Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute respiratory distress syndrome (ARDS) กลุ่มอาการหายใจลำบาก,…
Acute respiratory distress syndrome (ARDS) กลุ่มอาการหายใจลำบาก
เป็นความผิดปกติของระบบการหายใจที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก หายใจเร็วผิดปกติ และมีอาการหอบเหนื่อย
สาเหตุมาจาก
ป็นภาวะที่เกิดจากของเหลวภายในหลอดเลือดขนาดเล็กในปอดไหลเข้าไปในถุงลมปอด ซึ่งโดยปกติแล้วหลอดเลือดนี้จะปล่อยให้เพียงอากาศซึมผ่านเข้าไปในถุงลมปอดได้เท่านั้น
แต่ในกรณีที่เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงก็อาจทำให้ผนังหลอดเลือดปล่อยให้ของเหลวภายในหลอดเลือดซึมออกมาจากหลอดเลือดและเข้าไปอยู่ในถุงลมปอดได้ ทำให้ปอดและถุงลมสูญเสียการทำงานเฉียบพลัน ร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ จึงขาดออกซิเจน
พยาธิสรีรวิทยา
พยาธิสภาพที่เนื้อปอดเป็นผลมาจากการที่ร่างกายได้รับการกระตุ้นจากสาเหตุต่างๆ ทำให้มีการหลั่งสาร mediator หรือ cytokine ต่างๆ2 เช่น tumor necrosis factor, interleukin (IL)-1, IL-6, IL-8 เป็นผลให้มีการทำลายเนื้อเยื่อถุงลม มีการขยายตัวของหลอดเลือดฝอยรอบถุงลม มีเม็ดเลือดขาว เช่น neutrophil เคลื่อนที่เข้ามาใน ถุงลม
ทำให้เกิดปฏิกิริยาของการอักเสบภายในถุงลมและรอบๆ ถุงลมอย่างต่อเนื่อง มีของเหลวโปรตีนสูง รั่วออกจากหลอดเลือดเข้ามาสะสมในถุงลมและ interstitium ทำให้เห็นคล้ายเป็น hyaline membrane ในถุงลม. กระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของ surfactant ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
ทำให้ถุงลมแฟบ ความยืดหยุ่นของปอดลดลง เนื้อปอดแข็ง การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนบกพร่องอย่างมาก เนื่องจากลมหายใจเข้าไม่สามารถเข้าไปถึงถุงลมได้ เกิดเป็น intrapulmonary shunt ในทางปฏิบัติจะเห็นว่าถึงแม้จะให้ออกซิเจนความ เข้มข้นสูงก็ไม่สามารถแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจนได้.
อาการและอาการแสดง
จะมีอาการของภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน คือ หายใจเร็ว แรง หน้าอกบุ๋ม เขียว ความรู้สติลดลง irritable ฟังเสียงปอดได้ยินเสียง crepitation, bronchial breath sound ผู้ป่วยทุกรายเมื่อให้ออกซิเจนไม่ดีขึ้น มักจบลงด้วยการใส่ท่อหลอดลมคอ แล้วต่อกับเครื่องช่วย
การรักษา
รักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อสาเหตุที่ทำให้เกิด ARDS
การรักษาแบบประคับประคอง (supportive care) ให้พ้นวิกฤต
การใช้เครื่องช่วยหายใจ.
ช่วยลดภาระการหายใจ (work of breathing) ทำให้ ผู้ป่วยไม่ต้องออกแรงหายใจจนเหนื่อย ช่วยให้สามารถ เพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจน (FiO2) ได้เต็มที่จนถึง 100% ช่วยถ่างถุงลมที่แฟบอยู่ให้เปิดออกดันลมหายใจให้เข้าไปถึงถุงลมได้มากขึ้น สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ดีขึ้น ลดการเกิด intrapulmonary shunt นอกจากนี้ยังช่วยลด venous return ทำให้ของเหลวรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดฝอยรอบๆ ถุงลมลดลง.
ยา.
ให้ยาและสารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำ ให้ยาป้องกันภาวะมีเลือดออกและการเกิดลิ่มเลือด หรือให้ยาที่ช่วยให้ผู้ป่วยสงบและสบายขึ้น
การดูแลรักษาด้านโภชนาการ สารน้ำ และเกลือแร่.
การรักษาและป้องกันปอดอักเสบแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ.
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (Pneumothorax)
การติดเชื้อ
ลิ่มเลือด
โรคพังผืดในปอด (Pulmonary Fibrosis)
เกิดปัญหาในการหายใจ
การป้องกันกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน
หากเกิดบาดแผล มีการติดเชื้อ หรือมีอาการเจ็บป่วยใด ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที
เข้ารับการฉีควัคซีนป้องกันไข้หวัดและปอดบวมอย่างสม่ำเสมอหรือตามที่แพทย์แนะนำ
ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เพราะการติดแอลกอฮอล์ทำให้การทำงานของปอดแย่ลง และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
นางสาวนาซูฮา แซแอ 634N46219