Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy), การบริหารยาขึ้นอยู่กับ - Coggle…
การตั้งครรภ์นอกมดลูก
(Ectopic pregnancy)
การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้วอยู่ภายนอกโพรงมดลูก ทําให้มีการเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนในตําแหน่งที่ไม่ใช่โพรงมดลูก ซึ่งเกือบทั้งหมดร้อยละ 95 เกิดการฝังตัวขึ้นที่ท่อนําไข่ส่วน ampulla ส่วนตําแหน่งอื่นๆอาจพบการฝังตัวได้ที่ รังไข่ ปากมดลูกและภายในช่องท้อง
อาการและอาการแสดง
อาการแสดง
กดเจ็บบริเวณหน้าท้อง
อาการกดเจ็บที่ปีกมดลูกและเจ็บเมื่อโยกปากมดลูก
คลําพบก้อนที่ปีกมดลูก
มดลูกอาจโตขึ้นเล็กน้อย
พบภาวะเลือดออกในช่องท้อง
ตรวจพบหน้าท้องโป่งตึงและกดเจ็บ
มีเลือดออกหรือมีเศษเนื้อเยื่อออกจากปากมดลูก
อาการ
อาการปวดท้องน้อย มีลักษณะบีบรัดตัวเป็นช่วงๆ
เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
ขาดประจำเดือน
ปัจจัยเสี่ยง/สาเหตุส่งเสริม
มีความผิดปกติของท่อนําไข่แต่กําเนิด
เคยมีประวัติอุ้งเชิงกรานอักเสบ
เคยมีประวัติตั้งครรภ์นอกมดลูก
การใช้ห่วงอนามัยในการคุมกําเนิด
เคยผ่าตัดบริเวณท่อนําไข่
การมีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่บริเวณท่อนําไข่
การเกิดพังผืดบริเวณรอบท่อนําไข่
การใช้ยาเม็ดคุมกําเนิดฉุกเฉิน
การใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์
ตั้งครรภ์หลังจากการทําหมัน
ได้รับDiethylstilbestrol (DES) ขณะอยู่ในครรภ์
การสูบบุหรี่
ประเภท
Abdominal pregnancy คือ การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นในช่องท้อง
Cesarean scar pregnancy คือ การตั้งครรภ์ที่เกิดบริเวณแผลผาตัดคลอดเดิม ซึ่งพบได้น้อยมาก
Heterotopic pregnancy คือ การตั้งครรภ์ทั้งที่เกิดขึ้นนอกมดลูกและเกิดขึ้นในโพรงมดลูก ตามปกติพร้อมกัน
Ovarian pregnancy คือการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นที่รังไข่
Cervical pregnancy คือการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นบริเวณปากมดลูก
การวินิจฉัย
การตรวจระดับ β-hCG
การขูดมดลูก (Dilatation and curettage)
ใช้การตรวจอัลตราซาวด์ :!!:
ขณะที่ระดับของ β-hCG > 6,500 mIU/ml เมื่อทําอัลตราซาวด์ทางหน้าท้อง จะต้องเห็นถุงการตั้งครรภ์ในโพรงมดลูก
หากระดับ β-hCG > 1,500 mIU/ml เมื่อตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด จะต้องเห็นถุงการตั้งครรภ์ในโพรงมดลูก
การส่องกล้องตรวจในอุ้งเชิงกราน (Laparoscopy)
การรักษา
การรักษาแบบประคับประคองและสังเกตอาการ (Expectant management)
หญิงตั้งครรภ์ไม่มีอาการ หรือมีก้อนขนาดเล็กที่ยังไม่แตก หรือไม่มีหลักฐานที่แสดงว่ามีเลือดออกในช่องท้อง
ในรายที่ติดตาม β-hCG แล้วพบว่ามีค่าลดลงมากกว่าร้อยละ 50 ในเวลา 7 วัน
มีระดับ β-hCG < 1,000 mIU/ml
การรักษาด้วยยา
Methotrexate
การบริหารยาขึ้นอยู่กับ
ขนาดของก้อน หรือตัวอ่อนมีขนาดเล็ก ไม่ควรมีขนาดใหญ่กว่า 4 เซนติเมตร
อายุครรภ์น้อยกว่า 6 สัปดาห์
3.ก้อนยังไมjแตก
4.การเตhนของหัวใจทารก หากตรวจไมพบการเต้นของหัวใจทารก การรักษาจะยิ่งประสบผลสําเร็จ แต่หากตรวจพบว่าหัวใจทารกยังเต้นอยู่การรักษาจะมีโอกาสล้มเหลวสูง
5.ระดับ β-hCG ไมjควรมีคjาเกิน 5,000-10,000 mIU/ml ซึ่งระดับ β-hCG ที่มีค่ายิ่งน้อย
การผ่าตัด
การผ่าตัดแบบ salpingostomy
การผ่าตัดแบบ salpingectomy
เป็นวิธีการตัดท่อนําไข่ข้างที่มีการตั้งครรภ์นอกมดลูกออกจะทําในกรณีที่
สตรีรายนั้นไม่ต้องการมีบุตรแล้ว
ก่อนการตั้งครรภ์มีขนาดใหญ่
มีการแตกของท่อนําไข่และเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกที่เกิดขึ้นซ้ําในท่อนําไข่ข้างเดิม
ท่อนําไข่ได้รับความเสียหายรุนแรง
มีการเสียเลือดปริมาณมาก และไม่สามารถควบคุมได้
การพยาบาล
ประเมินอาการช็อค เนื่องจากการแตกของท่อนําไข่
สังเกตอาการและอาการแสดงของการตั้งครรภ์นอกมดลูก
เตรียมหญิงตั้งครรภ์ก่อนผ่าตัดด้านร่างกาย
จองและจัดเตรียมเลือดในกรณีที่ต้องได้รับการผ่าตัดท่อนําไข่
เตรียมหญิงตั้งครรภ์ก่อนผ่าตัดด้านจิตใจ
เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดท่อนําไข่โดยประเมินอาการทั่วไป และสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด
สังเกตอาการท้องอืด แน่นอึดอัดท้อง
ประเมินและบันทึกเลือดที่ออกจากแผลผ่าตัด
ประเมินอาการซีด
จัดเตรียมออกซิเจน mask with bag 10 ลิตรต่อนาทีให้พร้อมใช้ในกรณีที่มีภาวะช็อค
ประเมินความเจ็บปวดหลังผ่าตัด
ดูแลให้ได้รับสารน้ําและยาตามแผนการรักษา
การบริหารยาขึ้นอยู่กับ