Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะช็อคจากหลอดเลือด DISTRIBUTIVE SHOCK - Coggle Diagram
ภาวะช็อคจากหลอดเลือด
DISTRIBUTIVE SHOCK
สาเหตุภาวะช็อคจากหลอดเลือด
1) ได้รับ endotoxin ของ bacteria ทำให้มีหลอดเลือดขยาย (vasodilatation)ทำให้ความดันโลหิตลดลงซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าSeptic shock
2) การมีปฏิกิริยาการแพ้ซึ่งเป็น antigen-antibodyreaction เช่นการแพ้ยาหรือได้รับสารแปลกปลอมนิยาเช่นยาปฏิชีวนะแอสไพริน สารทึบแสงสำหรับการตรวจวินิจฉัย พลาสม่า วัคซีน D อาหารทำให้ร่างกายมีการหลั่ง histamine และ inflammatory chemical ออกมาทำให้หลอดเลือดขยายและ increase capillary permeability ผลที่ตามมาคือทำให้ความดันโลหิตลดลงเกิดภาวะที่เรียกว่าAnaphylactic shock
3) เกิดจากการมี traumaต่อ spinal cord ทำให้มีการสูญเสียหน้าที่ของ Sympathetic nerve ที่ควบคุมหลอดเลือดทำให้ผนังหลอดเลือดคลายตัวและมีperipheral vascular resistance ลดลงทำให้มีหลอดเลือดขยายและมีความดันโลหิตลดลงอาจเรียกว่าNeurogenic shock
การวินิจฉัยภาวะช็อคเหตุพิษติดเชื้อ
การตรวจเลือด
เป็นการตรวจเบื้องต้นที่จะช่วยระบุความผิดปกติต่าง ๆ ได้ เช่น ตรวจหาเชื้อก่อโรคในเลือด ตรวจการแข็งตัวของเลือด ตรวจของเสียในเลือด ตรวจการทำงานของตับและไต ตรวจหาปริมาณออกซิเจนที่ลดลง ตรวจหาระดับเกลือแร่ที่ไม่สมดุล
การตรวจตามปัจจัยเสี่ยง
แพทย์จะพิจารณาจากอาการและผลตรวจเลือดของผู้ป่วย จากนั้นจึงตรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติมเพื่อระบุตำแหน่งที่เกิดการติดเชื้อ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจผิวหนังบริเวณที่เกิดบาดแผลว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ และเจาะตรวจของเหลวในไขสันหลัง
การตรวจทางรังสีวิทยา
หากวิธีการตรวจข้างต้นยังไม่สามารถระบุตำแหน่งการติดเชื้อได้อย่างชัดเจน แพทย์อาจใช้วิธีการถ่ายภาพด้วยรังสีต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น การเอกซเรย์ การทำCT scan การทำ MRI Scan หรือการอัลตราซาวด์
สาเหตุของภาวะช็อคเหตุพิษติดเชื้อ
ภาวะ Septic Shock เป็นผลมาจากการติดเชื้อในกระแสเลือดขั้นรุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือ
เชื้อไวรัส โดยมักเป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ปอด ระบบย่อยอาหาร ทางเดินปัสสาวะ
การป้องกันภาวะช็อคเหตุพิษติดเชื้อ
Septic Shock เป็นภาวะที่ร้ายแรงและป้องกันได้ยาก แต่อาจลดความเสี่ยงได้ด้วยการหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อที่อาจนำไปสู่ภาวะ Septic Shock ได้ ส่วนผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ควรระมัดระวังด้านการติดเชื้อมากเป็นพิเศษ และดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารหรือหลังจากเข้าห้องน้ำ งดสูบบุหรี่และไม่ใช้ใช้สารเสพติด รวมถึงหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
การรักษาภาวะช็อคเหตุพิษติดเชื้อ
การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมการติดเชื้อ
แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะกับผู้ป่วย โดยการได้รับยาปฏิชีวนะตั้งแต่ในระยะแรกเริ่มที่มีอาการจะช่วยให้อัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น ซึ่งวิธีการให้ยาที่นิยมมากที่สุด คือ การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ นอกจากนี้ หากพบตำแหน่งของการติดเชื้อที่ชัดเจน เช่น แผล ฝี หนอง เป็นต้น แพทย์อาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดเพื่อกำจัดแหล่งเชื้อโรคดังกล่าวออกไป
การรักษาระบบไหลเวียนเลือดให้เป็นปกติ
เป็นการให้สารน้ำเพื่อช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานเป็นปกติ แต่หากอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้นหรือมีอาการรุนแรง อาจต้องใช้ยาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ยากระตุ้นความดันโลหิต ยากระตุ้นหัวใจ
การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ
เช่น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยใช้อินซูลิน ให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เป็นต้น หรือหากผู้ป่วยมีปัญหาในการหายใจ แพทย์อาจให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วยผ่านท่อหรือใช้เครื่องช่วยหายใจ