Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสร้างสัมพันธภาพ และการสื่อสารเพื่อการบำบัด, นศพต.รวิสรา ราเหม เลขที่…
การสร้างสัมพันธภาพ
และการสื่อสารเพื่อการบำบัด
การตระหนักรู้ในตนเอง และการสื่อสารเพื่อการบำบัด
ความหมาย
คือ ความสามารถในการใช้บุคลิกภาพและความเป็นตัวตนของบุคคลอย่างมีสติ และมีการตระหนักรู้อย่างเต็มที่ในการพยายามที่จะสร้างสายสัมพันธ์กับผู้ป่วย
มโนมติพื้นฐานในการรู้จักและเข้าใจตนเอง
อัตตาหรือความเป็นตัวของตนเอง (Self)
ส่วนรวมทั้งหมดของบุคคล ที่บุคคลนั้นเป็นอยู่ หรือมีอยู่ตามความจริง
ร่างกาย
ความเชื่อ
ความคิด
ค่านิยม
ความรู้สึก
พฤติกรรม
อัตมโนทัศน์ (Self Concept)
การรับรู้และการประเมินผลที่บุคคลมีต่อตนเอง
ตัวตนด้านร่างกาย
สรีรภาพ
การรับรู้ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย
ความสามารถในการควบคุมการทำหน้าที่ของร่างกาย
ตัวตนส่วนบุคคล
ตัวตนด้านศีลธรรม
ตัวตนด้านความสม่ำเสมอแห่งตน
ตัวตนด้านปนิธานหรือความคาดหวัง
ตัวตนด้านการยอมรับนับถือตนเอง
ความตระหนักในตนเอง (Self-awareness)
1. การรับรู้รูปแบบของตน
แนวคิดของโรเจอร์ส
ตัวตนของบุคคล
ตนตามที่รับรู้
ตนตามความเป็นจริง
ตนตามอุดมคติ
แนวคิดของโบลส์
และดาเวนพอร์ท
ตนตามที่คาดหวัง
ตนตามการรับรู้
ตนตามความเป็นจริง
ตนตามที่ผู้อื่นคาดหวัง
ตนตามที่ผู้อื่นรับรู้
2. การรู้จักตนในบริบทของสิ่งแวดล้อม
แนวคิดของ Johari window
1. บริเวณที่เปิดเผย
เรารู้และคนอื่นก็รู้ด้วยย ตรงตามที่เราเป็นอยู่ว่าเราเป็นคนลักษณะแบบไหน
2. บริเวณจุดบอด
คนอื่นมองห็นว่าเราเป็นคนอย่างไร แต่เราไม่รู้หรือไม่ได้ตระหนักว่าเราเป็นอย่างที่คนอื่นมอง
3. บริเวณความลับ
เราพยายามปกปิดไม่ให้คนอื่นรู้ เพราะความคิด ความรู้สึกหรือพฤติกรรมบางอย่างไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม
4. บริเวณอวิชชา
เป็นส่วนที่เราเองไม่รู้ คนอื่นก็ไม่รู้ อาจเปิดเผยได้โดยใช้วิธีการทางจิตวิทยาในการวิเคราะห์ เพื่อดึงขึ้นมาสู่ระดับจิตสำนึก
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปิดเผยตนเอง
เพศหญิงมักเปิดเผยตนเองมากกว่าเพศชาย
ลักษณะคนในแต่ละวัฒนธรรม เปิดเผยตนเองต่างกัน
คนที่เข้าสังคมเก่ง มักเปิดเผยตนเองมากกว่าคนที่ชอบเก็บตัว
คนที่มีศักายภาพสูงเปิดเผยตนมากกว่าคนที่มีศักายภาพต่ำ
ขนาดของกลุ่ม
คนที่เราชอบและไว้ใจ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเอง
ความต้องการขั้นพื้นฐานของพยาบาล
มีความต้องการทางด้านร่างกาย
มีความต้องการทางด้านจิตใจ
ประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้สึกที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และความรู้สึกที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
ค่านิยม,ความเชื่อ,ทัศนคติของพยาบาล
ประโยชน์ที่ได้จากการตระหนักรู้ในตนเอง
ทำให้ทราบถึงความเครียดที่ตนมีอยู่ และสามารถควบคุมความเครียดได้
ทำให้ติดต่อกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะรู้ตัวอยู่ทุกขณะในการทำงาน
เงื่อนไขที่สำคัญในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
สัมพันธภาพ(relationship)
