Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 กลวิธี และนวัตกรรมสาธารณสุข - Coggle Diagram
บทที่ 2 กลวิธี และนวัตกรรมสาธารณสุข
ความหมาย แนวคิดของนวตกรรมสาธารณสุข
อมร นนทสุต (2550) ให้ความหมายว่า นวัตกรรมคือ การสร้างหรือดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่ แล้วให้ดีขึ้น หรือความคิดริเริ่ม คือ ความสามารถนําเสนอสิ่งใหม่เป็นครั้งแรกปัจจุบันสามารถจําแนกประเภทของนวัตกรรมได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ
1.นวัตกรรมผลผลิต เช่น ยา เวชภัณฑ์ เทคโนโลยีใหม่ๆ สิ่งประดิษฐ์เป็นต้น
นวัตกรรมกระบวนการ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผน การบริหารจัดการและขับเคลื่อนการดาเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ เช่น ความจําเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นต้น
นวัตกรรมการบริการ เช่น การพัฒนาระบบการให้บริการในคลินิก แบบ One stop service การสร้างเครือข่ายการบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นวัตกรรมการดูแล ผู้ป่วยเรื้อรัง เป็นต้น
วิวัฒนาการนวัตกรรมสาธารณสุขไทย
พ.ศ. 2505 กองมาลาเรีย ได้ดําเนินการ โครงการอาสาสมัครมาลาเรีย
พ.ศ. 2507-2509 มีการดําเนินโครงการสารภี โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และกระทรวงสาธารณสุข ได้นํารูปแบบนี้ไปทดลองต่อที่ จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. 2520-2524 กระทรวงสาธารณสุขเริ่มดำเนินแผนงานสาธารณสุขมูลฐาน โดยเน้นหนักการฝึกอบรมครู ฝึกสาธารณสุขมูลฐาน การอบรม ผสส. /อสม. ให้ครอบคลุมร้อยละ 50 ของหมู่บ้านในชนบท
พ.ศ. 2523 ประเทศไทยลงนามในกฎบัตรเพื่อการพัฒนาสาธารณสุข โดยสนับสนุนการสาธารณสุขมูลฐาน (PHC) ให้เป็นกลวิธีที่จะบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า ในปี พ.ศ.2543
พ.ศ. 2525 โครงการหมู่บ้านพึ่งตนเองทางสาธารณสุขมูลฐาน ทดลองใน 12 หมู่บ้านใน 9 เขต ทั่วประเทศ
พ.ศ. 2525-2529 กระทรวงสาธารณสุขได้ขยายการอบรม ผสส. /อสม. ให้ครอบคลุมหมู่บ้านในชนบททั้งหมด กรมอนามัย กรมควบคุมโรคติดต่อ และกรมวิชาการต่างๆ สนับสนุนการอบรมและวัสดุอุปกรณ์แก่อาสาสมัคร สาธารณสุขประเภทต่างๆ
พ.ศ. 2526 โครงการกองทุนบัตรสุขภาพ ได้ทําการทดลองใน 7 จังหวัด 8 ตําบล 1 หมู่บ้าน,พ.ศ. 2526 โครงการพัฒนาสังคมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เริ่มทดลอง ใช้ ความจําเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นกระบวนการและเครื่องชี้วัดถึงการบรรลุ คุณภาพชีวิตในปี 2544 ที่จังหวัด นครราชสีมา
พ.ศ. 2527 รัฐบาลประกาศเป็นปีรณรงค์สาธารณสุขมูลฐานแห่งชาติ เน้นการพัฒนากิจกรรมสาธารณสุข มูลฐาน 5 องค์ประกอบหลัก การพัฒนาหมู่บ้านตัวอย่าง ตําบลละ 1 หมู่บ้าน
พ.ศ. 2527-2530 ขยายพื้นที่ดาเนินงานกองทุนบัตรสุขภาพ โดยกําหนดเป้าหมายตลอดปี 2527 1 ตําบล ตอ่ 1 จังหวัด ปี 2528 1 ตําบลต่อ 1 อําเภอ จนถึงปี 2530 ครบทุกตําบลในทุกอําเภอ
พ.ศ. 2528 ขยายพื้นที่ดาเนินงานหมู่บ้านพึ่งตนเองทางสาธารณสุขมูลฐานทุกจังหวัด จังหวัดละ 1 หมู่บ้าน,พ.ศ. 2528 กระทรวงสาธารณสุขได้เลือก 14 จังหวัดให้เป็นจังหวัดเร่งรัดพัฒนาคุณภาพชีวิต (Mini Thailand) และขยายอําเภอเร่งรัดพัฒนาคุณภาพชีวิต (Mini Province) จังหวัดละ 1 อําเภอทั่วประเทศ
พ.ศ. 2528-2530 รัฐบาลประกาศเป็นปีรณรงค์คุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ (ปรช.),พ.ศ. 2529 ชมรมแพทย์ชนบท และชมรมสาธารณสุขอาเภอ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้ง คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอําเภอ (คปสอ.)
พ.ศ. 2530-2534 - พัฒนาปรับเปลี่ยน รูปแบบ หลักเกณฑ์ กองทุนบัตรสุขภาพ,พ.ศ. 2535-2539 ดําเนินการ โครงการทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัย อย่างต่อเนื่อง
พ.ศ. 2536 -2537ปรับเปลี่ยนโครงการบัตรสุขภาพ
พ.ศ. 2540 - 2544 ดําเนิน โครงการ Health For All ต่อเนื่อง โดยกําหนดให้ปี 2543 เป็นปีที่ต้อง บรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า โดยกําหนดให้ปี 2544 เป็นปีแห่งการบรรลุคุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ กําหนด เป้าหมายการประกันด้านสุขภาพ 100%
แนวคิดนวัตกรรมสาธารณสุขไทย
ความตื่นตัวในการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐาน ทําให้ผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆ
2.การเกิดและคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ อย่างมากมาย
3.นวัตกรรมที่หลากหลายเปรียบเสมือนเครื่องมือนานาชนิดที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ
4.นวัตกรรมต่างๆ ล้วนสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกัน และสามารถส่งผลกระทบเชิงพัฒนาต่อกันได้ เช่น บัตร สุขภาพ กองทุนพัฒนา ความจาเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
5.การดําเนินการนวัตกรรมในพื้นที่ต่างๆ
6.การสาธารณสุขของประเทศได้ดําเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิดสาธารณสุขมูลฐาน
7.การสาธารณสุขมูลฐานเป็นกระบวนการพัฒนาชุมชน
8.การเน้นกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน
การดําเนินการที่จะทําให้เกิดการปรับตัวได้อย่างยืดหยุ่นตามยุทธศาสตร์
นวัตกรรมสาธารณสุขไทยสู่สุขภาพดีถ้วนหน้า ได้มีการพัฒนาแนวทางเพื่อบรรลุถึงสุขภาพดีถ้วนหน้าและคุณภาพชีวิต โดยมีนวัตกรรม ของการดำเนินโครงการกลวิธีและแนวความคิดต่างๆ เกิดขึ้นหลายประการ
สุขภาพดีถ้วนหน้า ปี 2543
2.การสาธารณสุขมูลฐาน (PHC)
3.คุณภาพชีวิต
4.โครงการปีรณรงค์คุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ
5.ความจําเป็นพื้นฐาน (BMN)
6.กระบวนการความจาเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
โครงการหมู่บ้านพึ่งตนเองทางสาธารณสุข)
8.แนวความคิด 3 ก. (กำลังคน กรรมการ และกองทุน) เป็นต้น
นวัตกรรมสาธารณสุขไทย
เริ่มเกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นแผนพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 1 (พ.ศ.2505-2509) โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพอนามัยในรูปของ อาสาสมัครในโครงการต่างๆ เช่น โครงการอาสาสมัคร มาลาเรีย, โครงการสารภี, โครงการโคราช ต่อมาประเทศไทยได้ร่วมลงนามในกฎบัตรขององค์การอนามัยโลกเพื่อการ พัฒนาสุขภาพ (พ.ศ.2523) โดยสนับสนุนการสาธารณสุขมูลฐานให้เป็นกลวิธีที่จะบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าในปี 2543 และบรรลุแผนงานสาธารณสุขมูลฐานไว้
ในแผนพัฒนาสาธารณสุข ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) เป็นต้นมา จนถึง ปัจจุบัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการเกิดนวัตกรรมด้านสาธารณสุขหลากหลาย จะเห็นได้ว่า นวัตกรรม มิได้เกิดขึ้นพร้อม กันในครั้งเดียว หากเกิดขึ้นหลากหลาย ต่างเวลา ต่างสถานที่กัน เป็นการสะสมประสบการณ์ การเรียนรู้ และปฏิบัติ จริงในพื้นที่ได้นาปรากฏการณ์ ประสบการณ์ และรวบรวมเป็นแนวคิด ประดิษฐ์เป็นทฤษฎี แนวทางปฏิบัติ แล้วขยายไปใช้ในพื้นที่อื่นๆได้
