Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประวัติความเป็นมาและระบบการจัดการศึกษาไทย วิวัฒนาการของการจัดการศึกษาในปร…
ประวัติความเป็นมาและระบบการจัดการศึกษาไทย
วิวัฒนาการของการจัดการศึกษาในประเทศไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน
1. การศึกษาสมัยโบราณ สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรีและกรุง รัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2311-2411)
1.1 การศึกษาในสมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1781-1921)
เป็นการศึกษาแผนโบราณในสมัยพ่อขุน รามคำแหงมหาราชได้คิดค้นประดิษฐ์อักษรไทยสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 1826 มีหลักศิลาจารึกทำให้มีหลักฐานต่างๆ ชัดมาก
รูปแบบการจัดการศึกษาในสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย
1) ฝ่ายพุทธจักรเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาโดยตรง
2) ฝ่ายอาณาจักร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เจ้านาย บุตรหลานข้าราชการ และราษฎร ส านักเรียน ของเจ้านาย บุตรหลานข้าราชการ เรียนที่ส านักราชบัณฑิต ส่วนลูกหลานราษฎรเรียนที่วัด
1.2 การศึกษาในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893-2310)
กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีอันยาวนาน 417 ปี มีความเจริญทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและ สังคม มีชนชาติต่าง ๆ ในเอเชียเข้ามาติดต่อค้าขายและเข้ามาเพื่อตั้งหลักแหล่งหากินชาติตะวันตกได้เริ่มเข้ามาติดต่อ ค้าขาย สถานศึกษาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเหมือนกับสมัยสุโขทัย ที่ต่างออกไป คือ มีโรงเรียนมิชชันนารี เป็นโรงเรียน ที่ชาวตะวันตกได้เข้ามาสร้างเพื่อเผยแผ่ศาสนาและขณะเดียวกันก็สอนวิชาสามัญด้วย
1) ลักษณะการศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นไปในทาง ติดต่อกับประชาคมเท่านั้น
2) การศึกษาเพื่อเป็นการตระเตรียมส าหรับเวลาข้างหน้า
3) การจัดการศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยา เน้นการอ่าน เขียน เรียนเลข พระโหราธิบดีได้แต่งแบบเรียน ภาษาไทย ชื่อ จินดามณี
4) การเรียนภาษาต่างประเทศ ภาษาบาลีภาษาสันสกฤต ภาษาพม่า ภาษาเขมร ภาษาจีน ภาษา ฝรั่งเศส และมีโรงเรียนบาทหลวงสอนศาสนา
1.3 การศึกษาในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2311-2411)
กรุงธนบุรีเป็นพระนครหลวงของไทยอยู่เพียง 15 ปีและเป็น 15 ปีแห่งการท าสงคราม สมัยกรุงธนบุรี วางพื้นฐานทั้งในด้านการค้า การศาสนา และอักษรศาสตร์ไว้ให้กับราชอาณาจักรไทยอย่างมั่นคง ทั้งนี้ ด้วยพระ อัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโดยแท้การศึกษาในสมัยกรุงธนบุรีแม้จะไม่เจริญก้าวหน้านักแต่ก็เป็นการ เริ่มต้นทางการศึกษาที่เป็นพื้นฐานให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางการศึกษาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
1) สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี
เป็นระยะเก็บรวบรวมสรรพตำราจากแหล่งต่าง ๆ
2) สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เริ่มมีชาวยุโรป เช่น ชาติโปรตุเกสเข้ามาติดต่อทางการค้ากับไท
3) สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในสมัยนี้ชาวยุโรป และอเมริกันเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายและสอนศาสนา มีการน าวิทยาการสมัยใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้ในเมืองไทย
2. การปฏิรูปการศึกษาช่วงที่1 พ.ศ. 2411–2477 การศึกษาเพื่อความทันสมัย
2.1 การศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411-2453) การจัดตั้งสถานศึกษาในสมัยรัชกาลนี้ ดังนี้
8) พ.ศ. 2430 เมื่อจำนวนโรงเรียนเพิ่มมากทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมศึกษาธิการโดยโอนโรงเรียนที่สังกัดกรมทหารมหาดเล็กมาทั้งหมด
9) พ.ศ. 2431 กรมศึกษาธิการจัดท าแบบเรียนเร็วใช้แทนแบบเรียนหลวงชุดเดิม ผู้แต่งคือ พระองค์ เจ้าดิศวรกุมาร (กรมพระยาด ารงราชานุภาพ) 1 ชุด มี 3 เล่ม
7) พ.ศ. 2427 ก าหนดหลักสูตรชั้นประโยคหนึ่ง โดยอนุโลมตามแบบเรียนหลวง 6เล่ม
10) พ.ศ. 2432 ตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น เรียกว่า โรงเรียนแพทยากร
6) พ.ศ. 2425 จัดตั้งโรงเรียนแผนที่ และใน พ.ศ. 2427 จัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับ
ราษฎรขึ้นตามวัดในกรุงเทพฯ หลายแห่ง และแห่งแรกคือ โรงเรียนมหรรณพาราม
11) พ.ศ. 2433 ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิชา พ.ศ. 2433 มีผลท าให้หลักสูตรภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ประโยค หลักสูตรภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น 6 ชั้น
