Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันเเละช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุ - Coggle Diagram
การป้องกันเเละช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุ
ไฟไหม้เเละน้ร้อนลวก (Burn and Scald)
พยาธิสภาพ
เนื้อเยื่อของร่างกายเมื่อสัมผัสกับความร้อน มีการทำลายของ หลอดเลือดส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตายทำให้มีเลือดมาเลี้ยงน้อยลงจากหลอดเลือดถูกทำลายทำให้มีการรั่วของสารน้ำออกนอกหลอดเลือด
สาเหตุ
ไฟ วัตถุที่ร้อน น้ำร้อน น้ำมันร้อน กระเเสไฟฟ้า สารเคมี รังสี
การปฐมพยาบาลเเผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
บาดเเผลระดับที่ 1 ให้้างทำความสะอาดเเผลด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ หรือเปิดน้ำไหลผ่าน หรือเเช่อวัยวะที่เป็นเเผลลงในน้ำสะอาดประมาณ 15 - 20 นาที
อาการ
ขนาดความกว้างของบาดเเผล
บริเวณพื้นที่ของบาดเเผล ขนาดเเผลใหญ่อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ โปรตีน เเละเกลือเเร่ ถึงภาวะช็อกได้
ความลึกของบาดเเผล หรือดีกรีความลึกของบาดเเผล (Degree of burn wound)
ระดับที่ 1 (First degree burn)
เนื่อเยื่อชั้นผิวหนังจะถูกทำลายเพียงบางส่วน เป็นชั้นตื้นๆ มีเฉพาะอาการผื่นเเดง ปวดเเสบปวดร้อน ผิวหนังยังไม่พอง เช่น บาดเเผลที่เกิดจากการถูกน้ำร้อนลวก ถูกเเสงเเดด
ระดับที่ 2 (Second degree burn)
มีการทำลายของผิวหนัง เเต่ลึกถึงผิวหนังชั้นใน ต่อมเหงื่อ เเละรูขุมขนจะปรากฏอาการบวมเเดงมากขึ้น มีผิวหนังพอง เเละมีน้ำเหลืองซึม จะรู้สึกปวดเเสบปวดร้อนมากเพราะยังเหลือเส้นประสาทที่ไม่ถูกทำลาย อาจทำให้สูญเสียน้ำ โปรตีน เกลือเเร่ เเละติดเชื้อได้ง่าย
ระดับที่ 3 (Third degree burn)
บาดเเผลที่มีการทำลายของผิวหนังกำพร้าเเละหนังเเท้ทั้งหมด รวมทั้งต่อมเหงื่อ ขุมขน เเละเซลล์ประสาทเเละอาจลึกถึงชั้นกระดูก ผู้ป่วยมักไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดที่บาดเเผล เนื่องจากเส้นประสาทถูกทำลาย
การรักษา
ช่วยหายใจ
เด็กที่ถูกไฟไหม้ในที่สูดควันหรือเเก๊สถูกความร้อนลวกบริเวณ ใบหน้า คอ ต้องได้รับการดูเเลเรื่องการหายใจ
ดูเเลระบบไหลเวียน การไหลเวียนล้มเหลว ด้วยการให้สารน้ำ
การรักษาบาดเเผล
การตกเเต่งบาดเเผล (debridement)
เป็นการกำจัดเนื้อตายจากบาดเเผล ช่วยลดการติดเชื้อ
การปลูกถ่ายผิวหนัง (skin graft)
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยที่ 1
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน เนื่องจากมีการบวมของทางเดินหายใจ
กิจกรรมการพยาบาล
ติดตามประเมินสังเกตุอาการอย่างใกล้ชิด เด็กอาจมีปัญหาเรื่องการหายใจ คือเสียงเเหบ ไอ เเสบจมูก ปาก มีเศษเขม่าในปาก เสมหะ หายใจลำบาก หอบ หรือมีเสียงหวีด ถ้าพบจะต้องรายงานเเพทย์เพื่อพิจารณาให้ออกซิเจนเเก่เด็กทันที
ข้อวินิจฉัยที่ 2
เสี่ยงต่อภาวะช็อค เนื่องจากการสูญเสียน้ำเเละพลาสมาออกนอกร่างกาย
กิจกรรมการพยาบาล
ดูเเลให้ได้รับสารน้ำเเละอิเล็คโตรลัยท์ตามเเผนการรักษา การทดเเทนสารน้ำที่รั่วออกนอกหลอดเลือด
