Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพโรคติดเชื้อโรคติดเชื้อเขตร้อน…
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพโรคติดเชื้อโรคติดเชื้อเขตร้อน โรคติดเชื้ออุบัติใหม่
โรคติดเชื้อเก่า โรคติดเชื้ออุบัติใหม่โรคติดต่อในชุมชน ระยะเฉียบพลัน และเรื้อรัง
เป็นการติดเชื้อภายนอกเข้าสู่ร่างกาย อาจเป็นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต ที่ไม่ได้อยู่ในร่างกายคน การติดเชื้ออาจไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ หรือมีอาการปรากฏชัดเจนก็ได้ การติดเชื้ออาจเป็นเฉพาะระบบใดระบบหนึ่ง ในร่างกายและสามารถแพร่กระจายผ่านหลอดเลือด ปล่อยสารพิษทำลายระบบสำคัญของร่างกายทำให้ติดเชื้อหลายระบบ หรือ ติดเชื้อในกระแสเลือดได้
Infectious diseases
เป็นความผิดปกติที่เกิดจาก แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ปรสิต บางโรคเกิดจากคนสู่คน สัตว์สู่คน พิษของสัตว์ สู่คน เช่น ปนเปื้อนในอาหาร น้ำ หรือสิ่งแวดล้อม
Communicable Diseases
เป็นความเจ็บป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือสารพิษที่เกิดขึ้น ทั้งการติดต่อโดยตรง หรือโดยอ้อม จากคนสู่คนหรือจากสัตว์สู่คน หรือสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ
Neglected Tropical disease (NTD)
โรคเขตร้อน เป็นกลุ่มโรคที่มีความหลากหลายของการติดเชื้อในเขตร้อนซึ่งพบได้ทั่วไปในประชากรที่มีรายได้ต่ำในภูมิภาคกําลังพัฒนาของแอฟริกาเอเชียและอเมริกา ซึ่งการติดเชื้อเกิดจากความหลากหลายของเชื้อโรค เช่น ไวรัส แบคทีเรีย โปรโตซัว และ ปรสิต ตัวอย่างเช่น HIV /AIDs , Tuberculosis , Malaria
Emerging Infectious Disease (EID)
โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ หรือ โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำโรคที่เกิดจากสาเหตุการติดเชื้อโรคหรือโรคที่ติดต่อกันได้ ที่มีการอุบัติเกิดเพิ่มมากขึ้นในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา มีการคาดการณ์ว่าจะเป็นภัยคุกคามมากขึ้นแก่มนุษยชาติในอนาคตต่อไป เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุหลักของโรคนี้ แบ่งได้เป็นหลาย ประเภท คือ
-เชื้อโรคเดิมที่มีการปรับตัว & วิวัฒนาการ มีผลให้เกิดโรคขึ้นมาอีก เช่น ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
-เชื้อโรคที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป มีการแพร่กระจายไปยังภูมิประเทศใหม่หรือกลุ่มประชากรใหม่
-การติดโรคที่เป็นที่รู้จักดีในพื้นที่เคยประสบมาแล้ว ซึ่งมีระบบนิเวศน์ที่มีเปลี่ยนรูป
-โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำขึ้นมาใหม่ (โรคที่เคยเกิดขึ้นในอดีตแล้ว กลับมาเกิดขึ้นอีก) เนื่องจากการดื้อยาของเชื้อโรค เช่น วัณโรค Tuberculosis
Isolation precautions
หมายถึง การปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อและควบคุมการแพร่กระจาย เชื้อจากผู้ป่วยสู่ผู้ป่วย บุคลากร ญาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยมาตรการ
สิ่งที่จำเป็นสำหรับการแยกผู้ป่วย และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคคือ
ห้องสำหรับแยกผู้ป่วย เป็นห้องที่มิดชิด ถ้าเป็นห้องปรับอากาศเป็นแรงดันลบ
1.1ห้องที่ใช้แยกผู้ป่วยที่มีเชื้อโรค
1.2ห้องที่ใช้แยกผู้ป่วยติดเชื้อง่าย
Standard precautions
เป็นวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคในผู้ป่วยทุกราย
Transmission-based precaution
เป็นวิธีการป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อในผู้ป่วยที่ทราบ การวินิจฉัยแล้วโดยป้องกันตามกลวิธีการติดต่อเพิ่มเติมจากการดูแลผู้ป่วย ด้วย Standard precautions ดังนี้
Airborne precaution
ใช้ลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศที่เกิดฝอยละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน
TB ระยะแพร่เชื้อ, Measles (หัด), Chicken pox (สุกใส), SARS, Anthrax (aerosolized)
มาตรการนี้รวมทั้ง การปฏิบัติกิจกรรมที่มีการฟุ้งกระจาย เช่น การพ่นยา การดูดเสมหะ
สวมผ้าปิดปากปิดจมูกที่มีคุณสมบัติกรองเชื้อโรค สวม Particulate mask (N95) ในกรณีของผู้ป่วยวัณโรคหรือ สวม Surgical mask
Droplet precaution (ฝอยละออง)
ใช้ลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อจากฝอยละอองน้ำมูก และ/ หรือน้ำลายที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน ที่เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างแหล่งของเชื้อโรคกับผู้ที่สัมผัสเชื้อ
ให้สวมผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด Surgical mask เมื่อต้องเข้าใกล้ ผู้ป่วย ภายในระยะ 3 ฟุต ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
Contact precaution
ใช้ลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อจากการ สัมผัสโดยตรง (Direct contact), เป็นการแพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คน หรือจากการสัมผัสโดยอ้อม (Indirect contact) ซึ่งเป็นการแพร่กระจายเชื้อจากคนที่เป็นแหล่งของเชื้อโรคและปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม และเชื้อที่ปนเปื้อน นั้นกระจายไปสู่อีกคนหนึ่งโดยการสัมผัส
สวมถุงมือและถอดถุงมือทันทีหลังให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย แต่ละครั้งและต้องล้างมือ แบบ Hygienic handwashing หลังถอด ถุงมือทันที
สวมเสื้อคลุม หรือ ผ้ากันเปื้อนพลาสติกเมื่ออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย
ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อนย้าย ให้ห่อหุ้มหรือปิดส่วนที่มีการติดเชื้อ หรือมีสารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อโรคออกมา เพื่อป้องกันการแพร่ กระจายเชื้อ ไปสู่ผู้อื่น
อุปกรณ์เครื่องมือ-เครื่องให้แยกใช้หลังใช้ งานต้องล้างให้สะอาด
แนะนำการปฏิบัติตัวแก่ญาติในการเข้าเยี่ยม โดยให้ล้างมือ ก่อน-หลังสัมผัสทำลายเชื้อและควรจำกัดคนเข้าเยี่ยม
การติดต่อโดยตรง
ทางอากาศหายใจ
อาหารและเครื่องดื่ม
การปนปื้อนกับวัตถุ
โรคที่เกิดจากเวกเตอร์
แมลงสัตวืกัดต่อย
การป้องกัน
ล้างมือบ่อยๆ
ฉีดวัคซีน
ใช้ยาต้านจุลชีพ
มีเพสสัมพันธ์ที่ปลอดภัย
มีสุขอนามัยที่ดี
ขับไล่แมลง
ทายากันยุง
ฉีดยากันยุง
การติดต่อทางอ้อม
สัมผัสโดยคน
จากแม่สู่ลุก
ละอองฝ่อย