Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบผิวหนัง, image, image, image, image, image,…
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบผิวหนัง
Psoriasis
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคที่ไม่ติดต่อ แต่เป็นโรคเรื้อรีงมี 8ชนิด
ปัจจัย
ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึกการติดเชื้อบางชนิด ที่พบบ่อยคือติดเชื้อแบคทีเรียที่คอ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดอาการสะเก็ดเงินการแกะและเกาการดื่มสุราและสูบบุหรี่น้ำหนักเกิน
การป้องกัน
ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นของการเกิดโรค เช่น พยายามหลีกเลี่ยงความเครียดในชีวิตประจำวันให้มากที่สุด การรับประทานยาบางชนิดควรมีการปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา เช่น ยาลิเทียม ยาต่อต้านมาลาเรีย ยาลดความดันโลหิต ยาในกลุ่มลดการอักเสบ พยายามดูแลผิวหนังไม่ให้บาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมภายนอก หากเกิดอาการผิดปกติบริเวณผิวหนังควรมีการพบแพทย์ ดูแลร่างกายไม่ให้ติดเชื้อ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมในแต่ละวัน
การรักษา
สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากมีสิ่งมากระตุ้นโรคจะสามารถกำเริบได้อีก
กรณีเป็นน้อย รักษาโดยใช้ยาทาเฉพาะที่ เพื่อลดอาการอักเสบ
กรณีมีผื่นหนาและเป็นมาก รักษาโดยใช้ยากินร่วมกับยาทา หรือรักษาด้วยวิธีอื่น ได้แก่ ฉายแสงอาทิตย์เทียมกรณีดื้อต่อการรักษาวิธีใดอาจใช้วิธีอื่นมารักษาแทน เช่น ใช้ยาฉีดชีวภาพ
Cellulitis & Fasiitis
Cellulitis ภาวะติดเชื้อบริเวณผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ส่งผลให้มีอาการบวมแดง ปวด หรือร้อนบริเวณที่มีการติดเชื้อ บางรายอาจมีไข้หรืออาการอื่น ๆ ร่วมด้วย แต่ในกรณีที่รุนแรง การติดเชื้ออาจแพร่กระจายสู่กระแสเลือดและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
การป้องกัน
ดูแลสุขอนามัยของร่างกายและผิวหนัง เช่นไม่แกะหรือเกาผิวหนัง เพราะบางครั้งการเกาสามารถทำให้เกิดแผลได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคผิวหนังมักจะมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อมาก
fasciitis เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรงที่ผิวหนังชั้นลึก ตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้า ชั้นหนังแท้ ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ไปจนถึงชั้นเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการเน่าตายของเนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ และอาจลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
การป้องกันโรค fasciitis การป้องกันโรคที่สำคัญที่สุด ได้แก่ การป้องกันและระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือมีบาดแผลที่ผิวหนัง แต่หากมีบาดแผลเกิดขึ้นที่ผิวหนังแล้ว ไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้บาดแผลไปสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่สกปรก
Erythema multiforme
เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบแบบเฉียบพลัน จากกลไกทาง อิมมูนต่อปฏิกิริยาการแพ้ของร่างกาย ที่มีผลต่อการเกิดรอยโรคผิวหนัง หรือเยื่อเมือก หรือทั้งสองบริเวณเป็นรอยโรคที่สามารถหายได้เอง สามารถเป็นกลับซ้ำ และพบได้ในชาวเอเชีย
สาเหตุ
จากเกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ (HSV) หรือแบคทีเรียไมโคพลาสมานิวโมเนีย (Micoplasma pneumoniae) เป็นต้น และอีกสาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาหรือสารเคมี
ลักษณะผื่น ระยะแรกเป็นรอยแดง กลายเป็นตุ่มนูนแดงระยะนี้จะดูคล้าย Maculo-papular rash ต่อมาบริเวณตรงกลางของผื่นจะพอง อาจกลายเป็นตุ่มน้ำ หรือเป็นสีดำคล้ำจากการตายของผิวหนัง ทำให้มีลักษณะคล้ายเป้ายิงธนู ผื่นมักเกิดภายหลังรับยา 5 – 7 วัน มักพบผื่นที่ฝ่ามือฝ่าเท้า แขนขา และเยื่อบุก่อน จากนั้นจะลามไปที่ลำตัว บริเวณเยื่อบุต่างๆ
อาการ
ไข้ รู้สึกไม่สบายตัวคันตามผิวหนัง ปวดข้อ มีผื่นขึ้นซึ่งมีได้หลายรูปแบบ เป็นผื่นแดงตุ่มเล็กๆ หรือผื่น แดงแบนราบ หรือผื่นแบบลมพิษมีตุ่มน้ำซึ่งมีหลายขนาดพบผื่นที่ลำตัว แข ขา ฝ่ามือ ใบหน้า มักจะเป็นสองข้างอาการอื่นๆที่อาจจะพบได้ ตาแดง แสบตา น้ำตาไหล แสบปาก
การวินิจฉัย
อาศัยการซักประวัติเเละตรวจร่างกาย
Steven Johnson disease
ความผิดปกติของผิวหนังและเยื่อเมือกบุผิวชนิดรุนแรงที่พบได้ไม่บ่อย โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อหรือการตอบสนองของร่างกายต่อยาบางชนิด ในระยะแรกผู้ป่วยมักมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ตามมาด้วยผื่นแดงที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด จากนั้นผื่นจะค่อย ๆ ลุกลามและกลายเป็นแผลพุพองในที่สุด
อาการ
