Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Five Minds for the Future - Coggle Diagram
Five Minds for the Future
โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ เจ้าของทฤษฎี
นิยามศักยภาพของการรู้คิดของจิตทั้ง 5 ประการ ซึ่งเป็นการตกผลึกทางความคิดผ่านการเรียนรู้เฉพาะตัวบุคคล
3.จิตแห่งการสร้างสรรค์,
4.จิตแห่งการเคารพ
2.จิตแห่งการสังเคราะห์
5.จิตแห่งคุณธรรม
1.จิตวิทยาการ
จิตแห่งการสังเคราะห์ (Synthesizing Mind)
ควรได้รับการสั่งสอนตั้งแต่วัยเด็กและต่อเนื่องไปคลอดชีวิตเพราะหากบุคคลไม่มีจิตแห่งการสังเคราะห์ บุคคลนั้นจะไม่มีวิจารณญาณในการตัดสินใจ
จิตที่สามารถคัดกรองข้อมูลหรือความรู้ต่างๆให้เหลือเพียงสิ่งสำคัญและตรงกับจุดมุ่งหมาย นำมาสรุปใหม่ตามความเข้าใจและถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้
จิตวิทยาการ (Disciplined Mind)
ควรเริ่มสอนในเด็กเพราะกว่าบุคคลจะมีจิตวิทยาการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ อาจใช้เวลาเป็นสิบปี จากนั้นจิตที่มีความรู้ความเข้าใจจะดำรงอยู่และต่อยอดการเรียนรู้เพิ่มเติมไปตลอดชีวิต
จิตที่ฝึกฝนอย่างยาวนานจนมีความรู้แตกฉานในวิชาการหรือศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งสามารถนำความรู้นั้นไปสร้างประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์หรือสร้างอาชีพได้ หรือ มีความชำนาญในวิชาชีพ
จิตแห่งการสร้างสรรค์ (Creating Mind)
มีอยู่ในมนุษย์ทุกคนตั้งแต่เด็ก มาพร้อมกับสัญชาตญาณความอยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
จิตที่เห็นมุมมองหรือไอเดียจัดการปัญหาแปลกใหม่แตกต่างจากเดิม กล้าคิดกล้าทำสิ่งแหวกแนวเพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า
จิตแห่งคุณธรรม (Ethical Mind)
ต้องปลูกฝังในเด็กที่โตพอจะเริ่มคิดได้และกำลังอยู่ในช่วงเริ่มพัฒนาตัวตนด้านลักษณะนิสัย พ่อแม่คุณครูและเพื่อน มีส่วนสำคัญในการปลูกจิตแห่งคุณธรรมให้เกิดขึ้นอย่างมาก
จิตที่ตระหนักรู้ในคุณค่าของภาระหน้าที่การเป็นมนุษย์ การเป็นพลเมืองของชุมชน ของประเทศชาติ โดยยึดมั่นอยู่บนความดีงาม
จิตแห่งการเคารพ (Respectful Mind)
พ่อแม่ควรเป็นต้นแบบ เพราะเด็กจะพัฒนาจิตแห่งการเคารพได้ตั้งแต่แรกเกิดจากนั้นสภาพแวดล้อมทางสังคมอื่นๆ ก็มีส่วนขัดเกลาด้วยเช่นกัน
จิตที่เข้าใจจุดยืนของตนแต่สามารถยอมรับความคิดหรือความเชื่อที่แตกต่างของคนอื่น ไม่ดูแคลนความเชื่อหรือวิถีดำเนินชีวิตของผู้อื่น