Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีกลุ่มมนุษยนิยม (Humanistic Theory) - Coggle Diagram
ทฤษฎีกลุ่มมนุษยนิยม
(Humanistic Theory)
แนวคิดและหลักการ
ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และเป้าหมายสำคัญของความเป็นมนุษย์
มีความเชื่อว่าจุดหมายสูงสุดของความเป็นมนุษย์นั้นคือความพยายามที่ จะได้มาซึ่งความมีสุขภาพดี และความสงบสุขในขอบเขตแห่งชีวิตของตน
มนุษยนิยมจึงเป็นความเชื่อที่เป็นแนวทางในการจัดบริการแก่มนุษย์ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ
ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยม(Existential Theory)
บำบัดรักษาทางจิตเวช
การช่วยเหลือให้บุคคลได้กลับเข้าสู่ภาวะที่รู้จักตนเองและ ความมีอยู่ของตนเอง
ช่วยเหลือผู้ป่วยในการค้นหาความหมายชีวิตอันเป็น
แรงผลักดันปฐมภูมิของชีวิต
ผู้รักษาต้องเคารพผู้ป่วยในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่ง มีศักดิ์ศรี
มุ่งให้การช่วยเหลือในลักษณะของบุคคลทั้งคน ที่มีคุณค่า ไม่คำนึงถึง ความดี - เลว
ผู้ป่วยจะถูกกระตุ้นให้มีความรู้สึกว่าตนเองมีเสรีภาพ ศักดิ์ศรี และสามารถตัดสินใจเลือกพฤติกรรมได้
รับผิดชอบตนเอง
ความเชื่อเบื้องต้น(Basic Assumption)
เชื่อในความสำคัญของบุคคลแต่ละคน มากกว่าสังคม
มองมนุษย์อย่างบุคคลทั้งคนมากกว่าแยกมองส่วนต่าง ๆ ของมนุษย์
มนุษย์มีศักยภาพที่จะแก้ไขปัญหาของตนเองได้
เสรีภาพ คือ แก่นแท้ ของความเป็นมนุษย์
มนุษย์ต้องรับผิดชอบการกระทำทุกอย่างของตน
ความตระหนักในตนเองจะช่วยให้มนุษย์สามารถตัดสินใจ และประกอบกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิต
มนุษย์จะพัฒนาความตระหนักในตนเองได้ จากการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
ความรู้ต่าง ๆ จะเป็นเครื่องช่วยให้มนุษย์ เติบโตเลือกทำในสิ่งที่ประสงค์
ผู้ป่วยจิตเวช
บุคคลที่ไม่สามารถตระหนักถึงความมีคุณค่า ความหมายของ ความเป็นอยู่ของตนเอง ไม่ยอมรับความเป็นไปของโลก ขาดความมุ่งมั่น หาเอกลักษณ์ของตนเองไม่พบ ไม่รับรู้สภาพ ความเป็นจริงของสิ่งแวดล้อมรอบตัว
ทฤษฎีกลุ่มปรัชญามานุษยนิยม
(Humanistic Philosophies)
ความเชื่อเบื้องตน
จิตใจของมนุษย์ไม่สามารถแยกออกจากร่างกายได้
มนุษย์มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาของตนเอง
มนุษย์มีอิสระในการเลือกกระทำสิ่งต่างๆ ที่มีขอบเขต
เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางของตน
คุณค่าของความเป็นมนุษย์ อยู่บนพื้นฐานของ
ประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตและการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
มนุษย์จะได้มาซึ่งการมีสุขภาพดีมีคุณภาพชีวิตโดยการผสมผสานความพึงพอใจ
มีความเชื่อในศาสตร์แห่งความสวยงามและศิลปะ
สนับสนุนการนำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และนำมาใช้ในส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต
สนับสนุนการศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในเรื่องต่าง ๆ
ที่เป็นพื้นฐานของชีวิต
ทฤษฎกีารเรียนรู้ของคาร์ลโรเจอร์
(Roger’s Self Theory)
เน้น Client Centered Therapy
ผู้รักษาทำหน้าที่สะท้อนให้ผู้ป่วยเห็นความเป็นตัวของตัวเอง
พยายามทำความเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย
ไม่พยายามแนะนำหรือ แปลคำพูดของผู้ป่วย
ถ้าผู้ป่วยสามารถระบายปัญหาของตนเองออกมา
จะทำให้มองปัญหาในลักษณะกว้างขึ้น
กระบวนการรักษาเน้นการให้คำปรึกษาเป็นหลักสำคัญ
ดึงศักยภาพและเหตุผลของผู้ป่วย ออกมาใช้โดยตัวผู้ป่วยเอง
เน้น Non-directive คือไม่แนะนำแต่เน้นให้ผู้ป่วยตระหนักถึงสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง โดยพยาบาลสะท้อนกลับคำพูดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ (Reflecting)
ทฤษฎีตัวตน (Self Theory)
วิธีการทำจิตบำบัดแนวใหม่
เรียกว่า Client centered therapy)
ตนที่ตนมองเห็น (Self concept) (เราเห็น)
คือ ภาพของตนที่เห็นเองว่าตนเป็นอย่างไร
ตนตามที่เป็นจริง (Real self) (คนอื่นเห็น)
คือ ลักษณะตัวตนที่เป็นไปตามข้อเท็จจริง
ตนตามอุดมคติ (Ideal self) (เราต้องการ)
คือ ตัวตนที่อยากมี อยากเป็น แต่ยังไม่มี ไม่เป็นในสภาวะปัจจุบัน
บุคคลที่เจ็บป่วย
การที่บุคคลไม่สามารถพัฒนาบุคลิกภาพได้เหมาะสม เกิดจากความไม่สอดคล้องระหว่างความคิดกับสิ่งที่ปรากฏจริงในขณะนั้น ทำให้เกิดความกังวลใจ เกิดความรู้สึกผิด อับอาย นำไปสู่ปัญหาทางจิตและบุคลิกภาพผิดปกติ
เป้าหมายของการรักษา
ช่วยให้ผู้รับบริการเกิดความเข้าใจ ตระหนัก และยอมรับปัญหา และความยุ่งยากใจของตน
ขยายมุมมองหรือกรอบแนวคิดในการมองปัญหา ทำให้ประสบการณ์
ในชีวิตมีความสอดคล้องกับความเป็นตัวตนมากขึ้น
มองเห็นศักยภาพของตนและสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางใน การจัดการกับปัญหาได้ด้วยตนเอง
ทัศนคติของผู้ให้การบำบัดต่อผู้รับบริการ
Genuineness (ความจริงใจต่อตนเองและผู้รับบริการ)
Empathy (Empathic understanding) ความเห็นอกเห็นใจ
Unconditional positive regard (Acceptance and respect)
การยอมรับ ผู้รับบริการโดยปราศจากเงื่อนไข
มาสโลว์
เชื่อว่า มนุษย์เกิดมาดีและพร้อมที่จะทำส่ิงที่ดี ถ้าได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานเพียงพอ
ก่อนพัฒนาตนเองได้ ต้องได้รับการตอบสนองอย่าง เพียงพอจึงพัฒนาได้
บันได 5 ขั้น นำมาใช้เพื่อศึกษาความต้องการแต่ละขั้น ประกอบความต้องการพื้นฐานของผู้ป่วยที่มี เพื่อเป็นแนวทางในการให้การพยาบาลอย่างเหมาะสม