Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัณโรค - Coggle Diagram
วัณโรค
-
อาการ
ระยะแฝง
เนื่องจากเชื้อไม่ได้รับการกระตุ้น เชื้อแบคทีเรียก็ยังคงอยู่ในร่างกายและสามารถก่อให้เกิดอาการจนเข้าสู่ระยะแสดงอาการได้ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีการตรวจเจอเชื้อในช่วงระยะแฝงแพทย์อาจให้เข้ารับการรักษาและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อรวมถึงลดความเสี่ยงที่เข้าสู่ระยะแสดงอาการ
ระยะแสดงอาการ
ระยะที่เชื้อได้รับการกระตุ้นจนเกิดอาการต่างๆโดยอาการในระยะนี้จะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนเช่น ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย มีเหงื่อออกในตอนกลางคืน น้ำหนักลดเป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนที่มักพบได้ในผู้ป่วยวัณโรค ได้แก่ ไอเป็นเลือด ฝีในปอด ภาวะน้ำในช่องหุ้มปอด อาการปวดบริเวณหลัง ข้อต่อกระดูกอักเสบ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปัญหาเกี่ยวกับตับและไต และโรคหัวใจ จากการที่เชื้อวัณโรคกระจายไปที่อวัยวะอื่น ๆ
สาเหตุ
เชื้อไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิสที่สามารถแพร่กระจายได้ทางอากาศโดยผ่านทางการหายใจ จาม พูดและการหายใจโดยความเสี่ยงของวัณโรคจะเพิ่มขึ้นหากผู้ที่เป็นเคยพักอาศัยหรือเดินทางมาจากพื้นที่ที่มีผู้ป่วยวัณโรคจำนวนมาก เคยมีการติดต่อและสัมผัสอย่างใกล้ชิดผู้ติดเชื้อผู้ที่มีภูมิต้านทานอ่อนแอจากโรคร้ายแรงหรืออยู่ในระหว่างการรักษาด้วยยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันและผู้ที่มีสุขภาพไม่ดีจากปัญหาทางด้านโภชนาการ ติดยาเสพติดหรือติดสุราเรื้อรัง วัยเสี่ยงมากที่สุดคือคนชราและเด็กเพราะมีความอ่อนแอมากกว่า
การรักษา
การรักษาวัณโรคทำได้ด้วยการรับประทานยาต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอควบคู่กับการดูแลสุขภาพ โดยยาที่แพทย์นิยมใช้ในการรักษา ได้แก่ ไอโซไนอาซิด (Isoniazid) ไรแฟมพิซิน (Rifampicin) อีแทมบูทอล (Ethambutol) ไพราซินาไมด์ (Pyrazinamide) แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการดื้อยา ก็อาจจะต้องใช้ยาตัวอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อให้การรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) และยาลีโวฟลอกซาซิน (Levofloxacin) เป็นต้น
โรคติดต่อที่เกิดจากการติดแบคทีเรียรุนแรง สามารถติดต่อกันผ่ารทางอากาศได้ด้วยการหายใจ การจาม การไอ หรือการอยู่ร่วมกับคนที่เป็นวัณโรคนานๆ สามารถรักษาให้หายได้หากผู้ป่วยกินยาต่อเนื่อง