Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช …
บทที่ 4
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ความหมายเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (intellectual disability) ปัจจุบันถูกนำมาใช้แทนคำว่า ภาวะ ปัญญาอ่อน (mental retardation) หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นในระยะพัฒนาการจากการที่สมองของเด็กหยุด พัฒนาหรือมีการพัฒนาอย่างไม่สมบูรณ์
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ความบกพร่องทางสติปัญญา (deficits in intellectual function) เช่น การให้เหตุผล การ แก้ปัญหา การวางแผน ความคิดนามธรรม การตัดสินใจ การเรียนรู้ในโรงเรียนหรือการเรียนรู้จากประสบการณ์
ความบกพร่องของการปรับตัว (deficits in adaptive function) ส่งผลให้บุคคลมีพัฒนาการ ที่ไม่หมาะสม ไม่สามารถพึ่งพาตนเองและรับผิดชอบต่อสังคมได้ ทำให้มีความจำกัดในการดำรงชีวิตประจำวัน
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
1) มีพัฒนาการล่าซ้ำ สามารถพบพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าเกณฑ์ในทุกด้าน
2) มีความบกพร่องด้านเชาว์ปัญญา เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยจะไม่พบอาการหรือจนกว่าจะถึงวัยเรียน ระดับปานกลางจะพบเมื่ออายุ 3-5 ปี ระดับรุนแรงสามารถเห็นความผิดปกติได้ตั้งแต่ใน ขวบปีแรก ระดับรุนแรงมากสังเกตพบความผิดปกติได้ตั้งแต่แรกเกิด
3) มีปัญหาด้านพฤติกรรม เด็กบางรายอาจพบว่ามีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมซน อยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ และพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นต้น
4) มีลักษณะผิดปกติของรูปร่างอวัยวะต่ง ๆ เช่น ดาวน์ซินโดรม มีศีรษะขนาดเล็ก ตั้งจมูก แบน ตาห่าง หางตาชี้ขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะผิดปกติที่ปรากฏให้เห็นได้
สาเหตุของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
1) ปัจจัยทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของยีนที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมทำให้เกิด ความผิดพลาดของการรวมตัวของยีน (genes combine)
2) ปัจจัยในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด
ระยะตั้งครรภ์ จากการศึกษาพบว่า ถ้ามารดามีการใช้ แอลกอฮอล์ยาหรือสารเคมีอื่น ๆ อาจส่ผลต่อพัฒนาการของสมองทารกในครรภ์ได้
ระยะคลอด พบว่า การคลอดก่อนกำหนด เด็กทารกจะมีน้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำกว่า เกณฑ์มาตรฐาน กระบวนการคลอดนานผิดปกติ สมองได้รับบาดเจ็บจากการคลอด
ระยะหลังคลอด พบว่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคที่เกิดในวัยเด็ก เช่น โรคไอกรน โรค อีสุกอีใส โรคหัด อาจนำไปสภาวะเยื่อทหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) และสมองอักเสบ (encephalitis)
3) ปัจจัยทางจิตสังคม พบว่า เด็กที่เติบโตมาท่ามกลางความยากจน ครอบครัวแตกแยกและผู้ เลี้ยงดูมีความผิดปกติทางจิต เช่น ซึมเศร้า หรือติดสารเสพติด ส่งผลให้ด็กไม่ได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม
การบำบัดรักษาเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
การรักษาโรคทางกาย ที่เป็นสาเหตุและความผิดปกติที่อาจพบร่วมด้วย เช่น อาการชัก หัวใจพิการแต่กำเนิด หรือภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนที่พบในกลุ่มอาการดาวน์ เป็นต้น
กายภาพบำบัด เป็นการส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เพื่อแก้ไขการเดินการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
การจัดโปรแกรมการฝึกทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในทุกๆด้าน
กิจกรรมบำบัด เป็นการบำบัดที่ช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในดำเนินชีวิต
อรรถบำบัด เป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านการสื่อสาร โดยฝึกเด็กให้ใช้กล้ามเนื้อในการพูด การเปล่งเสียง และการออกสียงที่ถูกต้อง
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา การจัดการศึกษาพิเศษเฉพาะเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
การพื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ เป็นการฝึกอาชีพให้กับเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งจะต้องเป็นงานที่ไม่ซับซ้อน
การให้คำแนะนำครอบครัว เน้นการให้ข้อมูลในเรื่อง สาเหตุ แนวทางการรักษา และการ พยากรณ์โรค รวมถึงข้อมูลหน่วยงานที่สามารถให้คำปรึกษาและความช่วยหลือในด้านต่าง ๆ
พยาบาลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
ตัวอย่างการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ไม่สามารถสื่อสารบอกความต้องการของตนเองได้เนื่องจากพัฒนาการด้านการใช้ ภาษาล่าช้า
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากอยู่ไม่นิ่งและการทรงตัวไม่ดีกล้ามเนื้ออ่อนแรง
มีความกพร่องในการช่วยเหลือตนเองที่เหมาะสมตามวัยเนื่องจากพัฒนาการกล้ามเนื้อ มัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กล่าช้า
1) การประเมินสภาพ (assessment)
การซักประวัติ เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการสำคัญ เช่น อายุของมารดา ภาวะ สุขภาพของมารดา การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด และการได้รับยาอื่น ๆ
การประเมินด้านร่างกาย (physical assessment)
• การตรวจร่างกาย เป็นการตรวจตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า
• ผลการตรวจอื่น ๆ เช่น ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจคลื่น หัวใจ เป็นต้น
การประเมินพัฒนาการ (developmental assessment) เป็นการตรวจหรือทดสอบ พัฒนาการทั้ง 5 ด้าน
ใช้แบบคัดกรองพัฒนาการ
• แบบคัดกรองพัฒนาการอนามัย 55 (พัฒนาการเด็กปฐมวัย) ประกอบด้วยข้อทดสอบ 4 ด้าน
• คู่มือคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 5 ขวบ (Thai Deployment Skills Inventory: TDSI) แบบประเมินมี 70 ข้อ
3) การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล (planning and implementation)
กิจกรรมการพยาบาลต่อตัวเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา มีด้วยกัน 3 ลักษณะได้แก่
ลักษณะที่ 1 การส่งเสริมพัฒนาการตามความสามารถของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทาง สติปัญญา โดยใช้หลักพัฒนาการตามวัยปกติ
ลักษณะที่ 2 การช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาที่มีปัญหาทางจิตเวช
ลักษณะที่ 3 ด้านการศึกษาและการฝึกอาชีพ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาควร ได้รับการศึกษตามความสามารถอย่างเหมาะสมตามวัย
การช่วยเหลือครอบครัว ในระยะที่พ่อแม่มีความรู้สึกสูญเสีย เศร้าโศก ในการมีลูกที่มีภาวะ บกพร่องทางสติปัญญา
ช่วยประคับประคองจิตใจของพ่อแม่
ช่วยให้พ่อแม่ยอมรับลูกและมีความหวัง
การป้องกันภาวะบกพร่องทางสติปัญญา เป็นบทบาทพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพทั้งใน ระยะก่อนตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด เพื่อป้องกันเด็กไม่ให้เกิดภาวะบกพร่อง ทางสติปัญญา
4) การประเมินผล (evaluation)
ภายหลังให้การพยาบาลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา จะต้องมีการประเมินผลที่ เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินผลที่ได้กำหนดไว้
นางสาวธารารัตน์ มีวงษ์ รหัส 180101119