หมายความถึง กระบวนการนำ สัมพันธภาพ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปทําความรู้จักกัน ติดต่อสัมพันธ์ สร้างความคุ้นเคย
แนวคิดการสร้างสัมพันธภาพ
และการสื่อสารเพื่อการบำบัด
Sullivan เชื่อว่าปัญหาทางด้านจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วยจิตเวชที่แสดงออกมาเนื่องมาจากปัญหาของสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
Peplau และ Sullivan ให้ความสําคัญของการพัฒนาความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลเพื่อแก้ไขปัญหาให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีที่จะสร้างสัมพันธภาพได้อย่างเหมาะสม จากการสร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย
การปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช จึงเน้นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ประเภทสัมพันธภาพ
สัมพันธภาพทางสังคม
การดําเนินของสัมพันธภาพเป็นไปตามความต้องการร่วมกัน อาจมีวัตถุประสงค์หรือไม่มีวัตถุประสงค์
ค่านิยมขึ้นนอยู่กับปทัสถานของสังคม
จุดมุ่งหมายอาจจะไม่มีโดยเฉพาะเจาะจง หรืออาจเพื่อ ความพึงพอใจร่วมกัน
การพบกันไม่สม่ำเสมอ แล้วแต่โอกาสหรืออาจมีแผนการ
ทุกคนมีส่วนร่วมในการกําหนดการดําเนินของสัมพันธภาพ
ระยะเวลาในการพบไม่มีหลักเกณฑ์กําหนดแน่นอน
สัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
มีวัตถุประสงคเพื่อช่วยผู้ป่วยเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ
พยาบาลยอมรับผู้ป่วยโดยไม่ตัดสิน
จุดมุ่งหมายที่กำหนดขึ้นร่วมกันเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย
มีการวางแผนเพื่อพบผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอกําหนดวันและเวลาชัดเจน
พยาบาลเป็นผู้รับผิดชอบในการกําหนดแบบแผนการดําเนินการของสัมพันธภาพ
ระยะเวลาในการพบ การสิ้นสุด มีหลักเกณฑ์กําหนดแน่นอน
วัตถุประสงค์ของสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
N.สำรวจ+ความเข้าใจ ความคิดความรู้สึกพฤติกรรมและปัญหาของPt.
N.ให้ข้อมูล(information) ข้อเท็จจริง(Fact) แก่ผู้ป่วย
Pt.ตระหนักในความคิด ความรู้สึก พฤติกรรม และปัญหาของตัวเอง
Pt.ได้ใช้ศักายภาพของตน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
คุณลักษณะจำเป็นที่พยาบาลพึงมี
การยอมรับ(Acceptance)
คือ การที่พยาบาลยอมรับความคิดความรู้สึกละพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของผู้ป่วยป่วยโดยไม่ตัดสินหรือตำหนิ
ความสม่ำเสมอ(Consistency)
คือความสม่ำเสมอของพยาบาลที่ติดต่อ พูดคุย หรือพบกับผู้ป่วย
ความจริงใจ(Genuine)
ความจริงใจของพยาบาลที่จะ ให้การช่วยเหลือทั้งคำพูดและการแสดงออก
หลักการและขั้นตอนของการ
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
1. การสร้างสัมพันธภาพต้องกำหนดขอบเขตของการสร้างสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ
ระบุขอบเขตของสัมพันธภาพให้ชัดเจน
ดำรงรักษาให้เป็นสัมพันธภาพเชิงช่วยเหลือ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยประเมินเป้าหมาย
อธิบายความคาดหวังให้ผู้ป่วยทราบ
จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อผู้ป่วยเพื่อการสืบค้นปัญหาของตน
พยาบาลจะต้องทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเป็นผู้สนับสนุนเท่านั้น
2. การสร้างสัมพันธภาพจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการยอมรับในศักดิ์ศรี และความมีคุณค่าของความเป็นมนุษย์ผู้ป่วย
การมีปฏิสัมพันธ์ของระดับพัฒนาการ
การสื่อสารต้องเหมาะสม
ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมอย่างพอใจ
มีการให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างเหมาะสม
มีการยอมรับในพฤติกรรมต่างๆของผู้ป่วย
3.หัวใจของการสร้างสัมพันธภาพ จะต้องอยู่ที่การสร้างความไว้วางใจ
พุดจริงทำจริง พูดในสิ่งที่ทำได้
ช่วยในการปรับแบบแนวคิดการติดต่อกับผู้อื่น
ให้ข้อมูลย้อนกลับที่เป็นจริง
คำพูดสอดคล้องกับการกระทำ
4. การสร้างสัมพันธภาพในผู้ป่วยที่มีปัญหาจิตสังคม
ให้ผู้ป่วยสนทนาเรื่องที่สนใจ
ใช้เทคนิคการสนทนาให้เหมาะสม
ให้ความสนใจเนื้อหาและกระบวนการสื่อสาร
กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้พูดและระบายความรู้สึก
5. การใช้เทคนิคการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ
เน้นการเป็นผู้ฟังที่ดีและกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก
ช่วยให้กล่าวถึงความคิดและความรู้สึกอย่างชัดเจน
ชี้แนะเพื่อกระตุ้นการแสดงออก
ใช้คำถามปลายเปิด
ไวต่อความรู้สึก
ใช้ความเงียบที่เหมาะสม
6. การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดในระยะแรก เน้นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ระบายอารมณ์และนำสู่การเข้าใจอารมณ์ของตนเอง
กระตุ้นให้ใช้คำพูดเกี่ยวกับอารมณ์ได้ชัดเจน
ใช้คำภามสืบค้นความรู้สึก
ใช้เทคนิคในการกระตุ้นความรู้สึกและเข้าใจอารมณ์ของตนเอง
7. การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดด้วยการเสริมสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมในผู้รับบริการ เน้นที่การกระตุ้นด้วยการเรียนรู้ใหม่
อธิบายเหตุการณ์
ส่งเสริมวิธีการผสทผสานวิธีการปรับตัวใหม่กับการดำรงชีวิตประจำวัน
หาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์กับประสบการณ์จริง
รับรู้แบบแผนการปรับตัว
เลือกวิธีการปรับตัวที่เหมาะสม
องค์ประกอบของสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
การสร้างความไว้วางใจ
การยอมรับ
ความจริงใจ
มีความรู้สึกในแง่ดี
การเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย
การตระหนักรู้ในตนเองและการใช้ตนเองเพื่อการบำบัด
ขั้นตอนการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
การเตรียมการสร้างสัมพันธภาพ
การเริ่มต้นสร้างสัมพันธภาพ
เป้าหมาย
เพื่อความไว้วางใจในพยาบาล
กำหนดข้อตกลงในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
เพื่อประเมินความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้ป่วย
เพื่อลดปัญหาในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
สิ่งที่พยาบาลพึงปฏิบัติ
การสร้างความไว้วางใจ
การกำหนดข้อตกลงในสัมพันธภาพ
การรักษาความลับของผู้ป่วย
การบอกถึงการสิ้นสุดสัมพันธภาพ
ระยะการแก้ไขปัญหา
เป้าหมาย
เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
สิ่งที่พยาบาลพึงปฏิบัติ
การรักษาความไว้วางใจ และสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย
การรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยให้มากขึ้น
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับรู้ปัญหาของตนตามความเป็นจริง
ช่วยให้ผู้ป่วยพัฒนาการเข้าใจตนเอง
ช่วยอำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เตรียมผู้ป่วยสำหรับการยุติสัมพันธภาพ
ระยะการยุติสร้าง
สัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
สาเหตุของการยุติสัมพันธภาพ
มีอาการดีขึ้น ปรับตัวได้
กลับบ้าน/ย้ายไปตึก รพ.อื่น
หมดเวลาฝึกปฏิบัติงาน
ปฏิกิริยาของผู้ป่วยในระยะยุคิสัมพันธภาพ
แสดงพฤติกรรมถดถอย
แสดงพฤติกรรมโกรธ
แสดงพฤติกรรมการยอมรับ
เป้าหมาย
เพื่อการประเมินผลความสำเร็จของเป้าหมาย
เพ่อตรวจสอบให้แน่ใจถึงการยุติการบำบัด
สิ่งที่พยาบาลพึงปฏิบัติ
ประเมินและสรุปผลการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดที่เกิดขึ้น
มีการวางแผนในการบำบัดรักษา
เทคนิคการสื่อสารเพื่อการบำบัด
เทคนิคที่ช่วยส่งเสริมความมีคุณค่า
การแสดงการระลึกได้ จำได้
(giving recognition
การแสดงความรู้จัก ความสนใจ และยอมรับความเป็นบุคคลของผู้ป่วย เน้นความมีคุณค่าและการให้เกียรติ
ตัวอย่าง : “สวัสดีค่ะคุณ ก.วันนี้คุณตัดผมใหม่”
การยอมรับ
(accepting or showing acceptance)
การแสดงการยอมรับและเข้าใจความรู้สึก ความคิดพฤติกรรมของผู้ป่วยซึ่งการยอมรับนี้ไมม่ได้หมายถึงการเห็นด้วยกับผู้ป่วย แต่เป็นการยอมรับผู้ป่วยในขณะที่ติดต่อสื่อสารกัน
ตัวอย่าง : “ค่ะ ฉันกำลังฟังอยู่ค่ะ”
การเสนอตัวเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย
(offering self)
การที่พยาบาลเสนอความตัวเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยความจริงใจ และสม่ำเสมอ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะไม่ขอความช่วยเหลือหรือยังไม่พร้อมจะสื่อสารกับพยาบาล ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอบอุ่นและมีค่า ไม่ถูกทอดทิ้ง
ตัวอย่าง : "ฉันจะนั่งคุยเป็นเพื่อนคุณนะคะ"
เทคนิคที่กระตุ้นการเปิดเผยตนเอง
การใช้คำถามกว้างๆ
(giving broad opening state)
เป็นคำถามปลายเปิด ไม่ได้มีการระบุไปยังเรื่องใดเรื่องหนึ่งส่วนใหญ่นามาใช้ในการเริ่มต้นการสนทนา
ตัวอย่าง : "มีอะไรที่ทาให้คุณกังวลใจบอกได้นะคะ"
การใช้คำถาม
(Questioning)
การใช้คำถามปลายเปิด (Open-ended question)ลักษณะคำถามจะเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยแสดงความคิดเห็น และความรู้สึกในเรื่องที่พยาบาลถาม ควรหลีกเลี่ยงคำว่า“ทำไม (Why)”เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกว่าถูกขู่เข็ญ คุกคาม หรือถูกตำหนิจากพยาบาล
ตัวอย่าง : “วันนี้มีอะไรที่ทาให้คุณรู้สึกไม่สบายใจบ้าง”
การใช้คำถามปลายปิด (Closed-ended question)ลักษณะคำถามจะสั้นๆและต้องการคำตอบที่เฉพาะเจาะจงไม่ให้โอกาสผู้ป่วยแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึก ควรใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ค่อยพูดหรือแยกตัวเท่านั้น
ตัวอย่าง : “คุณอยากจะไปเข้ากลุ่มกับเพื่อนหรือไม่”
การกระตุ้นให้พูดต่อ
(giving general lead)
การกระตุ้นให้ผู้ป่วยพูดต่อขณะที่สนทนา เพื่อทำให้การสนทนาดาเนินต่อไปและทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าพยาบาลให้ความสนใจตั้งใจฟัง และต้องการให้ผู้ป่วยพูดต่อ
ตัวอย่าง : “เล่าต่อซิคะ”
ใช้ในกรณีที่เกิดการหยุดชะงักความคิด (Blocking) คิดไม่ออกว่ากาลังพูดเรื่องอะไร
ตัวอย่าง : “คุณไม่ชอบที่พี่ชายไปบอกแม่ แล้วอย่างไรต่อคะ”
มีเหตุการณ์ที่ขัดจังหวะการสนทนาพยาบาลจึงทบทวนเรื่องเดิมแล้วใช้เทคนิคการกระตุ้นให้พูดต่อ
ตัวอย่าง : “เมื่อสักครู่คุณพูดว่าคุณอยากกลับบ้านไปเรียนหนังสือต่อ แล้วอย่างไรต่อไปคะ”
การค้นหาข้อมูลให้มากขึ้น
(exploring)
การเจาะลึกเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้ป่วยกล่าวถึงอย่างผิวเผินไม่ชัดเจน
ตัวอย่าง : "คุณช่วยเล่าเหตุการณ์ตอนที่...หน่อยซิคะ"
การใช้ความเงียบ
(using silence)
การใช้ความเงียบขณะสนทนาเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้รวบรวมความคิดทบทวนสิ่งที่พูดไป แล้วและสิ่งที่จะพูดต่อไปนอกจากนี้ยังได้ตระหนักถึงอารมณ์ของตนขณะสนทนา
การบอกกล่าวสิ่งที่สังเกตเห็นในตัวผู้ป่วย
(making observation or sharing observation)
การที่พยาบาลสังเกตเห็นหรือรับรู้ในตัวผู้ป่วย โดยเฉพาะกิริยาท่าทางที่แสดงออกถึงอารมณ์ของผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยทราบเพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยสำรวจตนเองและบอกถึงความรู้สึกของตนในขณะนั้น
ตัวอย่าง : "เสียงคุณสั่นตอนเล่าเรื่องลูกที่แท้งไป"
เทคนิคที่ช่วยทาความเข้าใจซึ่งกันและกัน
การทวนซ้า
(restating)
เป็นการกล่าวซ้าในเนื้อหาคาพูดของผู้ป่วย
ตัวอย่าง : “อยู่โรงพยาบาลไม่เห็นดีเลย อยากกลับบ้าน”
การสะท้อนความรู้สึก
(Reflecting)
การพูดสะท้อนกลับในสิ่งที่ผู้ป่วยพูดซึ่งเป็นการสะท้อนความรู้สึกของผู้ป่วย
ตัวอย่าง : "คุณรู้สึกราคาญที่ถูกถามบ่อยๆ"
การขอความกระจ่าง
(seeking clarification or clarifying)
การขอให้ผู้ป่วยอธิบายในสิ่งที่ยังคลุมเครือ หรือมีความหมายไม่ชัดเจนให้กะจ่าง
ตัวอย่าง : "ที่คุณบอกว่าเขาหมายถึงใครคะ" / "เขาคือใคร"
การตรวจสอบความเข้าใจตรงกัน
(validating or seeking consensual validation)
การตรวจสอบความเข้าใจของพยาบาลว่าตรงกับความรู้สึกหรือสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการจะสื่อสารกับพยาบาลหรือไม่
ตัวอย่าง : "คุณรู้สึกสบายใจขึ้นแล้วใช่ไหมคะที่ได้พูดถึงภรรยาของคุณ"
เทคนิคที่เอื้อประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
การให้ข้อมูล
(giving information)
การให้ข้อมูลที่ผู้ป่วยควรทราบหรือผู้ป่วยถาม เพื่อให้ผู้ป่วยทราบข้อมูล สามารถปฏิบัติตนได้เหมาะสมรวมทั้งช่วยลดความวิตกกังวล
ตัวอย่าง : "ฉันชื่อ.....เป็นนักศึกษาพยาบาลจาก .......ได้รับมอบหมายให้ดูแลช่วยเหลือคุณขณะที่คุณอยู่ที่หอผู้ป่วยนี้ค่ะ"
เทคนิคที่ช่วยพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเอง
การมุ่งความสนใจไปจุดใดจุดหนึ่ง
(focusing)
การเน้นเฉพาะประเด็นหรือเรื่องที่สาคัญเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย ใช้เมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะสับสนพูดวกวนไม่ได้เนื้อหาสาระหรือเปลี่ยนเรื่องสนทนาบ่อย ๆ
ตัวอย่าง : "คุณ ก. คะ คุณกำลังเล่าถึงปัญหาการทำงานอยู่นะคะ เรามาคุยเรื่องนี้กันต่อนะคะ"
การให้ความจริง
(presenting reality)
การบอกสิ่งที่เป็นความจริงหรือสภาพการณ์ที่เป็นจริงให้ผู้ป่วยทราบ เพื่อให้ผู้ป่วยได้พิจารณาให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจ
ตัวอย่าง : "ฉันไม่เห็นมีใครในห้องนี้นอกจากคุณ ก. กับดิฉัน"
การสรุป
(summarizing)
การที่พยาบาลรวบรวมข้อมูลสำคัญในการสนทนา สรุปให้เป็นเรื่องราวชัดเจนเพื่อให้ทั้งผู้ป่วยและพยาบาลเข้าใจสิ่งที่ได้สนทนาตรงกัน
ตัวอย่าง : "คุณ ก.ช่วยสรุปเรื่องที่เราพูดคุยกันไปในวันนี้หน่อยค่ะ"
เทคนิคอื่นๆ
การลำดับเหตุการณ์
(placing the events in time or in sequence)
เป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถจัดลำดับเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นก่อนและหลัง
ตัวอย่าง : "คุณเริ่มปวดศีรษะบ่อยๆตั้งแต่อยู่ที่โรงเรียนหรือไปทำงานแล้วคะ"
การกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ประเมินตนเอง
(encouraging evaluation)
เป็นเทคนิคในลักษณะคาถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยประเมินความคิด ความรู้สึกของตนที่ได้ประสบมาจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาของตน
ตัวอย่าง : "หลังจากเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรม คุณรู้สึกอย่างไรบ้างคะ"
การกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้เปรียบเทียบ
(encouraging comparison)
เป็นลักษณะของการใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยคิดเปรียบเทียบความคล้ายคลึง หรือความแตกต่างต่อเหตุการณ์เรื่องราวหรือประสบการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
ตัวอย่าง : "คุณคิดว่าคุณกับพี่ขายของคุณหมือนหรือแตกต่างกันในเรื่องใดบ้าง"
การกระตุ้นให้ผู้ป่วยวางแผน
(encouragingformulation of a plan of action)
เป็นเทคนิคที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้คิดวางแผนโดยการ คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่าหากเกิดเหตุการณ์อย่างที่เคยประสบมาผู้ป่วยจะวางแผนแก้ไขปัญหาอย่างไร
ตัวอย่าง : “หากคุณกลับไปอยู่บ้านแล้ว คุณจะดูแลตัวเองในเรื่องการรับประทานยาอย่างไรคะ"
การกระตุ้นให้ผู้ป่วยอธิบายสิ่งที่ได้รับรู้มา
(encouraging description of perception)
เป็นเทคนิคของการใช้คาถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยอธิบายเหตุการณ์หรือสิ่งที่ตนได้ประสบหรือรับรู้มา
ตัวอย่าง : "เสียงที่คุณได้ยินตอนนั้นเป็นอย่างไรคะ"
การตั้งข้อสงสัย
(voicing doubt)
เป็นเทคนิคที่มักจะใช้ในกรณีที่สิ่งที่ผู้ป่วยบอก ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้โดยใช้วิธีที่ทำให้ผู้ป่วยคิดทาความเข้าใจกับข้อมูลที่บอกเสียใหม่
ตัวอย่าง : "เป็นไปได้หรือคะที่...”
เทคนิคการสื่อสารที่ไม่ใช่การบำบัด
การให้กำลังใจโดยใช้คาพูดทั่วไปที่เป็นความเคยชิน
(using reassuring)
เป็นการให้ความมั่นใจหรือให้กำลังใจแบบอัตโนมัติแบบที่คนส่วนใหญ่ใช้และคุ้นเคย โดยไม่เข้าใจความรู้สึกที่แท้จริงของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยไม่ประทับใจ
การให้ความเห็นดีด้วยหรือการเห็นพร้องกับผู้ป่วย
(giving approval)
เป็นการส่งเสริมสนับสนุนหรือให้กำลังใจผู้ป่วยในการคิดและตัดสินใจของผู้ป่วย ด้วยการแสดงความเห็นชอบและยอมรับความคิดเห็นหรือการกระทำของผู้ป่วย โดยไม่พิจารณาข้อมูลให้รอบคอบว่าความคิดหรือพฤติกรรมของผู้ป่วยเหมาะสมหรือไม่
การแสดงความไม่เห็นด้วยกับความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วย
(disapproving)
เป็นการแสดงความไม่เห็นด้วยไม่ยอมรับความคิดเห็น หรือการกระทำของผู้ป่วย โดยใช้มาตรฐานของพยาบาลตัดสินผู้ป่วย ซึ่งจะมีผลให้ผู้ป่วยหยุดชะงักการสนทนา หรือยุติการสนทนาเพราะไม่พอใจพยาบาล
การร่วมเห็นด้วยกับผู้ป่วย
(agreeing)
เป็นการพยายามเอาใจผู้ป่วยโดยแสดงการเห็นด้วยกับผู้ป่วยซึ่งจะเป็นการจำกัดไม่ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นภายหลังเมื่อพูดไปแล้ว
การคัดค้านความคิดเห็นของผู้ป่วย
(disagreeing)
เป็นการแสดงความไม่เห็นด้วยในการกระทำหรือความคิดของผู้ป่วยโดยการนำความคิดหรือค่านิยมของพยาบาลไปตัดสิน ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าไม่ได้รับการยอมรับจากพยาบาล
การให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยด้วยความคิดและวิธีการของพยาบาลเอง
(giving advice)
เป็นการแนะนาให้ผู้ป่วยทำสิ่งต่างๆตามความคิดของพยาบาลซึ่งบางครั้งผู้ป่วยอาจจะทำไม่ได้
การเรียกร้องการพิสูจน์จากผู้ป่วยหรือการท้าทาย
(challenging)
เป็นการใช้คาพูดที่ท้าทายผู้ป่วย โดยพยาบาลพยายามพิสูจน์ให้เห็นว่าความคิดของผู้ป่วยเป็นไปไม่ได้ลักษณะการพูดของพยาบาลแบบนี้จะทาให้ผู้ป่วยยืนยันความคิดของตนและพยายามจะหาสิ่งสนับสนุนความคิดนั้นให้ได้
การพูดซ้ำๆที่เป็นแบบเดียวกัน
(making stereotyped comments)
เทคนิคการสนทนาซ้าๆทาให้การสนทนาน่าเบื่อไม่มีจุดมุ่งหมายในการพูดและทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียดจากการสนทนากับพยาบาล
การแก้ตัว
(Defending)
เป็นการพูดเพื่อปกป้องตนเองและผู้อื่น ที่มีผลทำให้ผู้ป่วยไม่กล้าแสดงความคิดเห็นที่แท้จริงของตน
การเปลี่ยนหัวข้อการสนทนา
(Introducing an unrelated topic)
ในการสนทนาเพื่อการบาบัดนั้นพยาบาลควรรตั้งใจฟังผู้ป่วยพร้อมทั้งสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยด้วย และจะต้องไม่เปลี่ยนหัวข้อสนทนา
นศพต.รวิสรา ราเหม เลขที่ 49