Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ - Coggle Diagram
โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
โรคหนองในเทียม
สาเหตุ
จากการติดเชื้อยูเรียพลาสมายูเรียไลทิคัม (Ureaplasma Urealyticum)หรือเชื้ออื่นๆเช่น Trichomans vaginalis หรือเชื้อไวรัสเริม
การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่สวมถุงยางอนามัย
พยาธิสรีรภาพ
เกิดขึ้นจากการรับเชื้อแบคทีเรียผ่านจากคู่นอนที่ติดเชื้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมูกใสหรือหนองที่บริเวณอวัยวะเพศ
การประเมินสภาพ
อาการหนองในเทียมในเพศชาย
มีมูกใสหรือขุ่นไหลออกจากปลายอวัยวะเพศ ซึ่งไม่ใช่ปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ
มีอาการอักเสบที่บริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
รู้สึกเจ็บหรือแสบที่อวัยวะเพศขณะปัสสาวะ
รู้สึกปวดหรือมีการบวมที่ลูกอัณฑะ
อาการหนองในเทียมในเพศหญิง
รู้สึกเจ็บท้องน้อยเวลามีประจำเดือนหรือขณะมีเพศสัมพันธ์
รู้สึกคันหรือแสบร้อนบริเวณรอบอวัยวะเพศ
รู้สึกเจ็บหรือแสบที่อวัยวะเพศขณะปัสสาวะ
มีตกขาวลักษณะผิดปกติและมีกลิ่นเหม็น
การรักษา
ควรงดการมีเพศสัมพันธ์
ไปพบแพทย์เพื่อรับยาปฏิชีวนะดอกซีไซคลีน (Doxycycline) กินครั้งละ 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ (เป็นยาที่แพทย์นิยมใช้) อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) ขนาด 1 กรัม หรือ 1,000 มิลลิกรัม ใช้กินเพียงครั้งเดียว (เป็นยากลุ่มเดียวกันกับอิริโทรมัยซิน และเป็นยาที่แพทย์นิยมใช้)
ผู้ป่วยควรได้รับการเจาะเลือดตรวจวีดีอาร์แอล (Venereal Disease Research Laboratory - VDRL) และตรวจหาเชื้อเอชไอวี (HIV) ตั้งแต่ก่อนรักษาครั้งหนึ่ง และต้องกลับมาตรวจซ้ำอีกครั้งในอีก 3 เดือนต่อมา เพื่อให้แน่ใจว่าหายแล้วและไม่ติดเชื้อ
งดดื่มเหล้า
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1.มีการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
วัตถุประสงค์
การอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานลดลง
เกณฑ์การประเมินผล
1.ไม่มีไข้ไม่เกิน37.4องศา
2.ไม่มีอาการและอาการแสดงของการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
3.ผลการตรวจWBC ต่ำกว่า9,000cell/eu.mm.
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกาย และประเมินอาการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เพื่อสังเกตอาการปวดท้อง ลักษณะ สี และปริมาณของการตกขาว
2.แนะนำให้ผู้ป่วยนอนท่าFowler เพื่อบรรเทาอาการปวดท้อง ป้องกันสิ่งคัดหลั่ง แชะป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
3.ควรงดการร่วมเพศในระยะที่เป็นโรคหรือใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคซ้ำ
4.ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัยของอวัยวะสืบพันธ์ เพราะจะทำให้ไม่ติดเชื้อแบคทีเรีย
5.ดูแลให้ได้รับยาปฎิชีวนะ Doxycycline,Azithromyci
3.รู้สึกวิตกกังวลเนื่องจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
วัตถุประสงค์
เพื่อคลายความวิตกกังวล
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ป่วยบอกวิธีการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยได้
2.ผู้ป่วยไม่มีท่าทางแสดงความวิตกกังวล
3.ผู้ป่วยสามารถวางแผนการมีเพศสัมพันธ์อย่างเหมาะสม
กิจกรรมการพยาบาล
1.ให้โอกาศผู้ป่วยแสดงความรู้สึกบอกเล่าเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ เพื่อคลายความวิตกกังวล
2.ให้ความรู้กับผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
3.ประเมินความรู้สึกและความรุนแรงของปัญหาหากพบว่ามีอาการซึมเศร้ามากควรส่งปรึกษาด้านสุขภาพจิต
4.ให้คำปรึกษาเรื่องเพศสัมพันธ์ โดยอาจแนะนำให้แสดงความรักโดยวิธีอื่น
2.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือเกิดพยาธิสภาพในระยะยาวเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อ
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากการขาดการรักษาที่ถูกต้อง
เกณฑ์การประเมินผล
1.อาการ และอาการแสดงของโรคหายไป
2.ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการยืนยันว่าไม่เป็นโรค
กิจกรรมการพยาบาล
1.ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยให้เกิดความรู้ และตระหนักถึงผลกระทบหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของโรค
2.มาตรวจตามนัดทุกครั้งและการละพฤติกรรมเสี่ยง เช่นการเปลี่ยนคู่นอน
3.ดูแลการได้รับยา Doxycycline, Azithromycin
โรคซิฟิลิส
สาเหตุ
การติดเชื้อแบคทีเรีย Treponema Pallidum
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อได้รับเชื้อ Treponema Pallidum เชื้อจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนและกระตุ้นให้เกิดการอักเสบจนเกิดเป็นรอยโรค
บริเวณที่สัมผัสเชื้อหรือเชื้อบุกรุกเข้าร่างกายจนเกิดเป็นแผลที่เรียกว่า chancre หรือแผลริมแข็ง
หลังได้รับเชื้อมา 1-3 สัปดาห์ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง โรคจะพัฒนาเข้าสู่ระยะที่เป็นผื่นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย
เมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 เชื้อเข้าสู้กระแสเลือด ทำให้ร่างกายสร้าง antibody ต่อเชื้อ ผู้ป่วยจะมีเลือดบวกทุกราย
การประเมินสภาพ
1.ได้จากประวัติและการตรวจร่างกาย อาการที่ผิดปกติ เช่น มีแผลบริเวณอวัยวะเพศ มีสิ่งคัดหลั่งผิดปกติ มีอาการปวดเจ็บบริเวณท้องน้อย และมีไข้
Darkfield microscopy พบเชื่อ spirochete จากแผลของผู้ป่วยที่มี hard chancre และ Condyloma lata
non-treponemal test ได้แก่ VDRL, RPR
treponemal ได้แก่ TPHA, FTA-ABS
การรักษา
1.ให้ยาผู้ป่วยระยะแรก < 1 ปี ดังนี้
ยาที่แนะนํายา Benzathine penicillin G
ยาทางเลือกสําหรับผู้แพ้ penicillin คือยา Doxycycline, Tetracycline
2.การรักษาแผล แผลมักเป็นแผลที่ไม่สกปรก สามารดูแลทําความสะอาดแผลตามการดูแลสุขอนามัยที่ดีทั่วไป
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในระยะกลับเป็นซ้ำ
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะติดเชื้ออื่นซ้ำ
กิจกรรมการพยาบาล
จัดให้นอนพักที่ห้องแยกหรือเตียงแยก มุมติดหน้าต่างของหอผู้ป่วย ที่มีอากาศถ่ายเทสู่ภายนอกได้ดี
สวมถุงมือก่อนให้การพยาบาล ถอดถุงมือทันทีหลังให้การพยาบาล และต้องล้างมือหลังถอดถุงมือทันที
สวมเสื้อคลุมหรือผ้ากันเปื้อนพลาสติกเมื่ออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย หรือคาดว่าจะต้องสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมหรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย
แยกของเครื่องใช้ เช่น แก้วน้ำ ปรอท เสื้อผ้า จนพ้นระยะแพร่เชื้อ
ปฏิบัติตามหลักการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
อธิบายให้ความรู้เกี่ยวกับโรคแผลริมอ่อน (Chancroid) การรักษาพยาบาลและการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
แนะนำการปฏิบัติตัวแก่ญาติในการเข้าเยี่ยม โดยให้ล้างมือก่อนและหลังการสัมผัสสิ่งต่างๆ ผู้ที่ ติดเชื้อง่ายไม่ควรเข้าเยี่ยม เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ เป็นต้น
แนะนำให้ล้างมือก่อนและหลังทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะสัมผัสแผลหรือไม่ก็ตาม
มีความวิตกกังวล เนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับโรค
วัตถุประสงค์
เพื่อลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรค
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา ความสำคัญของการมาตรวจอย่างสม่ำเสมอ การสังเกตการเปลี่ยนแปลงและภาวะแทรกซ้อน
ให้โอกาสระบายความรู้และซักถามข้อสงสัยอย่างเต็มที่และชัดเจน กระตุ้นให้การแลกเปลี่ยนความรู้สึกกับคู่ครอง และผู้ป่วยโรคเดียวกัน
สร้างความสัมพันธภาพและบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นมิตร บอกเหตุผลของการปฏิบัติการพยาบาลก่อนให้การพยาบาลทุกครั้ง
ให้ความรู้กับครอบครัวเกี่ยวกับการดำเนินของโรค การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ให้ครอบครัวเข้าใจ ให้กำลังใจและประคับประคองจิตใจผู้ป่วย
