Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม,…
การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม
บทบาทพยาบาลในการจัดการกับพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยจิตเวช
การจัดการกับพฤติกรรมก้าวร้าว 3 กลยุทธ์
1. กลยุทธ์เพื่อการป้องกัน (Preventive strategy)
1.1 การตระหนักรู้ในตนเองของพยาบาล (self-awareness) วิธีการที่จะช่วยให้สามารถควบคุมตนเองได้
หายใจเข้าออกยาวๆลึกๆ เพื่อให้สมองได้รับก๊าซออกซิเจน
อยู่ในท่าที่สบาย และลงน้ำหนักเท้าอย่างสมดุล
การพูดกับตนเอง เพิ่มความรู้สึกมั่นใจในตนเอง ความกลัวเป็นเรื่องปกติแต่ฉันรู้สึกส่าควบคุมมันได้
1.2 การฝึกให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมกล้าแสดงออก (assertive training) การที่ผู้ป่วยมีความคับข้องใจขณะที่ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และขาดทักษะในการสื่อสารหรือไม่มีทักษะในการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวได้
1.3 การให้ความรู้ (Patient education)
ช่วยให้ผู้ป่วยรับรู้ว่าตนเองมีอารมณ์โกรธ
ให้ความรู้ว่าความโกรธไม่ผิด หากมีการแสดงออกได้อย่างเหมาะสม
ให้ผู้ป่วยแสดงความรู้สึกโกรธ ในสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงโดยการแสดงบทบาทสมมติ
คิดหาวิธีการหลายวิธีในการแสดงอารมณ์โกรธ เช่น การพูดทางบวก การเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
การเผชิญหน้ากับบุคคลที่ทำให้เกิดอารมณ์โกรธและนำวิธีการนี้ไปใช้ในสถานการณ์จริง
2. กลยุทธ์ในระยะคาดว่าจะเกิดพฤติกรรม (anticipatory strategy)
2.1 การใช้เทคนิคในการติดต่อสื่อสารพยาบาล
สามารถป้องกันการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวได้ โดยใช้วัจนภาษา และอวัจนภาษา
2.2 การปรับสิ่งแวดล้อม
พฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยส่วนมากเกิดจากการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัดในหอผู้ป่วยที่ไม่มีประสิทธิภาพ
2.3 การปรับพฤติกรรม การจำกัดพฤติกรรม (Limit setting)
2.4 การรักษาด้วยยา
ยากลุ่มลดความวิตกกังวลและยานอนหลับ (antianxiety medications and sedative-hypnotics) ยาในกลุ่ม buspirone
ยาในกลุ่มต้านอาการเศร้า (anti-depressants) ยาในกลุ่ม SSRIs ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากโรค PTSD
ยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers) ยาที่ถูกนำมาใช้ ได้แก่ valproate ลด haloperidol ร่วมกับยากลุ่ม benzodiazepines
ยากลุ่มอื่นๆ เช่น naltrexone opiate antagonist ซึ่งสามารถลดการทำร้ายตนเองได้ ยากลุ่ม Beta-blockers กลุ่ม psychostimulants
3. กลยุทธ์ในระยะเกิดพฤติกรรม (containment strategy)
3.1 การใช้ทีมในการจัดการ (team response management)
การใช้ทีมในการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าว จำเป็นต้องมีหัวหน้าทีมโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย และบุคลากร สมาชิกในทีมสุขภาพ
3.2 การใช้ห้องแยก (seclusion)
ได้แก่ การจำกัดพื้นที่ การแยกผู้ป่วยจากผู้อื่นและลดสิ่งกระตุ้น
3.3 การผูกมัดผู้ป่วย (physical restraints)
เพื่อป้องกันอันตรายต่อผู้ป่วยและผู้อื่น ใช้กับผู้ป่วยสับสนเพ้อ การพยาบาลที่สำคัญคือ การตรวจสอบการไหลเวียนของเลือดที่แขนและขา คลายตำแหน่งที่ผูกมัดทุก 2 ชม.
