Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีทางการพยาบาล นศพต.สุพรรษา สมจิโน เลขที่ 55 - Coggle Diagram
ทฤษฎีทางการพยาบาล
นศพต.สุพรรษา สมจิโน เลขที่ 55
ทฤษฎีทางการพยาบาลของเพพพลาว (Peplau's Interpersonal Theory)
:red_flag: เพบพลาวให้ความสำคัญตามความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่จำเป็นต้องได้รับอย่างเพียงพอ ทั้งความต้องการสรีระ และการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซึ่งมีลักษณะคู่ขนานไปกับแรงผลักดันความพึงพอใจและความมั่นคงของ ซัลลิแวน
:red_flag: เพบพลาวกล่าวว่าบุคคลแต่บะคนมีลักษณะเฉพาะของตนเองที่มีโครงสร้างอันประกอบด้วย ลักษณะทางชีวภาพ จิตใจ จิตวิญญาณและสังคม
บทบาทของพยาบาลจิตเวชในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด ประกอบด้วย 7 บทบาท คือ
:red_flag: บทบาทคนแปลกหน้า (Stranger role) พยาบาลต้องสร้างความไว้วางใจ
: :<3: บทบาทแหล่งสนับสนุน (Role of the resource person) เป็นบทบาทที่พยาบาลทำหน้าที่ให้ความรู้หรือข้อมูลเฉพาะ ตอบคำถาม แปลข้อมูล และให้ข้อมูลต่องๆแก่ผู้ป่วย
:<3: บทบาทผู้สอน (Teaching role) เป็นบทบาทที่พยาบาลกระทำร่วมกับบทบาทอื่นๆให้คำแนะนำและอบรมความรู้แก่ผู้ป่วย
:<3: บทบาทให้คำปรึกษา (Counseling role) เป็นบทบาทที่พยาบาลช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจความหมายของสภาพการณ์ในปัจจุบันให้คำแนะนำและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
:<3: บทบาทผู้ทดแทน (Surrogate role) เป็นบทบาทที่พยาบาลเป็นตัวแทนของผู้ป่วยในเรื่องต่างๆ โดยแสดงบทบาทนี้ในภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติด้วยตนเองได้
:<3: บทบาทผู้นำ (Leadership role) เป็นบทบาทที่พยาบาลช่วยเหลือผู้ป่วยให้ทำหน้าที่ตามเป้าหมายของการบำบัด
:<3: บทบาทของผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค (Technical expert role) เป็นบทบาทที่ทำหน้าที่ในการดูแลด้านร่างกายผู้ป่วยและใช้เครื่องมือต่างๆ
แนวคิดเกี่ยวกับมโนมติทางการพยาบาล 4 ด้าน คือ
:star: บุคคล คือ ระบบตัวตนซึ่งประกอบด้วยลักษณะและความต้องการทางชีวเคมี สรีระและสัมพันธภาพ บุคคลที่มีวุฒิภาวะจะสามารถผสมผสานความต้องการและประสบการณ์อย่างมีแบบแผนเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ถ้าผู้ป่วยความกังวล ไม่พอใจ บุคคละจะพยายามหาหนทางให้ตนเองสมหวังซึ่งจำเป็นต้องมีการสร้างสัมพันธภาพกับบุคลอื่นๆ
:star: สิ่งแวดล้อม คือ ปัจจัยภายนอกตัวบุคคลที่จำเป็นในการพัฒนาการ สิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่มีผลต่อสุขภาพคือ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ใช้บริการเป็นหน้าที่หลักที่ำยาบาลต้องรับผิดชอบและดำเนินการเพื่อให้ผู้ป่วยบรรลุเป้าหมายของการมีภาวะสุขภาพที่ดี
:star: สุขภาพ คือ เป็นการเปลี่ยนแปลงของบุคคลไปในทางที่ดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งภาวะสุขภาพจะเกิดขึ้นได้เมื่อความเครียดในตัวบุคคลลดลงและถ่ายทอดออกมาเป็นพลังในทางสร้างสรรค์ เมื่อแสดงออกมาจะก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีจะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลพึงพอใจ
การพยาบาล
เป็นกระบวนการระหว่างบุคคลเพราะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคน Therapeutic Nurse-patient Relationship ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะเริ่มเต้น (Orientation phase) เป็นระยะที่ผู้ป่วยรู็สึกว่าเกิดปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ พยาบาลจะต้องไว้วางใจกับผู้ป่วย ช่วยในการค้นหาปัญหาหรือความต้องการช่วยเหลือ ช่วยให้เข้าใจหรือตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นสิ่งที่เป็นสาเหตุความกลัว
ระยะระบุปัญหา (Identification phase) เป็นระยะที่ผู้ป่วยตอบสนองต่อผู็ที่สามารถแก้ปัญหา สามารถระบุได้ว่าใครควรเป็นผู้ช่วยเหลือในการแก้ปัญหา และเริ่มรู้สึกมีความสามารถจัดการกับปัญหา พยาบาลจะช่วยให้ผู็ป่วยได้สำรวจความรู้สึกของตน ทำให้เกิดความแข็งแรง สามารถตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้น
ระยะดำเนินการแก้ปัญหา (Exploitation phase) พยาบาลต้องทำความเข้าใจ ให้การยอมรับ ห่วงใย เอาใจใส่ ไม่ตัดสินหรือใช้อารมณ์กับผู้ป่วย และช่วยสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีการรับรู้ตนเองที่ดีขึ้น ค้นพบความสามารถของตนเองเพื่อนำมาพัฒนาในการปรับตัวและแก้ปัญหาให้ได้มากที่สุด
ระยะสรุปผล (Resolytion phase) เป็นระยะที่ปัญหาผู้ป่วยได้ทำการแก้ไขแล้ว เป็นการยุติความสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Roy's Adaptation Theory)
เชื่อว่า เมื่อบุคคลเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิต จะมีการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมโดยจะปรับตัวได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู๋กับความรุนแรงของสิ่งที่มากระทบและระดับความสามารถในการปรับตัวของบุคคล
มโนทัศน์หลักของทฤษฎีการปรับตัวของรอย มีดังนี้
:black_flag: บุคคล เป็นสิ่งที่ประกอบด้วย ร่างกาย จิต สังคม ที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตลอดเวล เมื่อสิ่งเร้ามากระตุ้นระบบการปรับตัวของบุคคล บุคคลจะมีพฤติกรรมตอบสนองและเกิดการควบคุมให้มีการปรับตัว 4 ด้าน คือ
:<3: การปรับตัวด้านร่างกาย (Physiological mode) เป็นการปรับตัวเพื่อรักษาความมั่นคงด้านร่างกาย พฤติกรรมด้านนี้จะตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของบุคคลทั้ง 5 ด้าน คือ ความต้องการออกซิเจน อาหาร การขับถ่าย กิจกรรมและการพักผ่อน รวมถึงการทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย
:<3: ด้านอัตมโนทัศน์ (Self-concept mode) เป็นการปรับตัวเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงทางจิตใจ อัตมโนทัศน์เป็นความเชื่อและความรู้สึกที่บุคคลยึดถือเกี่ยวกับตันเองในช่วงเวลาหนึ่งเกี่ยวกับ รูปร่างหน้าตา ภาวะสุขภาพ การทำหน้าที่ รวมถึงความเชื่อ ค่านิยม และทุกอย่างที่ตนเองยึดถือ
:<3: ด้านบทบาทหน้าที่ (Role function mode) บุคคลมีตำแหน่งและบทบาทในสังคมของตนเอง บุคคลจะปรับตัวหรือประทบตามบทบาทหน้าที่ของตนเองตามที่สังคมคาดหวังเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางสังคม บทบาทมี 3 กลุ่ม ดังนี้
:check: บทบาทปฐมภูมิ (Primary role) เป็นบทบาทตามอายุ เพศ ระดับพัฒนาการ
