Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิของโรคติดเชื้อ และโรคติดต่อในชุมชนระยะเฉ…
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิของโรคติดเชื้อ และโรคติดต่อในชุมชนระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง
Infection concept
:red_flag:
เป็นความผิดปกติที่เกิดจาก แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ปรสิต บางโรคเกิดจากคนสู่คน สัตว์สู่คน พิษของสัตว์ สู่คน เช่น ปนเปื้อนในอาหาร น้ำ หรือสิ่งแวดล้อม
ประเภทของไข้หวัดใหญ่ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ :star:
ไวรัสชนิด A
โครงสร้างของไวรัสชนิด A แตกต่างจากไวรัสชนิดอื่น คือ มีไกลโคโปรตีน 2 แบบ ได้แก่ Hemagglutinin (HA) และ Neuraminidase (NA) โดย HA มีหน้าที่จับกับตัวรับสารของเซลล์แล้วบุกรุกเซลล์ สร้างอนุภาคไวรัสขึ้นมาใหม่ เมื่อติดเชื้อแล้ว NA จะทำหน้าที่ส่งไวรัสที่สร้างขึ้นใหม่แพร่กระจายไปสู่เซลล์อื่น ๆโปรตีน HA มีทั้งสิ้น 15 ชนิดย่อย และ NA มี 9 ชนิดย่อย สายพันธุ์ของไวรัสจึงถูกตั้งชื่อตามการจับตัวของโปรตีน
ไวรัสชนิด A มีความรุนแรงและอันตรายมากที่สุด สามารถติดต่อจากสัตว์พาหะมาสู่คน และจากคนที่ติดเชื้อไปสู่คนอื่น ๆ ทางการไอ จาม และอากาศหายใจที่มีเชื้อไวรัสกระจายอยู่ จึงสามารถแพร่ระบาดได้เป็นวงกว้าง หรือระบาดไปทั่วโลกได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ไวรัสชนิด B
ไวรัสชนิด B มักแพร่ระบาดตามฤดูกาลที่มีสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการติดเชื้อ อย่างฤดูหนาวและฤดูฝน เช่น ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (Seasonal Flu) อาจแพร่ระบาดได้ในระดับภูมิภาค
ไวรัสชนิด C
ไวรัสชนิด C เป็นการติดเชื้อทางระบบหายใจที่ไม่รุนแรง มีอาการป่วยเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการป่วยเลย ไม่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาด
ไวรัสชนิด D
ไวรัสชนิด D เป็นการติดเชื้อที่พบเฉพาะในสัตว์ และยังไม่พบการติดเชื้อที่แพร่มาสู่คน
สาเหตุของไข้หวัดใหญ่
:star:
เป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจจากไวรัสกลุ่ม Influenza Virus ที่อาจแพร่กระจายอยู่ในอากาศ หรือเจือปนอยู่ในของเหลว คนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น นำมือที่สัมผัสกับเชื้อมาขยี้ตา สัมผัสน้ำลายของผู้ที่ติดเชื้อจากการใช้ช้อนหรือแก้วน้ำดื่มร่วมกัน
สายพันธ์ไข้หวัดใหญ่
:star:
มีสายรหัสพันธุกรรม เป็น AH1N1 / swine influenza เป็นไข้หวัดสายพันธุ์ที่พบในหมู
มีสายรหัสพันธุกรรม เป็น AH5N1 / Avain influenza เป็นไข้หวัดสายพันธุ์ที่พบในนก ไก่
มีลักษณะเหมือนกับไข้หวัดใหญ่ที่เคยพบกันมา เพียงแต่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่เหมือนเดิม โดยเชื้อไวรัสนี้เกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ที่พบในมนุษย์กับสายพันธุ์ที่พบในนกทวีปอเมริกาเหนือ และกับเชื้อที่พบในหมู กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ได้แก่ เด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 2 ปี ผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 65 ปี ผู้ป่วยเบาหวาน มะเร็ง เอดส์ ธาลัสซีเมีย หญิงตั้งครรภ์ เมื่อติดเชื้อแล้วมีโอกาสเกิดปอดอักเสบรุนแรงมากกว่าคนอื่นๆ
Infection โรคติดเชื้อ: malaria, hepatitis, leptospirosis, melioidosis, อหิวาตกโรค, ไวรัสอีโบลา
:red_flag:
โรคเขตร้อน เป็นกลุ่มโรคที่มีความหลากหลายของการติดเชื้อในเขตร้อนซึ่งพบได้ทั่วไปในประชากรที่มีรายได้ต่ำในภูมิภาคกําลังพัฒนาของแอฟริกาเอเชียและอเมริกา ซึ่งการติดเชื้อเกิดจากความหลากหลายของเชื้อโรค เช่น ไวรัส แบคทีเรีย โปรโตซัว และ ปรสิต ตัวอย่างเช่น HIV /AIDs , Tuberculosis , Malaria
สาเหตุของอหิวาตกโรค :<3:
อหิวาตกโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า วิบริโอ โคเลอรี (Vibrio Cholerae) โดยแบคทีเรียจะผลิตสารชีวพิษซิกัวทอกซิน (Ciguatoxin: CTX) ขึ้นในลำไส้เล็ก สารชีวพิษนี้จะเกาะที่ผนังลำไส้และรวมกับโซเดียม หรือคลอไรด์ ที่ไหลผ่านลำไส้ และเกิดการกระตุ้นร่างกายให้ขับน้ำออกจากตัว จนนำไปสู่อาการท้องร่วง รวมทั้งการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในเลือดอย่างกะทันหัน
แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี หรือเชื้ออหิวาต์ มักพบในอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนสิ่งปฏิกูล หรืออุจจาระ ของคนซึ่งมีเชื้อนี้อยู่ในนั้น แหล่งที่สามารถพบการติดเชื้อและแพร่ระบาดของโรคจึงมักมาจากน้ำ อาหารบางชนิด อาหารทะเล ผักผลไม้สด และธัญพืชต่าง ๆ
การวินิจฉัยอหิวาตกโรค :<3:
การตรวจตัวอย่างอุจาจาระผู้ป่วย เทคนิคพีซีอาร์ (Polymerase Chain Reaction)
การตรวจด้วยแถบตรวจอหิวาตกโรค
อาการ :<3:
หลังได้รับเชื้อวิบริโอ โคเลอรี จะแสดงอาการของโรคภายใน 12 ชั่วโมง ถึง 5 วัน หลังจากที่ลำไส้ได้ดูดซึมอาหารหรือน้ำปนเปื้อนที่บริโภคเข้าไป ส่วนใหญ่จะไม่ปรากฏอาการป่วยเป็นไข้ หรืออาการอื่น เพราะเชื้อแบคทีเรียจะอยู่เฉพาะในอุจจาระเท่านั้น โดยเชื้อจะอยู่ในอุจจาระประมาณ 7-14 วันแล้วหายไปอยู่ตามสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายคนอื่นต่อไป
สำหรับผู้ที่ได้รับเชื้อและเกิดอาการของโรค ส่วนใหญ่แล้วมักปรากฏอาการของโรคในระดับอ่อนไปถึงค่อนข้างรุนแรง และมีส่วนน้อยที่เกิดอาการในระดับรุนแรง
การรักษาอหิวาตกโรค :<3:
วิธีรักษาอหิวาตกโรคประกอบด้วย
การให้รับประทานน้ำเกลือแร่
การให้สารน้ำทดแทน (Intravenous Fluids)
การใช้ยาปฏิชีวนะ
การให้แร่ธาตุสังกะสี
ภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค :<3:
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) กลูโคสหรือน้ำตาลนับเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย ระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดต่ำลงถือว่าเป็นภาวะที่อันตราย จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยป่วยจนกินอาหารไม่ได้
ภาวะเกลือโพแทสเซียมต่ำ (Hypokalemia) ผู้ป่วยอหิวาตกโรคมักสูญเสียเกลือแร่ซึ่งรวมถึงโพแทสเซียมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากร่างกายเกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง โดยภาวะโพแทสเซียมต่ำที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและเส้นประสาทถือว่าเป็นอันตรายต่อชีวิต
ไตวาย เมื่อไตสูญเสียประสิทธิภาพในการกรองของเสียและน้ำจำนวนมากในร่างกาย เกลือแร่ในเลือดและของเสียต่าง ๆ ก็จะสะสมตกค้างอยู่ในตัวผู้ป่วย ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อชีวิต ผู้ป่วยอหิวาตกโรคที่เกิดภาวะไตวายมักมีอาการช็อคร่วมด้วย
การป้องกันอหิวาตกโรค :<3:
ล้างมือให้สะอาด หลังเข้าห้องน้ำและก่อนรับประทานอาหาร โดยถูสบู่ที่มืออย่างน้อย 15 วินาทีก่อนล้างออกด้วยน้ำสะอาด
ดื่มน้ำต้มสุกและสะอาด โดยต้มน้ำให้เดือดประมาณ 1 นาที นอกจากนี้ควรใช้น้ำต้มสุกในการล้างผักผลไม้ แปรงฟัน หรือล้างหน้าล้างมือ
รับประทานอาหารปรุงสุก หลีกเลี่ยงอาหารดิบ
รับประทานผลไม้ที่ปอกเปลือกเอง เลือกรับประทานผลไม้ที่ปอกเปลือกได้เองอย่างกล้วย ส้ม หรือ อะโวคาโด เลี่ยงรับประทานผลไม้ที่ไม่ได้ปอกเปลือก
ระวังผลิตภัณฑ์เนยนม ไม่ควรรับประทานอาหารที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์เนยนม เช่น ไอศกรีม หรือนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ เพราะอาหารเหล่านี้มักเกิดการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย
Emerging infectious diseases โรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นใหม่: Flu ไข้หวัดใหญ่ A (H1N1),SARS ,ไข้หวัดนกA (H5N1),MERS, COVID 19
:red_flag:
คือ โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ หรือ โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ (Emerging Infectious Diseases, EID) คือโรคที่เกิดจากสาเหตุการติดเชื้อโรคหรือโรคที่ติดต่อกันได้ ที่มีการอุบัติเกิดเพิ่มมากขึ้นในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา และมีการคาดการณ์ว่าจะเป็นภัยคุกคามมากขึ้นแก่มนุษยชาติในอนาคตต่อไป เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุหลักของโรคนี้ แบ่งได้เป็นหลาย ประเภท คือ
เชื้อโรคเดิมที่มีการปรับตัว & วิวัฒนาการ มีผลให้เกิดโรคขึ้นมาอีก เช่น ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
เชื้อโรคที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป มีการแพร่กระจายไปยังภูมิประเทศใหม่หรือกลุ่มประชากรใหม่
การติดโรคที่เป็นที่รู้จักดีในพื้นที่เคยประสบมาแล้ว ซึ่งมีระบบนิเวศน์ที่มีเปลี่ยนรูป
โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำขึ้นมาใหม่ (โรคที่เคยเกิดขึ้นในอดีตแล้ว กลับมาเกิดขึ้นอีก) เนื่องจากการดื้อยาของเชื้อโรค เช่น วัณโรค Tuberculosis
Covid-19 :star:
ชื่อเชื้อ Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2 (SARS-CoV-2) โดยโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า SARS-CoV-2 เป็นเชื้อไวรัสลำดับที่ 7 ในตระกูล coronaviruses lineage B จีนัส betacoronavirus ที่ก่อให้เกิดโรคในคน
ขั้นตอนตรวจโควิดแบบ RT-PCR การตรวจหาเชื้อโควิดในทางเดินหายใจ (RT-PCR) หรือหลายคนอาจเรียกสั้นๆ ว่า Swab อาจมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.นัดหมายผู้ให้บริการตรวจเชื้อล่วงหน้า
2.ทำแบบสอบถามคัดกรอง
3.ทำการตรวจ Swab จมูก
4.แช่ก้าน Swab ให้ตัวอย่างซึมเข้าก้าน
5.ผู้ให้บริการจัดเก็บตัวอย่างเชื้อ
6.ผู้ให้บริการนำเชื้อไปตรวจ
7.รอรับผลผ่านทาง E-mail, SMS หรือโทรศัพท์ภายใน 1-2 วัน ในกรณีที่ต้องการใบรับรองแพทย์การรักษาปอดอักเสบรุนแรง หากใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ร่วมกับการนอนคว่ำ จะช่วยให้มีออกซิเจน ช่วยยื้อเวลา เมื่อรักษาผ่านไป 5 วันเห็นผลว่าคนไข้ดีขึ้น ส่วนการใช้ยากดการอักเสบ Tocilizumab จะเลือกใช้ในผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรง หลังให้ยาแล้วอาการปอดอักเสบดีขึ้น แต่ตัวนี้เป็นการชะลอ ไม่ใช่ตัวหลักในการกำจัดเชื้อ
การรักษาผู้ป่วยวิกฤติโควิดในปัจจุบัน :<3:
การรักษาผู้ป่วยวิกฤติโควิดในปัจจุบัน ยังมีการลดการใช้ท่อช่วยหายใจ เปลี่ยนเป็นให้ออกซิเจนผ่านการอัดหน้ากากหรือผ่านท่อวิธีแพร่กระจาย การก่อโรคในทางเดินหายใจต้องมีการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ(airborne) สัตว์ที่แพร่ เชื้อต้องร้องพ่นสิ่งคัดหลั่งออกมาทางปาก หรือผู้ป่วยต้องไอ ไอมีเสมหะ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดจึงสูดดม เชื้อในอากาศผ่านทางฝอยละอองขนาดใหญ่(droplet)และฝอยละอองขนาดเล็ก(เล็กกว่า 5 ไมครอนเรียกว่า aerosol)เข้าไปในทางเดินหายใจ ถ้าใครอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1-2 เมตรจะติด เชื้อจากการสูดฝอยละอองขนาดใหญ่และฝอยละอองขนาดเล็กจากการไอจามรดกันโดยตรง ถ้า อยู่ห่างจากผู้ป่วย 2 เมตรขึ้นไป จะติดเชื้อจากการสูดฝอยละอองขนาดเล็ก
การป้องกันที่มีประสิทธิภาพ :<3:
โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์ รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้ที่ไอหรือจาม สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเว้นระยะห่างไม่ได้ ไม่สัมผัสตา จมูก หรือปาก ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย หากมีไข้ ไอ และหายใจลำบากโปรดไปพบแพทย์Key อาการระบบทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ หายใจถี่ หายใจลำบาก ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ปอดออักเสบ ไตวาย หรืออาจเสียชีวิต
Communicable diseases & Tropical diseases: TB, tetanus,
:red_flag:
เป็นความเจ็บป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือสารพิษที่เกิดขึ้น ทั้งการติดต่อโดยตรง หรือโดยอ้อม จากคนสู่คน หรือจากสัตว์สู่คน หรือสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ
TB :star:
ชื่อเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค Mycobacterium
อาการ: อาการของวัณโรค : ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ บางรายไอแห้งๆ บางรายอาจมีเสมหะสีเหลือง เขียว หรือไอปนเลือด เจ็บ แน่นหน้าอก มีไข้ต่ำ ๆ ตอนบ่ายหรือเย็น เหนื่อยหอบ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดtuberculosis
Labที่ใช้ตรวจ: เก็บเสมหะ ,ตรวจAFB Smear ,Chest radiography การถ่ายภาพรังสีทรวงอก ,การทดสอบtuberculin skin test การดูแล ส่งเสริมผู้ป่วยวัณโรค : จัดบ้านให้อากาศถ่ายเทสะดวก , ดูแลร่างกายสะอาด, รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การป้องกัน: ควรงดสิ่งเสพติดทุกชนิด ถ้ามีอาการผิดปกติที่น่าสงสัยว่าเป็นวัณโรค เช่น ไอเรื้อรัง 2 สัปดาห์ขึ้นไป มีไข้ต่ำๆโดยเฉพาะตอนบ่ายๆหรือค่ำๆ เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ควรรีบไปรับการตรวจรักษาโดยการเอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น การส่ำส่อนทางเพศ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์ เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมลง มีโอกาสที่จะป่วยเป็นวัณโรค จะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้นประชาชนทั่วไป ควรตรวจร่างกายโดยการเอกซ์เรย์ปอดหรือตรวจเสมหะ (AFB) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ถ้าพบว่าเป็นวัณโรคจะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้นในเด็กควรได้รับการฉีดวัคซีนบีซีจี (Bacilus Calmette Guerin) รวมถึงผู้ที่ทำการทดสอบทูเบอร์คูลินเทสท์ (Tuberculin test) ให้ผลเป็นลบ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน การฟื้นฟูผู้ป่วย:การออกกำลังสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ งดสารเสพติดทุกชนิด โดยเฉพาะบุหรี่ จุดสังเกตสำคัญของผู้ป่วยTB ไอแห้งๆตลอดเวลา
Isolation precautions :red_flag:
หมายถึง การปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อและควบคุมการแพร่กระจาย เชื้อจากผู้ป่วยสู่ผู้ป่วย บุคลากร ญาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยมาตรการ Standard Precautions และ Transmission-based precautions
การป้องกันการติดเชื้อ จะมีการแยกผู้ป่วยที่เป็นแหล่งของเชื้อโรคออกจากผู้ป่วยอื่น เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อไปสู่ผู้ป่วยอื่น (Infectious Isolation) และโดยการแยกผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันโรคตํ่า หรือติดเชื้อได้ง่ายให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปราศจากเชื้อโรคหรือมีเชื้อโรคน้อย (Protective Isolation)
สิ่งที่จำเป็นสำหรับการแยกผู้ป่วย และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคคือห้องสำหรับแยกผู้ป่วย เป็นห้องที่มิดชิด ถ้าเป็นห้องปรับอากาศเป็นแรงดันลบ เช่น
1.1ห้องที่ใช้แยกผู้ป่วยที่มีเชื้อโรค ติดต่อผู้อื่นได้ ในห้องควรมีความดันตํ่า เวลาเปิดประตูจะดูดอากาศข้างนอกเข้าไปและอากาศ ข้างในไม่ออกมาข้างนอก
1.2ห้องที่ใช้แยกผู้ป่วยติดเชื้อง่าย ควรจะเป็นแรงดันบวก มีความดันในห้องสูง เวลาเปิดประตู อากาศในห้องจะออกและอากาศนอกห้องไม่สามารถพัดเข้าในห้องได้นอกจากนี้ในห้องควรจะมีอ่างล้างมือสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และญาติ, เสื้อคลุม, ภาชนะใส่เสื้อคลุม, หมวก ฯลฯ ที่ใช้แล้ว
Standard precautions :<3:
เป็นวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคในผู้ป่วยทุกราย โดยให้คํานึงว่าผู้ป่วย ทุกรายอาจจะมีเชื้อโรคที่สามารถติดต่อได้ทางเลือดและสารคัดหลั่งจากร่างกายทุกชนิด (Body fluid, Secretion) ผิวหนังที่มีแผลและเยื่อบุ (Mucous membrane)
Transmission-based precaution :<3:
เป็นวิธีการป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อในผู้ป่วยที่ทราบ การวินิจฉัยแล้วโดยป้องกันตามกลวิธีการติดต่อเพิ่มเติมจากการดูแลผู้ป่วย ด้วย Standard precautions ดังนี้
Airborne precautions :check:
ใช้ลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศที่เกิดฝอยละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน ซึ่งล่องลอยอยู่ในอากาศเป็นเวลานาน หรือฝุุนละอองที่มีเชื้อจุลชีพปะปนอยู่ ได้แก่
TB ระยะแพร่เชื้อ, Measles (หัด), Chicken pox (สุกใส), SARS, Anthrax (aerosolized), Small pox, Monkey pox, Herpes Zoster : Disseminated disease, Viral Hemorrhagic Fevers (VHF) : Ebola/Lassa
มาตรการนี้รวมทั้ง การปฏิบัติกิจกรรมที่มีการฟุ้งกระจาย เช่น การพ่นยา การดูดเสมหะ การใส่ท่อ/ถอดช่วยหายใจ และการส่องกล้องเข้าหลอดลม
สวมผ้าปิดปากปิดจมูกที่มีคุณสมบัติกรองเชื้อโรค เมื่อเข้าไปใน ห้องผู้ป่วยหรือเข้าใกล้ผู้ป่วยจนกว่าผู้ป่วยจะพ้นระยะการแพรเชื้อ เช่น สวม Particulate mask (N95) ในกรณีของผู้ป่วยวัณโรคหรือ สวม Surgical mask ในกรณีอื่น
Droplet precautions :check:
ใช้ลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อจากฝอยละอองน้ำมูก และ/ หรือน้ำลายที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน ที่เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างแหล่งของเชื้อโรคกับผู้ที่สัมผัสเชื้อโรค ได้แก่
Group A streptococcal pneumonia,
H. Influenza type,
Mycoplasma pneumonia,
Pneumonic Plague,
Diphtheria, Pertussis (ไอกรน),
Neisseria meningitidis, Scarlet fever
โรคติดเชื้อไวรัส ได้แก่ Rubella (หัดเยอรมัน), Mump (คางทูม), Adenovirus, Influenza
ให้สวมผ้าปิดปาก-จมูก ชนิด Surgical mask เมื่อต้องเข้าใกล้ ผู้ป่วย ภายในระยะ 3 ฟุต ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายให้ผู้ป่วยสวมผ้าปิดปากปิดจมูก ชนิด Surgical mask เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจาย แนะนำให้ผู้ป่วย ใช้ผ้าหรือกระดาษเช็ดหน้าปิดปากปิดจมูก ขณะไอ จาม และให้บ้วนเสมหะในภาชนะที่มีถุงพลาสติกรองรับ และมีฝามิดชิด
Contact precautions :check:
ใช้ลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อจากการ สัมผัสโดยตรง (Direct contact), เป็นการแพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คน หรือจากการสัมผัสโดยอ้อม (Indirect contact) ซึ่งเป็นการแพร่กระจายเชื้อจากคนที่เป็นแหล่งของเชื้อโรคและปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม และเชื้อที่ปนเปื้อน นั้นกระจายไปสู่อีกคนหนึ่งโดยการสัมผัสได้แก่
Infectious diarrhea,
Infectious wound,
Skin infection,
Viral conjunctivitis,
Hand Foot Mouth disease
สวมถุงมือและถอดถุงมือทันทีหลังให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย แต่ละครั้งและต้องล้างมือ แบบ Hygienic handwashing หลังถอด ถุงมือทันที
สวมเสื้อคลุม หรือ ผ้ากันเปื้อนพลาสติกเมื่ออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย หรือคาดว่าจะต้องสัมผัสกับ สิ่งแวดล้อมและสารคัดหลั่งจากตัว ผู้ป่วยโดยเปลี่ยนเสื้อคลุมตัวใหม่ทุกครั้งที่จะดูแลผู้ป่วยในแต่ละกิจกรรม
ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อนย้าย ให้ห่อหุ้มหรือปิดส่วนที่มีการติดเชื้อ หรือมีสารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อโรคออกมา เพื่อป้องกันการแพร่ กระจายเชื้อ ไปสู่ผู้อื่น และการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อต่อ สิ่งแวดล้อม
อุปกรณ์เครื่องมือ-เครื่องให้แยกใช้หลังใช้ งานต้องล้างให้สะอาด และทำลายเชื้อหรือทำให้ปราศจากเชื้ออย่างเหมาะสมก่อนนำมาใช้ต่อไป
แนะนำการปฏิบัติตัวแก่ญาติในการเข้าเยี่ยม โดยให้ล้างมือ ก่อน-หลังสัมผัสทำลายเชื้อและควรจำกัดคนเข้าเยี่ยม
Agent
Host
Environment
↕
↕
↔
Agent, or microbe : that causes the disease (the “what” of the Triangle)
Host, or organism : harboring the disease (the “who” of the Triangle)
Environment, or those external factors
: that cause or allow disease transmission (the “where” of the Triangle)