ผู้ที่มีพฤติกรรมรุนแรง (Violence)
ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมรุนแรง
การใช้คำพูด พฤติกรรมคุกกามที่มีผลทำให้คนอื่นตกใจกลัว (Threaten) พยายามจะใช้กำลังและอาวุธทำร้ายคนอื่น (Attempt) และมีการใช้กำลังหรืออาวุธทำร้ายคนอื่น (Actual)
วิธีการบำบัดทางการพยาบาล
ประเมินอาการและการแสดงที่เป็นสัญญาณของพฤติกรรม เช่น การแสดงออกทางสีหน้าบึ้งตึง แววตาไม่เป็นมิตร กระวนกระวาย
ประเมินการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกและอารมณ์อย่างเฉียบพลันและการศึกยา ประวัติจากญาติ พฤติกรรมในอดีต
พยาบาลควรมีท่าทีที่เป็นมิตร สงบ และให้เกียรติเพื่อให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจ
สิ่งที่พยาบาลควรตระหนักเกี่ยวกับท่าทางในระหว่างให้การพยาบาลผู้ที่มีพฤติกรรม ก้าวร้าวรุนแรง เพราะทางทางของพยาบาลอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
ผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว (Aggression)
พฤติกรรมก้าวร้าวทางคำพูด
: ใช้คำพูดตำหนิ ติเตียน วิพากษ์วิจารณ์ พูดในแง่ร้าย เสียงดัง ขู่ ตะคอก เอะอะอาละวาด วางอำนาจ วาจาหยาบคาย
พฤติกรรมก้าวร้าวแสดงออกทางร่างกาย
: มีสีหน้าบึ้งตึงแววตาไม่เป็นมิตร ท่าทางไม่พอใจ กระวนกระวาย อยู่ไม่นิ ไม่สนใจเรื่องการกินการนอน การขับถ่าย แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ - พฤติกรก้าวร้าวทำลายสิ่งของ พฤติกรรมก้าวร้าวทำร้ายคนอื่นและพฤติกรรมก้าวร้าวทำร้ายตนเอง
วิธีการบำบัดทางการพยาบาล
การประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ประเมินได้ดังนี้ ประวัติการมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของบุคคลนั้น การได้รับการวินิจการเจ็บป่วยของบุคคลนั้น พฤติกรรมในปัจจุบันของบุคคลนั้น สังเกตจากคำพูดและพฤติกรรม
ผู้ที่มีพฤติกรรมไม่เป็นมิตร (Hostility)
ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตร
มีพฤติกรรมการทำลาย
เป็นปฏิกิริยาการตอบสนองที่รุนแรงซับซ้อน
ความไม่เป็นมิตรมักจะเป็นผลมาจากความก้าวร้าว
มีทัศนคติที่ถูกสะสมมาเรื่อยๆ
ความไม่เป็นมิตรหรือกลุ่มคนมักจะพุ่งตรงต่อบุคคล
มักจะไม่แสตงแสตงผลเท่ากับความก้าวร้าว
เป็นความรู้สึกที่เป็นปรปักษ์
มีความต้องการที่มักจับจ้องจะทำลาย
มีแต่ความเกลียดชัง อิจฉาริษยา
ความรู้สึกสูญเสียความมีคุณค่าในตนเอง
วิธีการบำบัดทางการพยาบาล
การประเมินความไม่เป็นมิตร ประเมินได้ด้านว่างกายและสติปัญญา พยาบาลสามารถประเมิน ได้ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย เช่น ความดันโลหิตสูง ชีพจรเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น
ด้านคำพูด เช่น การพูดกระทบกระเทือน ส่อเสียด
ด้านพฤติกรรม เช่น ท่าที่เฉยเมย ต่อต้าน เงียบ เชื่องช้า ไม่ยอมสบตา เดินหนี บางรายมักจะแสดงพฤติกรรุนแรง เช่น ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ หรือบางรายอาจแสดงพฤติกรรมแอบแฝง เช่น ทำตัวอ่อนหวาน น้อมน้อมเกินไป เป็นต้น
สาเหตุและกลไกทางจิต
ความไม่เป็นมิตรมักถูกปลูกฝังตั้งแต่วัยทารก
เมื่อมีสิ่งคุกคามทางจิตในบุคคลไม่สามารถแสดงออกถึงความคับข้องใจได้
สิ่งแวดล้อมหรือบุคคลอื่นมีอิทธิพลที่ส่งผลให้บุคคลเรียนรู้ที่จะเก็บซ่อนความคิด ความรู้สึก ข่มความขมขื่น
เก็บกดสิ่งที่ตนเองต้องการเอไว้และเกิดความคับข้องใจของตนเอง
บุคคลรับการมีคุณค่าในตนเองต่ำเกิดการสะสมความคับข้องใจใน ตนเองมากขึ้น
ความไม่เป็นมิตรจะถูกเก็บซ่อนไว้และแอบแฝงและติดตัวเป็น ลักษณะนิสัยของบุคคลนั้น
เมื่อเกิดตุการณ์คุกคามทางจิตบุคคลนั้นมักจะรู้สึกผิดหวังและ เจ็บปวดมาก รู้สึกสูญเสียคุณค่าในตนเอง (Low self-esteem) จนไม่สามารถทนได้ จนเกิดความวิตกกังวลอย่างมากซึ่งจะแสดงความเป็น มิตรออกมาอย่างเปิดเผยหรือแอบเก็บกดความรู้สึกนั้นเอาไว้
