Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สาเหตุของการเกิดภูมิปัญญาไทย และ ลักษณะของภูมิปัญญาไทย - Coggle Diagram
สาเหตุของการเกิดภูมิปัญญาไทย
และ ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
สาเหตุของการเกิดภูมิปัญญาไทย
ความจำเป็นขั้นพื้นฐานของการดำรงชีวิต
การดำรงอยู่รอดของเผ่าพันธุ์มนุษย์ คือความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมหรือสามารถหาสภาวะแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มของตน ความจำเป็นของการดำรงชีวิตก็คือ ปัจจัย 4 อันได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่มห่ม และยารักษาโรค
ความเชื่อและระบบความสัมพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ
ยังคงดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติซึ่งมีภาวะไม่แน่นอน โดยเฉพาะการปลูกที่ต้องอาศัยน้ำฝนและน้ำจืดจากแหล่งน้ำธรรมชาติ บางปีอาจแห้งแล้ง แต่บางอาจน้ำท่วม มนุษย์ไม่อาจหาคำอธิบายการแปรผันของธรรมชาติรวมทั้งเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ จึงยกให้ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติเป็นสั่งศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถดลบันดาลทั้งด้านดีและด้านร้ายให้แก่มนุษย์ได้
ความเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาชีพ
อาชีพเบื้องต้นของมนุษย์คือ การแสวงหาอาหารและการเอาชีวิตรอด มนุษย์จึงต้องคิดค้นสร้างอาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นทุกขณะตามความจำเป็นของสถานการณ์
การตอบสนองอารมณ์สุนทรี
มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจึงเริ่มมีการแสดงออกทางด้านศิลปะดังปรากฏศิลปะถ้ำของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาพเขียนสีเหล่านี้อาจมีที่มีจากการใช้เพื่อประกอบพิธีกรรมหรือเป็นการเล่าเรื่องประสบการณ์
การประยุกต์รับอิทธิพลจากภายนอก
แลกเปลี่ยนถ่ายทอดวัฒนธรรมจากกลุุ่มหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มหนึ่งจะเกิดขึ้นโดยตลอด โดยมีสาเหตุจากการติดต่อค้าขาย การอพยพโยกย้าย การสมรสของคนต่างกลุ่ม
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญาที่เป็นนามธรรม
คติความเชื่อ เทพศักดิ์สิทธิ์ในยุคแรกที่สำคัญคือ ผีฟ้าพญาแถน(ฝน) ผีแมน แม่โพสพ(ข้าว)
โลกทัศน์ด้านจักรวาล ความเชื่อด้านนี้เป็นการพัฒนาจากคติความเชื่อในสังคมเกษตรผสมผสานกับอิทธิพลแนวคิดจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
โลกทัศน์ด้านพระพุทธศาสนา ความเชื่อในพระพุทธศาสนา คือ เรื่องของบุญ กรรม การเวียนว่ายตายเกิด เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยากยิ่ง สิ่งที่ชาวพุทธถือปฏิบัติคือ การเร่งทำบุญเพื่อการเกิดใหม่ที่ดี
ข้อห้ามและข้อปฏิบัติ จะมีการบัญญัติถึงข้อห้ามและข้อพึงกระทำในทุกช่วงชีวิต ตั้งแต่มารดาเริ่มตั้งครรภ์ไปจนสิ้นชีวิต หากไม่ปฏิบัติตามข้อมูลบัญญัติจะเกิดผลร้ายที่รุนแรง
ภูมิปัญญาที่เป็นรูปธรรม
อาคาร เริ่มจากการหาแหล่งที่อยู่อาศัย จัดสร้างที่พักอาศัยจากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นและสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
อาหาร ด้านอาหารของไทยที่เห็นชัดเจนคือ การผลิตข้าว และนำข้าวมาบริโภคทั้งในลักษณะของอาหารหลักและแปรรูปเป็นขนม
เครื่องมือเครื่องใช้ พบได้จากหลักฐานโบราณคดีในยุคสมัยต่างๆแสดงถึงขีดความรู้ความสามารถของผู้คนในแต่ละยุคสมัยที่นำวัสดุนั้นๆ
พาหนะ เป็นพาหนะในการเดินทางและบรรทุกสิ่งของ ผู้คนไปสู่พื้นที่ต่างๆมาเป็นช้านาน
งานฝีมือ คนไทยมีความประณีตสวยงามไม่แพ้ชาติใดจะเห็นได้ทั้งจากสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันและงานประดิษฐ์ระดับสูงของราชสำนักและศาสนาบูชางานฝีมือจะเเบ่งเป็นหลายประเภท
การประกอบพิธีกรรม
การรักษาโรค จะแสดงออกทั้งเชิงวิทยาศาสตร์และไสยศาสตร์ กล่าวคือรู้จักการนำส่วนต่างๆ จากพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าในด้านต่างๆ มาประกอบเป็นตัวยารักษาโรค
การประกอบอาชีพ จะมีแนวคิดแนวปฏิบัติที่แสดงความเคารพบูชาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะเอื้อประโยชน์ต่ออาชีพของตนตลอดมา
ศรัทธาในศาสนา นับถือลัทธิศาสนาของคนไทยก็เช่นเดียวกับชนชาติอื่นๆคือการพยายามสร้างความเข้าใจในหลักศาสนาและแสดงออกด้านพฤติกรรม
การสร้างความสัมพันธ์ในสังคม มีรากฐานมาจากสังคมเกษตรที่มีความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน