Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios) - Coggle Diagram
ภาวะน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios)
หมายถึง ภาวะที่มีจำนวนน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 cms. หรือมีค่าAFI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 cms
มักเกิดขณะช่วงอายุครรภ์ 32-36 สัปดาห์
สาเหตุ
การตั้งครรภ์เกินกำหนด รกจะเริ่มเสื่อม IUGR
การติดเชื้อของมารดาขณะตั้งครรภ์
ถุงน้ำคร่ำรั่ว หรือถุงน้ำคร่ำแตก
ความพิการของทารกจากการผิดปกติ เช่น การไม่มีไต
มารดาได้รับสารพิษขณะตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดง
มดลูกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์
ทารกเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ
ผลกระทบ
ทำให้ทารกเคลื่อนไหวไม่สะดวก
สายสะดือถูกกดทับได้ง่าย
แท้งบุตร หรือทารกเสียชีวิตแรกคลอดได้
ปอดทารกไม่ขยายเท่าที่ควร
มีโอกาสได้รับการผ่าตัดหรือการทำคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการมากขึ้น
เกิดPotter sequences คือทารกเกิดภาวะปอดแฟบ หน้าตาผิดปกติ แขนขาหดเกร็งสะโพกเคลื่อน clubfoot และปอดแฟบมักทำให้ทารกเสียชีวิตได้
การวินิจฉัย
1.ซักประวัติ
2.ตรวจร่างกาย มดลูกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ คลำส่วนทารกชัดเจน ฟัง FHS ชัดเจน
3.ตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีค่าAFI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 cms
การรักษา
การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ ในรายที่สัมพันธ์กับความพิการรุนแรงมักจะแนะนำให้เลือกการยุติการตั้งครรภ์ รายที่มีภาวะโตช้าในครรภ์ที่เกิดจาก UPI มักจะเน้นการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ และให้คลอดในช่วงเวลาที่เหมาะสม
การพยาบาล
ในระยะตั้งครรภ์
อธิบายการดำเนินของโรค แผนการรักษา + เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย
นอนพักผ่อน นอนตะแคงซ้าย เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกได้ดี
เน้นอาหารที่มีประโยชน์ เพิ่มโปรตีน
สังเกตการดิ้นทารก
ในระยะคลอด
1.ติดตามความก้าวหน้าของการคลอด
2.ประเมิน Uterine contraction และ FHS ทุก 30 นาที – 1 ชม.
3.หลีกเลี่ยงการให้ยาบรรเทาปวด เพื่อป้องกันการกดศูนย์หายใจทารก
ในระยะหลังคลอด
1.ทารก LBW ควบคุมอุณหภูมิกาย เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนจากร่างกายทารก
2.ตรวจร่างกายทารก เพื่อประเมินความผิดปกติหรือความพิการ
3.ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก พร้อมทั้งอธิบายลักษณะทารก LBW
เพื่อให้มารดาลดความวิตกกังวล
เน้นให้มารดา Breast feed