CONCEPT ANALYSIS: AGGRESSION
สาเหตุการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว
1.ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
ระดับความผิดปกติของสารเคมีในสมอง เช่น dopamin เพิ่มหรือลดลง
การได้รับอุบัติเหตุทางศีรษะ
การมีเนื้องอกที่สมอง
การเจ็บป่วยด้วยโรคทางร่างกาย เช่น โรคสมองเสื่อม
2. ปัจจัยด้านจิตสังคม
Psychosocial factors
Psychoanalytic Theory
Psychological Theory
Sociocultural Theory
Modelling
การจัดการความโกรธในชีวิตประจำวันตามแนวพุทธธรรม
ความโกรธ (anger)
เป็นประสบการณ์ที่มีผลต่อสรีรวิทยาอารมณ์สติปัญญา สังคมและจิตวิญญาณ อาจจะสนองตามธรรมชาติจากความรู้สึกต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดข้ึน พบได้ตั้งแต่เด็กจนถึงตายเกิดได้ทุกขณะและแตกต่างจากความรุนแรง ความโกรธเป็นอารมณ์ปกติที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติเราทุกคนมีความคุ้นเคย
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความโกรธตามหลัก
พุทธธรรม
สาเหตุภายใน
เกิดจาก อกุศล 3 คือ โลภะ โทสะ และโมหะ โดยเฉพาะโทสะนี้เมื่อครอบงำจิตใจ บุคคลใดละโทสะได้ขาดย่อมไม่ประทุษร้ายในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย
อวิชชา (ความไม่รู้จริง)
อโยนิโสมนสิการ(การไม่คิดตริตรองโดยแยบคาย)
อัสมิมานะ (ความถือตวัว่าเป็นเราความถือเขาถือเรา)
อหิริกะ(ความไม่มีความละอายใจ)
อโนตตัปปะ(ความไม่เกรงกลวัต่ออกุศล)
อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน)
สาเหตุภายนอก
อาฆาตวัตถุ10
วิเคราะห์ความโกรธที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
เมื่อคนขาดสติ ขาดขันติ ขาดเมตตาก่อให้เกิดความโกรธและความโกรธส่งผลเสียต่อตนเองทั้งสุขภาพกาย
โรคทางกาย เช่น โรคหัวใจ ความดัน เป็นต้น และสุขภาพจิต ได้แก่ ความเครียด ความกังวล ภาวะซึมเศร้า
ก่อให้เกิดความโกรธอันเป็นปัญหาทางจิตใจ
หรือปัญหาทางคุณธรรม
เพราะผู้ที่โกรธจะสามารถก่อความรุนแรงที่ไม่อาจคาดเดาได้ความโกรธทำ ให้สามารถทำร้ายผู้มีคุณ หรือก่ออาชญากรรมร้ายแรง เพราะความโกรธครอบงำขาดสติยั้งคิด
ก่อให้เกิดปัญหาการดำเนินชีวิต
เพราะความโกรธทำให้ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความโกรธทางกาย วาจา ก่อให้เกิดปัญหาต่อตนเอง ต่อผู้อื่น
หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมกับการบริหาร
จัดการความโกรธ
สติ
เมื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีสติไม่ประมาท ผู้มีสติย่อมเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมเป็นพลเมืองดีของชาติและเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
ขันติ
อดทนต่อความลำบากตรากตรำ อดทนต่อทุกขเวทนา อดทนต่อความเจ็บใจ อดทนต่อสิ่งที่เย้ายวนใจหรือกิเลส
เมตตา
เมตตากายกรรม 3 เมตตาวจีกรรม 4 และเมตตามโนกรรม 3
การบริหารจัดการความโกรธ
1) ศีล คือ การควบคุมความโกรธ (The control of Kodha) ด้านพฤติกรรมทางกาย วาจา ปฏิบัติอบรมสติ ขันติ เมตตา ในระดับศีล
2) สมาธิ คือ การบรรเทาความโกรธ(The reduction of Kodha) เป็นการบรรเทาความโกรธที่คุกรุ่นอยู่ในจิตใจด้วยการปฏิบัติอบรมสติ ขันติ เมตตา ในระดับสมาธิ
3) ปัญญา คือ กำจัดความโกรธ (The eradication of Kodha) เป็นการกำจัดความโกรธ ที่ยังหลงเหลืออยู่ในจิตใจด้วยปัญญา ด้วย
การพัฒนาปัญญาหรือการปฏิบัติอบรมสติ ขันติ เมตตา ด้วยปัญญา
สมรรถนะของพยาบาลจิตเวชในการปฏิบัติการพยาบาล
สมรรถนะพยาบาลจิตเวช
