Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การชักนําการคลอด (Induction of labor), Screenshot (67) -…
การชักนําการคลอด (Induction of labor)
ปัจจัยในการชักนําการคลอด
อายุครรภ์ ครบกำหนดมากเท่าไร prostaglandin มีมากขึ้น ทําให้การเตรียมความพร้อมที่มดลูกและปากมดลูกมีมากขึ้น
จํานวนครั้งของการตั้งครรภ์และการคลอด ในครรภ์หลังปากมดลูกมักจะมีการเปิดขยายอยู่บ้างแล้ว ทำให้ง่ายต่อการเจาะถุงน้ำคร่ำ มีการสร้าง prostaglandin มากขึ้น
ระดับของส่วนนําและลักษณะของปากมดลูก แสดงเป็นตัวเลขของ bishop score คะแนนรวมได้มากกว่า 7 โอกาสในการชักนําการคลอดสําเร็จสูงสุด คะแนนรวม 5 – 7 โอกาสในการชักนําการคลอดสําเร็จปานกลาง คะแนนรวมน้อยกว่า 4 โอกาสในการชักนำการคลอดสําเร็จต่ำสุด
ภาวะแทรกซ้อนจากการชักนำการคลอด
ภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา
การคลอดที่เร็วเกินไป อาจทำให้ปากมดลูกหรือช่องคลอดฉีกขาด
ติดเชื้อในโพรงมดลูก ถ้าระยะเวลาตั้งแต่เจาะถุงน้ำคร่ำจนกระทั่งคลอดนานเกินไป
การตกเลือดหลังคลอด จากการที่มดลูกอ่อนล้า
มดลูกแตกจากการหดรัดตัวที่มาก หรือแรงเกินไป
Amniotic fluid embolism อาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่เจาะถุงน้ำ
ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา เช่น
Prostaglandins มีไข้ คลื่นไส้ ท้องเสีย
Nitric oxide เวียนศรีษะ ใจสั่น ความดันโลหิตต่ำลง
ภาวะแทรกซ้อนต่อทารก
ภาวะตัวเหลือง เกิดได้น้อยในรายที่ได้ oxytocin มากหรือนานเกินไป
ทารกขาดออกซิเจนจากมดลูกหดรัดตัวมากเกินไป
การติดเชื้อ
Vasa previa
สายสะดือย้อย
การชักนำการคลอด หมายถึง การก่อให้เกิดอการเจ็บครรภ์ในผู้คลอดที่ครรภ์ครบกำหนดแล้วยังไม่มีอาการเจ็บครรภ์ แบ่งเป็นการชักนำการคลอดโดยการใช้ยาและการชักนำการคลอดโดยวิธีทางศัลยกรรม ภายหลังการชักนำด้วยวิธีการดังกล่าว จะทำให้กล้ามเนื้อมดลูกมีการหดรัดเพิ่มมากขึ้น
ข้อห้าม
มีเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน
ท่าของทารกในครรภ์ที่ผิดปกดิ
ภาวะที่มดถูกมีความเสี่ยงสูงต่อการแตกระหว่างการคลอด เช่น มีแผลผ่าตัดที่มดถูก ครรภ์แฝด และครรภ์แฝดน้ำ
ภาวะรกเกาะต่ำ
การไม่ได้สัดส่วนระหว่างศีรษะของทารกกับช่องเชิงกรานของมารดา
วิธีการชักนำการคลอด
การใช้ยา
Oxytocin
ข้อควรระวัง
หากมดลูกหดรัดตัวมากเกินไป อาจทำให้ทารกขาดออกซิเจนมดลูกแตก
ประเมิน UC และ FHS ก่อนให้ยา จากนั้นปรับอัตราตามการตอบสนองของการหดรัดตัวของมดลูกทุก 30 นาที - 1 ชม. การลดลงหรือหยุดยาเร่งคลอดควรทำเมื่อพบการหดรัดตัวของมดลูกนาน ถี่ หรือ แรงมากเกินไป(hypertonic contraction) ภายหลังการให้ยาและตลอดระยะเวลาที่ให้ยาควรติด electronic fetal monitoring และบันทึก FHS ทุก 15-30 นาทีในระยะที่ 1 ของการคลอด หรือทุก 5 นาที ในระยะที่ 2 ของการคลอด
การให้ oxytocin ควรใช้ร่วมกับการเจาะถุงน้ำคร่ำ การใช้ยา oxytocin มุ่งหวังในการกระตุ้น การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกและทำให้ปากมดลูกเปิดขยายและส่วนนำของทารกเคลื่อนต่ำลงมา ขนาดของยาที่ใช้ในผู้คลอดแต่ละรายที่จะทำให้มีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างมีประสิทธิภาพไม่เท่ากัน ต้องปรับขนาดของยาและติดตามดูอย่างใกล้ชิด โดยตัวบ่งชี้ถึงปริมาณการใช้ oxytocin คือ การเปิดขยาย ของปากมดลูก จำนวนครั้งของการคลอดและอายุครรภ์
Prostaglandin
การดูแลผู้คลอดที่ได้รับProstaglandin
On EFM โดยเฉพาะในช่วง 1 ชั่วโมงแรกหลังได้รับยา
ประเมินและบันทึก FHS, UC ทุก 15-30 นาที ถ้าผิดปกติรายงานแพทย์ ให้ออกซิเจน หรือยาคลายการหดรัดตัว
ของมดลูกตามแผนการรักษา
กรณีใช้ยาเหน็บช่องคลอด/ปากมดลูก ดูแลให้นอนราบไม่ลุกดินอย่างน้อย 30นาที - 2 ชม.
