Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช ภาวะออทิซึมสเปกตรัม -…
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
ภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดง
ของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ความหมายของภาวะออทิซึมสเปกตรัม มีความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท ที่มีความบกพร่องของพัฒนาการด้าน
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การสื่อสารร่วมกับความผิดปกติของพฤติกรรม และความสนใจหมกหมุ่นในบางเรื่อง มี
พฤติกรรมซ้ำๆ
ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะออทิซึมสเปกตรัม โดยจะแสดงอาการต่างๆ ก่อนอายุ 36 เดือนแต่จะไม่ชัดเจน และจะค่อยๆ
ปรากฏอาการให้เห็นในระยะต้นๆ ของการพัฒนาการในวัยเด็กตอนต้น
มีความบกพร่องด้านการสื่อสารและด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ไม่มีการสบสายตา ไม่สามารถแสดง
ความสนใจมีอารมณ์หรือแสดงความรู้สึกร่วมกับผู้อื่นไม่มีการสบสายตา, ไม่ชี้บอก, ไม่หันตามเสียงเรียกจากบุคคลอื่นมีความยากลำบากในการเล่นตามจินตนาการหรือการเล่นบทบาทสมมติ เล่นไม่เป็น ชอบ
เล่นคนเดียว
มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัดซ้ำ
มีการแสดงกิริยาบางอย่างซ้ำ ยึดติดกับสิ่งเดิม กิจวัตรประจำวันเดิม หรือแบบแผนการสื่อสารเดิมๆ ซ้ำๆ ไม่มีความยืดหยุ่น
สาเหตุ การบำบัดรักษาของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
การบำบัดรักษาภาวะออทิซึมสเปกตรัม
การรักษาทางยาเป็นการนำยามาใช้บรรเทาอาการบางอย่างทีเกิดร่วมกับภาวะออทิซึมสเปกตรัม
haloperidol กับ risperidone ที่ใช้บรรเทา
อาการหงุดหงิด พฤติกรรมวุ่นวาย ก้าวร้าว
พฤติกรรมทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
fluoxetine ใช้บรรเทาอาการซึมเศร้า ลดพฤติกรรมซ้ำๆ
lorazepam ใช้บรรเทาอาการวิตกกังวล
methylphenidate ใช้บรรเทาอาการขาดสมาธิ
พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง วิ่งไปมา
พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร ด้วยการทำอรรถบำบัด (speech therapy)
พัฒนาด้านทักษะทางสังคม (social skills)
โดยฝึกเด็กให้ใช้ภาษาทางกายให้เหมาะสม
พฤติกรรมบำบัด(behavioral therapy) มีเป้าหมาย คือ
“การส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสม การ
หยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
และการสร้างพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการ
การบำบัดทางความคิด และพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy: CBT) มีเป้าหมายหลักคือ “เพื่อลดความวิตกกังวลซึ่งมักเป็นโรคร่วมในเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม”
ศิลปะบำบัด (art therapy)
ดนตรีบำบัด (music therapy)
การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา
การให้คำแนะนำครอบครัว
สาเหตุของของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ปัจจัยทางพันธุกรรม
ปัจจัยทางสมอง ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทประเภทซีโรโทนิน
ปัจจัยในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
การพยาบาลเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
การประเมินสภาพ (assessment)
การใช้แบบคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัย
• PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ1-4 ปี
• PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ4-18 ปี
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
ให้แรงเสริมทางบวกทันที เช่น ชมเชยหรือให้รางวัลที่เด็กชอบเมื่อเด็กรู้จักสบตาแม้ทำได้เพียงชั่วคร
-การฝึกกิจวัตรประจำวัน ให้เด็กรู้จักทำกิจวัตรประจำวัน
ฝึกทักษะการสื่อความหมาย
ฝึกทักษะทางสังคม
แก้ไขพฤติกรรมที่ไม่หมาะสม ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่รุนแรง
เรียกชื่อทุกครั้งเมื่อต้องการพูดคุยกับเด็กหรือต้องการให้เด็กละสายตาจากการมองแบบไร้จุดหมาย หากเด็กไม่หันมาเมื่อเรียกชื่อ ให้จับหน้าเด็กเบา ๆ ให้หันมาลสบตา
สอนระเบียบวินัยให้กับเด็ก เช่น เก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จ, นำเสื้อผ้าที่ใส่แล้วไปใส่ตะกร้า วางรองเท้าในที่เก็บ เป็นต้น
เมื่อเด็กมีอารมณ์ฉุนเฉียวให้จับมือเด็กไว้เบา ๆ แสดงสีหน้าเรียบเฉย พร้อมบอกเด็กว่า "ลุกขึ้น" ออกแรงดึงเล็กน้อย
ช่วยลดความวิตกกังวลของพ่อแม่ ด้วยการให้ความช่วยเหลือปัญหาที่พ่อแม่ต้องเผชิญการให้คำแนะนำในการดูแลลูก
การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation)