Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล ในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช - Coggle Diagram
การใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล
ในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเพบพลาว (Peplau’s Theory of Interpersonal Relations)
เพบพลาวได้นำแนวคิดทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ได้พัฒนาเป็นแนวคิดของการสร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยเพื่อการบำบัด (Therapeutic Nurse-Patient Relationship) บทบาทพยาบาลจะใช้ตนเองเป็นเครื่องมือในการบำบัดผู้ป่วย
1) บทบาทคนแปลกหน้า (Stranger role)
2) บทบาทแหล่งสนับสนุน (Role of the resource person)
3) บทบาทผู้สอน (Teaching role)
4) บทบาทผู้ให้คำปรึกษา (Counseling role)
5) บทบาทผู้ทดแทน (Surrogate role)
6) บทบาทผู้นำ (Leadership role)
7) บทบาทของผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค (Technical expert role)
โดยเพบพลาว ได้เสนอมโนทัศน์หลักของทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลไว้
บุคคล (Person) บุคคลที่มีวุฒิภาวะจะสามารถผสมผสานความต้องการและประสบการณ์อย่างมีแบบแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามความคาดหวังที่ตั้งไว้ แต่หากไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากถูกขัดขวางก็อาจทำให้เกิดความไม่พึงพอใจและวิตกกังวล บุคคลจึงพยายามหาหนทางให้ตนเองสมหวังซึ่งจำเป็นต้องมีการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นๆ
สิ่งแวดล้อม (Environment) เป็นปัจจัยภายนอกนอกตัวบุคคล สิ่งแวดล้อมสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพของบุคคล คือ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ใช้บริการ เป็นหน้าที่หลักที่พยาบาลต้องรับผิดชอบและดำเนินการเพื่อให้ผู้ใช้บริการบรรลุเป้าหมายของการมีภาวะสุขภาพที่ดี
สุขภาพ (Health) เป็นการเปลี่ยนแปลงของบุคคลไปในทางที่ดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งภาวะสุขภาพจะเกิดขึ้นได้เมื่อความเครียดในบุคคลลดลงและถ่ายทอดออกมาเป็นพลังในทางสร้างสรรค์ พลังนี้จะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมซึ่งพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีจะเป็นพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลรู้สึกพึงพอใจ
การพยาบาล (Nursing) เป็นกระบวนการระหว่างบุคคลเพราะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคน โดยพยาบาลใช้ความสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยในการให้การพยาบาล และบำบัดทางจิตเวช ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระยะ
1) ระยะเริ่มต้น (Orientation phase) เป็นระยะที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าเกิดปัญหา และต้องการความช่วยเหลือ
2) ระยะระบุปัญหา (Identification phase) เป็นระยะที่ผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อผู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาหรือให้ความช่วยเหลือเขาได้
3) ระยะดำเนินการแก้ปัญหา (Exploitation phase) เป็นระยะของการให้ความช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหาของผู้ป่วย
4) ระยะสรุปผล (Resolution phase) เป็นระยะสุดท้ายของการพยาบาลที่ปัญหาของผู้ป่วยได้รับการแก้ไขแล้ว
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Roy's Adaptation Theory)
รอยมีความเชื่อว่า เมื่อบุคคลเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิต จะมีการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม โดยจะปรับตัวได้ดีหรือมีปัญหาการปรับตัว ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิ่งที่มากระทบและระดับความสามารถในการปรับตัวของบุคคล
