Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปรียบเทียบทฤษฎีกับกรณีศึกษา - Coggle Diagram
การเปรียบเทียบทฤษฎีกับกรณีศึกษา
ด้านร่างกาย
ทฤษฎีความสูงอายุที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
ทฤษฎีพันธุกรรมทั่วไป (General genetic theory)
ผู้สูงอายุ อายุ 65 ปี บิดาของผู้สูงอายุ เสียชีวิตตอนอายุ 80 ปี มารดาของผู้สูงอายุเสียชีวิตตอนอายุ 50 ปี จึงเชื่อว่าผู้สูงอายุน่าจะมีอายุ 80 ปี ตามกรรมพันธุ์
ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมในเซลล์ (Cellular genetic theory)
เนื่องประวัติจากผู้สูงอายุไม่ทราบประวัติโรคประจำตัวของบิดาและมารดา เพียงแต่บอกว่าน้องชายคนกลางของตนเองก็เป็นมะเร็งที่ลำไส้และต้องผ่าตัดทำcolostomy เช่นเดียวกัน
บ่งบอกได้ว่าบิดาหรือมารดาของผู้สูงอายุอาจ
มีพันธุกรรมที่เกี่ยวกับโรคมะเร็งถ่ายทอดมายังผู้สูงอายุ
ทฤษฎีการผ่าเหล่า (Somatic mutation theory)
ตอนอายุประมาณ 20 ปี ผู้สูงอายุประกอบอาชีพช่างเสริมสวยอาจได้รับสารเคมีจากน้ำทำผมต่างๆได้
เกิดจากสิ่งกระตุ้นอื่นๆที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของcell หรือในอวัยวะในระบบต่างๆ ทำให้เกิดการแบ่งตัวผิดปกติทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง
ทฤษฎีความผิดพลาด (Error theory of aging)
พบเนื้อร้ายที่บริเวณทวารหนัก ซึ่งเกิดจากการเเบ่งเซลล์ผิดปกติทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้อร้ายขึ้นมา
ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolution theory)
ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ไม่รับประทานรสจัด
สังเกตอาการผิดปกติของตนเองอยู่เสมอ รับประทานยาสม่ำเสมอและไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
ทฤษฎีนาฬิกาชีวภาพ (Watch spring theory)
บิดาของผู้สูงอายุเสียชีวิตเมื่ออายุประมาน 80 ปี ผู้สูงอายุจึงมีแนวโน้มที่จะมีอายุเฉลี่ย 80 ปี ตามบรรพบุรุษ
ทฤษฎีความสูงอายุที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory)
รับประทานอาหารรสจัด ชอบรับประทานอาหารประเภทเนื้อ จึงทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
ประกอบอาชีพขายส่ง ต้องยืนขายของตั้งแต่เวลา2.00 น.- 8.00 น.ซึ่งเป็นเวลานาน ทำให้การรับน้ำหนักที่เท้าและเอ็นฝ่าเท้าได้รับบาดเจ็บและมีอาการปวดหัวเข่าซ้าย
ทฤษฎีการสะสมของเสียไว้ภายในเซลล์ (The Accumulation Theory)
ประกอบอาชีพค้าขายต้องใช้สมองในการคำนวณทุกวันเป็นเวลานานทำให้มีการสะสมของเสียภายในเซลล์ ส่งผลให้ผู้สูงอายุเริ่มมีความจำสั้นลง หลงลืมบางครั้ง
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free Radical Theory
จากข้อมูลของผู้สูงอายุไม่เพียงพอต่อการอธิบายทฤษฎีนี้
ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง (Cross – linkage theory)
ผิวหนังเหี่ยวย่น ปวดหัวเข่าซ้ายเวลาเดินจะรู้สึกว่าข้อเข่าฝืด
ทฤษฎีเกี่ยวกับความเครียดและการปรับตัว (stress and adaptation theory)
ไม่ตรงกับผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมีการปรับตัวต่อความเครียดได้ดี
ทฤษฎีความสูงอายุที่เกี่ยวข้องกับสรีรวิทยา
ทฤษฎีภูมิคุ้มกัน (Immunological Theory)
ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว คือ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันมีความสามารถในการจำเซลล์แปลกปลอมที่เปลี่ยนแปลงไปเสื่อมลง
ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ
(Neuro endocrine theory)
ผู้สูงอายุยังไม่มีความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ คือ ยังไม่มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน แต่มีการทำงานของระบบประสาทและสมองที่เปลี่ยนแปลงไป คือ คิดช้าลง หลงลืมบางครั้ง
ด้านจิตใจ
ทฤษฎีอีริกสัน (Erikson's Epigenetic theory)
ระยะที่ 1 - 5 : ผู้สูงอายุเป็นบุตรสาวคนที่ 1 ของบ้าน ได้ถูกเลี้ยงดูเเละเติบโตมากับพี่น้อง บิดามารดาส่งเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 7
ระยะที่ 6 การเลือกอาชีพเสริมสวยตามที่ผู้สูงอายุชอบ เเละถนัดและยังประกอบอาชีพสอนตัดเย็บเสื้อผ้า หลังจากนั้นอายุ 18 ปี ก็ได้แต่งงานกับสามี อายุ 19 ปี มีลูกสาว 1 คน
ระยะที่ 7 อายุ 30 ปี ผู้สูงอายุเปลี่ยนอาชีพมาค้าขายทำให้ผู้สูงอายุมีความสำเร็จ ส่งผลให้มีความมั่นคงทางฐานะมีความภาคภูมิใจในตนเอง
ส่งลูกสาวเรียนจบปริญญาโท จนลูกสาวประสบความสำเร็จในชีวิต ผู้สูงอายุภูมิใจกับลูกสาวเป็นอย่างมาก
ทฤษฎีพัฒนาการของเพค (Peck’s developmental theory)
ขั้นที่ 5 : ผู้สูงอายุเคยประกอบอาชีพรับจ้างสอน ตัดเย็บเสื้อผ้า ในปัจจุบันเมื่อเสื้อผ้าของคนในบ้านหรือของตนเองขาดชำรุด ผู้สูงอายุก็จะซ่อมแซมเองโดยใช้จักรเย็บผ้าที่มีอยู่
ขั้นที่ 6 : ผู้สูงอายุยอมรับว่าร่างกายตนเองเสื่อมถอยลง สายตาเริ่มมองไม่ชัดเหมือนเดิม การเคลื่อนไหวก็เริ่มช้า ความจำเริ่มสั้นลง มีอาการหลงลืมบางครั้ง
ด้านสังคม
ทฤษฎีบทบาท ( Role Theory )
ยังคงบทบาทเป็น ภรรยาและแม่ โดยผู้สูงอายุมีการปรับบทบาทด้านการทำงาน หารายได้ จากเดิมทำงานค้าขาย มาเป็นแม่บ้าน
ทฤษฎีการมีกิจกรรม (Activity theory)
เดิมผู้สูงอายุประกอบอาชีพ เป็นแม่ค้าขายของส่ง ซึ่งเป็นอาชีพที่มีการพบปะพูดคุยกับผู้คนจำนวนมากอยู่เสมอ จึงทำให้ผู้สูงอายุมักจะทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนอยู่เสมอๆ
ทำงานอดิเรกของผู้สูงอายุ เช่น การดูโทรทัศน์ พักผ่อน
ทฤษฎีการแยกตนเอง (Disengagement Theory)
ผู้สูงอายุค่อนข้างจะแยกตัวออกจากสังคม เนื่องด้วยตนเองมีช่องทวารเทียมที่หน้าท้อง และร่างกายที่เสื่อมถอยลงไม่ค่อยแข็งแรงเหมือนเดิม ทำให้ผู้สูงอายุไม่ค่อยไปพูดคุยกับเพื่อนบ้านเหมือนแต่ก่อน
ไม่ค่อยชอบไม่เที่ยวนอกบ้านหรือต่างจังหวัดเพราะกลัวคนอื่นจะรังเกียจตนเอง
ทฤษฎีความต่อเนื่อง ( Continuity Theory )
เนื่องด้วยผู้สูงอายุเคยประกอบอาชีพค้าขาย จะคิดคำนวณจัดการเรื่องการเงินเก่ง ลูกสาวและสามีจึงให้ผู้สูงอายุมีหน้าที่เรื่องจัดการเงินในการซื้อของกินและของใช้ภายในบ้าน
ทฤษฎีระดับชั้นอายุ (Age Stratification Theory)
ทฤษฎีนี้ไม่สามารถใช้อธิบายกับกรณีศึกษาได้ เนื่องจากผู้สูงอายุหยุดทำงานตอนอายุ 55 ปี ที่หยุดทำงานเพราะตนเองตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
ทฤษฎีความทันสมัย (Modernization Theory)
มีการใช้เทคโนโลยี ได้แก่ แอปพลิเคชั่นไลน์ เพื่อนใช้ในการติดตามข่าวสารและติดต่อสมาชิกในครอบครัว
มีการติดตามข่าวสารจากโทรทัศน์