Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลผู้ป่วย ที่มีปัญหาระบบผิวหนัง, image, image, image,…
บทที่ 6 การพยาบาลผู้ป่วย
ที่มีปัญหาระบบผิวหนัง
โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) :red_flag:
การรักษา :star:
ยาทาภายนอก :<3:
แอนทราลิน (anthralin, dithranol)
ยาทากลุ่ม calcineurin inhibitor (tacrolimus,pimecrolimus)
อนุพันธ์วิตามิน D (calipotriol)
น้้ามันดิน (tar)
ยาทาคอติโคสเตียรอยด์(topical corticosteroids)
ยารับประทาน :<3:
อาซิเทรติน (acitretin)
เมทโทเทรกเสท (methotrexate)
ไซโคลสปอริน (cyclosporin)
การฉายแสงอาทิตย์เทียม (Phototherapy) :<3:
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีในการรักษาสะเก็ดเงิน โดยจะใช้รังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งปัจจุบันที่ใช้
ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน
แนวทางการรักษาโรคสะเก็ดเงิน ขึ้นกับความรุนแรงของโรคดังนี้ :<3:
สะเก็ดเงินความรุนแรงน้อย หมายถึง ผื่นน้อยกว่า10% ของพื้นที่ผิวทั่วร่างกาย (ผื่นขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือเท่ากับพื้นที่ประมาณ1%) ให้การรักษาโดยใช้ยาทาเป็นอันดับแรก
สะเก็ดเงินความรุนแรงมากหมายถึง ผื่นมากกว่า10% ของพื้นที่ผิวทั่วร่างกาย พิจารณาให้การรักษาโดยใช้ยารับประทานหรือฉายแสงอาทิตย์เทียม หรืออาจใช้ร่วมกันระหว่างยารับประทานหรือฉายแสงอาทิตย์เทียมและยาทา
ยาฉีดกลุ่มชีวภาพ (Biological agents) :<3:
เป็นยาใหม่ที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อยู่ในรูปยาฉีดเข้าเส้นหรือเข้าใต้ชั้นไขมัน ซึ่งยาบางชนิดฉีดสัปดาห์ละ 2 ครั้ง บางชนิดอาจฉีดห่างกันทุก 3 เดือน
ข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่เนื่องจากยาในกลุ่มนี้เป็นยาใหม่ จึงต้องติดตามผลข้างเคียงระยะยาว
นอกจากการรักษาข้างต้นที่กล่าวมาแล้วนั้น การให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน การเข้าใจความจริงที่ว่าสะเก็ดเงินเป็นโรคไม่ติดต่อ ผู้ป่วยจะไม่ถูกรังเกียจจากคนรอบข้าง ญาติและคนใกล้ชิดควรเข้าใจและให้กำลังใจผู้ป่วย และเนื่องจากโรคสะเก็ดเงินเป็นโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยควรดูแลปฏิบัติตนให้ถูกต้องจะช่วยควบคุมโรคให้สงบได้ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นซึ่งได้แก่ ความเครียด การพักผ่อนน้อยและการดื่มสุรา รวมถึงยาบางชนิดสามารถกระตุ้นให้โรคกำเริบได้ เช่น ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ยาทางจิตเวช (lithium)
ชนิดของสะเก็ดเงิน :star:
เล็บสะเก็ดเงิน (Psoriatic nails)
สะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ (Inverse psoriasis)
ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (Psoriatic arthritis)
ชนิดผื่นขนาดเล็ก (Guttate psoriasis)
ชนิดผื่นแดงลอกทั่วตัว (Erythrodermic psoriasis)
ชนิดผื่นหนา (Plaque psoriasis)
ชนิดตุ่มหนอง (Pustular psoriasis)
.สะเก็ดเงินบริเวณมือเท้า (Palmoplantar psoriasis)
เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของผิวหนังที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย พบโรค นี้ได้ประมาณร้อยละ 1-2 ของประชากร ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทราบเพียงว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน
พันธุกรรม
ปัจจัยกระตุ้นภายนอก
ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
โรคสะเก็ดเงินไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะทางผิวหนัง แต่อาจพบมีสัมพันธ์กับโรคอื่นๆ ได้แก่ โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน และกลุ่ม metabolic syndrome ได้แก่ โรคอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน เป็นต้น
Cellulitis & Fasiitis :red_flag:
(เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ) คือ ภาวะติดเชื้อบริเวณผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ส่งผลให้มีอาการบวมแดง ปวด หรือร้อนบริเวณที่มีการติดเชื้อ บางรายอาจมีไข้หรืออาการอื่น ๆ ร่วมด้วย แต่ในกรณีที่รุนแรง การติดเชื้ออาจแพร่กระจายสู่กระแสเลือดและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนบนร่างกาย แต่มักเกิดบริเวณขา โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจเข้าสู่ร่างกายผ่านทางรอยแผล รอยแตก หรือผิวหนังที่บอบบาง
โรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือ โรคเนื้อเน่า โรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือ โรคเนื้อเน่า (flesh-eating disease) หรือชื่อทางการแพทย์ คือ โรค necrotizing fasciitis เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรงที่ผิวหนังชั้นลึก ตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้า ชั้นหนังแท้ ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ไปจนถึงชั้นเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการเน่าตายของเนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ และอาจลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้2 โรคนี้พบไม่บ่อย แต่มีความรุนแรงมาก ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตหรือเกิดภาวะทุพพลภาพจากโรคตามมาได้สูงหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที
การป้องกันโรค fasciitis การป้องกันโรคที่สำคัญที่สุด ได้แก่ การป้องกันและระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือมีบาดแผลที่ผิวหนัง แต่หากมีบาดแผลเกิดขึ้นที่ผิวหนังแล้ว ไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้บาดแผลไปสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่สกปรก และระวังไม่ให้สิ่งสกปรกเข้าไปในบาดแผล ควรล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด หรือแอลกอฮอล์ 70% ทันที และใส่ยาฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนังที่เหมาะสม เช่น โพวิโดน ไอโอดีน เป็นต้น ห้ามใช้ยาผงโรยใส่แผลโดยตรง สำหรับกรณีที่บาดแผลเกิดจากวัสดุที่มีความสกปรก เช่น ตะปู หนาม ไม้ทิ่มแทง หรือผู้ป่วยมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือมีโรคประจำตัวที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคแบคทีเรียกินเนื้อ ควรต้องหมั่นสังเกตอาการ เช่น ไข้ ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณบาดแผลนั้นอย่างใกล้ชิด
การป้องกัน Cellulitisโดยทั่วไปอาจลดความเสี่ยงของภาวะ Cellulitis ได้โดยการดูแลสุขอนามัยของร่างกายและผิวหนัง เช่นไม่แกะหรือเกาผิวหนัง เพราะบางครั้งการเกาสามารถทำให้เกิดแผลได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคผิวหนังมักจะมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อมากขึ้นหากมีผิวแห้งควรใช้ครีมทาบำรุงผิว เพื่อให้ผิวมีความชุ่มชื้นและไม่เสี่ยงต่อการแห้งแตกจนทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการบาดเจ็บและการเกิดแผลทุกครั้งที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทำงานที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์แหลมคม เล่นกีฬาที่มีการปะทะ เป็นต้น
Erythema multiforme :red_flag:
(Erythema Multiforme: EM)คือ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบแบบเฉียบพลัน จากกลไกทาง อิมมูนต่อปฏิกิริยาการแพ้ของร่างกาย ที่มีผลต่อการเกิดรอยโรคผิวหนัง หรือเยื่อเมือก หรือทั้งสองบริเวณเป็นรอยโรคที่สามารถหายได้เอง สามารถเป็นกลับซ้ำ และพบได้ในชาวเอเชีย
สาเหตุจากเกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ (HSV) หรือแบคทีเรียไมโคพลาสมานิวโมเนีย (Micoplasma pneumoniae) เป็นต้น และอีกสาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาหรือสารเคมี
ลักษณะผื่น ระยะแรกเป็นรอยแดง กลายเป็นตุ่มนูนแดงระยะนี้จะดูคล้าย Maculo-papular rash ต่อมาบริเวณตรงกลางของผื่นจะพอง อาจกลายเป็นตุ่มน้ำ หรือเป็นสีดำคล้ำจากการตายของผิวหนัง ทำให้มีลักษณะคล้ายเป้ายิงธนู ผื่นมักเกิดภายหลังรับยา 5 – 7 วัน มักพบผื่นที่ฝ่ามือฝ่าเท้า แขนขา และเยื่อบุก่อน จากนั้นจะลามไปที่ลำตัว บริเวณเยื่อบุต่างๆ
อาการ-ไข้-รู้สึกไม่สบายตัว-คันตามผิวหนัง-ปวดข้อ-มีผื่นขึ้นซึ่งมีได้หลายรูปแบบ-เป็นผื่นแดงตุ่มเล็กๆ หรือผื่น-แดงแบนราบ หรือผื่นแบบลมพิษมีตุ่มน้ำซึ่งมีหลายขนาดพบผื่นที่ลำตัว แข ขา ฝ่ามือ ใบหน้า มักจะเป็นสองข้างอาการอื่นๆที่อาจจะพบได้-ตาแดง-แสบตา น้ำตาไหล-แสบปาก
การวินิจฉัยการวินิจฉัยอาศัยการซักประวัติเเละตรวจร่างกายโดยละเอียด ลักษณะสำคัญและจำเป็นในการวินิจฉัยแยกโรคอีกอย่างหนึ่งคือ ผู้ป่วยจะมีผื่นตามเยื่อบุแห่งหนึ่ง เช่น ริมฝีปาก เพดานปาก เหงือก เยื่อบุตาหรืออวัยวะเพศ ลักษณะจะเป็นแผลถลอกตื้นๆ มีเลือกออก เมื่อแห้งจะเป็นสะเก็ดสีดำ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ คล้ายเป็นไข้หวัดร่วมด้วยได้เช่นเดียวกับผื่นลมพิษ
Stevens-Johnson Syndrome :red_flag:
อาการ
ปวดตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ
เกิดแผลพุพองตามผิวหนังและเยื่อเมือกบุผิวบริเวณริมฝีปาก ช่องปาก จมูก ตา และอวัยวะเพศ
ผื่นแดงที่ตรงกลางมีสีเข้มและรอบข้างมีสีจาง จากนั้นผื่นจะค่อย ๆ ลุกลาม
ระยะแรกผู้ป่วยอาจมีไข้และหนาวสั่น ร่วมกับมีอาการไอ เจ็บคอ ปวดหัว ปวดตามร่างกาย แสบตา หรือรู้สึกอ่อนเพลีย จากนั้นภายใน 2-3 วันหรือไม่เกิน 2 สัปดาห์ความผิดปกติทางผิวหนังจึงเริ่มปรากฏ สังเกต
ผิวหนังชั้นนอกหลุดลอก เผยให้เห็นผิวด้านในที่มีลักษณะคล้ายผิวไหม้
การวินิจฉัย
การวินิจฉัย Stevens Johnson Syndrome จะทำโดยแพทย์ผิวหนัง โดยเริ่มจากตรวจดูอาการ ตรวจร่างกายเบื้องต้น สอบถามประวัติทางการแพทย์ รวมถึงประวัติการใช้ยา จากนั้นอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย เช่น การตรวจเลือด การเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ เป็นต้น
การรักษา
ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาชาหรือยาฆ่าเชื้อ เพื่อช่วยให้กลืนอาหารได้ง่ายขึ้น
ประคบเย็นเพื่อช่วยให้ผิวหนังที่ตายแล้วหลุดออกง่ายขึ้น จากนั้นจึงใช้ผ้าพันแผลปลอดเชื้อพันรอบผิวหนังบริเวณที่มีอาการ
ให้น้ำและสารอาหารผ่านทางจมูก ช่องท้อง หรือหลอดเลือด เนื่องจากการสูญเสียผิวหนังส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและสารอาหารมากกว่าปกติ
ให้ยาปฏิชีวนะ หากผู้ป่วยมีอาการเข้าข่ายภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
สาเหตุ
การใช้ยา ผู้ป่วยอาจมีอาการผิดปกติทันทีหลังจากใช้ยาหรือหลังหยุดใช้ยาไปแล้วนาน 2 สัปดาห์ ประเภทยาที่อาจก่อให้เกิด Stevens Johnson Syndrome
การติดเชื้อ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ ปอดบวม เริม งูสวัด หรือเชื้อเอชไอวี (HIV) โดยผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้นเสี่ยงต่อการเกิด Stevens Johnson Syndrome
การป้องกัน
ป้องกันได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากแต่ละคนตอบสนองต่อยาแต่ละชนิดแตกต่างกัน สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่อาจพบยีน HLA-B 1502 แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจหายีนดังกล่าวก่อนรับประทานยาบางชนิดที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ เช่น ยาคาร์บามาซีปีน ยาอัลโลพูรินอล ส่วนผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคนี้มาก่อนควรงดรับประทานยาที่กระตุ้นให้เกิดอาการผิดปกติและปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับประทานยาชนิดอื่น รวมทั้งสวมกำไลข้อมือสำหรับผู้แพ้ยาเสมอ ทั้งนี้ การถ่ายทอดทางพันธุกรรมนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงของการเกิด Stevens Johnson Syndrome คนในครอบครัวของผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เป็นต้นเหตุของอาการผิดปกติ
Fungal Infection เชื้อรา :red_flag:
โรคเชื้อรา (Fungal infection หรือ Mycosis) คือ โรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะต่างๆของร่างกายติดเชื้อรา จึงก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆขึ้น
เป็นโรคติดเชื้อราบนผิวหนังที่พบได้บ่อย โดยผู้ติดเชื้อจะมีผื่นคันปรากฏบนผิวหนังเป็นวงแดงหรือขุยสีขาว และอาจมีอาการอักเสบคล้ายผื่นแดงเกิดขึ้นร่วมด้วย ซึ่งกลากสามารถขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ตั้งแต่หนังศีรษะ ใบหน้า มือ เท้า เล็บ และขาหนีบ โดยพบได้กับคนทุกเพศทุกวัย