5) พ.ศ. 2424 ปรับปรุงโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบให้เป็นโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก ต่อมาได้ กลายเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนใน พ.ศ. 2453 และ พ.ศ. 2459 ได้ตั้งเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12) พ.ศ. 2434 ได้แก้ไขการสอบไล่จากเดิมปีละครั้งเป็นปีละ 2 ครั้งเพื่อไม่ให้นักเรียนเสียเวลานาน เกินไป
4) พ.ศ. 2423 จัดตั้งโรงเรียนสุนันทาลัยในพระบรมมหาราชวังเป็นโรงเรียนสตรี
3) พ.ศ. 2414 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหารเรียบเรียงแบบเรียนหลวงขึ้น 1 เล่ม ชุดมูลบทบรรพกิจ เพื่อใช้เป็นบทหลักสูตรวิชาชั้นต้น
14) พ.ศ. 2435 ประกาศตั้งกระทรวงธรรมการ
2) พ.ศ. 2414 จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อฝึกคนให้เข้ารับราชการ มีพระยาศรี สุนทรโวหาร ในขณะนั้นเป็นหลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่ โดยมีการสอนหนังสือไทย การคิดเลข และ ขนบธรรมเนียมราชการ นอกจากมีการจัดตั้งโรงเรียนหลวงส าหรับสอนภาษาอังกฤษในพระบรมมหาราชวัง
15) พ.ศ. 2437 นักเรียนฝึกหัดครูชุดแรก 3 คนส าเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรเป็นครูสอน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
1) พ.ศ. 2414 จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อฝึกคนให้เข้ารับราชการ มีพระยาศรี สุนทรโวหาร ในขณะนั้นเป็นหลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่ โดยมีการสอนหนังสือไทย การคิดเลข และ ขนบธรรมเนียมราชการ
16) พ.ศ. 2449 ย้ายโรงเรียนฝึกหัดครู ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส ไปรวมกับโรงเรียนฝึกหัดครูฝั่ง ตะวันตก
17) พ.ศ. 2456 ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูหญิงขึ้นเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนเบญจมราชาลัย
2.2 การศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453-2468)การจัดตั้งสถานศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีดังนี้ดังนี้
1) พ.ศ. 2453 ประกาศตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเพื่อฝึกคนเข้ารับราชการตามกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ และต่อมา พ.ศ. 2459 ได้ประกาศยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนนี้ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย
2) พ.ศ. 2454 ตั้งกองลูกเสือหรือเสือป่าขึ้นเป็นครั้งแรก
4) พ.ศ. 2459 จัดตั้งกองลูกเสือหญิงและอนุกาชาดโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง และได้จัดตั้งกองลูกเสือ หญิงขึ้น เรียกว่า เนตรนารี
3) พ.ศ. 2456 ประกาศใช้โครงการศึกษาชาติขึ้น มีสาระส าคัญคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 เรียนวิชา สามัญ เรียนเมื่ออายุประมาณ 8 ปี และจบอายุประมาณ 10 ปี แล้วจึงเรียนต่อในชั้นมัธยม หากไม่เรียนในชั้นมัธยม จะต้องเรียนสายอาชีพในชั้นประถมปีที่ 4-5 ชั้นประถมปีที่ 4-5 เรียนทางด้านอาชีพ(วิสามัญ)
5) พ.ศ.2461 มีการปรับปรุงและขยายฝึกหัดครูขึ้น
6) พ.ศ. 2462 เปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการเป็น “กระทรวงศึกษาธิการ”
7) พ.ศ. 2464 ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาบังคับให้เด็กทุกคนที่มีอายุ 7 ปีบริบูรณ์หรือย่างเข้าปีที่ 8 ให้เรียนอยู่ในโรงเรียนจนถึงอายุ 14 ปีบริบูรณ์
2.3 การศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2477)
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางแนวนโยบายในการจัดการศึกษาที่ส าคัญคือ ขยายการ ด าเนินงานตามพระราชบัญญัติประถมศึกษาออกไปให้กว้างขวาง ส่งเสริมการเรียนวิชาชีพในโรงเรียนทุกระดับมีการจัดท าแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2475 โดยสรุปมีดังนี้
1) การศึกษาภาคบังคับ
2) การศึกษาภาคบังคับเป็นการศึกษาให้เปล่า
3) การศึกษาภาคบังคับ แบ่งชั้นประถมศึกษาสามัญ 4 ปี
4) ก าหนดให้จัดการศึกษาให้ครบองค์ 3 ของการศึกษา ได้แก่ จริยศึกษา พุทธิศึกษา และพลศึกษา พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเดิมที่เรียกว่า “โครงการศึกษา”มาเป็น “แผนการศึกษาชาติ”
3. การปฏิรูปการศึกษาช่วงที่2 พ.ศ. 2477-2542 ความเสมอภาคทางการศึกษา
3.1 การศึกษาเพื่อชีวิตและสังคมมีการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว
2) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2479 ต้องการเร่งรัดให้ประชาชนสำเร็จการศึกษาภาคบังคับถึงกึ่งหนึ่งโดย เร็วยังคงเน้นให้การศึกษาทั้ง 3 ด้าน การศึกษาแบ่งเป็นสามัญศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1– 4 ชั้นมัธยมต้นปีที่ 1-3 ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 4-6 อาชีวศึกษา
