Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะช็อคจากปริมาณไหลเวียนเลือดลดลง Hypovolemic shock กลุ่ม 1,…
ภาวะช็อคจากปริมาณไหลเวียนเลือดลดลง Hypovolemic shock กลุ่ม 1
ภาวะช็อค (Shock)
คือ ภาวะที่มีการไหลเวียนโลหิตไปยังเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ
จึงทำให้เนื้อเยื่อขาดออกซิเจนและสารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต รวมทั้งมีของเสียที่เกิดจากเมตะบอลิสมของเซลล์คั่งค้างอยู่จึงเกิดการทำลายเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย การทำงานของอวัยวะต่างๆล้มเหลว
ระยะของช็อค
ระยะแรกหรือระยะปรับตัว compensated stage
เป็นระยะที่จะกระตุ้นกลไกการปรับตัวของร่างกายเพื่อให้มีการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะที่มีความสำคัญ มากขึ้น ถ้าสาเหตุของช็อคไม่รุนแรงมากนักหรือได้แก้ไขสาเหตุของช็อค ร่างกายก็จะกลับคืนสู่สภาวะ ปกติได้โดยไม่เปลี่ยนแปลง
2 ระยะกลไกการปรับตัวของร่างกาย
ระบบประสาทอัตโนมัติจากภาวะที่แรงดันในหลอดเลือดลดลง
ระบบต่อมไร้ท่อ เมื่อเกิดภาวะช็อคจะมีการตอบสนองในระบบต่อมไร้ท่อโดยการตอบสนองจะเกิดขึ้นหลังกระตุ้นระบบประสาท
ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวในระยะช็อค
aldosterone
Catecholamines
Antidiuretic hormone (ADH)
Cortisol
การไหลเวียนเลือดของร่างกาย
3 ระยะปรับตัวไม่สำเร็จ decompensated stage
เป็นระยะที่กลไกการปรับตัวของร่างกายนั้นไม่ได้ผลอวัยวะที่สำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ไตจะขาดเลือดจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติกลไกการปรับตัวจะหยุดทำงานซึ่งจะทำให้ทุกอวัยวะขาดเลือด สมดุลต่างๆ ของร่างกายเสียไปและจะเกิดภาวะแทรกซ้อนของช็อคในระบบต่างๆ
มีการเปลี่ยนแปลงในระยะนี้มีดังนี้
ลดการทำงานของศูนย์ควบคุมหลอดเลือด
การทำงานของหัวใจลดลง
เพิ่มการซึมผ่านของน้ำ จากการที่หลอดเลือดขยาย
มีการหลั่งสารจากเนื้อเยื่อที่ขาดออกซิเจน
ระยะสุดท้ายหรือระยะไม่ฟื้น (Irreversible, final stage)
เป็นระยะที่มีเซลล์ตายอย่างมาก แม้จะให้การรักษาก็จะไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยฟื้นกลับเป็นปกติได้เพราะอวัยวะที่สำคัญ (Vital organs) เช่น สมอง หัวใจ ไต ปอด ไม่สามารถทำงาน
กลไกล
การเกิดภาวะช็อกจากปริมาณไหลเวียนเลือดลดลง
. Blood loss
เกิดจากมีเสียเลือดไปโดยตรง เช่น External hemorrhage, Internal hemorrhage Hemothorax, Hemoperitoneum, During hemodialysis
GI loss
Vomiting, Diarrhea
Renal loss
Diuretics: เกิดจากลดการดูดกลับ Na+ ทำให้เพิ่มความเข้มข้นน้ำกรอง ส่งผลให้การดูดกลับน้ำลดลง
Burn
เนื่องจากมีการ expose บริเวณ dermis กับสิ่งแวดล้อมทำให้น้ำใน interstitium ถูกกระบวนการระเหยออกไป ทำให้น้ำในระบบถูกกรองออกมา แล้วระเหย
สาเหตุ
ภาวะช็อคจากปริมาณไหลเวียนเลือดลดลง
สูญเสียเลือด
อาจจะสูญเสียจากการได้รับบาดเจ็บมีหลอดเลือดที่ฉีกขาด มีเลือดออกในทางเดินอาหาร ไอเป็นเลือด Aneurysmแตก
สูญเสียน้ำและเกลือแร่
เหงือออกมาก ท้องเสีย อาเจียนปัสสาวะมากจากโรคเบาจืด ได้รับยาขับปัสสาวะ โรคไต
สูญเสียพลาสมา
ได้รับบาดเจ็บชอกช้ำ(Trauma)หรือมีการอักเสบรุนแรงของอวัยวะภายใน การสูญเสียสูญเสียโปรตีนในพลาสมาด้วย
ความผิดปกติ
ภาวะช็อกจากปริมาณไหลเวียนเลือดลดลง
cardiac output ลดลง การขน O2 ไปยัง cell ลดลง การไหลเวียนของเลือด และ
การกำซาบของเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ เนื้อเยื่อขาดออกซิเจนcell ขาด O2
ปริมาณน้ำในระบบไหลเวียนเลือดลดลง ทำให้เกิดปริมาณเลือดที่กลับจากหัวใจลดลง ปริมาณเลือดที่หัวใจบีบตัวแต่ละครั้ง (stroke volume) ลดลง
ปัจจัยเสี่ยง
ภาวะช็อกจากปริมาณไหลเวียนเลือดลดลง
ร่างกายเสียน้ำ อวัยวะไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหารเพียงพอที่จะทำงานอย่างถูกต้อง หรือเลือดมากเกินไป
ติดเชื้ออย่างรุนแรงในกระแสเลือด
แพ้สารต่างๆ หรืออาการแพ้ประจำตัว
โรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ
อาการและอาการแสดง
ภาวะช็อกจากปริมาณไหลเวียนเลือดลดลง
ผู้ป่วยเสียเลือดประมาณ 15-30% ของเลือดทั้งหมด จะมีอาการ tachycardiac tachypnea และมี hypotension มีการลดลงของ co มีการเพิ่ม peripheral vascular resistance และมี pulse pressure แคบ มีการเปลี่ยนแปลงของ urine output เล็กน้อย
ผู้ป่วยเสียเลือดประมาณ 40-50% อาการแสดงจะพบอาการทุกอย่างของภาวะ shock เช่น ซีด เย็น เย็นชื้น อาการเขียวคล้ำ ชีพจรเต้นเบา หายใจตื้น เร็ว กระสับกระส่าย หมดสติ ความดันโลหิตต่ำ ม่านตาขยาย คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด
. ผู้ป่วยที่มีการสูญเสียเลือดน้อยกว่า 15% ของปริมาณเลือดทั้งหมด จะมีอาการแค่ ชีพจรและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
แนวทางการรักษา
ภาวะช็อกจากปริมาณไหลเวียนเลือดลดลง
ในกรณีที่ผู้ป่วยหมดสติ
ผู้ปฐมพยาบาลควรตรวจดูลมหายใจและสัญญาณการเต้นของหัวใจเป็นอันดับแรก หากพบว่าผู้ป่วยไม่หายใจ หัวใจหยุดเต้น หรือไม่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายให้รีบทำซีพีอาร์หรือช่วยฟื้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ (Cardiopulmonary Resuscitation: CPR)
สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะช็อก แต่ยังไม่หมดสติ
ควรให้ผู้ป่วยนอนหงายราบกับพื้น ยกขาให้สูงขึ้นจากพื้นประมาณ 12 นิ้ว เพื่อช่วยให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญ หากสวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นควรคลายเสื้อผ้าให้หลวม จากนั้นห่มผ้าหรือสวมเสื้อผ้าหนา ๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น นอกจากนี้ ควรตรวจดูลมหายใจและการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยเป็นระยะระหว่างรอนำส่งโรงพยาบาล
ยกตัวอย่าง ภาวะช็อกจากปริมาณเลือดไหลลดลง
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 35 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการถ่ายเป็นเลือด เวียนศีรษะ อาเจียนเป็นเศษอาหาร ก่อนมา 15 นาที เคยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคเลือดออกในกระเพาะอาหารส่วนบน2ครั้ง มีโรคประจำตัวคือโรคกระเพาะอาหาร ขณะที่ผู้ป่วยมาถึงห้องฉุกเฉิน มีอาการหายใจเหนื่อย เวียนศีรษะ อุณหภูมิร่างกาย36.9องศาเซลเซียส ชีพจร100ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 24ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 160/80mmHg
เจ้าหน้าที่พยาบาลได้ให้สารน้ำทางเส้นเลือดดำ(IV Fluid) โดยให้ 0.9%NSS 1000ml drip 30 d/m และรายงานแพทย์ หลังจากนั้นแพทย์ขึ้นมาดูอาการ ให้การรักษาโดยให้ Lavage 500 mlClear พบลิ่มเลือดผ่านศูนย์กลาง 0.5cm และเขาจาะHCTหลังLavage ได้ 45%
การวินิจฉัยโรค
ผู้ป่วยรายนี้มีโอกาสเกิดภาวะ Hypovolemic Shock เนื่องจากมีการสูญเสียเลือดในระบบทางดินอาหารส่วนต้น
นางสาวนาซูฮา แซแอ 634N46219