Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8
หนังสือการ์ตูน - Coggle Diagram
บทที่ 8
หนังสือการ์ตูน
หนังสือการ์ตูน
Cartoon
มาจากภาษาละตินว่า Charta และคำในภาษาอิตาลีว่า Cartoon หมายถึง กระดาษเพราะในสมัยต้นการ์ตูนเป็นการวาดภาพลงผ้าใบขนาดใหญ่ วาดบนผ้าม่านหรือเป็นการเขียนลวดลายหรือภาพลงบนกระจก และ Mosic Cartoon หมายถึง การเขียนภาพหรือสัญลักษณ์ที่มุ่งจะเหน็บแหนม (Witty) คนใดคนหนึ่งเพื่อแสดงอารมณ์ขันและให้เกิดความขบขัน (Humerous) เป็นประการสำคัญมิใช่แต่เพียงเขียนภาพให้คล้ายบุคคลหรือวัตถุเท่านั้น
Comics
หมายถึง ภาพชวนขันโดยมีภาพเป็นชุดๆ มีถ้อยคำบรรยายประกอบตามเนื้อเรื่องเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีเนื้อเรื่องแนวใดก็ได้ เช่น อาชญากรรมสงคราม การผจญภัย และอื่นๆ แม้จะไม่มีลักษณะชวนขันเลย แต่ก็ยังใช้เรียนด้วยคำเดิม ภาพชวนขันส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ จึงเรียกภาพชวนขันในลักษณะนี้ว่า Comics strips และเมื่อมีการรวมรวบจัดพิมพ์เป็นเล่ม เรียกว่า Comics book หรือ Funnies
Caricature
เป็นคำศัพท์ที่มาจากภาษาอิตาลีว่า Caricature แปลว่า บรรทุก (loading) บรรจุ (Charging) หมายถึง [ภาพล้อมบุคคลหรือวัตถุที่ทำให้ขันโดยการเปลี่ยนแปลงลักษณะบางอย่างให้เกินความจริงไป แต่ไม่มีความประสงค์ที่จะแสดงให้เห็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นจุดสำคัญ เช่น วาดเป็นรูปคอยาว หรือรูปร่างสูง แต่ก็ไม่สามารถดูออกทันทีว่าเป็นใครหรือเป็นอะไรเพราะยังคงลักษณะเด่นๆ ซึ่งเป็นลักษณะเดิมเอาไว้
-
-
การ์ตูนสำหรับเด็ก
ฉันท์ สุวรรณบุณย์ ผู้บุกเบิกการ์ตูฯเด็กคนแรกของไทย เขียนการ์ตูนสะท้อนสังคมที่แท้จริง เห็นได้จากผลงานการวาดเรื่องแรกเป็นชุดชื่อ ป๋องเหลียว และยังเขียนการ์ตูนประกอบโคลงนิติเพื่อบรรยายและสะท้อนเนื้อหาของโคลงออกมาให้คนดูการ์ตูนได้เข้าใจความหมายและได้ประโยชน์จากโคลงอีกด้วย
พิมล กาฬสีห์ คนแรกที่ออกหนังสือการ์ตูนสำหรับเด็ก มีหนูนิด หนูหน่อย หนูไก่ หนูแจ๋ว เป็นตัวละคร ปัจจุบันก็ยังออกหนังสือการ์ตูนชื่อว่าการ์ตูนตุ๊กตาโดยใช้ตัวละครเอก 4 ตัว เป็นตัวชูโรงเช่นเดิม
-
-