Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวทางการดูแลรักษาความดันโลหิตสูงแต่ละประเภท - Coggle Diagram
แนวทางการดูแลรักษาความดันโลหิตสูงแต่ละประเภท
การดูแลรักษาแบบ Mild preeclampsia
การนอนพัก โดยการนอนตะแคงเพื่อช่วยลดการกดทับของหลอดเลือดใหญ่
ควบคุมอาหารเค็ม โดยรับเกลือไม่เกิน 6 กรัม / วัน และโปรตีนได้รับประมาณ 80-100 กรัม / วัน
ดูแลควบคุมไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น ระวังการเกิด severe preeclampsia และทำให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปจนครบกำหนดคลอด
การดูแลรักษาแบบ Severe preeclampsia
ดูแลให้ได้รับยาต้านการชัก
แมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO4) โดยให้ 10% MgSO4 40 มล. ฉีดเข้าเส้นเลือดดำทาง IV fluid ช้า ๆ ประมาณ 5-10 นาที จากนั้นให้ 50% MgSO4 20 มล. แบ่งฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพกด้านละ 10 มล. โดยฉีดทุก 4 ชั่วโมง จนครบ 24 ชั่วโมง
ประเมินสภาพก่อนให้ หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งให้หยุดยา
ปัสสาวะออกน้อยกว่า 20-30 มล ชั่วโมง หรือน้อยกว่า 100 มล. ใน 4 ชั่วโมง
อัตราการหายใจน้อยกว่า 12 ครั้ง / นาที
ไม่พบ Deep Tendon Reflex (DTRs)
ในขณะฉีด MgSO4 ควรมียา 10% calcium gluconate 10 มล. ไว้ข้างเตียงเสมอ เนื่องจาก 10% Calcium Gluconate เป็น Antidote ของ MgS04 โดยถ้าพบว่าได้รับพิษข้างเคียงของยาหญิงตั้งครรภ์หยุดหายใจ ให้ฉีด 10% Calcium Gluconate 10 มล. เข้าเส้นเลือดดำโดยฉีดช้า ๆ ประมาณ 3-5 นาที
ยาลดความดันโลหิต ได้แก่ ยาในกลุ่ม Hydralazin เช่น Apresoline
เพื่อช่วยส่งเสริมการไหลเวียนของไตให้ดีขึ้น
หลังฉีดควรวัดความดันโลหิตทุก 5-15 นาที ควบคุมให้ความดันโลหิต Diastolic Blood Pressure อยู่ระหว่าง 90-100 มม. ปรอท เพราะอาจเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำได้ ซึ่งมีผลทำให้การ perfusion ของเนื้อเยื่อบริเวณรกจะลดลงด้วย
ยานอนหลับ (Diazepam หรือ Valium) ประมาณ 5-10 มก.
ยาขับปัสสาวะกลุ่ม Furosemide เช่น Lasix ให้ 20-40 mg,
ควบคุมการรับประทานอาหารอย่างเข้มงวด โดยควบคุมเค็มปานกลาง และโปรตีนให้ได้รับ 80-100 กรัม / วัน ติดตามดูอาการคลื่นไส้ อาเจียนซึ่งเป็นอาการนำสู่ภาวะชัก
นอนพักในท่านอนตะแคงตลอดเวลา เพื่อลดการกระตุ้นการเกิดอาการชัก
การดูแลรักษาแบบ eclampsia
โดยปกติถ้าหญิงตั้งครรภ์ได้รับ ให้ MgSO4 ตั้งแต่เริ่มแรกมัก ไม่ค่อยพบอาการชัก
เมื่อพบอาการชักควรได้รับยา MgSO4 4-6 กรัม ฉีดเข้าเส้นเลือดดำช้าๆอย่างน้อย 5 นาที ถ้าการให้ MgSO4 ไม่ได้ผล ควรให้ Diazepam 5-10 มก. หรือ Phenobarbital 125 มก. หรือให้ Dilantin 10 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ฉีดในอัตรา 50 มก. ต่อ 1 นาที
ในระหว่างการชัก ถ้าชักในระยะที่ทารกอยู่ในครรภ์จะทำให้หัวใจของทารกเต้นช้าลง
ควรสังเกตการเต้นของหัวใจทารกทุก 15 นาที ดูแลให้ออกซิเจน 8-12 ลิตร / นาที และตรวจสอบภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
สังเกตการเกิดภาวะปอดบวมน้ำภาวะไตวาย ตลอดจนอาการและอาการแสดงของเลือดออกในสมอง