Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและมีปัญห…
บทที่ 3
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม
บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและมีปัญหาฆ่าตัวตาย
ความหมายของบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้า หมายถึง การที่บุคคลมีพฤติกรรมที่เกิดจากภาวะจิตใจที่หม่นหมอง หดหู่ เศร้า สร้อย ท้อแท้ สิ้นหวัง และมองโลกในแง่ร้าย
ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้า
1) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย มักเปลี่ยนแปลงได้ ดังนี้
นอนไม่หลับเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นอาการแรกสุดก่อนที่มีอาการอื่นเกิดขึ้น
ผู้ป่วยร้อยละ 25 จะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย โดยไม่ทราบสาเหตุ
เบื่ออาหาร การรับรสชาติเปลี่ยนแปลง ไม่อยากอาหาร
ผู้ป่วยร้อยละ 25 น้ำหนักตัวลดลง ดูซูบซีด แก่ดูแก่กว่าอายุจริง
ท้องผูก เนื่องจากการรับประทานอาหารน้อย และร่างกายเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ
ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติ หรือประจำเดือนมาไม่ สม่ำเสมอ
ความต้องการทางเพศลดลง
2) ความสนใจในตนเองลดลง มักพบการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
มีอาการเศร้า เป็นสำคัญ มีความรู้สึกหดหู่ใจ ไม่สดชื่น ไม่แจ่มใส
รู้สึกอยากจะร้องไห้ หรือร้องไห้ง่าย
รู้สึกว่า ตนเองไร้คุณค่า ไม่มีประโยชน์ต่อสังคม อาจทำร้ายตนเอง
ผู้ป่วยร้อยละ 75 หงุดหงิดง่าย และมีความรู้สึกขี้กลัว
มีความคิดเชื่องช้าลง ขาดสมาธิจำอะไรไม่ค่อยได้
มักคิดหมกหมุ่นเกี่ยวกับตนเอง
มีพฤติกรรมที่สื่อในการทำลายข้าวของ และทำร้ายตนเอง
3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม มักจะพบว่า ผู้ป่วยมีความสนใจสิ่งแวดล้อมลดลง ถอยหนีจาก สังคม ไม่ชอบงานสังสรรค์หรืองานรื่นเริง หรือไม่ชอบไปในที่ชุมชน
สามารถจำแนกระดับความรุนแรงของบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้า ได้เป็น 3 ระดับ
ภาวะซึมเศร้าระดับอ่อน (mild depression/blue mood) คือ ภาวะอารมณ์ที่ไม่สดชื่น หม่นหมอง
ภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง (moderate depression/neurotic depression) คือ ภาวะ อารมณ์ซึมเศร้าที่รุนแรงขึ้นกว่าระดับอ่อน จนถึงขั้นกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติภารกิจประจำวัน
ภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง (severe depression/Psychotic depression) คือ ภาวะของ อารมณ์ซึมเศร้าที่รุนแรงอย่างมาก มีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมโดยทั่วๆ ไป อย่างเห็นได้ชัดเจน
ความหมายของบุคคลที่มีปัญหาฆ่าตัวตาย
การฆ่าตัวตาย (suicide) หรือใช้คำว่า อัตวินิบาตกรรม หมายถึง การที่บุคคลมีความคิดอยากทำ ร้ายตนเอง และพยายามทำให้ชีวิตของตนเองสิ้นสุดลงด้วยวิธีการต่างๆ ที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ การฆ่าตัวตายถือเป็น พฤติกรรมที่ผิดปกติ และมีพยาธิสภาพทางจิตใจ
ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีปัญหาฆ่าตัวตาย
1) บุคคลจะพยายามทำร้ายตนเองด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มผู้ที่ที่พยายามทำร้ายตนเอง แต่ไม่ได้หวังผลจะให้ตายจริงๆ และอาจพยายามทำบ่อยครั้ง
2) บุคคลกลุ่มนี้มีความคิดซ้ำๆ ที่จะทำร้ายตนเอง
3) บุคคลกลุ่มนี้จะมีอารมณ์ซึมเศร้าชัดเจน มีความมุ่งมั่นที่จะฆ่าตัวตายให้สำเร็จ
ปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
บุคคลที่แต่งงานและมีบุตร มีอัตราการฆ่าตัวตายน้อยกว่า บุคคลที่มีสถานะโสด แยกทาง หย่า ร้าง หรือหม้าย
เพศหญิงมีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าเพศชาย แต่พบว่า เพศชายจะฆ่าตัวตายสำเร็จ มากกว่าเพศหญิง
เมื่อบุคคลอายุเพิ่มมากขึ้นจะมีภาวะเสี่ยงในการฆ่าตัวตายมากขึ้น
บุคคลที่พยายามฆ่าตัวตายมีประวัติว่า บุคคลในครอบครัวเคยมีบุคคลฆ่าตัวตายมาก่อน
บุคคลที่โรคเรื้อรัง หรือเป็นโรคที่มีความทุกข์ทรมานมาก
บุคคลที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ
สาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย
สาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้า อธิบายได้ 2 แนวคิด ดังนี้
1) แนวคิดด้านกลไกทางจิตใจ อธิบายว่า ผู้ที่มีพฤติกรรมซึมเศร้า
มีสาเหตุสำคัญมาจากความเจ็บปวดที่เกิดจากความสูญเสีย (loss) ในสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง
2) แนวคิดด้านการเปลี่ยนแปลงของสารชีวเคมีในร่างกาย จากการศึกษาทางชีวเคมี พบว่า ผู้ที่มี พฤติกรรมซึมเศร้าเกิดจาการลดน้อยลงของสารจำพวกไบโอจินิก อะมีนส์ (biogenic amines) ในทางระบบ ประสาทส่วนกลาง
สาเหตุการฆ่าตัวตาย ยังไม่มีการอธิบายไว้อย่างชัดเจนนัก แต่มีการกล่าวถึงไว้มีหลายปัจจัย ด้วยกัน ดังนี้
1) สาเหตุด้านชีวภาพ
ชีววิทยาของการฆ่าตัวตาย (biochemical factors) จากการศึกษาพบว่า มีระดับสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอารมณ์ซึมเศร้าในน้ำไขสันหลังมีระดับต่ำลง
การเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย (medical factors) มักพบในผู้ป่วยที่มีการเจ็บป่วยทางกายที่เรื้อรังที่มีความทุกข์ทรมาน
2) สาเหตุด้านจิตใจ
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory)ซิกมัน ฟรอยด์(Sigmund Freud) ได้อธิบายถึงการฆ่าตัวตายว่าเป็นการทำงานของจิตใต้สำนึก
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory) กลุ่มแนวคิดนี้ อธิบายการ ฆ่าตัวตาย ว่าเป็นผลมาจากการเรียนรู้ต่อสิ่งเร้าที่เป็นอันตราย (Noxious Stimulus) ว่าไม่สามารถแก้ไขได้
สาเหตุทางด้านสังคม ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลได้อธิบายถึง การฆ่าตัวตายเกิด จากสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่ไม่ดีในระยะ 2 ปีแรกของช่วงชีวิต
สาเหตุด้านจิตวิญญาณ บุคคลที่ขาดที่พึ่ง หรือสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ที่ช่วยเชื่อมโยงความคิด ความรู้สึกทุกข์ทรมานทางใจ กับพลังชีวิตจากภายใน จะทำให้บุคคลรู้สึกโดเดี่ยวและสิ้นหวัง ไม่สามารถ มองเห็นศักยภาพของตนเองได้ ทำให้บุคคลขาดพลังงานในชีวิต
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาการฆ่าตัวตาย
1) การประเมินพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย
ข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
อาการและอาการแสดง เช่น มีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง รู้สึกไม่มีคุณค่าในตนเอง
มีความตั้งใจ/มีการวางแผนการฆ่าตัวตายอย่างชัดเจน
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
จะมุ่งเน้นการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายหรือการฆ่าตัวตายซ้ำ การส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าใน ตนเอง และกระตุ้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย
3) กิจกรรมทางการพยาบาล
• การเฝ้าระวัง หรือป้องกันการฆ่าตัวตาย
• ส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วย
• การส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
• ฝึกทักษะการเผชิญปัญหาในชีวิตอย่างสร้างสรรค์
4) การประเมินผลทางการพยาบาล ข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่า การพยาบาลได้ผลในทางบวก ได้แก่
ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่มีพฤติกรรมการพยายามฆ่าตัวตาย
ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเพิ่มมากขึ้น
ผู้ป่วยสามารถตั้งเป้าหมายในชีวิต และมีความหวังในชีวิตมากยิ่งขึ้น
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้า
1) การประเมินภาวะซึมเศร้า
ประเมินระดับความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า ตั้งแต่ภาวะซึมเศร้าระดับอ่อนจนถึงระดับ รุนแรง โดยเฉพาะพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง
ประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วย
ประเมินการดูแลตนเองด้านสุขอนามัย และกิจวัตรประจำวัน
ประเมินความสนใจในสิ่งแวดล้อม
ประเมินการได้รับสารอาหาร และน้ำเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
ประเมินความสมดุลระหว่างการทำกิจกรรม และการพักผ่อนตามความต้องการของ ร่างกาย
ประเมินบุคลิกภาพ และรูปแบบการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยที่เคยใช้มา
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
จะมุ่งเน้นการลดภาวะซึมเศร้า และป้องกันการทำร้ายตนเองเป็นสำคัญ การกำหนด เป้าหมายระยะสั้น เพื่อลดภาวะซึมเศร้า เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
3) กิจกรรมการพยาบาล
การลดภาวะซึมเศร้า
การป้องกันการทำร้ายตนเองและผู้อื่น
การส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองให้แก่ผู้ป่วย
การส่งเสริมการดูแลตนเองด้านสุขอนามัย และกิจวัตรประจำวัน
การส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม
การสอน และฝึกทักษะการเผชิญปัญหา เพื่อปรับปรุงบุคลิกภาพให้ผู้ป่วยเข้มแข็งมากขึ้น
สอน และให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมของผู้ป่วย
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
การประเมินผลทางการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า
ผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าลดลง โดยสังเกตจากสีหน้าผู้ป่วยว่า สีหน้าแจ่มใสมากขึ้น สนใจบุคคล อื่น และสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น
ผู้ป่วยและผู้อื่นปลอดภัย ไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
ผู้ป่วยพูดถึงตนเองด้วยความพอใจ
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
นางสาวธารารัตน์ มีวงษ์ 180101119