คนที่จะได้รับเชื้อราคือ•เกิดจากการสัมผัสกับเชื้อราโดยตรงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อราที่ผิวหนังเช่นจากคลุกคลีและ / หรือใช้ของใช้ร่วมกับคนที่เป็นโรคเชื้อราหรือจากน้ำไม่สะอาดหรือในดินหรือจากสัตว์เลี้ยงเช่นโรคน้ำกัดเท้าโรคกลากโรคติดเชื้อราที่เล็บเป็นต้น•จากการมีเพศสัมพันธ์เช่นเชื้อราในช่องคลอดและที่อวัยวะเพศชายจากเชื้อราที่มีอยู่แล้วเป็นปกติในร่างกายโดยมีสมดุลกับแบคทีเรียปกติของร่างกาย (แบคทีเรียประจำถิ่นหรือ Normal flora) แต่เมื่อสมดุลนี้เสียไปหรือร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำลงเชื้อราเหล่านี้ก็จะรุนแรงขึ้นและก่อการติดเชื้อได้ในทุกอวัยวะที่มันอยู่อาศัยเช่นการติดเชื้อราในช่องปากในช่องคลอดและในระบบทางเดินอาหาร•การหายใจเอาเชื้อราเข้าไปเช่นการติดเชื้อราในระบบทางเดินหายใจในไซนัสและในปอดการหายใจเอาเชื้อราเข้าไปแล้วก่อให้เกิดอาการแพ้เฉียบพลัน (Hypersensitivity reaction) โรคภูมิแพ้หรือโรคออโตอิมมูน / โรคภูมิต้านตนเองการติดเชื้อราทางกระแสโลหิต (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ) ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อราได้กับทุกอวัยวะในร่างกายรวมทั้งสมองหัวใจและไต
ป้องกันโรคเชื้อราอย่างไร? การป้องกันการติดเชื้อรา ได้แก่ รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อให้มีร่างกายแข็งแรงเพราะดังกล่าวแล้วว่าการติดเชื้อรามักเกิดในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำรักษาความสะอาดร่างกายไม่ให้มีบริเวณที่เปียกชื้นรักษาความสะอาดมือและเท้าเมื่อต้องสัมผัสดินและหรือน้ำสกปรกรักษาเท้าไม่ให้เปียกชื้นรักษาความสะอาดเครื่องใช้ของใช้ส่วนตัวไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น•ไม่คลุกคลีกับผู้ติดเชื้อราเมื่อมีเพศสัมพันธ์ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
แพทย์วินิจฉัยโรคจากติดเชื้อราได้เช่นเดียวกับในการวินิจฉัยโรคจากติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ ไวรัส คือ จากประวัติทางการแพทย์ต่างๆ เช่น อาการต่างๆ ประวัติการสัมผัสโรค ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและปัจจุบัน และประวัติการใช้ยาต่างโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะและยาในกลุ่มสเตียรอยด์ จากการตรวจร่างกาย และการตรวจรอยโรค ซึ่งถ้าเป็นโรคที่เกิดกับเนื้อเยื่อภาย นอกร่างกาย เช่น ผิวหนัง แพทย์อาจตรวจเชื้อจากการขูดรอยโรค หรือนำเอาของเหลว/ สารคัดหลั่งที่เกิดขึ้นในแผลไปส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
โรคเริม (Herpes simple)
การป้องกันการแพร่เชื้อของโรคเริม
การรับประทานยาต้านไวรัสทุกวันสามารถลดการแพร่เชื้อได้ แต่เนื่องจากยามีผลข้างเคียง จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานยา
ผู้ป่วยที่มีรอยโรคที่อวัยวะเพศ สามารถแพร่เชื้อให้คู่นอนได้ จึงควรงดการทีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่เริ่มมีอาการนำจนกว่าแผลจะหายสนิท
ระยะแพร่เชื้อติดต่อให้ผู้อื่นคือ ตั้งแต่ เริ่มมีอาการนำจนกระทั่งแผลหายตกสะเก็ด
หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผล น้ำลาย สารคัดหลั่งของผู้ป่วย
เนื่องจากโรคเริมสามารถแพร่เชื้อสู่คู่นอนได้แม้ผู้ป่วยไม่มีอาการจึงแนะนำให้ใช้ถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
การรักษาและการปฏิบัติตัวผู้ป่วยโรคเริม
ตัดเล็บสั้น ไม่แกะเกา และอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด เพื่อป้องกันมิให้ตุ่มกลายเป็นหนองและแผลเป็น
การทายาต้านไวรัสมีประโยชน์น้อยโดยเฉพาะรอยโรคที่อวัยวะเพศ และอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้