หมายถึง ความสามารถในการดูแลช่วยเหลือตามกระบวนการพยาบาลโดยตรงแก่ผู้ใช้บริการที่มีปัญหาด้านจิตใจ อารมณ์ความคิด พฤติกรรม สติปัญญา และพัฒนาการ โดยใช้ความชำนาญและทักษะการพยาบาลขั้นสูง ในการจัดการรายกรณีหรือใช้วิธีการอื่น ๆ รวมทั้งจัดการให้มีระบบการดูแลผู้ป่วยเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะโรคที่มีประสิทธิภาพ ให้เหตุผลและตัดสินใจเชิงจริยธรรม โดยบูรณาการหลักฐานเชิงประจักษ์
สมรรถนะหลักได้ 7 ด้าน
ด้านคุณธรรมจริยธรรม
เช่น การให้บริการทางการพยาบาลอย่างเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งแยกผู้รับบริการตามชนชั้นวรรณะ รักษาข้อมูลผู้อยู่ในความดูแลไว้เป็น
ความลับ เว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ป่วยจิตเวช/ญาติ หรือเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ป่วย
ด้านความรู้
มีความรู้ความเข้าใจในขอบเขตมโนทัศน์สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช (Mental Healthand Psychiatric Nursing) คือ เข้าใจในกรอบแนวคิดด้านจิตเวชศาสตร์ความสำคัญ หลักการความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชแนวทางการประเมินสภาพจิต คัดกรองความเสี่ยงต่าง ๆ
ด้านทักษะทางปัญญา
สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการพยาบาลจิตเวช และองค์ความรู้จากสหสาขาวิชาชีพในการแก้ปัญหาผู้อยู่ในความดูแล แล้วสามารถประยุกต์เชื่อมโยงสู่กระบวนการพยาบาล มีความคิดด้วยเหตุและผลของการพยาบาลอย่างเป็นระบบ มีกระบวนการและขั้นตอนที่มีเหตุผล ตลอดจนมีไหวพริบปฏิภาณทางปัญญา สามารถยืดหยุ่นทางความคิดได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและการสื่อสาร
มีสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่น มีทักษะการประสานงานและสามารถขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นในทีมรักษาพยาบาล มีทักษะการ
สื่อสาร
ด้านการประเมินผลและการใช้ระบบสารสนเทศ
การสืบค้นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยในการสร้างสื่อการสอนสุขศึกษา หรือนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้
ด้านสุขภาพจิตต่าง ๆ มีความสามารถในการใช้ระบบสารสนเทศ
ด้านการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช
มีความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลด้านจิตเวชอย่างเป็นองค์รวม ครอบคลุม 4 มิติของการพยาบาลได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค (สอนสุขศึกษา) การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพแก่ผู้ใช้บริการทุกกลุ่มวัย
ด้านบุคลิกภาพ
ลักษณะส่วนบุคคล เช่น ควบคุมอารมณ์ได้ดีเมื่อเจอเหตุการณ์ฉุกเฉินทางจิตเวช พยาบาลจิตเวชต้องควบคุมอารมณ์กลัวของตนให้ได้ไม่ประหม่า ตกใจให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนือกว่าการควบคุมของบุคลากรทางการแพทย์ ความจริงใจ การมองโลกในแง่ดี มีทัศนคติต่อบุคคลอื่นในเชิงบวก เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วยทางจิต กระตือรือร้น ว่องไวต่อพฤติกรรมอารมณ์ ความคิดของผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและผู้อื่น
ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของความรุนแรงในสถานที่ทำงานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
ความรุนแรงในสถานที่ทำงานในองค์กรด้านการดูแลสุขภาพเป็นอาชีพที่มีความสำคัญระดับโลก
ปัญหาสุขภาพและพยาบาลเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ความรุนแรงในสถานที่ทำงานถูกกำหนดให้เป็นทางกายภาพและความรุนแรงทางจิตใจ ความรุนแรงทางจิตใจ ได้แก่ การล่วงละเมิดทางวาจาการกลั่นแกล้ง / การชุมนุมและการล่วงละเมิดทางเพศ
นางสาวปรารถนา นักคำพันธ์ เลขที่ 15 ห้อง A รหัสนักศึกษา 623020110168