Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดเกี่ยวกับช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่, นางสาวกนกพรรณ ศรีบาล เลขที่ 2 -…
แนวคิดเกี่ยวกับช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่
พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของบุคคลในวัยผู้ใหญ่
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
บุคคลในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีการพัฒนาทางร่างกายอย่างเต็มที่ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ร่างกายสมบูรณ์ มีการพัฒนาความสูงมาจากวัยรุ่นและจะมีความสูงที่สุดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นนี้ รวมทั้งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อไขมัน มีการพัฒนาอย่างเต็มที่เช่นกัน ในวัยนี้ร่างกายจะมีพลัง คล่องแคล่วว่องไว การรับรู้ต่าง ๆ จะมีความสมบูรณ์เต็มที่ จนกระทั่งเข้าสู่วัยกลางคนความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้จะลดลง
การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์
วัยผู้ใหญ่จะมีการควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น มีความมั่นคงทางจิตใจดีกว่าวัยรุ่น คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น รู้สึกยอมรับผู้อื่นได้ดีขึ้น มีพัฒนาการด้านอารมณ์รัก ได้ในหลายรูปแบบ การเก็บกด (Impulsiveness) น้อยลง แต่จะใช้การตอบสนองด้วยเหตุผลทั้งกับตนเองและผู้อื่นมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
วัยนี้จะให้ความสำคัญกับกลุ่มเพื่อนร่วมวัยลดลง จำนวนสมาชิกในกลุ่มเพื่อนจะลดลง แต่สัมพันธภาพในเพื่อนที่ใกล้ชิดหรือเพื่อนรักยังคงอยู่และจะมีความผูกพันกันมากกว่าความผูกพันในลักษณะของคู่รักและพบว่ามักเป็นในเพื่อนเพศเดียวกัน (Papalia and Olds, 1995) การสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัวจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มใช้ชีวิตครอบครัวกับคู่ของตนเอง และเกิดการปรับตัวกับบทบาทใหม
การเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา
วัยผู้ใหญ่มีพัฒนาการทางความคิดสติปัญญาอยู่ในระดับ Formal operations ซึ่งเป็นขั้นสูงที่สุดของพัฒนาการ มีความสามารถทางสติปัญญาสมบูรณ์ที่สุดคือคุณภาพของความคิดจะเป็นระบบ ผู้ใหญ่จะมีความคิดเปิดกว้าง ยืดหยุ่นมากขึ้น และรู้จักจดจำประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพผู้ใหญ่
ปัจจัยภายใน หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวกับบุคคลโดยตรงซึ่งบางปัจจัยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ปัจจัยภายในประกอบด้วย องค์ประกอบ 3 อย่างคือ องค์ประกอบทางกาย องค์ประกอบทางจิต และองค์ประกอบทางพฤติกรรมหรือแบบแผนการดำเนินชีวิต ดังนี้
องค์ประกอบทางจิต
2.1 อัตมโนทัศน์ (self concept) เป็นผลรวมของความรู้สึกนึกคิดและการรับรู้ที่ลึกซึ้งและซับซ้อนที่บุคคลมีต่อตนเอง และมีอิทธิพลอย่างมากในการกำหนดพฤติกรรม คือการที่บุคคลจะแสดงพฤติกรรมอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นรับรู้เกี่ยวกับตนเองอย่างไร
2.2 การรับรู้ (perception) การที่บุคคลจะมีพฤติกรรมเช่นใดนั้น ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของตนต่อสิ่งต่างๆ การรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพคือ รับรู้ว่าตนเองมีสุขภาพเช่นไรก็จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่คนๆ นั้นจะกระทำ คนแต่ละคนมีการรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพแตกต่างกัน
2.3 ความเชื่อ ปกติคนเรามักได้ความเชื่อมาจาก พ่อ แม่ ปู ย่า ตา ยาย หรือผู้ที่เราเคารพเชื่อถือ จะยอมรับฟังโดยไม่ต้องพิสูจน์
2.4 เจตคติ เจตคติเป็นความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งต่างๆ อาจเป็นบุคคล สิ่งของหรือ นามธรรมใดๆ ก็ได้ การเกิดเจตคติอาจเกิดจากประสบการณ์ หรือเรียนรู้จากบุคคลใกล้ตัวก็ได้
2.5 ค่านิยม คือการให้คุณค่าต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ค่านิยมของบุคคลได้รับอิทธิพลมาจากสังคม บุคคลพยายามแสดงออกถึงค่านิยมของตนทุกครั้งที่มีโอกาส ค่านิยมของสังคมใดสังคมหนึ่ง จะมีอิทธิพลต่อการประพฤติปฏิบัติของบุคคลในสังคมนั้นๆ อย่างมาก
2.6 ความเครียด (stress) ภาวะเครียดมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางด้านบวกและลบทางด้านบวก เช่น ในระยะพัฒนาการของร่างกายและจิตใจตามวัยนั้นก็เป็นการก่อความเครียดแก่ร่างกาย ซึ่งถ้าสามารถเรียนรู้และปฏิบัติภาระงานพัฒนาการจนผ่านพ้นไปได้บุคคล ๆนั้น จะเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินในชีวิต
องค์ประกอบทางพฤติกรรม หรือแบบแผนการ
ดำเนินชีวิต (life style)
3.1 พฤติกรรมเกี่ยวกับอนามัยส่วนบุคคล เป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติเพื่อการมีอนามัยที่ดี ได้แก่ การแปรงฟัน การอาบน้ำ ความสะอาดของเสื้อผ้า การสระผม การดูแลสุขภาพของผิวหนัง การดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ สิ่งเหล่านี้เป็นกิจวัตรประจำวันที่บุคคลปฏิบัติ
3.2 พฤติกรรมการรับประทานอาหาร นิสัยการรับประทานอาหารเป็นการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะท้องถิ่น และความชอบของแต่ละคน พฤติกรรมการรับประทานมีผลกระทบต่อสุขภาพมาก
3.3 พฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ผู้ที่ถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลา ถ่ายลำบาก อุจจาระมีลักษณะแข็งต้องเบ่งถ่ายอุจจาระ
3.4 การพักผ่อนและการนอนหลับ เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าร่างกายต้องการการพักผ่อนและการพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับ ผู้ที่พักผ่อนหรือนอนหลับไม่เพียงพอจะมีผลเสียต่อสุขภาพคือ ถ้าอดนอน 48 ชั่วโมง ร่างกายจะผลิตสารเคมีซึ่งมีโครงสร้างคล้าย เอส ดี 25
3.6 พฤติกรรมอื่นๆ ได้แก่พฤติกรรมที่ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติในกิจวัตรประจำวันของบุคคลทั่วๆ ไป แต่อาจเป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำในคนบางคน
3.5 พฤติกรรมทางเพศ การตอบสนองความต้องการทางเพศเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพได้ถ้าบุคคลนั้นมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง
องค์ประกอบทางกาย
1.1 พันธุกรรม การถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้นเป็นที่ยอมรับว่าทำให้มีผลต่อสุขภาพของวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุมาก ทั้งในทางบวกและทางลบ ในทางบวก
1.2 เชื้อชาติ เชื้อชาติบางเชื้อชาติป่วยเป็นโรคบางโรคมากกว่าเชื้อชาติอื่นๆ เช่น โรคโลหิตจางบางชนิด เป็นในคนผิวดำมากกว่าผิวขาว
1.3 เพศ โรคบางโรคพบบ่อยในเพศใดเพศหนึ่ง โรคที่พบบ่อยในเพศหญิง เช่น นิ่วในถุงน้ำดี โรคของต่อมไทรอยด์ โรคกระดูกพรุน เป็นต้น
1.4 อายุและระดับพัฒนาการ โรคเป็นจำนวนมากแตกต่างกันตามอายุ เช่น วัยกลางคนเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบมากกว่าวัยหนุ่มสาว พัฒนาการทางด้านร่างกาย และจิตใจ
การส่งเสริม การป้องกันโรค ดูแลสุขภาพเบื้องต้นและการฟื้นฟูสภาพในวัยผู้ใหญ่
การที่ประชาซนจะยอมรับและปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคนั้นเป็นกระบวนการทางจิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์ที่ซับซ้อน จึงมีหลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคของประชาชน ทฤษฎีที่เป็นที่รับกันมากมี 2 ทฤษฎี คือ
3.2 ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล
แนวคิดของทฤษฎีนี้เสนอโดย เอจเซน และฟิชไบน์ (Ajzen and Fishbein, 1980, quoted in Uerman, 1990 : 97-101) โดยมีข้อตกลงว่า พฤติกรรมที่ต้องควบคุมโดยการตั้งใจทำ ความตั้งใจทำพฤติกรรม จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม ความตั้งใจเกิดจากองค์ประกอบพื้นฐาน 2 อย่างคือ องค์ประกอบภายในบุคคล และองค์ประกอบทางสังคม
3.1 ทฤษฎีรูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพ
แนวคิดนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากทฤษฎีของ เคอร์ท ลีวีน (Kurt Lewin) ที่เชื่อว่า การรับรู้ของบุคคลเป็นตัวบ่งชี้ของพฤติกรรม โดยบุคคลจะกระทำหรือเข้าใกล้กับสิ่งที่ตนพอใจ และคิดว่าสิ่งนั้นจะก่อให้เกิดผลดีแก่ตน และจะหนีออกห่างจากสิ่งที่ตนไม่ปรารถนา
การป้องกันระดับที่ 1 (primary prevention) หมายถึง การกระทำที่เป็นการป้องกันโรคบางโรคเป็นการเฉพาะเพื่อป้องกันความไม่สุขสบาย ป้องกันการสูญเสียเงินทองจากค่าใช้จ่ายในการรักษาให้ตนเองปลอดภัยจากการคุกคามต่อคุณภาพชีวิต
2 การป้องกันระดับที่ 2 (secondary prevention) ประกอบด้วยองค์กรที่ทำหน้าที่ในการคัดกรอง หรือให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อส่งเสริมการตรวจพบผู้ป่วยตั้งแต่โรคยังไม่ปรากฎอาการ เพื่อให้สามารถให้การรักษาทันท่วงที และหยุดยั้งกระบวนการทางพยาธิกำเนิดของโรค
นางสาวกนกพรรณ ศรีบาล เลขที่ 2