:check: บทบาทปฐมภูมิ (Secondary role) เป็นบทบาทที่เกี่ยวกับงานตามระดับพัฒนาการ เช่น บทบาทครอบครัว สามีภรรยา อาชีพ
:check: บทบาททตติยภูมิ (Tertiary role) เป็นบทบาทชั่วคราวที่บุคคลนั้นได้รับ เช่น บทบาทสมาชิกสมาคม บทบาทผู้ป่วย
:<3: การปรับตัวด้านการพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Interdependent mode) ผู้ให้กับผู้รับความช่วยหลือเกื้อกูล บุคคลที่ปรับตัวด้านการพึ่งพาระหว่างกันได้อย่างเหมาะสมต้องมีความสมดุลระหว่างพึ่งพาตนเอง การพึ่งพาผู้อื่น และการให้ผู้อื่นได้พึ่งตนเอง ถ้าบุคคลสามารถปรับตัวได้ก็สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
: :black_flag: สิ่งแวดล้อม คือ เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวบุคลทั้งภายนอกและภายใน ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล รอยเรียกสิ่งแวดล้อมว่า สิ่งเร้า (Stimuli) ซึ่งกระตุ้นให้บุคคลมีการปรับตัว แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
สิ่งเร้าตรง (Focal stimuli) เป็นสิ่งเร้าที่บุคคลกำลังเผชิญอยู๋หรือเป็นสิ่งที่อิทธิพลและกระตุ้นให้บุคคลเกิดพฤติกรรมการปรับตัวมากที่สุด เช่น การผ่านม การเจ็บป่วยที่เป็นอยู่หรือความเจ็บปวด
สิ่งเร้าร่วม(Contextual stimuli) เป็นสิ่งเร้าอื่นๆ ที่ปรากฏอยู่ในสถานการณ์ หรือสิ่งแวดล้อมนั้นๆ และมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของบุคคล เช่น คุณลักษณะทางพันธุกรรม เพศ อายุระยะต่างๆ ของพัฒนาการ สถานภาพสมรส บทบาทในสังคม การสูบบุหรี่ ความเครียดทางร่างกายและอารมณ์แบบแผนการดำเนินชีวิต และการสนับสนุนทางสังคม เป็นต้น
3) สิ่งเร้าแฝง (Residual stimuli) เป็นปัจจัยที่อาจมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของบุคคลเป็นสิ่งที่แอบแฝงอยู่ภายในและนอกตัวบุคคล เช่น ค่านิยม ทัศนคติอุปนิสัย หรือประสบการณ์ในอดีต
:black_flag: สุขภาพ (Health) เป็นภาวะที่บุคคลที่มีความมั่นคงและสมบูรณ์ การมีสุขภาพจิตดีคือการที่บุคคลปรับตัวได้ดี ส่วนการเจ็บป่วยเกิดจากการปรับตัวไม่ดี การที่บุคคลจะปรับตัวได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับ 2 ประการ คือ ระดับความรุนแรงของสิ่งเร้า และระดับความสามารถในการปรับตัว
:black_flag: การพยาบาล
เป็นการดูแลช่วยเหลือบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการปรับตัวของบุคคล ซึ่งเป็นการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของบุคคล
ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม (Orem's Self-care theory)
เน้นการดูแลตนเอง คือ บุคคลต้องดำรงไว้และควบคุมความสามารถในการดูแลตนเอง ซึ่งบางครั้งบุคคลอาจจะกระทำด้วยตนเองหรือพึ่งพาคนอื่น การดูแลตนเองมีเป้าหมายและเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ในการสร้างความสมบูรณ์ของโครงสร้างการทำหน้าที่ต่างๆและการพัฒนาเพื่อการมีสุขภาพที่ดี
มโนทัศน์หลักของทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม ดังนี้
:red_flag: บุคคล เป็นผู้ที่มีความสามารถในการผสมผสานหน้าที่ในด้านต่างๆเข้าด้วยกัน โอเรมเชื่อว่า บุคคลมีความสามารถในการเรียนรู็และพัฒนาตนเอง การที่บุคคลตอบสนองความต้องการดูฉลตนเองเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
