Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะช็อคจากการถูกปิดกั้นหลอดเลือด Obstructive shock กลุ่ม 1,…
ภาวะช็อคจากการถูกปิดกั้นหลอดเลือด Obstructive shock
กลุ่ม 1
ภาวะช็อคจากการอุดกั้น (Obstructive shock)
เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ตามปกติ ซึ่งเป็นผลที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism: PE) หรือสภาวะใด ๆ ที่ทำให้เกิดการสะสมของอากาศและของเหลวในโพรงช่องอก
กลไกล
การเกิดภาวะช็อกจากการถูกปิดกั้นหลอดเลือด
1.Pericardial pressure สูงขึ้น
เช่น ภาวะ Cardiac tamponade ซึ่งเกิดจากการที่มี Pericardial effusion มากระดับหนึ่ง จึงทำให้ Pericardial pressure สูงขึ้นทันที จึงบีบรัดหัวใจทุกห้อง
2.Intrathoracic pressure สูงขึ้นมากๆ
ได้แก่ ภาวะ Tension pneumothorax ซึ่งเกิดจากการ มีรอยแผลบริเวณ Chest wall แบบบานพับ ทำให้มีลักษณะเป็น One-way valve คือตอนหายใจเข้าสามารถทำให้อากาศเข้ามาใน Pleural cavity ได้ แต่พอหายใจออก จะทำให้ tissue flap อันนั้นเลื่อนปิด ทำให้อากาศออกไม่ได้ ส่งผลให้ได้ Pleural pressure และ Intrathoracic pressure บวกมากๆ มีความดันข้างในต่ำและผนังบาง
3 Pulmonary resistance สูงขึ้น
ได้แก่ ภาวะ Massive pulmonary embolism ซึ่งเกิดจากมี emboli มาอุด Pulmonary artery และแขนงของมัน มากพอที่ทำให้เลือดส่วนใหญ่ไม่สามารถไหลผ่านไปยัง Left side heart ได้ จนทำให้ Venous return ฝั่งซ้ายลดลง ทำให้ CO ลดลงในที่สุด
สาเหตุ
ภาวะช็อคจากการถูกปิดกั้นหลอดเลือด
เกิดจากเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ตามปกติ ซึ่งเป็นผลที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism: PE) หรือเกิดการสะสมของอากาศและของเหลวในโพรงช่องอก เช่น ภาวะเลือดออกในช่องปอด (Hemothorax) ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade)
ความผิดปกติ
ภาวะช็อกจากการถูกปิดกั้นหลอดเลือด
เกิดจากมีการขัดขวางการไหลเวียนเลือดที่หัวใจ ทำให้เกิดการตีบแคบของหลอดเลือดที่ออกมาจากหัวใจและลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดหรือเกิดภาวะPulmonary Embolism ทำให้กดเบียดหัวใจและหลอดเลือด เมื่อหัวใจถูกบีบรัดหรือถูกกดเบียดจะไม่สามารถรับเลือดได้ ทำให้สูญเสียสมรรถภาพในการคลายตัวและการบีบตัวของหัวใจห้องล่างการทำงานของPreload และ Left ventricle ก็ลดลงเลือดจะไม่สามารถไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้ BRจะลดลงและแรงดันในปอดจะสูงขึ้น เกิดการกำซาบเนื้อเยื่อไม่เพียงพอทำให้เนื้อเยื่อขาดออกซิเจน เซลล์และเนื้อเยื่อตาย อวัยวะอื่นๆเสียหน้าที่
ปัจจัยเสี่ยง
ภาวะช็อกจากการถูกปิดกั้นหลอดเลือด
การอุดตันของหลอดเลือดใหญ่
ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism)
การตีบของลิ้นหัวใจ (Cardiac Valve Stenosis)
หลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด (Aortic Dissection)
อาการและอาการแสดง
ภาวะช็อกจากการถูกปิดกั้นหลอดเลือด
ผู้ป่วยจะมีอาการของภาวะความดันโลหิตที่ต่ำลง เช่น ซึมลง หมดสติ ตัวเย็น มือเท้าเย็น หัวใจเต้นเร็ว ปัสสาวะออกน้อยลง หอบเหนื่อย หายใจเบา หายใจถี่
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะช็อก
