Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล - Coggle Diagram
กฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้น เป็นกฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดเป็นความผิด
กฎหมายอาญามีลักษณะที่สำคัญ 2 ส่วน ดังนี้
1.ส่วนที่บัญญัติถึงความผิด หมายความว่าได้บัญญัติถึงการกระทำ และการงดเว้นกระทำการอย่างใดเป็นความผิดอาญา
2.ส่วนที่บัญญัติถึงโทษ หมายความว่า บทบัญญัตินั้นๆนอกจากจะได้ระบุว่าการกระทำหรืองด เว้นการกระทำอย่างใดเป็นความผิดแล้ว ต้องกำหนดโทษอาญาสำหรับความผิดนั้นๆ
โทษอาญาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา
1.ประหารชีวิต
2.จำคุก
3.กักขัง
4.ปรับ
5.ริบทรัพย์สิน
หลักเกณฑ์สำคัญ ของประมวลกฎหมายอาญา
จะไม่มีความผิดโดยไม่มีกฎหมาย
จะไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย โทษอย่างไรก็ต้องลงอย่างนั้น จะให้ลงโทษอย่างอื่นไม่ได้
จะต้องตีความกฎหมายอาญาโดยเคร่งครัด
การอุดช่องว่างแห่งกฎหมาย อุดช่องว่าเป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้
บุคคลที่ต้องได้รับผิดทางอาญาและได้รับโทษทางอาญาเมื่อใด
กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผละย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
2.การกระทำโดยไม่เจตนา แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยแจ้งชัดให้รับผิด แม้กระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผลหรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
กระทำโดยประมาท แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์
เ
หตุที่กฎหมายไม่ลงโทษ
บางกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษ เป็นกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษผู้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด หมายความว่า ผู้กระทำยังมีความผิดอยู่แต่กฎหมายยกเว้นโทษให้ต่างกับกรณียกเว้นความผิด
การกระทำความผิดอาญาที่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ ถ้ามีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย เช่น
1.การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
2.การกระทำความผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
3.การกระทำความผิดเพราะความมึนเมา
4.การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
5.สามีภริยากระทำความผิดต่อกันในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางฐาน
6.เด็กอายุไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด
กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
กฎหมายแพ่ง มีลักษณะเป็นกฎหมายเอกชน ที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน เป็นเรื่องรัฐ/ม่เข้ามายุ่งเกี่ยว
1.นิติกรรม หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมายและโดยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ
ความสมบูรณ์ของนิติกรรม
1.กรณีที่นิติกรรมกระทำขึ้นถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดทุกประการ ย่อมสมบูรณ์มีผลบังคับใช้
2.กรณีนิติกรรมที่กระทำขึ้นมีข้อที่อาจเสื่อมเสียบางประการกฎหมายจึงเข้าคุ้มครองปกป้องสิทธิของฝ่ายที่เสียเปรียบโดยกำหนดให้นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ตลอดไปหรือสิ้นผลไป สุดแท้แต่ฝ่ายที่เสียเปรียบจะเลือก เรียกว่านิติกรรมที่เป็นโมฆียะ
3.กรณีนิติกรรมที่กระทำขึ้นไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติในเรื่องที่เป็นสาระสำคัญ จึงตกเป็นโมฆะ แยกเหตุแห่งโมฆะกรรมอันเกิดจากวัตถุประสงค์ของนิติกรรม
3.1) นิติกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
3.2)นิติกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย คือ ทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น ไก่ทำสัญญาจ้างไข่ไปเก็บดาวบนท้องฟ้า ย่อมตกเป็นโมฆะ
3.3)นิติกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
2.บุคคล หมายถึง คนซึ่งสามารถมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย เรียกว่า บุคคลธรรมดาและคำว่า บุคคลยังหมายถึง กลุ่มบุคคลหรือองค์กรซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดาและให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
องค์ประกอบของความรับผิดฐานละเมิดและการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น หน่วยงานของรัฐจะรับภาระชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ได้รับความเสียหายไปก่อน แต่หน่วยงานของรัฐจะมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับเจ้าหน้าที่หรือไม่และเพียงใด จำต้องพิจารณาว่าละเมิดนั้นได้เกิดขึ้นจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่ผู้นั้นหรือไม่ ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคนใช้หลักกฎหมายเรื่องลูกหนี้ร่วมตามกฎหมายแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้
การกระทำละเมิดในพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เป็นไปตามาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” มีองค์ประกอบดังนี้
1.มีการกระทำ หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึกในการเคลื่อนไหวและอยู่ในบังคับของจิตใจผู้กระทำ รวมถึงการงดเว้นการกระทำที่ตนมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องกระทำ และการงดเว้นนั้นเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้น
2.โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
-โดยจงใจ หมายถึง รู้สำนึกถึงผลหรือความเสียหายจากการกระทำของตน
-โดยประมาทเลินเล่อ หมายถึง เป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังตามพฤติการณ์ และตามฐานะในสังคมเช่นเดียวกับผู้กระทำความเสียหาย
3.โดยผิดกฎหมาย เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือไม่มีสิทธิหรือโดยมิชอบด้วยกฎหมายและรวมถึงการใช้อำนาจที่มีอยู่เกินส่วนหรือใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่น
4.เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น -ความเสียหายนั้นจะเป็นความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัยเสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้แต่ต้องเป็นความเสียหายที่แน่นอนไม่ว่าจะเกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันหรือจะเกิดขึ้นในอนาคตต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน -ความเสียหายจะต้องเกิดจากผลโดยตรงของผู้กระทำด้วย
การกระทำละเมิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
ต้องเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ในการฏิบัติหน้าที่
1.กระทำการในฐานะเจ้าหน้าที่ มาตรา4 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 นิยาม “เจ้าหน้าที่” หมายความว่าราชการ พนักงาน ลูกจ้างหรือปฎิบัติงานประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด เป็นเจ่าหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้และเจ้าหน้าที่ได้กระทำการตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
2.เจ้าหน้าที่นั้นเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ นอกจากผู้กระทำละเมิดจะต้องอยู่ในฐานะเจ้าหน้าที่แล้วผู้นั้นจำต้องเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐตามาตรา 4 วรรคสามให้ความหมายไว้ว่า “ หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฏีและให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่ มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐมาพระราชบัญญัตินี้”
ความรับผิดเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่
ก.โดยฟ้องคดีต่อศาล
มาตรา 5 บัญญัติว่า “หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วย
งานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง”
ข.โดยขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
มาตรา 11 มีหลักการสรุปได้ว่า กรณีที่ผู้เสียหายถูกกระทำละเมิดจากเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ นอกจากสิทธิที่ผู้เสียหายจะนำคดีฟ้องร้องต่อศาลแล้วผู้เสียหายอาจใช้สิทธิร้องขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้โดยตรง
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ก.กระทำละเมิดนอกเหนือการปฎิบัติหน้าที่ กรณีเจ้าหน้าที่กระทำการละเมิดตีอหน่วยงานของรัฐซึ่งไม่ใช่การกระทำในการปฎิบัติหน้าที่ เช่น เจตนาทุจริตยักยอกทรัพย์ของทางราชการ
ข.กระทำละเมิดในการปฎิบัติหน้าที่ กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทะละเมิดในการ ปฎิบัติหน้าที่ต่อบุคคลภายนอกและหน่วยงานของรัฐ ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอก หน่วยงานของรัฐจะมีสิทธิไล่เบี้ยหรือเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้เฉพาะกรณีที่การกระทำละเมิดนั้น”การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง”
องค์ประกอบของความรับผิดตามกฎหมายในการประกอบวิชาชีพพยาบาล
บุคคลต้องรับผิดทางอาญา
มีกฎหมายบอกว่าผิดในขณะทำผิด
มีกฎหมายบอกว่าผิดในการทำผิด
กระทำโดยเจตนา
มีการกระทำ(ภายในตัวผู้กระทำ)
การกระทำผิด
การทำแท้ง
มาตรา 301 หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 302 ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 303 ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 304 ผู้ใดเพียงแต่พยายามกระทำความผิดตาม มาตรา 301 หรือ มาตรา 302 วรรคแรก ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
มาตรา 305 ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวใน มาตรา 301 และมาตรา 302 เป็นการกระทำของนายแพทย์และ
1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ
2) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา277 มาตรา283 หรือมาตรา 284 ผู้กระทำไม่มีความผิด
ประมาท
มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระหว่างโทษจำคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 390 ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ทอดทิ้งผู้ป่วย
มาตรา 307 ผู้ใดมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญาต้องดูแลซึ่งพึ่งพาตนเองมิได้เพราะอายุ ความเจ็บป่วย การพิการ หรือจิตพิการ ทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้นั้นเสียโดยประการน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 373 “ผู้ใดควบคุมดูแลบุคคลวิกลจริต ปล่อยปละละเลยให้บุคคลวิกลจริตนั้นออกเที่ยวไป โดยลำพังต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท”
เปิดความลับผู้ป่วย
มาตรา 323 ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่นโดยเหตุที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ โดยดหตุที่ประกอบอาชีพเป็นแพทย์ เภสัชกร คนจำหน่ายยา นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาล นักบวช หมอความ ทนายความ หรือผู้สอบบัญชีหรือโดยเหตุที่เป็นผู้ช่วยในการประกอบอาชีพนั้นแล้วเปิดเผยความลับนั้นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ปฎิเสธการช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในภยันอันตรายแห่งชีวิต
มาตรา 374 ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันอันตรายแห่งชีวิตซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่นแต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทำเอกสารคำรับรองเท็จ/ปลอมเอกสาร
มาตรา 264 ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบัหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริงหรือ หรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสารโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 265 ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 269 ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาแพทย์ กฎหมาย บัญชีหรือวิชาชีพอื่นใด ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จโดยการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 266 ผู้ใดปลอมแปลงเอกสารดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ใบหุ้น ใบหุ้นกู้หรือใบสำคัญของใบหุ้น
เอกสารสิอันเป็นเอกสารราชการ
พินัยกรรม ตั๋วเงินหรือบัตรใบฝาก
หลักเกการให้ความยินยอมเพื่อการรักษา
ให้ความยินยอมต่อผู้กรำโดยตรงด้วยความสมัครใจ ความยินยอมที่เกิดจากการถูกข่มขู่หลอกลวงหรือความสำคัญผิด ไม่ถือว่าเป็นความยินยอมด้วยความสมัครใจ
ผู้ให้ความยินยอมผู้ถูกกระทำต้องเข้าใจถึงการกระทำและผลของการให้ความยินยอม
เวลาที่ให้ความยินยอม ต้องให้ก่อนหรือขณะกระทำละเมิดและม่จำกัดว่าต้องให้ก่อนล่วงหน้านานแค่ไหน แต่อย่างน้อยจะต้องมีอยู่เวลากระทำและมีอยู่ตลอดการกระทำนั้น
การให้ความยินยอมจะโดยตรง โดยปริยายหรือโดยการนิ่ง การให้ความยินยอมจะทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวาจาก็ได้ เพราะกฎหมายมิได้บัญญัติแบบของการให้ความยินยอมไว้
องค์ประกอบฐานความผิดละเมิด และการชดใช้ค่าเสียหาย
มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่า ผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย
ค่าชดใช้การขาดงานบุคคลภายนอก
ค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานในอนาคต
ค่าใช้จ่ายจำเป็น
ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้
ค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน
ทรัพย์สินเสียหาย
ชดใช้ราคา
เสียหายแก่ชีวิต
ค่าปลงศพ
ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในงานศพ
ค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย
ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้
ค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดู
สามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย
บิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย
บุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรม
บุตรผู้เยาว์
บุตรในครรภ์หากเกิดมารอด
เสียหายแก่สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง
สิทความเป็นอยู่ส่วนตัว
สิทในคู่มั่น คู่สมรส
สัมปทาน ชื่อเสียง ชื่อบุคคล
สิทในทางการค้า สิทธิในครอบครัว
การดักฟังทางโทรศัพท์