โรคหนองใน
สาเหตุ
-เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae
-โรคนี้ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะทางปาก ช่องคลอดหรือทางทวาร
-การร่วมเพศทางปากจะทำให้เชื้อสามารถติดต่อจากปากไปอวัยวะเพศ หรือจากอวัยวะเพศไปยังปาก
-หากคุณมีคู่ขามากเท่าใดคุณก็จะมีโอกาสติดเชื้อนี้เพิ่มขึ้น
-การจับมือหรือการนั่งฝาโถส้วมไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
พยาธิสรีรภาพ
-คอและเยื่อบุตาทำให้เกิดการระคายเคืองหรือมีหนองได้
-ช่องคลอด ปากมดลูก และเยื่อบุมดลูกทำให้เกิดการอักเสบของบริเวณนั้นได้
-เยื่อเมือกในท่อปัสสาวะทำให้มีอาการปวดขัดเวลาปัสสาวะ และมักมีหนองไหลที่จากท่อทางเดินปัสสาวะ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae เชื้อนี้จะทำให้เกิดโรคเฉพาะเยื่อเมือก mucous membrance เช่น
การประเมินสภาพ
-มีหนองเหลืองไหลออกจากท่อทางเดินปัสสาวะ
-ย้อมสีแกรมจากสารคัดหลั่งที่เกิดจากปากมดลูกและท่อทางเดินปัสสาวะจะพบ Negative intracellular diplococci
การรักษา
-Ceftriaxone 250 mg IM in Single Dose
-Cefixime 400 mg รับประทานครั้งเดียว
-Ciprofloxacin 500 mg รับประทานครั้งเดียว
-Ofloxacin 400 mg รับประทานครั้งเดียว
หากมีอาการแพ้ยาดังกล่าวจะให้ยา Spectinomycin
-การรักษาหนองในแท้มักจะรักษาหนองในเทียมร่วมด้วยโดยการให้ Doxycycline 1 เม็ดเช้าเย็นเป็นเวลา 7 วัน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.มีการอักเสบติดเชื้อของท่อทางเดินปัสสาวะ
วัตถุประสงค์
เพื่อลดการอักเสบของท่อทางเดินปัสสาวะ
เกณฑ์การประเมินผล
1.ผลตรวจไม่พบเชื้อ Bacteria Neisseria gonorrhoeae
2.อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 37.4 C
3.ไม่มีหนองไหลออกมาจากท่อทางเดินปัสสาวะ
4.ไม่มีอาการแสบขัดทางเดินปัสสาวะ
กิจกรรมการพยาบาล
5.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา
6.doxycycline 1tab b.i.d 7 day
5.Levofloxacin
4.ofloxacin 400 mg
3.ciprofloxacin 500 mg รับประทานครั้งเดียว
2.ceftriaxone 250 mg IM in single dose
1.cefixime 400 mg รับประทานครั้งเดียว
4.แนะนำการรักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์
3.จัดท่านอนศีรษะสูงเพื่อไม่ให้หนองกระจายเข้าทางเดินปัสสาวะส่วนบน
2.ประเมินการติดเชื้อโดนสังเกตลักษณะ ปริมาณ สี กลิ่นของสารคัดหลั่งทางช่องคลอด
1.ประเมินสัญญาณชีพจร ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการไข้จากการติดเชื้อ
2.ผู้ป่วยขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัยระบบอวัยวะสืบพันธ์ุ
วัตถุประสงค์
มีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยสามารถอธิบายการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความพร้อมในการรับรู้ของผู้ป่วย
2.ให้ความรู้ทั่วไปในเรื่องสุขอนามัยของระบบสืบพันธ์ุ เช่น การรักษาความสะอาดร่างกายและป้องกันการอับชื้นของอวัยวะสืบพันธ์ุ
3.แนะนำโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน
4.ไม่สวนล้างช่องคลอดหลังทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุภายนอกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อบ่อย เพราะจะเป็นการทำลายเชื้อ Bacteria ธรรมชาติออกไปและไม่ควรใช้น้ำหอมหรือแป้งทาเฉพาะที่เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคือง
โรคแผลริมอ่อน
สาเหตุ
การติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophilus Ducreyi
พยาธิสรีรวิทยา
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophilus Ducreyi ซึ่งเชื้อจำนวนมากจะอยู่ที่หนองและจะเข้าสู่ร่างกายในขณะที่มีเพศสัมพันธ์
เชื้อจะสร้างสารพิษ ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศ บวมและเจ็บ มักมีหลายแผล ขอบแผลนุ่มและไม่เรียบ ก้นแผลสกปรกมีหนอง มีเลือดออกง่าย ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบจะบวม และเป็นฝี เมื่อฝีแตกจะเป็นแผล
