Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งเต้านม - Coggle Diagram
มะเร็งเต้านม
อาการของมะเร็งเต้านม
มีก้อนเนื้อในเต้านมหรือก้อนที่รักแร้ เป็นอาการที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่เจอแล้วจึงมาพบแพทย์มากที่สุด
มักไม่มีอาการเจ็บหรือปวด ลักษณะก้อนเนื้อค่อนข้างแข็ง
-
-
-
บริเวณหัวนมบุ๋ม เป็นแผล มีน้ำเหลืองหรือของเหลวสีคล้ายเลือด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไหลออกจากเต้านมข้างเดียวและจุดเดียว
ผิวหนังบริเวณเต้านมมีอาการบวม แดง เป็นผื่นแดง
อาจเกิดการลอก ตกสะเก็ด หรือเป็นแผล มีอาการคันบริเวณหน้าอก
ระยะของมะเร็งเต้านม
ระยะ 4: โรคมีการแพร่กระจายเข้าหลอดเลือดไปยังอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ตับ สมอง ปอด กระดูก ซึ่งเป็นระยะที่รักษาไม่หายขาด และมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี อยู่ที่ประมาณ 22%
ระยะ 3: เนื้อเยื่อเต้านมถูกมะเร็งทำลายเป็นบริเวณกว้างขึ้น ก้อนมะเร็งมีขนาดโตขึ้นมากกว่า 5 เซนติเมตร มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้และต่อมน้ำเหลืองอื่นในบริเวณใกล้เคียงเต้านม หรือก้อนเนื้อขยายใหญ่ขึ้นไม่เกิน 5 เซนติเมตร และมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองจำนวนมากขึ้น โดยอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีของระยะนี้อยู่ที่ประมาณ 72%
ระยะ 2: ก้อนมะเร็งมีขนาดโตขึ้น และอาจแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองเฉพาะบริเวณรักแร้ แต่จำนวนไม่กี่ต่อม หรืออาจไม่พบก้อนเนื้อ แต่พบเซลล์มะเร็งบริเวณต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ ซึ่งมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี อยู่ที่ประมาณ 93%
ระยะ 0-1: พบเซลล์ผิดปกติภายในเนื้อเยื่อเต้านม และก้อนเนื้อมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร แต่ยังจำกัดการเกิดเฉพาะภายในเต้านม ซึ่งเป็นระยะที่ยังไม่พบการลุกลามของโรคไปยังส่วนอื่น สำหรับระยะนี้มีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี เกือบ 100%
สาเหตุของมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมยังไม่พบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้มากขึ้น โดยเฉพาะในเพศหญิง ทั้งจากสภาพแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมการใช้ชีวิต อายุที่มากขึ้น ผู้หญิงที่ไม่มีบุตร หรือมีช่วงระยะของการมีประจำเดือนนาน และอีกหลายปัจจัย ทั้งนี้บางปัจจัยสามารถแก้ไขได้ แต่บางปัจจัยไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือเชื้อชาติ เป็นต้น
การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม
แพทย์จะตรวจดูความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเต้านม พร้อมทั้งประเมินวิธีการรักษาในขั้นตอนต่อไป แพทย์อาจมีการตรวจเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) อัลตราซาวน์ (Ultrasound) หรือการตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI) เพื่อดูก้อนเนื้อหรือเซลล์ที่เกิดความผิดปกติก่อนจะมีการเจาะชิ้นเนื้อ (Biopsy) ออกมาตรวจวิเคราะห์ ทั้งนี้ การเลือกใช้วิธีใดในการตรวจวินิจฉัยหรือตรวจในขั้นตอนใดก่อน แพทย์จะดูอาการและสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจร่างกายเป็นข้อมูลเบื้องต้น
การรักษามะเร็งเต้านม
การรักษามะเร็งเต้านมมีหลายวิธี ปัจจุบันจะใช้วิธีการผ่าตัด การฉายรังสี การรักษาด้วยฮอร์โมน หรือการรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดี ข้อเสีย และผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้แพทย์อาจใช้วิธีการเดียวหรือหลายวิธีรวมกันในการรักษา โดยอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของทีมแพทย์และความต้องการของผู้ป่วย เพื่อการวางแผนการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับประโยชน์สูงสุด
-
การป้องกันมะเร็งเต้านม
ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน โดยเริ่มตรวจตั้งแต่อายุยังน้อย และเข้ารับการตรวจจากแพทย์หรือพยาบาลเป็นครั้งคราว ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรเข้ารับการตรวจเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) ประมาณปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากมะเร็งเต้านมยังไม่พบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด การป้องกันได้เต็มประสิทธิภาพจึงทำได้ยาก นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหรือส่งผลเสียต่อสุขภาพอาจช่วยลดโอกาสการเกิดและรับมือกับมะเร็งเต้านมได้ทันท่วงที
-
-