Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 ลักษณะแบบทดสอบที่ดี - Coggle Diagram
บทที่ 5 ลักษณะแบบทดสอบที่ดี
เครื่องมือวัดผลที่ดีต้องเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ คือต้องสร้างตามขั้นตอนการสร้างที่ถูกต้องมีการตรวจสอบคุณภาพจนเชื่อถือได้
1.ความตรงหรือความเที่ยงตรง (Validity) คือ ความสามารถของเครื่องมือที่วัดได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการวัดหรือวัดได้ตรงตามคุณลักษณะที่ต้องการวัด วัดได้ครอบคลุมครบถ้วนตามเนื้อหาหรือคุณลักษณะที่ต้องการวัด และวัดได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
1.1 ความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) ความสามารถของข้อคำถามในการวัดได้ตรงตามจุดประสงค์หรือตรงตามพฤติกรรมและเนื้อหาที่ต้องการวัด และเมื่อรวบรวมข้อคำถามทุกข้อเป็นเครื่องมือทั้งฉบับ สามารถวัดได้ครอบคลุมพฤติกรรมและเนื้อหาที่ต้องการวัดและเป็นตัวแทนที่ดีของจุดประสงค์และเนื้อหาการเรียนรู้
1.2 ความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion related validity) ความสามารถของเครื่องมือในกรวัดพฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่ต้องการวัดได้สอดคล้องกับเกณฑ์ภายนอกอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งวัดได้จากเครื่องมือชนิดอื่น
1.2.1 ความตรงตามสภาพ (Concurrent validity) ความสามารถของเครื่องมือที่ให้ผลการวัดพฤติกรรมสอดคล้องกับความสามารถหรือสภาพที่เป็นจริงของผู้เรียนในขณะนั้น
1.2.2 ความตรงเชิงพยากรณ์ (Predictive validity) ความสามารถของเครื่องมือในการทำนายผลสำเร็จของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในอนาคต โดยการหาความสอดคล้องหรือความสัมพันธ์ของผลการวัดพฤติกรรมในขณะนี้กับผลการเรียน หรือความสำเร็จของผู้เรียนที่คาดคะเนไว้ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
1.3 ความตรงตามทฤษฎี (Construct validity) หรือความตรงตามคุณลักษณะหรือความตรงตามโครงสร้าง คือความสามารถของเครื่องมือในการวัดได้ตรงตามพฤติกรรมหรือคุณลักษณะ
2.ความเที่ยงตรงหรือความเชื่อมั่น (Reliability) ความสามารถของเคร่องมือในการให้ผลการวัดผู้เรียนกลุ่มเดียวกันคงที่แน่นอน
ความยากง่าย (Difficulty) สัดส่วนระหว่างจำนวนผู้ตอบข้อสอบข้อนั้นถูกต่อจำนวนผู้ที่ตอบข้อสอบทั้งหมด
อำนาจจำแนก (Discrimination) ความสามารถของเครื่องมือในการจำแนกบุคคลออกเป็นกลุ่มๆได้ ถ้าเครื่องมือนั้นเป็นการวัดแบบอิงกลุ่มสามารถจำแนกผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเก่งหรือกลุ่มอ่อนได้
5.ความเป็นปรนัย (Objectivity) เป็นความชัดเจน ถูกต้องตามหลักวิชาการและความเข้าใจท่ตรงกันทั้งคำชี้แจงและข้อคำถาม การใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัยและระดับความรู้ของผู้เรียน
6.ความมีประสิทธิภาพ (Efticiency) เครื่องมือนั้นต้องถามให้ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการวัดเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ
7.ความยุติธรรม (Fair) แบบทดสอบที่ดีมีความยุติธรรม ต้องถามในเรื่องที่เรียนรู้มาแล้ว
8.ความลึก (Searching) แบบทดสอบที่ดีควรถามให้ครอบคลุมพฤติกรรมการเรียนรู้พุทธิพิสัยทั้ง 6 ขั้น
9.คำถามยั่วยุ (Exemplary) ลักษณะของคำถามที่ยั่วยุให้ผู้เรียนอยากตอบ ไม่ซ้ำซากจำเจน่าเบื่อหน่าย
10.คำถามเฉพาะเจาะจง (Definite) ผู้ตอบข้อสอบได้ต้องมีความรู้โดยศึกษาเล่าเรียนมาก่อน
การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบ
การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการค้นหาข้อบกพร่องในตัวข้อสอบ เพื่อให้ได้ข้อมูลในการปรับปรุงหรือคัดเลือกข้อสอบที่ไม่ดีออกไป
