Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่3 สถานการณ์ ปัญหาสาธารณสุข และแผนพัฒนาการสาธารณสุข - Coggle Diagram
บทที่3 สถานการณ์ ปัญหาสาธารณสุข และแผนพัฒนาการสาธารณสุข
อธิบายความหมาย สุขภาพ ชุมชน การสาธารณสุขและอนามัยชุมชน
สุขภาพ (Health)
องค์การอนามัยโลก (WHO, 2004) ให้ความหมายไว้ในธรรมนูญขององค์การอนามัยโลก เมื่อ ค.ศ. 1948 หมายถึง สภาวะแห่งความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ รวมถึงการดารงชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 หมายถึงภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม
สุขภาวะ หมายความว่า ภาวะที่บุคคลมีร่างกายแข็งแรง มีอายุยืนยาว มีจิตใจที่ดี มีความเมตตากรุณายึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรมดำเนินชีวิตอย่างมีสติสัมปชัญญะและใฝ่รู้ สามารถ “คิดเป็นทาเป็น” มีเหตุมีผล อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
ชุมชน ในความหมายทางการปฏิบัติการพยาบาล หมายถึง การรวมตัวของบุคคลหรือกลุ่มคน โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่มีการแบ่งอาณาเขตพื้นที่อย่างแน่นอน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านั้นมี ปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีบทบาท หน้าที่ ทางสังคม สามารถแบ่งประเภทของชุมชนในทางสังคมวิทยาได้ 2 ประเภท คือ
1.ชุมชนเมือง (Urban Communities)
ชุมชนชนบท (Rural communities)
การสาธารณสุข (WHO, 2014) หมายถึง มาตรการจัดระเบียบทั้งหมด (ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน) เพื่อป้องกันโรคและ
ส่งเสริมสุขภาพคน
อนามัยชุมชน (WHO,2004) เป็นการรวมวิทยาศาสตร์ ทักษะ และความเชื่อของบุคคล ที่จะคงไว้ในการดูแลสุขภาพของบุคคลให้ดีขึ้น เป็นรูปแบบการให้บริการสุขภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นการป้องกันโรคและ ตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชากรทั้งหมด
พยาบาลอนามัยชุมชน (Community Health Nursing)
พยาบาลสาธารณสุข(Public health Nursing: PH)เป็นผู้ที่ปฏิบัติการพยาบาลที่ทางาน ร่วมกับกลุ่มคน ชุมชน เป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกัน มุ่งเน้นไปที่การป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ โดยมีบทบาทในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้น มุ่งการทางานที่ประสานความ
พยาบาลอนามัยชุมชน (Community Health Nursing: CHN) คือผู้ที่ปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้การสังเคราะห์ความรู้มาสู่การปฏิบัติการพยาบาลและการสาธารณสุขสู่การสร้าง เสริมสุขภาพ คงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่ดีของประชาชนในระดับบุคคล ครอบครัว กลุ่มคนรวมทั้งชุมชน
การดำเนินงานเพื่อดูแลสุขภาพประชาชน
ด้านการบริหารจัดการ
1) การวางแผนงาน และจัดระบบการทางานให้เหมาะสมสอดคล้องกับกาลังคน งบประมาณ
2) การดำเนินงาน เป็นการดาเนินงานตามแผนงานตั้งแต่การประสานงาน การดำเนินงาน การควบคุม ติดตามงาน
3) ประเมินผล เป็นการประเมินผลการดาเนินงานทั้งหมดว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามประสิทธิภาพ
ด้านวิชาการ
1) หน้าที่พัฒนาองค์ความรู้ด้านวิชาการของตนเอง ได้แก่ การศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น การอบรม เฉพาะทาง
2) หน้าที่การให้ความรู้วิชาการในการดูแลสุขภาพแก่ประชาชนในชุมชน
บทบาทหน้าที่ของพยาบาลอนามัยชุมชน
ผู้ให้บริการทางด้านสุขภาพ (Healthcare Provider)
ผู้บริหารจัดการ (Manager) ใช้หลักการ POSCORB,
ผู้นำ (Leader)
ผู้ให้ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Educator)
ผู้พิทักษ์ผลประโยชน์ (Advocator)
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)
ผู้ประสานงาน (Co-ordinator)
ผู้ให้คำปรึกษา (Counselor)
ผู้วิจัย (Researcher)
ผู้ให้ความร่วมมือ (Collaborator)
การดำเนินงานเพื่อสุขภาพประชาชน
เป้าหมายสาคัญของพยาบาลชุมชนจึงต้องการยกระดับภาวะสุขภาพของชุมชนให้ดีขึ้น
ส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินกิจกรรม การดูแลตนเองด้วยศักยภาพของประชาชนในชุมชนเอง
1) การมีส่วนร่วมของชุมชน (People Participation or People Involvement)
2) การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology)
3) การปรับระบบบริการขั้พื้นฐานของรัฐ เพื่อรองรับการสาธารณสุขมูลฐาน (Re-oriented Basic Health Service)
4) การผสมผสานกับงานของกระทรวงอื่น (Intersectoral Collaboration)
องค์ประกอบขับเคลื่อนระบบสุขภาพภาคประชาชน
1.คน สร้างความร่วมมือ กระตุ้นให้ประชาชนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของมีความรับผิดชอบในการดูแล
2.องค์ความรู้ ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีศักยภาพด้านความรู้และทักษะด้านการดูแลสุขภาพตนเอง
3.ทุน สนับสนุนแหล่งทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ทุนทางสังคม นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสุขภาพประชาชน
ระบบสุขภาพภาคประชาชน กับสถานการณ์สุขภาพที่เปลี่ยนแปลง
พยาบาลอนามัยชุมชน มีบทบาทที่สําคัญในการดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชน ที่มุ่งเน้น การยกระดับภาวะสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชนให้ดีขึ้น โดยจําเป็นต้องรู้เท่าทันสถานการณ์สุขภาพที่มีการปรับเปลี่ยนไม่อยู่นิ่ง เน้นส่งเสริมให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม
การจัดการสุขภาพโดยประชาชน (Health For All) ส่งเสริมศักยภาพให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน มีความสามารถในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้ สนับสนุนให้มีการทํางานในรูปภาคีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อดูแลสุขภาพ
ของประชาชน (All For Health) ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ของการทํางานในระบบการดูแลสุขภาพประชาชน ให้มีความเข้มแข็งและเกิดความยั่งยืนขึ้นในชุมชน