Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะช็อคจากปริมาณไหลเวียนเลือดลดลงHypovolemic shock - Coggle Diagram
ภาวะช็อคจากปริมาณไหลเวียนเลือดลดลงHypovolemic shock
ระยะของภาวะช็อก
ระยะแรกหรือระยะปรับตัว
ระยะที่จะกระตุ้นกลไกการปรับตัวของร่างกายเพื่อให้มีการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะที่มีความสำคัญ มากขึ้น ถ้าสาเหตุของช็อคไม่รุนแรงมากนักหรือได้แก้ไขสาเหตุของช็อค ร่างกายก็จะกลับคืนสู่สภาวะ ปกติได้โดยไม่เปลี่ยนแปลง
ระยะกลไกการปรับตัวของร่างกาย
1.1 ระบบประสาทอัตโนมัติจากภาวะที่แรงดันในหลอดเลือดลดลงจะกระตุ้นBaroreceptor และถ้าความดันโลหิตลดต่ำลงถึง 60 มม.
ปรอทจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มการทำงานของระบบประสาท
ซิมพาเทติคได้ภายในเวลา 30 วินาทีถึง 1 นาทีซึ่งมีผลเพิ่มอัตราและ
ความแรงในการหดตัวของหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดหดตัวทำให้
ความดันโลหิตสูงขึ้น
1.2 ระบบต่อมไร้ท่อ เมื่อเกิดภาวะช็อคจะมีการตอบสนองในระบบต่อมไร้ท่อโดยการตอบสนองจะเกิดขึ้นหลังกระตุ้นระบบประสาท คือใช้เวลาประมาณ 20 นาทีหลังเกิดภาวะช็อค ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวในระยะช็อค ได้แก่
แคทีโคลามีน (Catecholamines)
Antidiuretic hormone (ADH)
อัลโดสเตอโรน (aldosterone)
คอร์ติซอล (Cortisol)
1.3 การไหลเวียนเลือดของร่างกาย เปลี่ยนแปลงโดยผลของการกระตุ้นระบบประสาท
ซิมพาเทติคและแคทีโคลามีน โดยจะมีเลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะที่ไม่สำคัญน้อยลง
เช่น ที่ผิวหนัง อวัยวะในช่องท้อง และกล้ามเนื้อและมีเลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะที่สำคัญ
เช่น สมอง และหัวใจ เพิ่มขึ้นนอกจากนี้ยังมีการดูดซึมน้ำในทางเดินอาหาร และดึงน้ำจากในช่องว่างระหว่างเซลล์ให้เข้าสู่หลอดเลือดเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาตรเลือดไหลเวียน
ระยะปรับตัวไม่สำเร็จ(Progressive, decompensated stage)
2.1 ลดการทำงานของศูนย์ควบคุมหลอดเลือด (Vasomotor Center) จากในระยะ Compensated จะมีการกระตุ้นศูนย์ควบคุมหลอดเลือด เมื่อการปรับตัวไม่ได้ผลทุกอวัยวะจะขาดเลือดรวมทั้งศูนย์ควบคุมหลอดเลือดด้วย จึงกดการทำงานของศูนย์ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายขยายความดันโลหิตลดลง การไหลเวียนเลือดไปทุกอวัยวะลดลง
2.2 การทำงานของหัวใจลดลง จากภาวะที่หัวใจขาดเลือด ภาวะกรดในร่างกายและ สารพิษอื่นๆ ในเลือดจะกดการทำงานของหัวใจ ประกอบกับหัวใจมีความต้องการออกซิเจนและ สารอาหารเพิ่มขึ้นจากการกระตุ้นของระบบประสาทซิมพาเทติคในระยะปรับตัว (Compensated) จึงทำให้ความแรงในการบีบตัวลดลงเรื่อยๆ ในขณะที่อัตราการบีบตัวจะสูงมากและอาจจะเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia)
2.3 เพิ่มการซึมผ่านของน้ำ จากการที่หลอดเลือดขยาย จะทำให้น้ำาในหลอดเลือด ซึมผ่านออกสู่ช่องว่างระหว่างเซลล์ได้มากขึ้น ซึ่งจะยิ่งทำให้ปริมาณเลือดไหลเวียนในร่างกายลดลง
2.4 มีการหลั่งสารจากเนื้อเยื่อที่ขาดออกซิเจน สารที่หลั่งจากเซลล์ของร่างกายที่ขาดออกซิเจน ได้แก่ Histamine, Serotonin, Tissue enzyme ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อขาดเลือดและ เป็นอันตรายมากขึ้น นอกจากนี้ใน Septic shock ซึ่งติดเชื้อแบคทีเรียชนิดกรัมลบ จะหลั่ง Endotoxin ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดขยาย และยังกดการทำงานของหัวใจได้ด้วย
2.5 มีการเสื่อมสลายของเซลล์ทั่วไป เมื่อเซลล์ขาตออกซิเจนจะขาดพลังงานในการ
ทำงานของเซลล์เช่น Na+ -K+ pump จะหยุดทำงาน
โซเดียมจะเข้าเซลล์และจะทำให้น้ำเข้าเซลล์ จนเกิดเซลล์บวม Organelle ภายในเซลล์จะบวมและแตกได้ไลโซโซมจะปล่อยเอนซัยม์ซึ่งจะย่อยสลาย Organelle ต่างๆ การที่เซลล์ของอวัยวะต่างๆ เสื่อมสลายจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายประการเช่น Lactic acidosis
ระยะสุดท้ายหรือระยะไม่ฟื้น (Irreversible, final stage)
เป็นระยะที่มีเซลล์ตายอย่างมาก แม้จะให้การรักษาก็จะไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยฟื้นกลับเป็นปกติได้เพราะอวัยวะที่สำคัญ (Vital organs) เช่น สมอง หัวใจ ไต ปอด ไม่สามารถทำงานได้ซึ่งจะทำให้การทำงานของอวัยวะอื่นๆ ล้มเหลวตามมาผู้ป่วยจะเสียชีวิตในที่สุด
การเกิดภาวะช็อกจากปริมาณไหลเวียนเลือดลดลง
Blood loss
เกิดจากมีเสียเลือดไปโดยตรง เช่น External hemorrhage
GI loss
ได้แก่ Vomiting, Diarrhea
Renal loss
ได้แก่ - Diuretics: เกิดจากลดการดูดกลับ Na+ ทำให้เพิ่มความเข้มข้นน้ำกรอง ส่งผลให้การดูดกลับน้ำลดลง (เพราะลด osmolality gradient)
Burn
เนื่องจากมีการ expose บริเวณ dermis กับสิ่งแวดล้อมทำให้น้ำใน interstitium ถูกกระบวนการระเหยออกไป ทำให้น้ำในระบบถูกกรองออกมา แล้วระเหย
สาเหตุ
ภาวะช็อคจากปริมาณไหลเวียนเลือดลดลง
2.สูญเสียน้ำและเกลือแร่(Dehydration)
เช่น เหงือออกมาก ท้องเสีย อาเจียนปัสสาวะมากจากโรคเบาจืด ได้รับยาขับปัสสาวะ โรคไตหรือ Addison’s disease
3.สูญเสียพลาสมา
จากหลอดเลือดแต่ยังคงอยู่ในร่างกาย เช่น ได้รับบาดเจ็บชอกช้ำ(Trauma)หรือมีการอักเสบรุนแรงของอวัยวะภายใน การสูญเสียสูญเสียโปรตีนในพลาสมาด้วย
1.สูญเสียเลือด
อาจจะสูญเสียจากการได้รับบาดเจ็บมีหลอดเลือดที่ฉีกขาด มีเลือดออกในทางเดินอาหาร ไอเป็นเลือด Aneurysmแตก เลือดออกมากในระหว่างการผ่าตัด การคลอด
ปัจจัยเสี่ยง
ร่างกายเสียน้ำ อวัยวะไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหารเพียงพอที่จะทำงานอย่างถูกต้อง หรือเลือดมากเกินไป
ติดเชื้ออย่างรุนแรงในกระแสเลือด
แพ้สารต่างๆ หรืออาการแพ้ประจำตัว
การทำงานที่ผิดปกติของระบบประสาทและสมอง
โรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ
ยาบางอย่างที่ช่วยลดการทำงานของหัวใจหรือความดันโลหิต
อุบัติเหตุ
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยที่มีการสูญเสียเลือดน้อยกว่า 15% ของปริมาณเลือดทั้งหมด จะมีอาการแค่ ชีพจรและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ผู้ป่วยเสียเลือดประมาณ 15-30% ของเลือดทั้งหมด จะมีอาการ tachycardiac tachypnea
ผู้ป่วยเสียเลือดประมาณ 30-40% ของปริมาณเลือดทั้งหมด อาการแสดงเหมือนเสียเลือด 15-30% ร่วมกับมีการลดของ urin output และมีการเปลี่ยนของ mental
ผู้ป่วยเสียเลือดประมาณ 40-50% อาการแสดงจะพบอาการทุกอย่างของภาวะ shock เช่น ซีด เย็น เย็นชื้น อาการเขียวคล้ำ ชีพจรเต้นเบา หายใจตื้น เร็ว กระสับกระส่าย หมดสติ ความดันโลหิตต่ำ ม่านตาขยาย คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด
แนวทางการรักษา
การรักษาหลังจากการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะช็อกเป็นหลัก ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละสาเหตุ เช่น ภาวะช็อกจากอาการภูมิแพ้อย่างรุนแรงจะใช้ยาอีไพเนฟรีน (Epinephrine) หรือยาชนิดอื่นเพื่อช่วยต้านสารที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ผู้ที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดจะรักษาด้วยการจ่ายยาปฏิชีวนะ หรือผู้ที่ช็อกจากสาเหตุของโรคหัวใจจะรักษาด้วยการใช้ยา การสวนหัวใจหรือการผ่าตัด