บุคคล (Person) ที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นระบบการปรับตัวของบุคคล บุคคลจะมีพฤติกรรมการตอบสนอง และเกิดกระบวนการควบคุมให้มีการปรับตัวทั้ง 4 ด้าน
1) การปรับตัวด้านร่างกาย (Physiological mode) เป็นการปรับตัวเพื่อรักษาความมั่นคงด้านร่างกาย พฤติกรมการปรับตัวด้านนี้จะสนองตอบต่อความต้องการพื้นฐานของบุคคล 5 ด้าน คือ ความต้องการออกซิเจน อหาร การขับถ่าย กิจกรรมและการพักผ่อน รวมถึงการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย
2) การปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ (Self-concept mode) เป็นการปรับตัวเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงทางจิตใจ อัตมโนทัศน์เป็นความเชื่อและความรู้สึกที่บุคคลยึดถือเกี่ยวกับตนเองในช่วงเวลาหนึ่งเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา ภาวะสุขภาพ การทำหน้าที่ รวมไปถึงความเชื่อ ค่านิยม และทุกอย่างที่ตนเองยึดถือ
3) การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ (Role function mode) บุคคลมีตำแหน่งและบทบาทในสังคมของตนอง บุคคลจะต้องปรับตัวหรือกระทำตามบทบาทหน้าที่ของตนเองตามที่สังคมคาดหวังได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดความมั่นทางสังคม บทบาทของบุคคลมี 3 กลุ่ม
3.1) บทบาทปฐมภูมิ (Primary role) เป็นบทบาทตามอายุ เพศ และระดับพัฒนาการ
3.2) บทบาททุติยภูมิ (Secondary role) เป็นบทบาทที่เกี่ยวกับงานตามระดับพัฒนาการ
3.3) บทบาทตติยภูมิ (Tertiary role) เป็นบทบาทชั่วคราวที่บุคคลนั้นได้รับ
4) การปรับตัวด้านการพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Interdependent mode) บุคคลมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและพึ่งพาซึ่งกันและกัน โดยเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับความช่วยเหลือเกื้อกูล ถ้าบุคคลสามารถปรับตัวได้ก็จะสามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นด้วยความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
สิ่งแวดล้อม (Environment) เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวบุคคลทั้งภายในและภายนอก มีอิทธิพลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของบุคคล รอยเรียกสิ่งแวดล้อมนี้ว่าเป็น "สิ่งเร้า" (Stimuli) ซึ่งกระตุ้นให้บุคคลมีการปรับตัว
1) สิ่งเราตรง (Focal stimuli) เป็นสิ่งเร้าที่บุคคลกำลังเผชิญอยู่หรือเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลและกระตุ้นให้บุคคลเกิดพฤติกรมการปรับตัวมากที่สุด
2) สิ่งเร้าร่วม (Contextual stimuli) เป็นสิ่งเร้าอื่นๆ ที่ปรากฏอยู่ในสถานการณ์ หรือสิ่งแวดล้อมนั้นๆ และมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของ
3) สิ่งเร้าแฝง (Residual stimuli) เป็นปัจจัยที่อาจมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของบุคคลเป็นสิ่งที่แอบแฝงอยู่ภายในและนอกตัวบุคคล
สุขภาพ (Heath) เป็นภาวะของบุคคลที่มีความมั่นคงและสมบูรณ์ ทั้งด้านร่างกายจิตใจ และสังคม เป็นผลมาจากความสามารถในการปรับตัวของบุคคล การมีสุขภาพดีจึงหมายถึงการที่บุคคลปรับตัวได้ดี การที่บุคคลจะปรับตัวได้ดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ ระดับความรุนแรงของสิ่งเร้า และระดับความสามารถในการปรับตัว
1) ระดับปกติ (Integrated level) เป็นภาวะที่โครงสร้างและหน้าที่ของร่างกายทำงานเป็นองค์รวม
2) ระดับชดเชย (Compensatory level) เป็นภาวะที่กระบวนการชีวิตถูกรบกวนทำให้กลไกการควบคุมและการรับรู้ของระบบบุคคลถูกกระตุ้นให้ทำงานเพื่อจัดการกับสิ่งเร้า
3) ระดับบกพร่อง (Compromised level) เป็นภาวะที่กระบวนการปรับตัวระดับปกติและระดับชดชยทำงานไม่เพียงพอที่จะจัดการกับสิเราได้
การพยาบาล (Nursing) เป็นการดูแลช่วยเหลือบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริการปรับตัวของบุคคล ซึ่งเป็นการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของบุคคล
ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม
(Orem’s Self-Care theory)
หัวใจของทฤษฎีนี้เน้นเรื่องการดูแลตนเอง กล่าวคือ บุคคลต้องดำรงไว้และควบคุมความสามารถในการดูแลตนเอง ซึ่งบางครั้งบุคคลอาจจะกระทำด้วยตนเองหรือพึ่งพาผู้อื่น การดูแลตนเองมีเป้าหมาย และเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ในการสร้างความสมบูรณ์ของโครงสร้างการทำหน้าที่ต่างๆ และการพัฒนาเพื่อการมีสุขภาพที่ดี
บุคคล (Person) เป็นผู้ที่มีความสามารถในการผสมผสานการทำหน้าที่ในด้านต่างๆ เข้า ด้วยกันทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และสังคม โอเรมเชื่อว่าบุคคลมี ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง การที่บุคคลตอบสนองความต้องการดูแลตนเองไม่ใช่การตอบสนองด้วยสัญชาตญาณ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ ถ้าบุคคลไม่สามารถเรียนรู้วิธีการดูแลตนเองได้จะต้องมีผู้อื่นเรียนรู้และกระทำทดแทน
สิ่งแวดล้อม (Environment) เป็นลักษณะทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ และสังคม วัฒนธรรม บุคคลกับสิ่งแวดล้อมมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่สามารถแยกจากกันได้ สิ่งแวดล้อมจะมีผลทั้งทางบวกและทางลบต่อการดำเนินชีวิต สุขภาพ ความผาสุกของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
สุขภาพ (Health) เป็นภาวะของร่างกาย จิตใจ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และสังคมที่เป็นความต่อเนืองกันโดยไม่สามารถแยกจากกันได้ บุคคลที่มีสุขภาพดีจะมีโครงสร้างที่สมบูรณ์ สามารถทาหน้าที่ของตนได้ และมีการดูแลตนเองในระดับที่เพียงพอและต่อเนื่อง
การพยาบาล (Nursing) เป็นการช่วยเหลือบุคคลให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ อย่างต่อเนื่องและเพียงพอกับความต้องการในการดูแลตนเอง กระบวนการพยาบาลจะมุ่งเน้นในการ ช่วยเหลือบุคคลต่อการดูแลสุขภาพ โดยโอเรมได้เสนอทฤษฎีย่อยไว้ 3 ทฤษฎี
1.ทฤษฎีการดูแลตนเอง (The Theory of Self- care)
1.1) การดูแลตนเอง (Self-care: SC) เป็นการปฏิบัติกิจกรรมที่บุคคลกระทำด้วยตนเองเพื่อดารงไว้ซึ่งชีวิต สุขภาพ และความผาสุก
1.2) ความสามารถในการดูแลตนเอง (Self-care Agency: SCA) เป็นความสามารถของบุคคลที่เอื้อต่อการกระทำกิจกรรมการดูแลตนเองอย่างจงใจ โดยมีความแตกต่างกันไปตามระยะพัฒนาการ
1.3) ความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด (Therapeutic Self-care Demand : TSCD)
2.ทฤษฎีความบกพร่องในการดูแลตนเอง (The Theory of Self – care Deficit)
เป็นการกำหนดว่าเมื่อใดบุคคลต้องการ ความช่วยเหลือจากพยาบาล ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉพาะบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้ ถ้าเป็นความพร่องในการดูแลตนเองทั้งหมด แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีความสามารถในการดูแลตนเองได้เลย
3.ทฤษฎีระบบการพยาบาล (The Theory of Nursing System)
เป็นการกำหนดรูปแบบการพยาบาลเพื่อช่วยบุคคลให้สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน ในการดูแลสุขภาพด้วยความสามารถ ดูแลตนเองหรือบุคคลอื่นอย่างมีประสิทธิภาพสมบูรณ์และต่อเนื่อง ส่งเสริมให้บุคคลสามารถดูแลตนเอง
3.1) ระบบทดแทนทั้งหมด (Wholly compensatory nursing system)
3.2) ระบบทดแทนบางส่วน (Partly compensatory nursing system)
3.3) ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ (Educative supportive nursing system)