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2494 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีในแผนนี้ได้ เพิ่ม หัตถกรรม คือการฝึกหัดอาชีพและการประกอบอาชีพเข้ามาอีกรวมเป็น 4 ส่วน
1) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2475 ในแผนการศึกษาฉบับนี้เน้นให้การศึกษา 3 ส่วน คือ จริยศึกษา เป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงาม พุทธิศึกษา ให้ปัญญาความรู้ และพลศึกษา เป็นการฝึกหัดให้เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์
4) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 สมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีแผนนี้ได้ นำเอาแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2494 มาปรับปรุงใหม่ เพื่อสนองความต้องการของสังคมและบุคคล โดยให้สอดคล้องกับ การปกครองประเทศ
3.2 ความเสมอภาคทางการศึกษา
1) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2520มีการปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ เปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของโลกในปัจจุบัน
2) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้กล่าวเป็นความน าของแผนว่า “รัฐมีหลักความเชื่อพื้นฐานว่า การศึกษาเป็นกระบวนการที่ส าคัญยิ่งในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ และมีความสามารถที่จะปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทัน
การกำหนดกฎหมายทางการศึกษาที่เป็นแม่บทในการปฏิรูปการศึกษาสำคัญอีก 4 ฉบับ คือ
2) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
1) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
4) พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
การปฏิรูปการศึกษาช่วงที่3 พ.ศ. 2542 : การเปลี่ยนแปลงสังคมโลกให้เป็นสังคมแห่งการ เรียนรู้
4.1 การเปลี่ยนแปลงสังคมโลก กระบวนการจัดการศึกษา คือ โรงเรียน ครู และนักเรียน แต่การศึกษาในกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ใช่ หลักสูตร อุปกรณ์การสอน สิ่งอ านวยความสะดวกต่าง ๆ เพราะการเรียนรู้เกิดได้ตลอดเวลา และเกิดได้กับทุกคน ทุก คนเรียนรู้ได้ไม่ใช่จากครู แต่เรียนรู้จากการสัมผัสกับแหล่งข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ ผู้เรียนจึงไม่จ าเป็นต้องหมายถึง นักเรียนอีกต่อไป
4.2 การปฏิรูปการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ แนวทางการจัดการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้สามารถท าได้ดังนี้
2) การศึกษาวิจัย สร้างเสริม สนับสนุนแหล่งเรียนรู้และกลไกการเรียนรู้ โดยศึกษาวิจัย ส ารวจ จัดหา และจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูป
3) การสร้างและการจัดการความรู้ในทุกระดับทุกมิติของสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน องค์กรทุก ระดับ และองค์กรที่จัดการศึกษา มีการสร้างและใช้ความรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนกลายเป็นวัฒนธรรมแห่งการ เรียนรู้
1) การบริการวิชาการและสร้างความรู้ร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชนให้เป็นสังคมแห่งการ เรียนรู้
การศึกษาไทยสู่อาเซียนและประชาคมโลก
องค์กรหลักในกระทรวง ศึกษาธิการจึงต้องเร่งเครื่องก้าวเดิน อย่างไม่หยุดนิ่ง จากการระดมความคิดในหลากหลายเวที จากผู้บริหารการศึกษา ครูผู้สอน นักวิชาการ และ ผู้เกี่ยวข้อง ประเทศไทยมีการเตรียมการศึกษาสู่อาเซียนดังนี้
1) การให้ความรู้แก่พลเมือง ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้าน การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน และจิตสำนึก ของพลเมืองอาเซียน
2) สำนักงานคณะกรรมการการศึษาขั้นพื้นฐานได้เร่งพัฒน าเด็กและเยาวชนไทยให้รู้จัก วัฒนธรรม สังคม ความเป็นอยู่ของเพื่อนอีก 9 ประเทศที่จะสามารถก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมั่นใจ
3) สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาทำหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ ระดมความคิดจากผู้ทรงคุณวุฒิผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอน และผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกำหนดกรอบ แนวทางในการพัฒนาโรงเรียน เป็นการเตรียมพร้อมสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน
สรุป
วิวัฒนาการของการศึกษาไทยแบ่งออกเป็น 5 ช่วงคือ
-สมัยโบราณ
-สมัยกรุงสุโขทัย
-สมัย กรุงศรีอยุธยา
-สมัยกรุงธนบุรี
และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์