Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช …
บทที่ 4
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
ภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ความหมายของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
กลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท ที่มีความบกพร่องของพัฒนาการด้าน ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การสื่อสารร่วมกับความผิดปกติของพฤติกรรม และความสนใจหมกหมุ่นในบางเรื่อง มีพฤติกรรมซ้ำๆ
ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
1) มีความบกพร่องด้านการสื่อสารและด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในหลายบริบท
มีความผิดปกติทางอารมณ์และทางสังคม เช่น ไม่สามารถตอบสนองปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นได้ไม่มีการสบสายตา
มีความบกพร่องด้านการสื่อสาร เช่น ไม่มีการสื่อสารแบบวัจนภาษากับอวัจนภาษา
มีความบกพร่องในการสร้าง รักษา และเข้าใจในสัมพันธภาพ เช่น ไมีความผิดปกติใน การเข้าหาหรือเริ่มต้นมีปฏิสัมพันธ์บุคคลอื่น
2) มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัดซ้ำๆ (stereotyped)
ยึดติดกับสิ่งเดิม กิจวัตรประจำวันเดิม หรือแบบแผนการสื่อสารเดิมๆซ้ำๆ ไม่มีความ ยืดหยุ่น
มีความสนใจที่จำกัดในขอบเขตที่จำกัดหรือเฉพาะเจาะจง หมกหมุ่นกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือเพียงบางส่วนของวัตถุมากเกิน
มีการตอบสนองต่อการรับสัมผัสสิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้น (เช่น แสง สี เสียง สัมผัส เป็น ต้น) มากหรือน้อยกว่าบุคคลทั่วไป
สาเหตุของของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
1) ปัจจัยทางพันธุกรรม พบว่า ในคู่ฝาแฝดแท้(ไข่ใบเดียวกัน) ที่มีคนหนึ่งมีภาวะออทิซึมสเปกตรัมแล้วแฝดอีกคนมีโอกาสเกิดภาวะออทิซึมสเปกตรัมเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 95 แต่สำหรับในคู่ฝาแฝดเทียม (ไข่คนละใบ) จะมีโอกาสเกิดภาวะออทิซึมสเปกตรัมลดลง ร้อยละ 30
2) ปัจจัยทางสมอง ทั้งในลักษณะโครงสร้างและการทำหน้าที่ของสมอง
มีช่องว่างในสมอง (ventricle)
มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง เช่น ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทประเภทซีโรโทนิน (serotonin)
3) ปัจจัยในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด
อายุพ่อแม่
ภาวะที่ไม่เข้ากันของภูมิคุ้มกันระหว่างมารดาและทารก ( immunological incompatibility) ทำเกิดการเซลล์ประสาทของทารก
ภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์และการคลอด เช่น เลือดออกในไตรมาสแรกของการ ตั้งครรภ์ ติดเชื้อหัดเยอรมัน ได้รับสารตะกั่ว เป็นต้น
การบำบัดรักษาภาวะออทิซึมสเปกตรัม
1) การรักษาทางยา เป็นการนำยามาใช้บรรเทาอาการบางอย่างทีเกิดร่วมกับภาวะออทิซึมสเปกตรัมยาที่มักมาใช้บรรเทาอาการที่เกิดร่วม บ่อยๆ ดังนี้
ยา methylphenidate ที่ใช้บรรเทาอาการขาดสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง วิ่งไปมา
ยา haloperidol กับ risperidone ที่ใช้บรรเทาอาการหงุดหงิด พฤติกรรมวุ่นวาย ก้าวร้าว พฤติกรรมทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
ยา fluoxetine ที่ใช้บรรเทาอาการซึมเศร้า ลดพฤติกรรมซ้ำๆ
ยา lorazepam ที่ใช้บรรเทาอาการวิตกกังวล
2) พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร โดยการทำอรรถบำบัด (speech therapy) ซึ่งถือว่าเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านการ สื่อสารที่สำคัญให้เด็กที่มีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าให้มีพัฒนาการที่กลับมาใกล้เคียงกับเด็กที่มีพัฒนาการปกติมากที่สุด
3) พัฒนาด้านทักษะทางสังคม (social skills)
การฝึกเด็กให้ใช้ภาษาทางกายให้เหมาะสม สบสายตาบุคคลอื่นเวลาต้องการสื่อสาร กระตุ้นความเข้าใจในอารมณ์ทั้งของตนเองและผู้อื่น
4) พฤติกรรมบำบัด (behavioral therapy) การบำบัดโดยการปรับพฤติกรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งในเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมที่จะช่วยให้เด็กสามารถควบคุมกับพฤติกรรมตนเองได้ในอนาคตและสามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม
5) การบำบัดทางความคิด และพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy: CBT) การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม มีเป้าหมายหลัก คือ “เพื่อลดความวิตกกังวลซึ่งมัก เป็นโรคร่วมในเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
6) ศิลปะบำบัด (art therapy) การนำศิลปะมาใช้การบำบัดควบคู่ทางการแพทย์นั้น เพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาการด้าน อารมณ์ และทักษะด้านอื่นๆ
7) ดนตรีบำบัด (music therapy) การนำดนตรีมาบำบัดเด็กที่มีภาวะออทิซึมสปกตรัม เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นนการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
8) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา (educational rehabilitation)
การจัดการศึกษาให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของเด็ก โดยการจัดโปรแกรม การศึกษาแบบรายบุคคล (individualization education program)
9) การให้คำแนะนำครอบครัว การบำบัดเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น มีปัจจัยหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ ครอบครัวของเด็ก
10) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ (vocational rehabilitation)
การฝึกอาชีพไม่เพียงมีประโยชน์ในการฝึกทักษะพื้นฐานเฉพาะทางอาชีพเท่านั้น ยังเป็นการ เตรียมความพร้อมในทักษะที่จำเป็นในการทำงานในอนาคตให้เด็ก
การพยาบาลเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
1) การประเมินสภาพ (assessment)
การซักประวัติ
การประเมินทางร่างกาย
• การตรวจร่างกาย เป็นการตรวจร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า
• ผลการตรวจอื่นๆ เช่น ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการทดสอบทางจิตวิทยา เป็นต้น
การประเมินพัฒนาการ
การสังเกตพฤติกรรม
การใช้แบบคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัย
• PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ1-4 ปี
• PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ4-18 ปี
การประเมินสภาพจิต จิตสังคม และด้านจิตวิญญาณ
สัมพันธภาพในครอบครัว
รูปแบบการเลี้ยงดู
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีพฤติกรรมก้าวร้าว เนื่องจากขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง
มีความบกพร่องด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เนื่องจากมีพฤติกรรมแยกตัว
เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เนื่องจากมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง เนื่องจากขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง
เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร เนื่องจากมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารซ้ำซาก
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
พยาบาลที่สำคัญแบ่งได้ 2 ด้าน ดังนี้
1) การพยาบาลช่วยเหลือด้านเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
2) การพยาบาลช่วยเหลือครอบครัวเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
1) การพยาบาลช่วยเหลือด้านเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
การฝึกกิจวัตรประจำวัน
ฝึกทักษะการสื่อความหมาย
ฝึกทักษะทางสังคม
แก้ไขพฤติกรรมที่ไม่หมาะสม
2) การพยาบาลช่วยเหลือครอบครัวเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
แสดงความเข้าใจยอมรับความรู้สึกของพ่อแม่ที่มีลูกที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ช่วยลดความรู้สึผิดหรือกล่าวโทษกันของพ่อแม่ด้วยการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
ช่วยลดความวิตกกังวลของพ่อแม่ด้วยการให้ความช่วยเหลือปัญหาที่พ่อแม่ต้องเผชิญ
4) การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation)
เป็นการประเมินผลหลังให้การพยาบาลตามตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้ในเกณฑ์การประเมินผล เพื่อตรวจสอบว่าภายหลังให้การพยาบาลเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม เป็นไปดามเป้าหมายที่วางแผนไว้และสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่
นางสาวธารารัตน์ มีวงษ์ 180101119