ยาต้านไวรัสเช่น acyclovir ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในปมประสาทได้
ใช้ผ้ากิอซชุบน้ำเกลือหรือน้ำต้มสุกประคบทำความสะอาดแผล
ถ้ามีไข้สูง ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อย ๆ และรับประทานยาพาราเซตามอลบรรเทาไข้
ผู้ป่วยควรพักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ
ปัจจัยใดสามารถกระตุ้นทำให้เริมเกิดเป็นซ้ำ
การเจ็บป่วยจากโรคอื่น
รอยถลอกขีดข่วน
ความเครียด
แสงแดดที่มาก
การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์
การผ่าตัดที่กระทบกระเทือนต่อเส้นประสาท
อาการของโรคเริม
โรคเริมที่เป็นครั้งแรก 3 - 7 วันหลังได้รับเชื้อผู้ป่วยจะไม่มีอาการ ถ้ามีอาการ อาการจะรุนแรง พบเป็นกลุ่มของตุ่มน้ำแตกเป็นแผลตื้น มักมีอาการเจ็บ ปวดแสบร้อน
เริมสามารถเป็นซ้ำได้ โดยอาการจะน้อยกว่า ตุ่มน้ำจะมีขนาดเล็กกว่า จำนวนตุ่มน้ำน้อยกว่าการเป็นครั้งแรก ผู้ป่วยอาจมีอาการนำ เช่น อาการคัน แสบร้อนบริเวณที่จะเป็น ต่อมาจะมีกลุ่มของตุ่มน้ำเกิดขึ้น ในตำแหน่งใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิม การเป็นซ้ำมักไม่มีอาการอื่นๆ เช่น ไข้ร่วมด้วย
Herpes Zoster :red_flag:
สาเหตุ
เกิดความเครียด พักผ่อนน้อย ไวรัสชนิดนี้จะทำให้เกิดการอักเสบแล้เกิดตุ่มใส เรียงตัวตามแนวของเส้นประสาท เมื่อไวรัสเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก็จะส่งผลให้ร่างกายแสดงอาการออกมาเป็นโรคงูสวัดอย่างชัดเจน
ติดต่อผ่านการสัมผัสผื่น แผล ขณะที่มีตุ่มพุพองของโรค และหลังจากได้รับเชื้อแล้วก็จะเกิดเป็นโรคอีสุกอีใส แต่ไม่เป็นโรคงูสวัด
อาการ
อาการระยะที่ 3 : ผื่นจะเรียงตัวตามแนวเส้นประสาทในร่างกาย เช่น แขน ขา แผ่นหลัง หรือรอบเอว เป็นต้น โดยตำแหน่งที่น่ากลัวของการป่วยโรคงูสวัด คือ บริเวณแนวเส้นประสาทที่เลี้ยงใบหน้า เพราะอาจทำให้ตาบอดได้ จากนั้นแผลจะค่อยๆ แห้งและตกสะเก็ด ซึ่งอาการของงูสวัดจะค่อยๆ หายไป
อาการระยะที่ 2 : ผู้ป่วยจะเริ่มมีผื่นแดงขึ้นบริเวณผิวหนัง จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ เรียงกันเป็นกลุ่ม
อาการระยะที่ 1 : ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อย ปวดแสบปวดร้อนตามผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่ผื่นกำลังจะขึ้น เช่น แผ่นหลังหรือแขน เพราะเส้นประสาทเกิดการอักเสบ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดน้อยลงจนทำให้ร่างกายอ่อนแอ และเมื่อผ่านไปสัก 2 – 3 วัน
การป้องกัน
ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสตั้งแต่ก่อนเป็น
หลีกเลี่ยงการสัมผัสผื่น และตุ่มโรคของผู้ป่วยงูสวัด โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสหรือไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
การวินิจฉัย
จากนั้นจะเริ่มตรวจดูอาการของผื่นและตุ่มน้ำ โดยจะเก็บตัวอย่างเซลล์ตุ่มน้ำเข้าตรวจในห้องปฏิบัติการ
สามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง โดยสังเกตว่าหากมีผื่นขึ้นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย พร้อมมีอาการปวดแสบปวดร้อนที่บริเวณผื่นนั้น ถือว่ามีโอกาสเป็นงูสวัดได้ค่อนข้างสูง