Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีทางจิตเวช นศพต.สุพรรษา สมจิโน เลขที่ 55 - Coggle Diagram
ทฤษฎีทางจิตเวช
นศพต.สุพรรษา สมจิโน เลขที่ 55
ทฤษฎีทางพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory)
เชื่อว่าพฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถสังเกตได้ พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนรู้ที่เป็นอิสระหลายอย่างและแรงเสริมช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
ผู้ป่วย คือ ผู้ที่เรียนรู้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งแสดงออกพฤติกรรมโดยมีสิ่งเร้าที่เสริมแรงให้เกิดพฤติกรรม
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้มี 4 ประการ
แรงขับ (Drive)
สิ่งเร้า (Stimulus)
การตอบสนอง (Response)
การเสริมแรง (Reinforcement)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสิกของพาลอฟ (Pavlov's Classical Conditioning Theory)
เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) คือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้นๆต้องมีเงื่อไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น เช่น หมาได้ยินกระดิ่งแล้วน้ำลายไหล
โดยที่กระดิ่ง คือ สิ่งเร้า (Conditioned stimulus) และ ปฏิกิริยาการเกิดน้ำลายไหลของสุนัข คือ การตอบสนอง (Conditioned response)
พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้องการธรรมชาติ
พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าธรรมชาติ จะหยุดลงเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติและจะกลับปารกฎขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าธรรมชาติ
มนุษย์มีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของวัตสัน (Watson's Classical Conditioning Theory)
วัตสันได้รับยกย่องว่าเป็น บิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม
อธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข (Conditioned emotion)
ทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว ขณะที่เด็กจะจับหนูขาว ก็ทำเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กก็กลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว ต่อมาก็ทำการทดลองโดยนำหนูขาวมาให้เด็กดู โดยแม่กอดเด็กไว้ เด็กก็ค่อยๆหายกลัวหนูขาว
จากการทดลองสรุปได้ว่า
พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinner's Operant Conditioning Theory)
เชื่อว่าพฤติกรรมของบุคคลด้วยการให้รางวัลและการถูกทำโทษการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่เป็นแรงเสริมโดยใช้สิ่งเสริมแรงทางบวกและสิ่งเสริมแรงทางลบ ทำให้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเปลี่ยนแปลงและหมดลงไปในที่สุด
มีการเรียนรู้ 3 วิธี คือ แรงเสริมทางบวก แรงเสริมทางลบ การปรุงแต่งพฤติกรรม โดยวิธี successive approximate และ Chaining
การพยาบาล ปรับพฤติกรรมโดยใช้ Token Economy
พฤติกรรม มีองค์ประกอบ 3 ตัว
Antecedent (สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน เหตุการณ์)
Behavior (พฤติกรรม)
Consequence (ผลลัพธ์)
ทฤษฎีทางชีวภาพทางการแพทย์ (Biological Theory)
เน้นการค้นหาสาเหตุของการเจ็บป่วยและบำบัดทางชีวภาพ
เชื่อว่า พฤติกรรมที่มีความผิดปกติมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานสมอง รวมทั้งความผิดปกติของการทำงานของสารสื่อประสาท (neurotransmitter)
:<3: เชื่อว่าสาเหตุของการเจ็บป่วยทางจิตอาจมาจากสิ่งแวดล้อมด้วย โดยที่ปัจจัยทางชีววิทยาเป็นปัจจัยเหตุ ส่วนปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสริม (precipiting factors) หรือปัจจัยกระตุ้น
