Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์, นางสาวมนัสวี พลดาหาร…
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์
โรคหัวใจร่วมกับการตั้งครรภ์
ผลของโรคหัวใจต่อการตั้งครรภ์
เพิ่มอัตราการแท้งเองและคลอดก่อนกำหนด
เพิ่มการตายปริกำเนิด
เพิ่มอัตราภาวะโตช้าในครรภ์
เพิ่มอัตราทารกหัวใจพิการโดยกำเนิด โดยเฉพาะรายที่มารดาเป็นโรคหัวใจโดยกำเนิด
การทำแท้งเพื่อการรักษา เพื่อป้องกันอันตรายในมารดาบางราย
การจำแนกความรุนแรงของโรคหัวใจ
Class II Slightly compromised
สบายดีขณะพักแต่ถ้าทำงานตามปกติจะรู้สึกเหนื่อย
การดูแลทั่วไป : ถ้าเป็นไปได้ควรนอนโรงพยาบาลตลอดไตรมาสสุดท้าย
Class III Markedly compromised
สบายดีขณะพักแต่ถ้าทำงานเล็กน้อยก็จะรู้สึกเหนื่อย
การดูแลทั่วไป : ให้นอนโรงพยาบาลตลอดการตั้งครรภ์
Class I Uncompromised
ทำงานได้ตามปกติโดยไม่รู้สึกเหนื่อย
การดูแลรักษาทั่วไป : รับไว้ในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนครรภ์ครบกำหนด
Class IV Severely compromised
มีอาการของโรคหัวใจคือหอบเหนื่อยแม้ขณะพัก
การดูแลทั่วไป : ให้นอนโณงพยาบาลตลอดการตั้งครรภ์
ภาวะโลหิตจางร่วมกับการตั้งครรภ์
ผลกระทบของโลหิตจางต่อสตรีตั้งครรภ์
เพิ่มอัตราการตายปริกำเนิด ซึ่งสัมพันธ์กับความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดและทารกโตช้าในครรภ์ ออกซิเจนต่ำในทารก
เพิ่มการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจล้มเหลวได้ง่าย
ซ้ำเติมต่อมารดาโดยตรงเมื่อมีการเสียเลือดจากการคลอดหรือการตั้งครรภ์ ทำให้ช็อคหรือไตล้มเหลวได้ง่าย เป็นต้น
ปัญหาจากสาเหตุของโลหิตจาง เช่น ธาลัสซีเมียมีผลต่อความเสี่ยงต่อการถ่ายทอดไปยังบุตร หรือ SLE มีความเสี่ยงต่อการเกิด PIH เป็นต้น
สาเหตุของโลหิตจางที่พบบ่อยในสตรีตั้งครรภ์
สร้างไม่พอ
ขาดธาตุเหล็ก การเสียเลือดจากพยาธิปากขอ
ขาดโฟเลต
Aplastic anemia และอื่นๆ
ทำลายเม็ดเลือดมาก
Hb H disease
Autoimmune hemolytic anemia, Beta-thal/Hb E disease
Sickle cell anemia
ตกเลือดก่อนคลอดด้วยสาเหตุอื่นๆ
ความต้องการธาตุเหล็กขณะตั้งครรภ์
2.ต้องการเหล็กสำหรับการสร้างรกและทารก
3.เตรียมไว้สำหรับการเสียเลือดขณะทำคลอด (เสียเลือดประมาณ 600 ml ในการคลอดปกติ และประมาณ 1,000 ml สำหรับการผ่าตัดทำคลอด)
1.การตั้งครรภ์เพิ่มปริมาณเลือดราว 45% เม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น 33 %(450 ml)
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
ไม่แสดงอาการ
แสดงอาการ
ผลเสียต่อการตั้งครรภ์
กรณีเป็นเพียงกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ก็มักไม่ส่งผลเสียอะไรมาก แต่ก็อาจกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้ในบางกรณี
กรณีเกิดภาวะกรวยไตอักเสบนั้น ถ้าเกิดการติดเชื้อมีความรุนแรงมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ต่อการแท้งบุตรได้ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงของการเจ็บครรภ์และคลอดก่อนกำหนด รวมทั้งภาวะทารกมีน้ำหนักน้อยได้อีกด้วย
แนวทางการรักษา
1.ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อกรณีที่เป็นเพียงกระเพาะปัสสาวะอักเสบก็ให้เป็นยารับประทานได้
2.หากเกิดภาวะกรวจไตอักเสบ ก็ต้องให้ยาทางหลอดเลือด
3.รักษาตามอาการ เช่น ให้น้ำเกลือเพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่เสียสมดุล เพราะการดื่มน้ำมากๆ จะช่วยลดการติดเชื้อได้ รวมทั้งการให้ยาลดไข้ แก้ปวด เป็นต้น แล้วแต่ละกรณี
นางสาวมนัสวี พลดาหาร 61106010138