Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 สถานการณ์ ปัญหาสาธารณสุข และแผนพัฒนาการสาธารณสุข - Coggle Diagram
บทที่ 3 สถานการณ์ ปัญหาสาธารณสุข
และแผนพัฒนาการสาธารณสุข
สุขภาพ (who,2004) คือ สภาวะแห่งความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ รวมถึงการดำรงชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 คือ ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล
สุขภาพดีในปี ค.ศ.2020 มุ่งเน้นไปที่การสร้างสภาพแวดล้อมทาง สังคมและทางกายภาพที่สามารถส่งเสริมสุขภาพให้ดีสำหรับทุกคน
สุขภาวะ คือ ภาวะที่บุคคลมีร่างกายแข็งแรง มีอายุยืนยาว มีจิตใจที่ดี มี ความเมตตากรุณา ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตอย่างมีสติสัมปชัญญะ คิดเป็นทำเป็น มีเหตุมีผล และอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
Murray : สภาวะความผาสุกของบุคคล
Dunn : สุขภาพเปรียบเสมือนเป็นของเหลวที่มีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง มีขึ้นมีลงและมีจุดสูงสุด โดยสุขภาพของคนย่อมมีความสัมพันธ์กับ ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมทางสังคม สิ่งแวดล้อม นโยบายรัฐ ทุกองค์ประกอบดังกล่าวย่อม มีผลต่อภาวะสุขภาพของคนทั้งสิ้น”
ชุมชน
Communal : การทำงานโดยชุมชนเพื่อชุมชน
Common : การที่สมาชิกอยู่ร่วมด้วยกัน
Commune : การที่สมาชิกมีความรู้สึกผูกพันใกล้ชิดกัน
ชุมชนในทางสังคมวิทยาได้ 2ประเภท
ชุมชนเมือง
ชุมชนชนบท
การสาธารณสุข (WHO,2004) คือ มาตรการจัดระเบียบทั้งหมด (ภาครัฐหรือเอกชน) เพื่อป้องกันโรคและ ส่งเสริมสุขภาพคน มุ่งเน้นไปที่ประชากรทั้งหมด
อนามัยชุมชน (WHO,2004) คือ เป็นรูปแบบการให้บริการสุขภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นการป้องกันโรคและ ตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชากรทั้งหมด ประชาชนในชุมชนสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย
อนามัยชุมชนหรือสุขภาพชุมชน
ฃชุมชนเข้มแข็ง
สามารถดูแลรักษาสุขภาพด้วยตนเองมากที่สุด
สามารถควบคุมโรคและสร้างเสริมสุขภาพ
มีระบบบริการที่สามารถให้บริการที่จำเป็นแก่ประชากรทั้งมวลในชุมชนท้องถิ่นได้
พยาบาลอนามัยชุมชน (CHN) : ผู้ที่ปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้การสังเคราะห์ความรู้มาสู่การปฏิบัติการพยาบาลและการสาธารณสุขสู่การสร้างเสริมสุขภาพ (เวชปฏิบัติชุมชน)
พยาบาลสาธารณสุข (PHN) : เป็นผู้ที่ปฏิบัติการพยาบาลที่ทำงาน ร่วมกับกลุ่มคน ชุมชน เป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกัน มุ่งเน้นไปที่การป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ
การดำเนินงานเพื่อดูแลสุขภาพประชาชน
ด้านบริการ
ด้านการบริหารจัดการ
ด้านวิชาการ
การดูแลตนเองด้วยศักยภาพของประชาชนในชุมชนเอง
การมีส่วนร่วมของชุมชน
การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
การปรับระบบบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ เพื่อรองรับการสาธารณสุขมูลฐาน
การผสมผสานกับงานของกระทรวงอื่น
องค์ประกอบขับเคลื่อนระบบสุขภาพภาคประชาชน
คน : สร้างความร่วมมือให้ประชาชนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของมีความรับผิดชอบในการดูแล สุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
องค์ความรู้ : มีศักยภาพด้านความรู้และทักษะด้านการดูแลสุขภาพตนเอง
ทุน : แหล่งทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ทุนทางสังคม ทั้งที่เป็นตัวเงิน และไม่เป็นตัวเงิน
ระบบสุขภาพภาคประชาชนกับสถานการณ์สุขภาพที่เปลี่ยนแปลง
ปรับกลยุทธ์การให้บริการให้เป็นไปตามกระบวนทัศน์ของการเปลี่ยนแปลงใช้การต่อยอดงานสาธารณสุขมูลฐานให้มีความทันสมัยและเท่าทันกับสถานการณ์
การเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน (AEC) จัดการบริการสุขภาพในชุมชนต้องใช้ทั้งศาสตร์องค์ความรู้ และศิลปะทางการพยาบาลที่ถูกต้องเหมาะสมในการดูแลโดยเฉพาะโรคติดเชื้ออุบัติใหม่