นระยะแรกผู้ป่วยอาจมีไข้และหนาวสั่น ร่วมกับมีอาการไอ เจ็บคอ ปวดหัว ปวดตามร่างกาย แสบตา หรือรู้สึกอ่อนเพลีย
จากนั้นภายใน 2-3 วันหรือไม่เกิน 2 สัปดาห์ความผิดปกติทางผิวหนังจึงเริ่มปรากฏ สังเกตได้ดังนี้รู้สึกเจ็บปวดตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ
เกิดผื่นแดงที่ตรงกลางมีสีเข้มและรอบข้างมีสีจาง จากนั้นผื่นจะค่อย ๆ ลุกลามและเพิ่มจำนวนขึ้นเกิดแผลพุพอง
ปัจจัยเสี่ยง
เพศหญิงมากกว่าเพศชาย
ผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสโรคเอดส์มีโอกาสพบมากกว่าบุคคลทั่วไป
การติดเชื้อ: Mycoplasma pneumonia, Herpes simplex virus, and some neoplastic and autoimmune disease
สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุของ Stevens Johnson Syndrome อย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่าการติดเชื้อและการใช้ยาบางชนิด
ได้แก่ยาต้านการติดเชื้อ เช่น เพนิซิลลิน โคไตรม็อกซาโซลยาระงับอาการปวด เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซนยากันชักหรือยารักษาอาการป่วยทางจิต
การป้องกัน
การกินอยู่อย่างถูกสุขอนามัย ไม่กินอาหารดิบ เช่น ปลาน้ำจืดดิบ ลดหรืองดการดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ชา การสูบบุหรี่หรือยาสูบอื่น ๆ และไม่ใช้ยาเสพติด
Fungal Infection
โรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะต่างๆของร่างกายติดเชื้อรา จึงก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆขึ้น
เป็นโรคติดเชื้อราบนผิวหนังที่พบได้บ่อย โดยผู้ติดเชื้อจะมีผื่นคันปรากฏบนผิวหนังเป็นวงแดงหรือขุยสีขาว ซึ่งกลากสามารถขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ตั้งแต่หนังศีรษะ ใบหน้า มือ เท้า เล็บ และขาหนีบ โดยพบได้กับคนทุกเพศทุกวัย
ป้องกัน
รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อให้มีร่างกายแข็งแรงเพราะดังกล่าวแล้วว่าการติดเชื้อรามักเกิดในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ
ไม่คลุกคลีกับผู้ติดเชื้อราเมื่อมีเพศสัมพันธ์ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
Herpes simplex
โดยเชื้อไวรัสเริมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ ชนิดที่ 1 (Herpes Simplex Virus type 1: HSV-1)-
เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ ชนิดที่ 2 (Herpes Simplex Virus type 2: HSV-2)
อัตราการเกิดซ้ำประมาณร้อยละ 80 ปัจจัยที่กระตุ้นเชื่อว่าอาจเกี่ยวข้องกับแสงแดด ไข้ การมีประจำเดือน ความเครียด
อาการ
โรคเริมที่เป็นครั้งแรกจะมีระยะฟักตัวประมาณ 3-7 วัน จะไม่มีอาการ ถ้ามีอาการรุนแรงขึ้นจะมีตุ่มน้ำใสๆแตกเป็นแผลตื้นๆ
สาเหตุ
การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือทางทวารหนักโดยไม่มีการป้องกัน
การใช้ปากในการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเม็ดตุ่มใสที่ปากใช้อุปกรณ์ เพื่อกิจกรรมทางเพศร่วมกัน
ทำการสัมผัสอวัยวะเพศกับผู้ที่ติดเชื้อโรคเริม
การป้องกัน
ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เริ่มเกิดเป็นซ้ำ-ถ้าเริ่มเป็นซ้ำบ่อยมากกว่า 6 ครั้งต่อปีหรือเริ่มที่เป็นอาการรุนแรงหรือการเป็นซ้ำมีผลลดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการรับประทานยาต้านไวรัส
การรักษา
โรคส่วนใหญ่ อาการไม่รุนแรง และหายเองได้ โดยเฉพาะเริมที่กลับเป็นซ้ำ
ผู้ป่วยควรพักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ
ถ้ามีไข้สูง ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อย ๆ และรับประทานยาพาราเซตามอลบรรเทาไข้
Herpes Zoster ,varicella-zoster
โรคงูสวัดเกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (varicella-zoster virus)
ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับโรคอีสุกอีใส
ได้แสดงอาการและก่อให้เกิดโรคงูสวัด ทำให้มีผื่นที่ผิวหนังและกลายเป็นตุ่มน้ำใส ร่วมกับอาการปวดแสบร้อน คันแสบ และตุ่มน้ำนั้นจะแตกออกมา
อาการ
ระยะแรกก่อนที่จะมีผื่น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนังตามแนวของเส้นประสาท
หลังจากนั้น 2-3 วันจะมีผื่นแดงขึ้นตรงบริเวณที่ปวด แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำใส ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย
ผื่นตุ่มน้ำใสมักอยู่เรียงกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวยาวตามแนวของเส้นประสาท และจะแตกออกเป็นแผล ต่อมาจะตกสะเก็ด และหายในระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อแผลหายแล้ว อาจจะยังมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทได้
การป้องกันการแพร่กระจาย
ควรแยกข้าวของเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดตัว เครื่องนอน ของผู้ป่วยโรคงูสวัด จากผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคสุกใสมาก่อน เพราะการติดเชื้อเกิดจากการได้รับเชื้อผ่านทางการหายใจ หรือการสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง