วทั้งบันเทิงคดี
และสารคดีเข้ามามีอิทธิพลต่อผลงานของนักเขียนไทยมากขึ้น ตลอดจนมีการแปลหนังสือที่ดีๆจำนวนมาก
รัชกาลที่ 9 ในปัจจุบันแม้จะทรงมีพระราชกรณียกิจมากมาย แล้วยังมีพระราชนิพนธ์เรื่องพระมาหาชนก อันเป็นพระชาติที่ 2
จากทศชาติชาดก ซึ่งขณะนี้ใช้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
แบบเรียนสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองถึงสมัยปัจจุบัน
แบบเรียนเลือกที่ใช้ระหว่างพ.ศ. 2499 ถึง พ.ศ. 2520
หนังสือดรุณศึกษาของภราดา ฟ.ฮีแลร์
แบบเรียนเร็วใหม่ของหลวงดรุณกิจวิฑูรและนายฉันท์ ขำวิไล
แบบเรียนชุดบันไดก้าวหน้า (เรณู-ปัญญา) ของนายกี่ กีรติวิทโยฬาร
ชุดแบบสอนอ่านมาตรฐานของนายยง อิงคเวทย์
แบบสอนอ่านภาษาไทยชุดสุดากับคาวีของ นายอภัย จันทวิมล
แบบหัดอ่านหนังสือไทยของพระวิภาชน์วิทยาสิทธิ์
สาระสำคัญเนื้อหาแบ่งเป็น 2 เล่ม
เล่มต้นเริ่มตั้งแต่หัดอ่านบทที่ 1 ถึงหัดอ่านบทที่ 28 เนื้อหาเป็นการประสม
พยัญชนะกับสระในมาตราแม่ ก กามีการผันวรรณยุกต์และเปรียบเทียบเสียงการผันอักษรในไตรยางค์
เล่มปลาย เริ่มจากหัดอ่านบทที่ 29 ถึงหัดอ่านบทที่ 64 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ต่าง ๆ สอนการอ่านอักษรนนำอักษรควบกล้ำและคำยากต่างๆ
สยามไวยากรณ์(หลักภาษาไทย)ของพระยาอุปกิตศิลปสาร
เนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 เล่ม
วจีภาค
วากยสัมพันธ์
อักขรวิธี
ฉันทลักษณ์
แบบเรียนเร็วใหม่ของหลวงดรุณกิจวิฑูร (ชด เมนะโพธิ) และนายฉันท์ ขำวิไล
สาระสำคัญเนื้อหาแบ่งออกเป็น3ตอนได้แก่
ตอนกลางมี 8 บท ตั้งแต่บทที่ 17 ถึง บทที่ 24
ตอนปลายมี 12บท จากบทที่ 25 ถึง บทที่ 36
ตอนต้นมี 16 บท เริ่มจากบทที่ 1 ถึง บทที่16
แบบเรียนชุดบันไดก้าวหน้าของนายกี่ กีรติวิทโยฬาร
สาระสำคัญเนื้อหาแบ่งเป็น 4 เล่ม คือ
เล่ม 2 ตอนต้น เรื่องฝนตกแดดออก
เล่ม 3 ตอนกลาง เรื่องเที่ยวรถไฟ (ต้นทาง)
เล่ม 1 ตอนเริ่มอ่านเรื่องไปโรงเรียน
เล่ม 4 ตอนกลาง เรื่องเที่ยวรถไฟ (ปลายทาง)
แบบหัดอ่านหนังสือไทยของ
พระวิภาชน์วิทยาสิทธิ์
กระทรวงศึกษาธิการได้กลับมา
ประกาศให้ใช้เป็นแบบเรียนบังคับอีกในชั้นประถมปีที่ 1-2 เมื่อ พ.ศ. 2499 ถึง พ.ศ. 2520 จึงเลิกใช้
แบบเรียนภาษาไทย เล่ม 1 ถึง 5 ของกระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3-7 ตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2503
หนังสือเรียนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับชั้นประถมปีที่ 1-6 ตามหลักสูตร
ประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ชั้นละ 2 เล่ม
เล่ม 1 ใช้เรียนในภาคเรียนที่ 1
เล่ม 2 เรียนในภาคเรียนที่ 2
หนังสือเรียนภาษาไทยชุดทักษสัมพันธ์ เล่ม 1-3
ของกระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ชั้นละ 1 เล่ม
หนังสือเรียนภาษาไทยชุดพื้นฐานภาษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ลักษณะเนื้อหา
หนังสือเรียนชั้น ป. 3-6 เนื้อหาเป็นเรื่องทั่วๆ ไป ที่กว้างและไกลตัวเด็กออกไปรวมถึงร้อยกรองที่ตัดตอนมาจากวรรณกรรมสมัยต่างๆ
หนังสือเรียนชั้น ป. 1-2 เนื้อหาเป็นเรื่องทั่วๆ ไป ที่ใกล้ตัวเด็กรวมทั้งเหตุการณ์ต่างๆซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
หนังสือเรียนภาษาไทยชุดวรรณสารวิจักษณ์ เล่ม 1-4
ของกระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 ชั้นละ 2 เล่ม ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย
หนังสือเรียนภาษาไทยชุดวรรณลักษณวิจารณ์ เล่ม 1-2
ของกระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 เล่ม ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย