Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคซนสมาธิสั้น,…
บทที่ 4
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
โรคซนสมาธิสั้น
ความหมายโรคซนสมาธิสั้น
โรคซน-สมาธิสั้น (attention-deficit/ hyperactivity disorder: ADHD) จะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่วัยเด็ก โดย มีลักษณะการไม่ใส่ใจ ขาดสมาธิ (inattention) มีอาการซนไม่อยู่นิ่ง (hyperactivity) และหุนหันพลันแล่น (impulsivity)
อาการซนไม่อยู่นิ่ง หมายถึง การที่มีกิจกรมการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ (เช่น การที่เด็กวิ่งเล่นไป ทั่ว)ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม หรือมีอาการกระวนกระวายกระสับกระส่ายอย่างมาก ชอบเคาะโน่นเคาะนี่ ไปเรื่อย หรือพูดมาก พูดไม่หยุด
อาการหุนหันพลันแล่น หมายถึง การกระทำที่รีบร้อนที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันโดยขาดการคิด ไตร่ตรอง ขาดความสุขุมรอบคอบ และมีโอกาสสูงที่จะเป็นอันตรายต่อตนเอง (เช่น การวิ่งพรวดพราดไปใน ถนนโดยไม่เหลียวซ้ายแลขวาดูว่ามีรถกำลังวิ่งมาหรือไม่)
ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคซนสมาธิสั้น
อาการขาดสมาธิมีตั้งแต่ 6 อาการขึ้นไป แต่สำหรับวัยรุ่นตอนปลายและผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป) ต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อาการขึ้นไป ซึ่งอาการต่างๆมีดังต่อไปนี้
มักจะไม่สามารถจดจำรายละเอียด หรือขาดความรอบคอบจึงทำผิดพลาดในเรื่องเกี่ยวกับ การเรียน การทำงาน หรือการทำกิจกรรมอื่นๆ
มักจะไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น
มักจะลืมบ่อยๆ เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน
อาการซนไม่อยู่นิ่ง และอาการหุนหันพลันแล่น มีอาการดังต่อไปนี้ตั้งแต่ 6 อาการขึ้นไป สำหร้บวัยรุ่นตอนปลายและผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป) ต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อาการขึ้นไป ซึ่งอาการ ต่างๆมีดังต่อไปนี้
เมื่อนั่งอยู่กับที่มักจะมีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่าย
มักจะลุกจากที่นั่งบ่อยๆ ในสถานการณ์ที่ควรต้องนั่งอยู่กับที่
มักจะวิ่งไปทั่วหรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ
มักจะพูดมาก พูดไม่หยุด
มักจะโพล่งตอบคำถามก่อนที่จะถามคำถามจบ
สาเหตุของโรคซนสมาธิสั้น
1) ปัจจัยทางชีวภาพ
พันธุกรรม พบว่า ฝาแฝดไข่ใบเดียวกัน (monozygotic twins) ถ้าแฝดคนหนึ่งป่วยด้วยโรคซนสมาธิสั้นโอกาสที่แฝดอีกคนหนึ่งจะป่วยด้วยโรคนี้มีสูงถึงร้อยละ 51 ขณะที่ฝาแฝดไข่คนละใบ (dizygotic twins) ถ้า แฝดอีกคนหนึ่งจะป่วยด้วยโรคซนสมาธิสั้นโอกาสที่แฝดอีกคนหนึ่งจะป่วยด้วยโรคนี้มีร้อยละ 33
2) ปัจจัยก่อนคลอด
การที่หญิงตั้งครรภ์ 3เดือนแรก (first trimester) มีการติดเชื้อ มีการเสพสุรา ยาเสพติด และ/หรือสูบบุหรี่ การคลอดก่อนกำหนด (prematurity) หรือการที่เด็กขาด oxygen ระหว่างคลอด ล้วน แล้วแต่เป็นสาเหตุทำให้เด็กมีอาการของ ADHD
3) ปัจจัยทางจิตสังคม
การที่เด็กไม่ได้รับความอบอุ่นเป็นระยะเวลานานๆ (prolonged emotional deprivation) เหตุการณ์ที่ทำให้เด็กรู้สึกเครียด (stressful psychic events)
4) ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
การที่เด็กมีความผิดปกติของระบบประสาท เช่น สมองอักเสบ (encephalitis) มีอาการชัก มี การสูดหายใจอากาศที่มีมลภาวะเป็นพิษ
5) ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง
อารมณ์ของเด็ก ปัจจัยทางด้านพันธุกรรมที่ถ่ายทอดในครอบคร้ว
การบำบัดรักษาโรคซนสมาธิสั้น
1) การรักษาทางยา
การรักษาด้วยยา psychostimulants โดยยากลุ่มนี้จะเพิ่มการปล่อยหรือยับยั้งการดูดกลับของ dopamine และ norepinephrine
การรักษาโดยกลุ่มยาต้านเศร้า (antidepressants) เช่น imipramine
การรักษาโดยกลุ่มยา alpha-adrenergic agonist เช่น clonidine (catapres) ใช้ methylphenidate กรณีที่เป็น ADHD ร่วมกับ tic หรือ tourette’s disorder
การรักษาโดยกลุ่มยารักษาอาการทางจิต (antipsychotics) เช่น thioridazine (mellaril) haloperidol (haldol) risperidone (risperdal) สำหรับผู้ป่วย ADHD ที่มีความก้าวร้าวหรือมีอาการ tic ร่วม ด้วย
อาการข้างเคียงของยา psychostimulants ได้แก่ อาการปวดศีรษะ อาการปวดมวนในท้อง ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ความอยากอาหารลดลง น้ำหนักตัวลดลง นอนไม่ค่อยหลับ หงุดหงิดกระสับกระส่าย รู้สึกกระวนกระวายใจ อาการซึมเศร้า อาการวิตกกังวล มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด
2) การรักษาโดยการปรับพฤติกรรมและการรักษาทางจิตสังคม (behavioral/psychosocial intervention)
การฝึกอบรมพ่อแม่ในการดูแลเด็ก ADHD
การให้ความช่วยเหลือเด็กขณะอยู่ที่โรงเรียน (school focused intervention)
การให้ความช่วยเหลือโดยมุ่งเน้นที่ตัวเด็กเป็นสำคัญ (child focused intervention)
การพยาบาลโรคซนสมาธิสั้น
1) การประเมินสภาพ (assessment)
การประเมินเมื่อเด็กอยู่ที่โรงเรียน
• ควรมีการประเมินว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไรบ้างขณะอยู่ในห้องเรียน
• ลักษณะของการมีปฏิสัมพันธ์ต่อเพื่อน
• ผลการเรียนป็นอย่างไร
• ความรู้ความเข้าใจของคุณครูเกี่ยวกับโรค
การประเมินที่โรงพยาบาล
การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทำโดยการสังเกตและการสัมภาษณ์สั้นๆ พ่อแม่และคุณครู ที่เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับเด็ก
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ
ไม่สามารถทำตามบทบาทหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองต่ำเป็นระยะเวลานาน
วิธีการเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพ
การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายบกพร่อง
แบบแผนการนอนไม่เหมาะสม
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่อง
ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับบทบาทของตน
วิธีการเผชิญปัญหาของครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพ
3) การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล (planning and implementation)
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดกับพ่อแม่และเด็ก และคุณครู
ให้ความรู้ คำแนะนำแก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง และคุณครูเกี่ยวกับโรค
กำหนดพฤติกรรมของเด็กที่ความคาดหวังร่วมกันระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครอง คุณครู ทีมสหสาขาวิชาชีพ
ดูแลให้เด็กได้รับการรักษาด้วยยาร่วมกับการรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมและการ รักษาทางจิตสังคม
ติดตามและประเมินผลการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา การรักษาด้วยการปรับ พฤติกรรมและการรักษาทางจิตสังคม
4) การประเมินผล (evaluation)
ภายหลังให้การพยาบาลเด็กที่มีโรคซนสมาธิสั้น จะต้องมีการประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นไป ตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ พฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหาลดลงหรือไม่ ทั้งในแง่ความรุนแรงและ ความถี่ในการเกิดพฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหา
นางสาวธารารัตน์ มีวงษ์ 180101119