Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Polyhydramnios, สุชยา ลือวรรณ. (2558). ความผิดปกติของน้ำคร่ำ. [เว็บบล็อก]…
Polyhydramnios
ความหมาย
ภาวะตั้งครรภ์ที่มีจำนวนน้ำคร่ำมากผิดปกติ เกินเปอร์เซนไตล์ที่ 95 ของแต่ละอายุครรภ์ หรือ AFI เกิน 24-25 ซม ถ้าวัดปริมาตรได้โดยตรงจะถือที่มากกว่า 2,000 มล. ตอนครรภ์ครบกำหนด
สาเหตุ
สาเหตุที่เกี่ยวกับทารก
ความพิการของทารก ซึ่งส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการกลืนของทารกตั้งแต่ความผิดปกติของระบบประสาทลงมาถึงการอุดกั้นของทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยที่สุดได้แก่
-
-
-
-
-
-
-
-
ไม่ทราบสาเหตุ
เป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุด คือร้อยละ 60 อาจเป็นความแปรปรวนของครรภ์ปกติ ครรภ์แฝดน้ำในกลุ่มนี้มักไม่รุนแรงมากคือระดับน้อยถึงปานกลาง
การวินิจฉัยครรภ์แฝดน้ำที่ไม่ทราบสาเหตุ จะต้องตรวจไม่พบความผิดปกติในมารดาและทารกที่อาจเป็นสาเหตุครรภ์แฝดน้ำเสียก่อน
ประเภท
chronic hydramnios จำนวนน้ำคร่ำที่มากมักจะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น ใช้เวลานาน 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป มักเกิด ณ อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์
-
-
-
การป้องกัน
โดยทั่วไปสาเหตุที่ทำให้มีน้ำคร่ำมากนักมักไม่พบชัดเจน ดังนั้นส่วนใหญ่จึงไม่สามารถป้องกันภาวะนี้ได้ แต่หากมีปัจจัยเสี่ยงชัดเจน เช่น มารดาเป็นเบาหวาน การรักษา ควบคุมปัจจัยเสี่ยง ก็จะสามารถป้องกันภาวะน้ำคร่ำมากได้
-
การดูแล
ระยะคลอด
การใช้ยา Indomethacin ที่ส่งผลต่อทารกในครรภ์ให้มีการหลั่งของarginine vasopressin เพิ่มขึ้น ทำให้ไตลดการขับปัสสาวะลง ร่วมกับการลดการไหลเวียนเลือดไปยังไต ทำให้ปัสสาวะสร้างน้อยลง ยังมีผลลดการสร้างและเพิ่มการดูดซึมกลับขอสารน้ำในปอดมากขึ้น
เริ่มให้ยาปริมาณ 25 มก. 4 ครั้งต่อวัน ถ้าปริมาณน้ำคร่ำยังไม่ลดใน 2-3 วัน สามารถเพิ่มยาได้ถึง 2-3 มก./กก./วัน และค่อย ๆ ลดยาลงจนหมด ไม่ควรให้หลังอายุครรภ์ 32-34 สัปดาห์
ระยะเจ็บคลอด
การช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก และเฝ้าระวังภาวะสายสะดือพลัดต่ำ หรือการพิจารณาใช้สูติศาสตร์หัตถการในการช่วยคลอด
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้พักผ่อนโดยจัดให้นอนศีรษะสูง ในบางรายอาจดูแล
ให้ยานอนหลับหรือยาระงับประสาทตามแผนการรักษา เพื่อลดความวิตกกังวล
-
รักษาโรคหรือความผิดปกติที่มีร่วมกับภาวะครรภ์แฝดน้ำ เช่น การให้ยาขับปัสสาวะหากมารดามีภาวะบวมมาก ร่วมกับ แนะนำอาหารอ่อน ย่อยง่าย จำกัดเกลือ งดอาหารมัน
แพทย์อาจพิจารณาเจาะเอาน้ำทารกออก 500-1000 มล. ทุก 3-4 วัน เพื่อบรรเทาอาการแน่นอึดอัดและเพื่อให้ทารกอยู่ในมดลูกได้จนมีการเจริญเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ รวมถึงการ U/S ตรวจสอบพัฒนาการทารกในครรภ์
พยาธิสรีรวิทยา
-
ส่งผลต่อการพัฒนาการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ ในช่วงครึ่งหลังน้ำคร่ำจะมาจากปัสสาวะร้อยละ 30ของน้ำหนักตัว จากการกลืน ร้อยละ 20-25 และสร้างจากปอด ร้อยละ 10
ความผิดปกติของปริมาณน้ำคร่ำจะสัมพันธ์กับความผิดปกติของสมดุลจะมากหรือน้อยขึ้นกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น
ช่วงหลังของการตั้งครรภ์จะสัมพันธ์กับปริมาณปัสสาวะของทารก การสร้างของเหลวจากปอด การกลืน และการดูดซึมผ่านทางเนื้อเยื่อของทารก
-
ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 28 ปี ตั้งครรภ์ที่ 3 ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง มีร่างกายปกติ และสมบูรณ์ เมื่อตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์ ถูกรับไว้ในโรงพยาบาลด้วยอาการปวดท้อง อึดอัด หายใจไม่ออกท้องโตขึ้นรวดเร็วในระยะ 3 วัน ตรวจร่างกายพบชีพจร 100 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 130/80 mmHg. ปอด และหัวใจปกติ ท้องใหญ่ขนาดตั้งครรภ์ครบกำหนด วัด รอบเอวระดับสะดือได้ 40 นิ้ว หนังหน้าท้องตึง บาง และยอดมดลูกอยู่ระดับลิ้นปี่ มีน้ำคร่ำมาก คลำเด็กได้ไม่ชัดและฟังเสียงหัวใจเด็กไม่ได้ แต่ผู้ป่วยรู้สึกเด็กดิ้นเป็นบางขณะ ภาพรังสีของท้องพบว่ามีเด็กคนเดียวและปกติ การรักษา ได้เจาะน้ำคร่ำทางหน้าท้อง เจาะเอาน้ำคร่ำออกช้าๆ ประมาณ 500 ml/hr. เอาออกทั้งหมดประมาณ 1000 ml. ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหลังการรักษา แต่ต้องเจาะน้ำคร่ำทางหน้าท้องซ้ำ ในหนึ่งสัปดาห์ต่อมาอีก 1000 ml. เพราะน้ำคร่ำมีมากขึ้นอีก จนผู้ป่วยมีอาการเจ็บครรภ์เอง และคลอดบุตรหญิงน้ำหนัก 1500 กรัม ทารกตายในครรภ์ลักษณะภายนอกปกติ การคลอดและระยะหลังคลอดปกติ
-