1.การวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบรายข้อ คือ การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบเป็นรายข้อจากคำตอบของผู้สอนในประเด็นความยากง่าย อำนาจจำแนกและประสิทธิภาพของตัวลวงในตัวเลือกของข้อสอบนั้น ๆ
2.การวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบทั้งฉบับ คือ การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบทั้งฉบับในประเด็นความตรงและความเที่ยง
การวิเคราะห์คุณภาพรายข้อ
หลังจากเขียนข้อสอบและตรวจคุณภาพของข้อสอบขั้นต้นแล้วจึงนำแบบทดสอบไปทดลองใช้ แล้วนำผลการทดลองใช้มาวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบเป็นรายข้อ
1.การวิเคราะห์คุณภาพรายข้อของแบบทดสอบอิงกลุ่ม แบบทดสอบอิงกลุ่มใช้วัดความรู้ความสามารถของผู้เรียน โดยมุ่งเน้นการเปรียบเทียบความสามารถของผู้เรียนกันเองภายในกลุ่มว่าผู้เรียนแต่ละคนรู้มากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับกลุ่ม ใครเก่งอ่อนกว่ากัน
2.การวิเคราะห์คุณภาพรายข้อของแบบทดสอบอิงเกณฑ์ แบบทดสอบอิงเกณฑ์ใช้วัดความรู้ความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน โดยนำคะแนนที่ได้จากการวีดมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด
2.1 ความยากง่ายของข้อสอบ
2.2 อำนาจจำแนก
2.2.1 การหาดัชนีความไวของประสิทธิภาพการสอน (Sensitivity to instructional effects) หรือ ดัชนีเอส (s)
2.2.2 การหาประสิทธิภาพของข้อสอบในการจำแนกระหว่างผู้รอบรู้และผู้ที่ไม่รอบรู้ หรือดัชนีบี
การตรวจสอบคุณภาพทั้งฉบับ
การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบทั้งฉบับ เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการสร้างแบบทดสอบวัดผลด้านพุทธิพิสัยหลังจากที่นำข้อสอบมาจัดรวมเข้าเป็นชุดของแบบทดสอบแล้ว คำตอบที่ได้จากการตรวจสอบคุณภาพทั้งฉบับ คือ ความครอบคลุมและความเป็นตัวแทนของพฤติกรรมและเนื้อหาที่ต้องการวัด
1.การตรวจสอบความตรง ความตรงเป็นความสามารถของแบบทดสอบที่วัดได้ตรงและครอบคลุมขอบเขตของเนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการวัด
1.1การตรวจสอบความตรงของแบบทดสอบอิงกลุ่ม
1.1.1 คัดเลือกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
1.1.2 ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา
1.1.3นำแบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญมาแจกแจงคำตอบ
1.2 การตรวจสอบความตรงของแบบทดสอบอิงเกณฑ์
1.3 ปัจจัยที่มีผลต่อความตรงของแบบทดสอบ
1.3.1 ปัจจัยที่เกิดจากตัวแบบทดสอบเอง
1.3.2 ปัจจัยที่เกิดจากการดำเนินการสอบ
1.3.3 ปัจัยที่เกิดจากตัวผู้เข้าสอบ
1.3.4 ปัจจัยที่เกิดจากตัวผู้สอน
2.การตรวจสอบความเที่ยง
2.1 การตรวจสอบความเที่ยงของแบบทดสอบอิงกลุ่ม ความเที่ยงเป็นความคงที่ของผลการวัดหรือคะแนน จะวัดกี่ครั้งก็ตามผลการวัดย่อมเท่าเดิม ใกล้เคียงกันหรือสอดคล้องกัน
2.1.1 วิธีการสอบซ้ำ (Test -retest method)
2.1.2 ใช้แบบทดสอบคู่ขนาน (Parallel from method)
2.1.3 วิธีการวัดความคงที่ภายในหรือคามสอดคล้องภายใน (Intermal consistency)
2.1.3.1 วิธีแบ่งครึ่งข้อสอบ (Split half method)
2.1.3.2 วิธีการของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน
2.1.3.3 วิธีสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาค
2.2 การตรวจสอบความเที่ยงของแบบทดสอบอิงเกณฑ์ ความเที่ยงของแบบทดสอบอิงเกณฑ์อยู่ที่ความคงเส้นคงวาของผลการตัดสินตามเกณฑ์ที่วางไว้ว่าใครเป็นผู้รอบรู้หรือไม่รอบรู้
2.3 ค่าความเที่ยงตรงและปัจจัยที่มีผลต่อค่าความเที่ยงของแบบทดสอบ
2.3.1 ค่าความเที่บง
2.3.2 ปัจจัยที่มีผลต่อความเที่ยงของแบบทดสอบ
2.3.2.1 ความยาวของแบบทดสอบ
2.3.2.2 การกระจายของคะแนน
2.3.2.3 ความยากของข้อสอบ
2.3.2.4 ความเป็นเอกพันธ์ของข้อสอบ
2.3.2.5 ความเป็นปรนัย
2.3.2.6 อิทธิพลต่อการเดาคำตอบของผู้สอบ