วัดสัญญาณชีพ ความดันหลอดเลือดกลาง
ส่งตรวจเเละติดตามผลการตรวจอีเล็คโตรลัยท์ในเลือด
ประเมินระดับการรู้สึกตัว เด็กที่ได้รับน้ำเพียงพอควรมีความรู้สึกตัวดี
สังเกตเเละบันทึกปริมาณปัสสาวะที่ออก
ข้อวินนิจฉัยที่ 3
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากผิวหนังถูกทำลายเเละภูมิคุ้มกันลดต่ำลง
กิจกรรมการพยาบาล
จัดให้เด็กอยู่ในห้องเเยกเฉพาะ อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้กับเด็กต้องปราศจากเชื้อ
ดูเเลให้เด็กได้รับยาปฏิชีวนะตามเเผนการรักษา เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ทำความสะอาดบาดเเผลโดยเทคนิคปราศจากเชื้อ เนื่องจากเชื้อเเบคทีเรียเข้ามารุกรานบริเวณทีมีบาดเเผล
สังเกตเเละประเมินลักษณะของบาดเเผล เช่น เปลี่ยนเป็นสีดำ น้ำตาล ซีด ลักษณะของสิ่งคัดหลั่ง
ข้อวินิจฉัยที่ 4
เสี่ยงต่อโภชนาการบกพร่อง เนื่องจากมีการเผาผลาญเพิ่มขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
ดูเเลให้ได้รับสารอาหารครบทั้งคุณภาพเเละปริมาณ
ชั่งน้ำหนักวันละครั้ง เพื่อประเมินว่าเด็กได้รับสารอาหารเพียงพอ
สังเกตอาการที่เกิดในระบบทางเดินอาหาร
ข้อวินิจฉัยที่ 5
เสี่ยงต่อความพิการ เนื่องจากการหดรั้งของเนื้อเยื่อบริเวณเเผล
กิจกรรมการพยาบาล
ดูเเลให้เด็กบริหารกล้ามเนื้อบริเวณเเขนขา ที่เกิดจากเเผลความร้อนเพื่อป้องกันการหดรั้ง เเละการยึดติดเเข็งของข้อ
ดูเเลให้ยาเเก้ปวดตามเเผนการรักษา
ป้องกันการติดเชื้อที่เเผลเพื่อช่วยให้เเผลหายเร็วเเละไม่ลุลามจนเกิดการหดรั้งของเนื้อเยื่อ
การได้รับสารพิษ
สารพิษ(Poisons)
จำเเนกตามลักษณะการออกฤทธิ์
ชนิดกัดเนื้อ (Corrosive)
ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายไหม้ พอง ได้เเก่ สารละลายพวกกรดเเละด่างเข้มข้น น้ำยาฟอกขาว
ชนิดทำให้ระคายเคือง (Trritants)
ทำให้เกิดอาการปวดเเสบ ปวดร้อน เเละอาการอักเสบในระยะต่อมา ได้เเก่ ฟอสฟอรัส สารหนู อาหารเป็นพิษ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ชนิดที่กดระบบประสาท (Narcotics)
ทำให้หมดสติ หลับลึก ปลุกไม่ตื่น ม่านตาหดเล็ก ได้เเก่ ฝิ่น มอร์ฟีน พิษจากงูบางชนิด
สารเคมีที่มีสภาพเป็นของเเข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทาน การฉีด การหายใจ หรือการสัมผัสทางผิวหนัง เเล้วทำให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างเเละหน้าที่ของร่างกาย
การประเมินภาวะการได้รับสารพิษ
การคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง น้ำลายฟูมปาก มีรอยไหม้นอกบริเวณริมฝีปาก มีกลิ่นสารเคมีบริเวณปาก
เพ้อ ชัก หมดสติ มีอาการอัมพาตบางส่วนหรือทั่วไป ขนาดช่องม่านตาผิดปกติ อาจหดหรือขยาย
หายใจขัด หายใจลำบาก มีเสมหะมาก มีอาการเขียวปลายมือปลายเท้า
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางปาก
ทำให้สารพิษเจืองจาง ให้นม
นำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการล้างท้องเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน เพื่อเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
ข้อห้ามในการทำให้ผู้ป่วยอาเจียน
หมดสติ
ได้รับสารพิษชนิดกัดเนื้อ เช่น กรด ด่าง
จะมีอาการไหม้พอง ร้อนบริเวณริมฝีปาก ลำคอ เเละท้อง คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการภาวะช็อค
รับประทานสารพิษพวก น้ำมันปิโตรเลียม
เเสบร้อนบริเวณปาก คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งอาจสำลักเข้าไปในปอดทำให้หายใจออกมามีกลิ่นน้ำมัน
การปฐมพยาบาล
ผู้ที่ได้รับสารพิษทางการหายใจ
กลั้นหานใจเเละรีบเปิดประตูหน้าต่าง เพื่อให้อากาศถ่ายเท มีอากาศบริสุทธิ์เข้ามาในห้อง ปิดท่อก๊าซ
นำผู้ป่วย ออกจากบริเวณที่เกิดเหตุไปยังที่มีอาการบริสุทธิ์
ประเมินการหายใจเเละการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่มีให้ผายปอด
ผู้ที่ถูกสารเคมีทางผิวหนัง
ล้างด้วยน้ำสะอาดนานๆ อย่างน้อย 15 นาที
อย่าใช้ยาเเก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
สารเคมีเข้าตา
ล้างตาด้วยน้ำนาน 15 นาที โดยการเปิดน้ำก๊อกไหลรินค่อยๆ
อย่าใช้ยาเเก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอัยตรายมากขึ้น
จมน้ำ
Drowning ผู้ที่เสียชีวิตจากการจมน้ำ
Near-Drowning (ุ้ที่จมน้ำเเต่ไม่เสียชีวิตทันที บางรายอาจเสียชีวิตต่อมาในช่วงเวลาสั้นๆได้
พยาธิสภาพ
เด็กจะไอจากการระคายเคืองที่มีน้ำในจมูกเเละคอ น้ำจะเข้ากล่องเสียงทำให้เกิดการหดเกร็งของกล่องเสียง อากาศเเละน้ำเข้าหลอดลมไม่ได้เกิดภาวะขาดออกซิเจน ตามด้วยการสูดหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอด
การจมน้ำเค็ม (Salt-water Drowning)
น้ำเค็ม(Hypertonic solution)
ทำให้เกิดภาวะ pulmonary edema ปริมาตรน้ำที่ไหลเวียนในร่างการลดลง
เกิด Hypovolemia
ระดับเกลือเเร่ในร่างกายสูงขึ้น หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจวาย ช็อกได้
การจมน้ำจืด (Freshwater-Drowning)
น้ำจืด(Hypotonic solution)
จะซึมผ่านเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของปอดอย่างรวดเร็ว
เกิด Hypervolemia
ทำให้ระดับเกลือเเร่ในเลือดลดลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย อาจจะเกิดภาวะเม็ดเลือดเเดงเเตก
วิธีช่วยเด็กจมน้ำ
เมื่อนำตัวเด็กขึ้นมาเเล้วให้รีบเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า ใช้ผ้าตลุมตัว้พื่อทำให้เกิดความอบอุ่น ในกรณีที่เด็กรู้สึกตัว
วิธีช่วยการหายใจโดยการเป่าปาก
จับศีรษะให้หงายขึ้นให้มากที่สุด ใช้ฝ่ามือกดหน้าผากของเด็กไว้ เเล้วใช้นิวหัวเเม่มือเเละนิ้วชี้บีบจมูก จากนั้นใช้ปากครอบลงบนปากของผู้ป่วยให้มิด เเล้วเป่าลมเข้าไปให้สุดลมหายใจของเรา
ตาดูที่หน้าอกว่าขยายหรือไม่
ถ้าเห็นหน้าอกไม่ขยาย ให้ปล่อยมือที่บีบจมูกไว้ จากนั้นเป่าลมเข้าไปใหม่ ทำสลับกับการนวดหัวใจ โดยนวดหัวใจ 30 ครั้ง สลับเป่าปาก 2 ครั้ง
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยที่ 1
มีภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากมีการขัดขวางการเเลกเปลี่ยนก๊าซ จาการสูดหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอด
กิจกรรมการพยาบาล
ดูเเลทางเดินหายใจให้โล่ง
ให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ
เพิ่มความอบอุ่นให้เเก่ร่างกายให้อยู่ในระดับอุณหภูมิปกติ เพื่อลดการเผาผลาญ ลดการใช้ออกซิเจน
สังเกตเเละประเมินอาการเเละอาการเเสดง ที่เเสดงถึงภาวะการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
ข้อวินิจฉัยที่ 2
เสี่ยงต่อภาวะไหลเวียนล้มเหลวเเละเสียสมดุลอีเล็คโตรลัยท์
กิจกรรมการพยาบาล
จำกัดเเละควบคุมการให้สารน้ำเเละอีเล็คโตรลัยท์ทางหลอดเลือดดำอย่างเคร่งครัดในรายที่จมน้ำจืด เพราะเด็กอยู่ในภาวะน้ำเกินอยู่
เพิ่มปริมาตรของเหลวในหลอดเลือดในรายที่จมน้ำเค็ม ด้วยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดตามเเผนการรักษา
ติดตามผลระดับอีเล็คโตรลัยท์จาการตรวจทางห้องปฏิบัติการ บันทึกปริมาณน้ำเข้าออก
สังเกตเเละประเมินสัญญาณชีพ ความดันหลอดเลือดดำ
ข้อวินิจฉัยที่ 3
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากมีการสูดสำลักสิ่งเเปลกปลอมเข้าทางเดินหายใจ
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ยาปฏิชีวนะทันทีตามเเผนการรักษาของเเพทย์
ประเมินอาการเเละอาการเเสดงที่บ่งบอกถึงลักษณะของการติดเชื้อ เช่น สัญญาณชีพ สภาพปอด ลักษณะการหายใจลักษณะเสมหะ
การสำลักสิ่งเเปลกปลอม
การที่สิ่งเเปลกปลอมเข้าปาก จมูก เเละสำลักจนติดคอ อุดกั้นกล่องเสียงเเละหลอดคอ
ส่งผลให้เกิดอาการของการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น
สาเหตุ
มักพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
วัยที่กำลังอยากรู้อยากเห็น
มักเอาสิงเเปลกปลอมไปใส่ในช่องต่างๆของร่างกาย
ชอบพูดคุย หัวเราะหรือเล่นกันขณะรับประทานอาหาร
พยาธิสภาพ
ทางเดินหายใจส่วนต้นของเด็กมีขนาดเล็กเเละเเคบ
ส่งผลต่อภาวะขาดออกซิเจน การอุดกั้นอย่างสมบูรณ์จะทำให้อากาศหรือออกซิเจนเข้าสู่หลอดเเละปอดไม่ได้
อาการเเละอาการเเสดง
หายใจเข้ามีเลียงดัง
หายใจลำบาก
ขณะหายใจหน้าอกบุ๋ม
มีอาการไอเเละมีอาการเขียว
สำลักไออย่างรุนเเรง
การรักษา
เด็กเล็ก
อายุต่ำกว่า 1 ปี
วางเด็กลงบนเเขนของผู้ช่วยเหลือโดยให้ศีรษต่ำ
ตบหลัง(Back Blow)
สลับด้วยการอุ้มเด็กนอนหงายบนเเขน
ใช้นิ้วกลางเเละนิ้วนาวของมือขวากดบนหน้าอก (Chest Thrust) อย่างละ 5 ครั้งจนกว่าสิ่งเเปลกปลอมจะหลุดออก
เปิดปากเด็กเพื่อดูสิ่งเเปลกปลอม
เด็กโต
ใช้เทคนิคกดบริเวณหน้าท้อง (Abdominal Thrust) หรือเรียกว่า Heimlich Manuever
โดยทำในท่านั่ง หรือยืนโน้มตัวไปทางด้านหลังเล็กน้อย ผู้ช่วยเหลือเข้าทางด้านหลัง
ใช้เเขนสอดสองข้างโอบผู้ป่วยไว้
มือซ้ายประคอง มือขวากำมือวางใต้ลิ้นปี่
ดันกำมือขวาเข้าใต้ลิ้นปี่อย่างรวดเร็วเพื่อให้เกิดเเรงดันในช่องท้อง
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เนื้อเยื่อของร่างกายมีภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น
กิจกรรมการพยาบาล
ดูเเลให้เด็กได้รับการรักษาเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว
ดูเเลให้ออกซิเจนตามเเผนการรักษา
สังเกตบันทึกสัญญาณชีพ ทุก 1-2 ชั่วโมง
ประเมินอาการเเละอาการเเสดงของการอุดกั้นทางเดินหายใจ
เตรียมอุปกรณ์ในการช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุ
กระดูกหักข้อเคลื่อน(Fracture and Dislocation)
กระดูกหัก
ภาวะที่โครงสร้างหรือส่วนประกอบของกระดูกเเยกออกจากกัน
ข้อเคลื่อน
ภาวะที่มีการเคลื่อนของข้อออกจากที่ที่ควรจะอยู่ หรือกระดูกหลุดออกจากเบ้า
สาเหตุ
เกิดจาการได้รับอุบัติเหตุมีเเรงกระเเทกบริเวณกระดูกโดยตรง
อาการเเสดง
มีอาการปวดเเละกดเจ็บ บริเวณที่กระดูกมีพยาธิสภาพ โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหว
บวม เนื่องจากมีเลือดออกบริเวณที่กระดูกหักพลาสมาซึมเข้าสู่เนื่อเยื่อหรือกระดูกเกยกันก็ทำให้ดูบริเวณนั้นใหญ่ขึ้น
รอยจ้ำเขียว เนื่องจากมีเลือดซึมจากชั้นในขึ้นมายังผิวหนังหรือรอยฟกช้ำจากถูกเเรง กระเทก
อวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บมีลักษณะผิดรูป มีการเคลื่อไหวที่ผิดปกติ
หลักการการดูเเลเมื่อเข้าเฝือก
ภายใน 24 ชั่วโมงเเรกควรประเมินเด็กทุก 1 ชั่วโมงเพราะอาจเกิดภาวะเเทรกซ้อนเนื่องจากเฝือกบีบรัดเเน่นเกินทำให้เกิดอาการบวมหลอดเลือดเเละเส้นประสาทถูกกดซึ่งสามารถประเมินได้จาก 5 PS
จับชีพจรว่าเต้นเเรงดีหรือไม่ เปรียบเทียบกับเเขนขาข้างที่ปกติ (pulselessness)
สังเกตบริเวณอวัยวะส่วนปลายคือปลายมือปลายเท้าผิวหนังเล็บ ถ้าการไหลเวียนเลือดไม่ดี จะมีสีคล้ำเย็นซีด
เคลื่อนไหวนิ้วมือ นอ้วเท้าไม่ได้จากเส้นประสาทถูกกด (paralysis)
อาการบวม (swelling) ซึ่งอาจเกิดจากการเข้าเฝือกเเน่นเกิน
อาการเจ็บปวดที่มากกว่าเดิม (pain)
ยกส่วนที่เข้าเฝือกให้สูงเ็กน้อยด้วยการใช้หมอนรองใต้เฝือกความยาวของเฝือกนานประมาณ 48 ชั่วโมง เพื่อลดอาการบวม
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยที่ 1
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อรอบกระดูกที่หักได้รับบาดเจ็บเพิ่มเนื่องจากการทิ่มเเทงของกระดูก
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินลักษณะการบาดเจ็บที่ได้รับโดยการสังเกต ดูการเคลื่อนไหวของข้อต่างๆ การจับชีพจรที่เเขนขา
ข้อวินิจฉัยที่ 2
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเเทรกซ้อนจากการเคลื่อนไหวถูกจำกัด เช่น ข้อติด กล้ามเนื้อลีบ เเผลกดทับ
กิจกรรมการพยาบาล
กระตุ้นให้เด็กได้มีการออกกำลังบริเวณกล้ามเนื้อเเละข้อต่างๆ ที่ไม่ได้ถูกจำกัดการเคลื่อนไหวด้วยตนเองในรายที่เข้าเฝือกเเนะนำให้ออกกำลังกายโดยการเกร็งกล้ามเนื่้อที่อยู่ในเฝือกบ่อยๆ
เปลี่ยนท่าที่เหมาะสมให้เด็กอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
ข้อวินิจฉัยที่ 3
เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่กระดูก เนื่องจากมีทาเปิดของผิวหนังถึงกระดูก
กิจกรรมการพยาบาล
ทำความสะอาดบาดเเผลก่อนการเข้าเฝือกหรือจัดดึงกระดูกให้เข้าที่ด้วยการชะล้าง สิ่งเเปลกปลอมที่อยู่ภายในเเผลออกให้หมด ใช้น้ำเกลือล้างเเผล
ประเมินลักษณะอาการเเละอาการเเสดงที่บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ เช่น ลักษณะเเผล สิ่งคัดหลั่ง อาการบวม
ดูเเลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามเเผนการรักษา
ดูเเลให้เด็กรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก