Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คู่มือประกันตน, ผู้ประกันตน (มาตรา 33), . - Coggle Diagram
คู่มือประกันตน
กองทุนเงินทดแทน
เงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
-
อัตราเงินสมทบตามค่าประสบการณ์
วัตถุประสงค์
• เพื่อให้การบำบัดรักษาและส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการฝึกอาชีพให้สามารถเลี้ยงชีพ ได้ด้วยตนเองไม่เป็นภาระแก่สังคม
• เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือ เจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงานในด้านต่างๆ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนรายเดือน ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ
-
กองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก ่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกาย ตายหรือสูญหาย อันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โดยไม่คำนึงถึงวัน เวลา และสถานที่ แต่จะดูสาเหตุที่ทำให้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
การประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานหมายความว่าอย่างไร? หมายความว่าการที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบ แก่จิตใจหรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษา ประโยชน์ให้นายจ้าง หรือทำตามคำสั่งของนายจ้าง
การเจ็บป่วยด้วยโรคเนื่องจากการทำงานหมายความว่าอย่างไร? การที่ลูกจ้างเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายด้วยโรค ซึ่งเกิดขึ้น ตามลักษณะหรือสภาพของงาน หรือเนื่องจากการทำงาน
สูญหาย หมายความว่าอย่างไร? การที่ลูกจ้างหายไปในระหว่างการทำงานหรือปฏิบัติตามคำสั่ง ของนายจ้าง ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าลูกจ้างถึงแก่ความตายเพราะ ประสบเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานหรือปฏิบัติตาม ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าพาหนะนั้นได้ประสบเหตุอันตราย และลูกจ้าง ถึงแก่ความตาย ทั้งนี้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน นับแต่วันที่เกิดเหตุนั้น
1) กรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
2) กรณีที่ค่ารักษาพยาบาล50,000 บาท ไม่เพียงพอให้นายจ้าง จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 100,000 บาท
3) กรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายเพิ่มอีกตามข้อ2 ไม่เพียงพอให้ นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ โดยรวมค่ารักษาพยาบาลทั้งข้อ 1 และ 2 แล้วต้องไม่เกิน 300,000 บาท
4) กรณีค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 1-3 ไม่เพียงพอให้นายจ้าง จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นตาม ความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์ แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
5) กรณีค่ารักษาพยาบาลทุกกรณีไม่เพียงพอให้นายจ้างจ่ายค่า รักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้น โดยเมื่อรวมกับ ค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวข้างต้นแล้ว ต้องไม่เกิน 1,000,000 บาท
-
2.2 ค่าทดแทนกรณีสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกาย หลักเกณฑ์และเงื่อนไข มีสิทธิได้รับค่าทดแทนร้อยละ70ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะ เวลาไม่เกิน 10 ปี
2.3 ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพ หลักเกณฑ์และเงื่อนไข มีสิทธิได้รับค่าทดแทนร้อยละ70ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะ เวลาการจ่ายค่าทดแทนตลอดชีวิต การประเมินการสูญเสียอวัยวะลูกจ้างต้องได้รับการรักษาพยาบาล จนสิ้นสุดการรักษาและอวัยวะคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเมื่อพ้น กำหนดระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างประสบอันตราย
-
บุตรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีและทุพพลภาพหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ซึ่งอยู่ในอุปการะของลูกจ้างก่อนลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหาย
บุตรของลูกจ้างซึ่งเกิดภายใน 310 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างถึงแก่ความตาย หรือวันที่เกิดเหตุสูญหาย มีสิทธิรับเงินทดแทนนับแต่วันคลอด
หากไม่มีบุคคลดังกล่าวข้างต้น ให้ผู้อยู่ในอุปการะของลูกจ้างก่อนลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหายเป็นผู้มีสิทธ
หลักการประกันสังคม
-
-
-
-
การประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิต ในกลุ่มของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการเพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ย ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน
กองทุนประกันสังคม
กองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ประกันตนให้ได้รับประโยชน์ ทดแทน เมื่อต้องประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้ง กรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน
-
กรณีที่มีลูกจ้างลาออกจากงานหรือเลิกจ้าง ให้นายจ้างแจ้ง การออกจากงานภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มี การเปลี่ยนแปลง โดยใช้แบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
เงินที่นายจ้างลูกจ้าง จะต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ทุกเดือน โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ ซึ่งกำหนดจากฐาน ค่าจ้างที่ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท โดยรัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนด้วยส่วนหนึ่ง
ลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาลโดยลูกจ้างจะถูกนายจ้างหักในอัตรา ร้อยละ 5 ของค่าจ้าง นายจ้างก็จะร่วมจ่ายเงินสมทบเท่าจำนวน ที่รับจากลูกจ้าง คืออัตราร้อยละ5 และรัฐบาลร่วมจ่ายสมทบในอัตรา ร้อยละ 2.75
-
-
ผู้ประกันตน (มาตรา 33)
คือ ลูกจ้างผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ
ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณีด
1.1 การเจ็บป่วยปกติ
สิทธิประโยชน์ในสถานพยาบาลตามสิทธิ ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนที่เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย สามารถเข้ารับการรักษา พยาบาลในสถานพยาบาลตามสิทธิหรือเครือข่ายของสถานพยาบาล นั้นได้ฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยใน
-
2.1 ผู้ประกันตนหญิง สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ แล้วนำสำเนาสูติบัตรของบุตร บัตรประจำตัวประชาชนมายื่นเรื่อง ที่สำนักงานประกันสังคมจะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท
2.2 ผู้ประกันตนชาย ที่มีภริยาจดทะเบียนสมรสหรือหญิง ซึ่งอยู่ กินกันฉันสามีภริยาแต่มิได้จดทะเบียนสมรสสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ โดยนำสำเนาสูติบัตรของบุตรสำเนาทะเบียนสมรส(ถ้ามี) หรือหนังสือ รับรองกรณีไม่มีทะเบียนสมรส(เฉพาะกรณีผู้ประกันตนไม่ได้จดทะเบียน สมรสกับภริยา) มาเบิกเงินที่สำนักงานประกันสังคม จะได้รับเฉพาะ เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท
2.3 ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ - อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 500 บาท - อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท 21 - อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท
ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ
กรณีทุพพลภาพระดับความสูญเสียไม่รุนแรง ให้มีสิทธิได้รับ เงินทดแทนการขาดรายได้
ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายใน 6 เดือน ก่อนเดือนถึงแก่ความตาย • ได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท • เงินสงเคราะห์กรณีตาย
ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน โดยจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร เหมาจ่ายเดือนละ 600 บาท/บุตร 1 คน/เดือน คราวละไม่เกิน 3 คน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ
เงินบำเหน็จชราภาพ • กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จ ชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตน • กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ
กรณีที่ 1 ถูกเลิกจ้าง • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในระหว่างการว่างงาน ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน กรณีที่2 ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา การจ้างไว้แน่นอน • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในระหว่างการว่างงาน ร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
-
-