ประเมินและบันทึก V/S ทุก 15-30 นาที ในชั่วโมงแรก และทุก 1-4 ชม.จนกว่าจะคงที่
PV ประมินความพร้อมของปากมดลูกภายหลังได้รับยา 4-6 ชม. ถ้ามดลูกหดรัดตัวไม่ดี พิจารณาให้ยาซ้ำได้
หรือถ้าปากมดลูกพร้อมก็ให้หยุดการให้ยา
พิจารณาให้ oxytocin เสริมเมื่อมีการหดรัดตัวของมดลูกไม่ดีพอ โดยควรเริ่มให้ oxytocin ภายหลังจากให้
prostaglandin ไปแล้วไม่น้อยกว่า 6 - 12 ชม.
การใช้ prostaglandin ในการเตรียมปากมดลูกให้พร้อมสําหรับการชักนำการคลอด
เพื่อช่วยให้ปากมดลูกนุ่มขึ้้น เปิดขยายง่ายขึ้น
Misoprostal
แนะนำใช้ขนาด 25 ไมโครกรัม โดยผสมในสารเหลวเช่น KY jelly หรือ 1% carboxyl methyl cellulose (CMC) สอดเข้าในของคลอดทุก 4 ชม. และใช้ไม่เกิน 24 ชม.หรือไม่เกิน 150 ไมโครกรัม และควรหยุดใช้เมื่อปากมดลูกเปิดมากกว่าหรือทำเท่า 2 เชนติเมตร Bishop score > 6 หรือเมื่อมดลูกหดรัดตัวดี/ สม่ำเสมออย่างน้อยทุกๆ 3 นาที ในรายที่มีผลข้างเคียงหรือภาระแทรกซ้อนเกิดขึ้น ต้องหยุดใช้ยาทันที
ข้อควรระวัง
ใช้ในผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเท่านั้น
มียาคลายการหดรัดตัวของมดลูก
ภายหลังการให้ยาต้องติดตาม V/S
การเจาะถุงน้ำคร่ำ
(Amniotomy)
มีประสิทธิภาพในการชักนำการคลอดในกรณีที่มี bishop scorevสูง กลไกเกิดจากการหลั่งสาร prostaglandin เข้าไปในโพรงมดลูก การทำให้น้ำคร่ำออกมาทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อมดลูกสั้นลง ทำให้ความแรงและระยะเวลาของการหดรัดตัวเพิ่มขึ้นและหดรัดตัวเร็วขึ้น
ภาวะแทรกซ้อน
สายสะดือพลัดต่ำ
เกิดปัญหาการติดเชื้อ
การคลอดแห้ง
อาจเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะทารก
มีโอกาสเกิด Amniotic Fluid Embolism
การพยาบาล
สังเกตพร้อมบันทึกสี/ลักษณะ/จำนวน ของน้ำคร่ำ
ประเมิน/บันทึก FHS ทันทีหลังถุงน้ำคร่ำแตกจากจากนั้นทุก15 นาที/ On EFM
Bed rest เพื่อป้องกันสายสะดือพลัดต่ำ
ใส่ผ้าอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อสู่โพรงมดลูก
ประเมิน/บันทึกการหดรัดตัวของมดลูก 30 นาที - 1 ชั่วโมง
ตรวจภายใน เพื่อประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
ประเมินสัญญาณชีพ
ข้อบ่งชี้ในการชักนําการคลอด
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ภาวะครรภ์เกินกําหนด
การตกเลือดก่อนกําหนด
ทารกพิการในครรภ์
ทารกเสียชีวิตในครรภ์
ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
มีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรศาสตร์ โรคสําคัญที่พบคือโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
เรื้อรัง โรคไต