:red_flag: สิ่งแวดล้อม บุคคลกับสิ่งแวดล้อมมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่สามารถแยกจากกันได้ สิ่งแวดล้อมจะมีทั้งทางบวกและทางลบต่อการดำรงชีวิต สุขภาพ ความผาสุกของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
:red_flag: สุขภาพ บุคคลที่มีสุขภาพดีจะมีโครงสร้างสมบูรณ์สามารถทำหน้าที่ตนได้ และมีการดูแลตนเองในระดับที่เพียงพอและต่อเนื่อง
:red_flag: การพยาบาล เป็นการช่วยเหลือบุคคลให้สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างต่อเนื่องและเพียงพอต่อความต้องการในการดูแลตนเอง มีทฤษฎีไว้ 3 ทฤษฎี
ทฤษฎีการดูแลตนเอง (The Theory of self-care)
:<3: การดูแลตนเอง (Self-care : SC) เป็นการปฏิบัติกิจกรรมที่บุคคลกระทำด้วยตนเองเพื่อดำรงชีวิตไว้ซึ่งชีวิต สุขภาพและความผาสุก เพื่อตอบสนองความต้องการในการดูแลตนเอง
:<3: ความสามารถในการดูแล (Self-care Agency : SCA) เป็นความสามารถที่บุคคลเอื้อต่อการกระทำกิจกรรมการดูแลตนเองอย่างจงใจ โดยมีความแตกต่างกันตามระยะพัฒนาการ
:<3: ความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด (Therapeutic Self-care Demand : TSCD)
ความต้องการโดยทั่วไป (Universal Self-care Requisites : USCR) เป็นความต้องการมนุษย์ทุกคนในทุกๆช่วงชีวิต ในเรื่อง อากาศ น้ำ อาหาร การขับถ่ายของเสีย การทำกิจกรรมและการพักผ่อน
ความต้องการตามระยะพัฒนาการ (Developmental Self-care Requisites : DSCR) เป็นความต้องการที่นำมาใช้ในกระบวนการพัฒนาการของบุคคลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบางช่วง เช่น การตั้งครรภ์ การสูญเสีย
ความต้องการตามการเบี่ยงเบนทางสุขภาพ (Health Deviation Self-care Requisites : HDSCR) เป็นความต้องการการดูแลตนเองเมื่อบุคคลอยู่ในภาวะเจ็บป่วยหรือได้รับอันตราย หรือความผิดปกติในโครงสร้างการทำหน้าที่ของร่างกาย
ทฤษฎีความบกพร่องในการดูแลตนเอง (The Theory of Self-care Deficit) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการดูแลตนเองกับความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด ถ้าเป็นความบกพร่องในการดูแลตนเองทั้งหมด แสดงว่า บุคคลนั้นไม่มีความสามารถในการดูแลตนเองได้เลย
ทฤษฎีระบบการพยาบาล (The Theory of Nursing System) เป็นการกำหนดรูปแบบการพยาบาลเพื่อช่วยบุคคลให้สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน ในการดูแลสุขภาพด้วยความสามารถอย่างมีประสิทธิภาพสมบูรณ์และต่อเนื่อง แบ่งออกได้ดังนี้
:check: ระบบทดแทนทั้งหมด (Wholly compensation nursing system) เป็นบทบาทพยาบาลที่ต้องกระทำเพื่อทดแทนความสามารถของผู้ป่วย โดยการชดเชยทั้งหมด เป็นการพยาบาลผู็ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
:check: ระบบทดแทนบางส่วน (Partly compensatory nursing system) เป็นการพยาบาลเฉพาะสิ่งที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ เช่น ผู้ป่วยขาหัก
:check: ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ (Educative supportive nursing system) เป็นการพยาบาลที่เน้นดารให้การศ฿กษา การสอน และให้คำแนะนำ เช่น ผู้ป่วยขาแพง