สาเหตุของความผิดปกติทางด้านพฤติกรรม ดังนี้
:<3: สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ได้แก่ Dopamine Norepinephirne Sreotonin Acetylcholine GABA
:<3: ความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของสมอง
:<3: พัฒนาการของเซลล์ประสาท (Neural Development)
:<3: พันธุกรรม (Genetic Studied)
:<3: ฮอร์โมน
การบำบัดการรักษาตามแนวคิดทฤษำีทางชีวภาพทางการแพทย์
:check: การรักษาด้วยยา ด้วยกระแสไฟฟ้า การผ่าตัดสมองเพื่อลดอาการทางจิตที่มีอาการรุนแรงและเรื้อรัง การใช้ฮอร์โมน โภชนบำบัด
กระบวนการพยาบาลตามทฤษฎี
:check: ใส่ใจต่อปัญหาสุขภาพ และความต้องการของผู้ป่วยที่มาจากสาเหตุทางด้านจิตสังคม
:check: พยาบาลสามารถให้คำแนะนำผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพจิต เช่น การรับประทานอาหารที่ส่งเสริมสื่อประสาท การออกกำลังกายให้เพียงพอ และกระตุ้นการหลั่งของสารสื่อประสาท
:check: ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
พฤติกรรมแปรปรวนตามความเชื่อของนักพฤติกรรม คือ บุคคลที่เรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อภาวะ Anxiety ซึ่งหากลดลง บุคคลจะตอบสนองด้วยวิธีเดิมซ้ำๆ (เสริมแรง)
กระบวนการรักษา
การปรับพฤติกรรมเสียใหม่
ควบคุมพฤติกรรม
ช่วยผู้ป่วยประพฤติในสิ่งที่อยู่บน ความเป็นจริง ที่คนทั่วไปยอมรับ
ปฏิบัติตามเป้าหมายของมาตรฐานทางสังคม
สร้างสถานการณ์ให้เกิดการเรียนรู้ โดยหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
(กระตุ้นซ้ำๆจนกลายเป็นนิสัย)
รักษาด้วยวิธีผ่อนคลาย
:check: โดยการเปลี่ยนคุณค่าของสิ่งเร้าและจับคู่ระหว่างสิ่งเร้า ฝึกให้แสดงออกถึงความรู้สึกที่มีควรแสดงออกทางสังคม โดยไม่วิตกกังวล ผลัดการเล่นบทบาทสมมติ โดยผู้รักษาแสดงบทบาทผู้ป่วยเพื่อให้ผู้เห็นพฤติกรรมที่ควรแก้ไข
ทฤษฎีกลุ่มมนุษยนิยม (Humanistic Theory)
เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถ มีจุดมุ่งหมาย มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองไปในทางที่ดี มีความรักตนเอง มีความต้องการพื้นฐานที่ต้องการการตอบสนอง มีความรับผิดชอบและเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง มนุษย์จะควบคุมตนเองและตัดสินใจไกเก้วยตนเอง แบ่งเป็น
ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยม (Existential Theory)
ทฤษฎีกลุ่มปรัชญามานุษยนิยม (Humanistic Philosophines)
ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยม (Existential Theory)
มุ่งเน้นในประสบการณ์ของบุคคลในปัจจุบัน (Here and now)
ไม่สนใจอดีตมนุษย์มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวตามการรับรู้ของเขาเพียงคนเดียว
พฤติกรรมที่เบียงเบนเป็นผลจากการขาดความตระหนักในตนเอง
สิ่งแวดล้อมรอบตัวเป็นผลให้มนุษย์ปกปิดตนเองวางข้อจำกัดให้กับตนเองมากเกินไป จนทำให้ขาดอิสระในการเลือกแสดงพฤติกรรม
บุคคลที่ขาดการตระหนักในตนเอง (Insight) จะรู้สึกไม่มีกำลังใจ เศร้าใจ ว้าเหว่
ผู้ป่วยจิตเวช
บุคคลที่ไม่สามารถตระหนักถึงความมีคุณค่า ความหมายของความเป็นอยู่ของตนเอง บุคคลเหล่านี้จะไม่ยอมรับความเป็นไปของโลก ขาดความมุ่งมั่น ในที่สุดค้นหาเอกลักษณ์ของตนเองไม่พบ ไม่รับรู้สภาพความเป็นจริง
บำบัดการรักษา
รับผิดชอบตนเอง
สามารถบอกข้อดีขอเสียของตนเองได้ รู้จักตนเอง
มุ่งให้การช่วยเหลือในลักษณะบุคคลทั้งคน ที่มีคุณค่า ไม่คำนึงถึงความดี-เลว
ผู้ป่วยจะถูกกระตุ้นให้มีความรู้สึกว่าตนเองมีเสรีภาพ ศักดิ์ศรี และสามารถตัดสินใจเลือกพฤติกรรมได้
ทฤษฎีมานุษยนิยม (Humanistic Philosophies)
เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพในการแก้ปัญหาของตนเอง มนุษย์มีอิสระในการเลือกกระทำสิ่งต่างๆที่มีขอบเขต เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางของตน เป้าหมายสูงสุดคือ ความสุข อิสระ การเจริญพัฒนา
ทฤษฎีการเรียนรู้ของคาลโรเจอร์ (Roger's Self Theory)
เน้นผู้ป่วยเป็นศุนย์กลาง เน้นให้คำปรึกษาให้ผู้ป่วยตระหนักถึงสิ่งต่างๆโดยมีพยาบาลสะท้องกลับคำพูดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ (Reflecting)
วิธีการการทำจิตบำบัดแนวใหม่ (Client centered therapy)
ทฤษฎีตัวตน Self theory ภาพที่เรามองตัวเองเป็นอย่างไร
ทฤษฎีตนตามที่เป็นจริง Real Self ลักษณะที่เป็นไปตามข้อเท็จจริง
ตนตามอุดมคติ Ideal Self ตัวตนที่อยากเป็นแต่ไม่ได้เป็น
:fire: ถ้า Self Real ideal ซ้อนทับกัน จะทำให้บุคลิมั่นคง
เป้าหมายการรักษา
ช่วยให้ผู้รับบริการเกิดความเข้าใจ ตระหนัก และยอมรับปัญหาและความยุ่งยากใจของตนเอง
ขยายมุมองหรือกรอบแนวคิดในการมองปัญหา ทำให้ประสบการณ์ชีวิตมีความสอดคล้องกับความเป็นตัวตนมากขึ้น
มองเห็นศักยภาพของตนเองและสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางในการจัดการกับปัญหาได้ด้วยตนเองและเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม เกิดความพึงพอใจและมีความสบายใจมากขึ้น
กระบวนการรักษาเน้นที่ทัศนคติจองผู้ให้รับบริการ 3 ประการหลัก
Genuineness (ความจริงใจต่อตนเองและผู้รับบริการ) Empaty (ความเห็นอกเห็นใจ) Unconditional positive regard (การยอมรับผู้รับบริการโดยปราศจากเงื่อนไข)
ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ (Maslow's Hierarchy of needs)
เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาดี และพร้อมที่จะทำสิ่งที่ดี ถ้าได้รับตอบสนองความต้องการพื้นฐานเพียงพอ ก่อนพัฒนาตนเองได้ ต้องไดรับการตอบสนองอย่างเพียงพอจึงพัฒนาได้
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของซัลลิแวน (Interpersonal Theory)
เชื่อว่า บุคลิกภาพระหว่างบุคคลเกิดจากการสร้างสัมพันธภาพของบุคคลใล้ชิดมากกว่าความขัดแย้งภายในใจ
ผู้ป่วย คือ การเจ็บป่วยทางจิตเป็นผลมาจากการที่บุคคลไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคลอื่นได้เหมาะสม
Self System คือ ภาพของบุคคลที่มีต่อตนเองซึ่งสร้างขึ้นภายในขวบปีแรก เป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลสามารจัดการและหลีกเลี่ยงกับความวิตกกังวล รวมทั้งสร้างความมั่นคงปลอดภัยได้ โดยถูกสร้างมาจากประสบการณ์วัยเด็ก
Good me เป็นการมองตัวเองว่าเป็นคนดี ซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์ที่ได้การพอใจ ยอมรับจากบุคคลสำคัญในชีวิต
Bad me เป็นการมองภาพตนเองว่าเป็นคนไม่ดี ซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์ที่ไม่ได้การยอมรับหรือสนับสนุนจากบุคคลสำคัญในชีวิต
Not me เป็นการปฏิเสธตนเอง ซึ่งเป็นผลมาจากการตอบสนองต่อความวิตกกังวลสูง ทำให้บุคคลปฏิเสธพฤติกรรมของตนเองเนื่องจากไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมหรือยอมรับการกระทำของตนเองไม่ได้ด้วยการใช้กลไกการป้องกันทางจิต เช่น เก็บกด การโทษผู้อื่น
การพยาบาล
ให้การช่วยเหลือโดยการสร้างสัมพันธภาพเพื่อบำบัด จะต้องช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะจขจัดความวิตกกังวลของตนเองและคำนึงความต้องการของผู้อื่นด้วย
ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกมั่นคงและปลอดภัย ช่วยค้นหาจุดดีของตนเองพยายามควบคุมจุดที่คิดว่าตนเองด้อยหรือตนเองสับสน เพื่อได้เผชิญกับปัญหาต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