ความสําคัญและความจําเป็นในการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล
1.เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการพยาบาล เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงหรือจัดการความเสี่ยงอันอาจเกิดขึ้น ซึ่งจะ ช่วยให้ผู้รับบริการเกิดความปลอดภัย และพยาบาลเองมีแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2.เพื่อสร้างความรู้ใหม่ในการให้บริการพยาบาล ระบบบริการพยาบาล หรือระบบสุขภาพโดยผลลัพธ์
3.เพื่อลดค่าใช้จ่ายหรือลดการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อแก้ปัญหางบประมาณ กำลังคน ภาระงาน การบริหาร จัดการ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
4.เพื่อประสานความร่วมมือกับหุ้นส่วนด้านสุขภาพ ในการให้บริการแก่ผู้รับบริการ5. เพื่อเสริมสร้างพลังอํานาจและการมีคุณค่าของพยาบาลในการให้บริการ ช่วยให้พยาบาลได้แสดงศักยภาพในการคิดค้น
การวิเคราะห์ปัญหานวัตกรรมสาธารณสุข
ระดับประชาชน มีความเข้าใจในแนวคิด และแนวทางปฏิบัติในเรื่องนวัตกรรมสาธารณสุขไม่ชัดเจนพียงพอ และมีหลาย เรื่องเกินไป,ประสิทธิภาพขององค์กรชุมชนและกลุ่มผู้นาในหมู่บ้านยังไม่ดีพอ,องค์กรและผู้นาชุมชนทางสาธารณสุขยังไม่เชื่อมกับกรรมการหมู่บ้าน,ชาวบ้านถูกคาดหวังให้ทางานแบบข้าราชการ,ผสส./ อสม. ยังคิดว่าทางานให้ข้าราชการ
ระดับข้าราชการส่วนภูมิภาค การรับการสั่งการในแต่ละเรื่องไม่ตรงกันและไม่ประสานกัน ทั้งในเรื่องแนวคิดและแนวปฏิบัติจากหน่วย เหนือ ดังนั้นเมื่อหน่วยเหนือสั่งมาก ก็ปฏิบัติเป็นเรื่องๆ เป็นครั้งๆไป,ยังไม่เข้าใจว่า นวัตกรรมทั้งหมดของกระทรวงสาธารณสุข ต่างก็เป็นเรื่องที่นําไปสู่เป้าหมายสุขภาพดีถ้วน หน้าเหมือนกันเป็นต้น
ระดับส่วนกลาง การดําเนินงานของนวัตกรรมแต่ละเรื่อง เป็นไปในลักษณะของ Vertical Program (แยกกันทางานและ สั่งการตามชนิดของโครงการและหน่วยงาน) ไม่มีการวางแผนให้เกิดการประสานกัน,การเกิดขึ้นของนวัตกรรมแต่ละเรื่องไม่พร้อมกัน ทั้งๆที่บางเรื่องสามารถปรับให้สนับสนุนกันได้ โดยทาไป ในครั้งเดียว,เร่งรัดในการดําเนินงานมากจนเกินไป
บทบาทของพยาบาลกับนวัตกรรมสาธารณสุข
ด้านคิดค้นนวัตกรรม หรือวางแผนใช้นวัตกรรมบทบาทการมีส่วนร่วมในการคิดค้นนวัตกรรมสาธารณสุขใหม่ๆ หรือร่วมวางแผนการใช้นวัตกรรมที่มีอยู่ แล้ว โดยเลือกใช้นวัตกรรมในการแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับพื้นที่ เหตุการณ์ และช่วงระยะเวลา
ด้านเป็นผู้ใช้นวัตกรรม ควรศึกษานวัตกรรม ให้เข้าใจถ่องแท้ ถึงข้อดี ข้อเสีย และเตรียมเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจนวัตกรรมให้ถูกต้องตรงกัน
ด้านการประเมินผล เมื่องานวัตกรรมใดไปใช้ในพื้นที่ใดแล้ว ระยะเริ่มแรก ควรติดตามนิเทศอย่างใกล้ชิดและประเมินผลเป็นระยะๆ เพื่อรู้ข้อดี ข้อเสียของการดำเนินงาน เพื่อนามาแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาในขั้นตอนต่อๆไป ควรติดตาม ประเมินผลนวัตกรรมแต่ละอย่าง อย่างเป็นระบบระเบียบ