การประเมินสภาพ
ได้จากการซักประวัติและการตรวจร่างกาย อาการที่ผิดปกติ เช่น มีแผลเล็กๆที่อวัยวะเพศ ขอบแผลนูนไม่เรียบ มีอาการเจ็บมาก มีหนอง
การย้อมเชื้อจากแผลด้วย Unna Pappenheim stain
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น PCR for Haemophilus ducreyi
การรักษา
การรักษาแผล หากปวดแผลมาก ให้ยาแก้ปวดร่วมด้วยได้ ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำหรือน้ำเกลืออุ่นๆ อย่าให้แผลสกปรก ถ้าการอักเสบพึ่งเริ่ม ฝีจะค่อยๆยุบหลังให้ยา แต่ถ้าฝีบวมเป่งมาก ควรเจาะเอาหนองออก
ให้ยาดังนี้ Azithromycin, Ceftriaxone, Ciprofloxacin, Erythromycin
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ผู้ป่วยไม่สุขสบาย เนื่องจากความเจ็บปวดจากการอักเสบติดเชื้อบริเวณแผล
วัตถุประสงค์
เพื่อลดอาการปวดแผล
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินระดับความปวดโดยการซักถาม สังเกต รวมกับการใช้มาตรวัดเป็นตัวเลข (pain score)
ระดับความเจ็บปวด 1-3 คือ มีอาการปวดเล็กน้อย
ระดับความเจ็บปวด 4-6 คือ มีอาการปวดปานกลาง
ระดับความเจ็บปวด 7-10 คือ มีอาการปวดมาก
แนะนำให้ผู้ป่วยสวมใส่เสื้อกางเกงชั้นในที่สะอาด สวมใส่สบาย ไม่รัดแน่นเกินไป ทำจากวัสดุระบายอากาศดี เช่น ผ้าฝ้าย
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะต่อการพักผ่อน
แนะนำให้ผู้ป่วยดูแลรักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ที่ถูกวิธี โดยใช้น้ำสะอาดล้างหลังการ อาบน้ำ หรือการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะเท่านั้น
แนะนำเทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจ
ให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์
เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในระยะกลับเป็นซ้ำ
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะติดเชื้ออื่นซ้ำ
กิจกรรมการพยาบาล
จัดให้นอนพักที่ห้องแยกหรือเตียงแยก มุมติดหน้าต่างของหอผู้ป่วย ที่มีอากาศถ่ายเทสู่ภายนอกได้ดี
สวมถุงมือก่อนให้การพยาบาล ถอดถุงมือทันทีหลังให้การพยาบาล และต้องล้างมือหลังถอดถุงมือทันที
สวมเสื้อคลุมหรือผ้ากันเปื้อนพลาสติกเมื่ออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย หรือคาดว่าจะต้องสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมหรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย
ปฏิบัติตามหลักการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
อธิบายให้ความรู้เกี่ยวกับโรคแผลริมอ่อน (Chancroid) การรักษาพยาบาลและการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
แนะนำให้ล้างมือก่อนและหลังทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะสัมผัสแผล แผลริมอ่อน (Chancroid) หรือไม่ก็ตาม
แนะนำการปฏิบัติตัวแก่ญาติในการเข้าเยี่ยม โดยให้ล้างมือก่อนและหลังการสัมผัสสิ่งต่างๆ ผู้ที่ ติดเชื้อง่ายไม่ควรเข้าเยี่ยม เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ เป็นต้น
แยกของเครื่องใช้ เช่น แก้วน้ำ ปรอท เสื้อผ้า จนพ้นระยะแพร่เชื้อ คือ รอยแผลโรคแผลริมอ่อน (Chancroid) แห้ง ตกสะเก็ดและหายสนิทแล้ว
มีความวิตกกังวล เนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับโรค
วัตถุประสงค์
เพื่อลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรค
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา ความสำคัญของการมาตรวจอย่างสม่ำเสมอ การสังเกตการเปลี่ยนแปลงและภาวะแทรกซ้อน
ให้โอกาสระบายความรู้และซักถามข้อสงสัยอย่างเต็มที่และชัดเจน กระตุ้นให้การแลกเปลี่ยนความรู้สึกกับคู่ครอง และผู้ป่วยโรคเดียวกัน
สร้างความสัมพันธภาพและบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นมิตร บอกเหตุผลของการปฏิบัติการพยาบาลก่อนให้การพยาบาลทุกครั้ง
ให้ความรู้กับครอบครัวเกี่ยวกับการดำเนินของโรค การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ให้ครอบครัวเข้าใจ ให้กำลังใจและประคับประคองจิตใจผู้ป่วย