ผู้ที่เกิดอาการช็อกและรักษาไม่ทันเวลาอาจทำให้อวัยวะบางอย่างทำงานผิดปกติอย่างถาวร พิการ หรืออาจเสียชีวิต ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะช็อก เช่น ภาวะช็อกจากการขาดเลือดและเกลือแร่อาจทำลายไตและสมอง
เกิดแผลที่มีเนื้อตายบริเวณแขนหรือขา
มีภาวะหายใจล้มเหลวจนต้องได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจ
แนวทางการรักษา
ภาวะช็อกจากการถูกปิดกั้นหลอดเลือด
ถ้าพบผู้ป่วยมีภาวะช็อกควรรีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาล แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลทำการค้นหาสาเหตุโดยการตรวจเลือดปัสสาวะ เอกซเรย์คลื่นหัวใจ และตรวจพิเศษอื่น ๆการรักษา ให้การรักษาแบบประคับประคอง เช่น ให้น้ำเกลือนอร์มัลหรือริงเกอร์แลคเตทให้เลือด ใส่ท่อ หายใจ ให้ออกซิเจน เป็นต้น
ผลการรักษา ขึ้นกับความรุนแรงของโรค และระยะ ของโรคที่เริ่มให้การรักษา ถ้าสามารถให้การรักษาตั้งแต่ ระยะแรกเริ่มในขณะที่มีอาการรุนแรงไม่มาก ก็มักจะได้ ผลดีหรือหายเป็นปกติ แต่ถ้าปล่อยให้อวัยวะสำคัญขาด เลือดจนเกินภาวะล้มเหลว ก็มักจะเสียชีวิต โดยทั่วไปภาวะช็อกที่มีสาเหตุจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และภาวะโลหิตเป็นพิษ
ยกตัวอย่าง ภาวะช็อคจากการถูกปิดกั้นหลอดเลือด
ผู้ป่วยหญิงไทยคู่อายุ 46 ปี น้ำหนัก 53 กก. สูง160 ซม. มีโรคประจำตัวคือโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการรักษาด้วยยา amlodipine (10 มก.) 1 เม็ด ในตอนเช้าปฏิเสธการแพ้ยาและอาหาร มาโรงพยาบาลด้วยอาการเดินเซ
การวินิจฉัย
เป็น cerebellopontine anglemeningioma ด้านขวา ขนาด 3.7 x 4.8 ซม. ก้อนเนื้องอกจะมีลักษณะเป็นก้อนกลม รูปร่างของเซลล์ของเนื้องอกจะมีได้หลายรูปแบบ เซลล์เนื้องอกจะมีการเรียงกันเป็นกลุ่มๆ อยู่ชิดติดกัน ขอบเขตของเซลล์จะเห็นได้ไม่ชัดเจนอาจพบช่องว่างใสๆที่เป็นนิวเคลียส
ศัลยแพทย์ได้วางแผนทำการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ(craniotomy) เพื่อนำก้อนเนื้องอกในสมองออก ภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว ผู้ป่วยมีเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ดีจึงจัดอยู่ใน American Society of Anesthesiologists (ASA) physical status 2 ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเนื้องอกสมองในท่าคว่ำภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วตัวเป็นเวลา 11 ชั่วโมง หลังเสร็จการผ่าตัดจึงเปลี่ยนท่าผู้ป่วยเป็นนอนหงาย พบว่า คลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็น pulselesselectrical activity (PEA) จึงได้ทำการ CPR เป็นระยะเวลานาน 5 นาที
หลังจากนั้นมีสัญญาณชีพกลับมา จากการตรวจ echocardiogram ข้างเตียงผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยวิกฤต พบมีการขยายตัวของหัวใจห้องล่างขวา และตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดแดง pulmonary(CTA) พบว่าลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดแดงpulmonary ทั้ง 2 ข้าง และได้รับการรักษาโดยวิธีฉีด intralesional recombinant tissueplasminogen activator (rtPA) และได้รับการดูแลต่อเนื่องจนสามารถกลับบ้านได้ในที่สุด
นางสาวนาซูฮา แซแอ 634N46219