Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Ectopic pregnancy
(การตั้งครรภ์นอกมดลูก) …
Ectopic pregnancy
(การตั้งครรภ์นอกมดลูก)
ความหมาย
ภาวะที่ตัวอ่อนซึ่งมีการปฏิสนธิแล้วไปฝังตัวอยู่บริเวณอื่น ที่ไม่ใช่ในโพรงมดลูก โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นที่ท่อนำไข่ (95%) และอาจจะเกิดขึ้นได้ที่บริเวณอื่นๆเช่น ที่รังไข่ ปากมดลูกและในช่องท้องเป็นต้น โอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกประมาณ 0.5-1 % ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด
อาการและอาการแสดง
-
-
-
สัญญาณชีพแรกรับปกติ T=36.8-37.1 องศาเซลเซียส P=80-90 ครั้ง/นาที R=20-22 ครั้ง/นาที BP=100/62-112/74 mmHg.
-
-
พยาธิสภาพ
เมื่อมีการเจริญของตัวอ่อนในท่อนำไข่ tophoblast ของตัวอ่อนจะมีการแบ่งตัว และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วส่วนใหญ่ของการเจริญเติบโตจะอยู่ภายในท่อนำไข่ แต่บางครั้ง trophoblast จะเจริญเติบโตทะลุผ่าน mucosa lumina propia และลุกลามไปถึงชั้นกล้ามเนื้อถึงชั้น serosa เมื่อ trophoblast ลุกลามถึงหลอดเลือดจะทำให้มีเลือดออกในท่อนำไข่ ท่อนำไข่จะบวมโตขึ้น แถะมีการยืดของ serosa ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดท้อง เมื่อท่อนำไข่แตกจะมีการตกเลือดในช่องท้อง แถะ อาจทำให้มีอาการช็อดได้ ตัวอ่อนที่พบในท่อนำไข่ มักผิดปกติ และ จะฝ่อไปประมาณ ร้อยถะ 8 การแท้งเองเกิดได้ประมานร้อยถะ 50 ของการตั้งครรภ์ที่ท่อนำไข่ และมักจะ ไม่แสดงอาการอะไร
-
การรักษา
เฝ้าสังเกตอาการ หลังตรวจอัลตราซาวด์พบถุงการตั้งครรภ์ มี free fluid in cul-de-sac Complex mass at Lt. Fallopain tube เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4x4 เซนติเมตร ท่อนำไข่ไม่เเตก
-
การผ่าตัด รอเตรียมพร้อมการผ่าตัดตาม มาตรฐาน และได้รับการผ่าตัด Left. salpingo-0ophorectomy with Right salpingectomy ตัดท่อนำไข่และ รังไข่ออกข้างซ้ายและตัดท่อ นำไข่ข้างขวาออก
ให้ยาปฏิชีวนะ ก่อนผ่าตัด Cefazoline1gms ก่อน ผ่าตัด30นาที แบบAntibiotic Prophylaxis หลังผ่าตัดไม่ได้ ให้ยาปฏิชีวนะ
การพยาบาล
- ปวดแผลระดับรุนแรง เนื่องจากมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อจากการผ่าตัดทางหน้าท้อง
-
- ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
- จัดให้นอนท่าศีรษะสูงเล็กน้อย เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อน
- จัดสิ่งแวดล้อม เพื่่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- กระตุ้นการหายใจแบบผ่อนคลาย (deep breathing exercise)
- มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดจากการได้รับยาระงับความรู้สึก
- ประเมินความรู้สึกตัวของผู้ป่วยหากซึมลง ปลุกไม่ตื่นให้รายงานแพทย์ทันที
- ประเมินสัญญาณชีพเพื่อติดตามอาการเปลี่ยนแปลงและให้การช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที
- ประเมินภาวะการขาดออกซิเจน เช่น หายใจตื้น เหนื่อยหอบ ปลายมือปลายเท้าเขียว
- เมื่อผู้ป่วยตื่นดีกระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ (deep breathing exercise) และไออย่างมีประสิทธิภาพ (effective cough)
- กระตุ้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายตามสภาพที่เหมาะสม
- มีโอกาสติดเชื้อที่แผลผ่าตัด เนื่องจากผิวหนังถูกทำลายจากการผ่าตัด
- ประเมินแผลผ่าตัด สังเกตอาการผิดปกติของแผล โดยการใช้หลัก REEDA (R=redness แดง, E=edema บวม, Ecchymosis=ลักษณะช้ำเลือด, D=discharge มีหนองไหลออกจากแผลหรือไม่, A=approximate ลักษณะขอบแผลเสมอกันหรือไม่)
- ประเมินบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามภาวะติดเชื้อ
- แนะนำการปฏิบัติตัว การดูแลแผลผ่าตัด
- ดูแลความสะอาดร่างกายและจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการหายของแผล
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อกจากการเสียเลือดหลังผ่าตัดในช่วง 24 ชั่วโมงแรก
- ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง จนกว่าจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
- สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงและเฝ้าระวังภาวะช็อกจากการเสียเลือด
สถานการณ์
หญิงไทยวัย 30 ปี ครรภ์ที่ 3 บุตรคนที่ 2 อายุ 2 ปี หลังคลอดบุตรคนที่ 2 ได้ทำหมัน ประจำเดือนครั้งสุดท้าย 8 กรกฎาคม 2562 มาโรงพยาบาลชุมชนด้วยปวดหน่วงท้องน้อยด้านซ้ายมา 1 สัปดาห์ ร่วมกับมีเลือดออกทางช่องคลอด ได้ยาแก้ปวดท้องและยาขับลมมารับประทานต่อที่บ้าน อาการปวดท้องไม่ทุเลา 1 วันก่อนมาปวดท้องน้อยด้านซ้ายมากขึ้น จึงมาโรงพยาบาลมหาสารคาม แรกรับผู้ป่วยรู้สึกตัวดี กดเจ็บตำแหน่งปีกมดลูกข้างซ้าย และเจ็บขณะโยกปากมดลูก สัญญาณชีพแรกรับปกติชัดเจนดี อุณหภูมิช่วง 36.8-37.1 องศาเซลเซียส ชีพจรช่วง 80-90 ครั้ง/นาที หายใจช่วง 20-22 ครั้ง/นาที ความดันโลหิตช่วง 100/62-112/74 mmHg ส่งตรวจ Urine Pregnancy test (UPT) พบผลตรวจเป็นบวก (Positive) ตรวจอัลตร้าซาวด์พบก้อนการตั้งครรภ์นอกมดลูกบริเวณท่อนำไข่ข้างซ้ายยังไม่แตกได้วางแผนเตรียมความพร้อมเพื่อรับการผ่าตัดเป็นอย่างดี ได้รับคำอธิบายเกี่ยวกับพยาธิสภาพการดำเนินของโรคแนวทางการดูแลรักษาหลังการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และการพยาบาลจนเข้าใจและยินยอมผ่าตัดได้รับการผ่าตัด ตัดท่อนำไข่และรังไข่ข้างซ้ายและตัดท่อนำไข่ข้างขวาออก(Left salpigo-0ophorectomy with Right Salpingectomy)ใช้เวลาผ่าตัด 30 นาที เสียเลือดจากการผ่ตัด 50 cc หลังผ่าตัดตื่นดีรู้สึกตัวดี ได้รับการดูแลและให้การพยาบาลไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆ รวมระยะการรักษาตัวในโรงพยาบาล 3 วัน นัดติดตามหลังออกจากโรงพยาบาล 1 เดือน
-
อ้างอิง
ธีระ ทองสม, จตุพล ศรีสมบูรณ์, อภิชาต โอฬารรัตนชัย. (2551). นรีเวชวิทยาฉบับสอบบอร์ด. (พิมพ์ครั้งที่3) กรุงเทพฯ: พีบี ฟอเรนบุ๊คเซนเตอร์.
นันทนา ธนาโนวรรณ. (2553). ตำราพยาบาลนรีเวช (ฉบับองค์รวม). กรุงเทพฯ : วี.เจ.พริ้นตี้ง.
บุญใจ ศรีสถิตยนรากูรณ์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ : ยู แอน ไอ อินเตอร์มีเดีย.
สุวิทย์ บุญยะชีวิน และ เยื้อนตันตินิรันทร์. (2555). เวชปฏิบัติทางสูตินรีเวชวิทยา. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ : โอ เอส. พริ้นติ้งเฮาร์.
สมศรี พิทักษ์กิจรณกร และคณะ. (2551). ตํารานรีเวชวิทยา. นนทบุรี, บียอนด์เอ์นเตอร์ไพรซ์.
Victon P Sepilian, Michel E Rivlin. Ectopic pregnancy. Retrieved January , 2011. From :Http//emedicine.med scap.com/ article/. 923.