Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต - Coggle Diagram
บทที่ 2
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ความหมายของภาวะวิกฤต
1) สถานการณ์วิกฤต (situational crisis) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ แล้วส่งผลให้ภาวะทางอารมณ์ทางจิตใจเสียภาวะสมดุล
2) พัฒนาการวิกฤตหรือวัยวิกฤต (maturation Crisis) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามช่วงวัยต่าง ๆ ตามกระบวนการเจริญเติบโต
ภาวะชั่วคราวที่เกิดขึ้น เมื่อบุคคลเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตนประเมินและรับรู้ว่ามีความคุกคาม ที่อาจทำให้เกิดความสูญเสียหรือความเปลี่ยนแปลงต่อตนเอง ภาพพจน์ หรือเป้าหมายในชีวิต โดยบุคคลไม่สามารถหนี
3) ภาวะวิกฤตที่เกิดจากภัยพิบัติ (disaster crisis) เช่น ไฟไหม้บ้าน อุทกภัย แผ่นดินไหว ซึนามิ การเกิดสงคราม เป็นต้น
สาเหตุการเกิดภาวะวิกฤตของบุคคล
1) เหตุการณ์วิกฤต (Negative Events) เป็นเหตุการณ์หรือราวที่เป็นปัญหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะวิกฤตสำหรับบุคคล
2) การรับรู้ต่อเหตุการณ์วิกฤต หากบุคคลเห็นว่าเหตุการณ์วิกฤตนั้นเป็น สิ่งคุกคาม (threat) ทำให้เกิดความสูญเสีย ความปวดร้าว หรือความสิ้นหวัง
3) การแก้ไขปัญหา
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา (problem focus coping) เป็นวิธีการที่บุคคลพยายามแก้ไขปัญหาให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยพยายามแก้ไขที่ตัวปัญหา
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นอารมณ์ (emotion focus coping) เป็นวิธีการที่บุคคลพยายามจัดการอารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากปัญหา โดยใช้กระบวนการทางความคิด
ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่บุคคลซึ่งอยู่ในภาวะที่อ่อนไหว (vulnerable state) นั้นได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งมักเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้น บุคคลจะมีความตึงเครียดวิตกกังวล (final stress and anxiety) มากขึ้น
ระยะที่ 2 ระยะฉุกเฉิน
รู้สึกลังเล (ambivalence)
รู้สึกขาดที่พึ่งและหนดหนทาง (helplessness)
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่บุคคลไม่สามารถรับความตึงเครียดวิตกกังวล (stress and anxiety) ที่มากขึ้นอีกต่อไป (intolerable level) นับเป็นจุดแตกหัก (breaking point) ทำให้บุคคลนั้นสูญเสียความสามารถในการกำหนดตัวปัญหา ประเมิน และแยกแยะปัญหาบนพื้นฐานของความเป็นจริงในการแก้ไขปัญหาไป
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่บุคคลที่อยู่ในระยะวิกฤต (crisis stage)
สับสน สมาธิลดลง การตัดสินใจเสีย
มีอาการทางกาย เช่น เจ็บหน้าอก ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็ว เหงื่ออก วิงเวียน
รู้สึกผิดและละอาย (guilt and shame) ที่ไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้ บุคคลจะขาดความภาคภูมิใจในตนเอง รู้สึกอับจนหนทาง ซึมเศร้า และคิดว่าตนเองไร้ค่า
รู้สึกโกรธ (anger) ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ง่ายจากการมีอารมณ์ไม่คงที่
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
1) การประเมินภาวะสุขภาพ
บุคลิกภาพเดิม ระดับความอดทน และความเข้มแข็งของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต ต่อเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้น
แหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
กลวิธีหรือกลไกทางจิตที่บุคคลที่มีภาวะวิกฤต
สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ ปรัชญาของชีวิต หรือหลักศาสนาที่ยึดถือในการเผชิญปัญหา
ระดับความรุนแรงของอาการทางกายที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะวิกฤติ
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล เพื่อลดความเครียด ความวิตกกังวล อาการและอาการแสดงที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะวิกฤต
การเผชิญปัญหาไร้ประสิทธิภาพ
เสี่ยงต่อการกระทำรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่น
แบบแผนการพักผ่อนนอนหลับเปลี่ยนแปลง
บกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
3) การวางแผนการพยาบาล
วัตถุประสงค์การพยาบาลระยะสั้น
เพื่อลดความเครียดหรือความวิตกกังวลที่มีต่อภาวะวิกฤติ
เพื่อลดอาการและอาการแสดงทางกายที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆให้กลับสู่ภาวะปกติ
วัตถุประสงค์การพยาบาลระยะยาว
เพื่อฝึกทักษะการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
เพื่อส่งเสริมการแสวงหาและเตรียมความพร้อมแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสมเพียงพอเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
4) การปฏิบัติการพยาบาล
การลดความเครียดหรือความวิตกกังวลที่มีต่อภาวะวิกฤติ
ส่งเสริมให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตเข้าใจและยอมรับสถานการณ์ปัญหาวิกฤติของชีวิต
ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตได้ระบายเรื่องราวความทุกข์ใจต่าง ๆ โดยใช้คำถามปลายเปิด
ดูแลช่วยเหลือเรื่องทั่ว ๆไป เช่น กิจวัตรประจำวันหรือเรื่องอื่น ๆ เพื่อไม่ให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตเครียดและวิตกกังวลต่อภาวะวิกฤตมากขึ้น
สร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤต
การลดหรือป้องกันอาการและอาการแสดงทางกายที่เป็นผลมาภาวะวิกฤติ
รายงานแพทย์อาการและอาการแสดงทางกายที่มีความสัมพันธ์กับภาวะวิกฤติ
ดูแลให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตได้รับการรักษาพยาบาลอาการและอาการแสดงทางกายที่มีความสัมพันธ์กับภาวะวิกฤติตามแผนการรักษา
ประเมินอาการและอาการแสดงทางกายที่เพิ่มขึ้นและมีความสัมพันธ์กับภาวะวิกฤติ
การฝึกทักษะการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
ส่งเสริมให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตเรียนรู้การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้กลไกการเผชิญปัญหา
เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตพูดถึงกลวิธีการเผชิญปัญหาที่เคยใช้มาก่อน
แสดงการยอมรับ ชื่นชม และให้กำลังใจบุคคลที่มีภาวะวิกฤตอย่างสม่ำเสมอ
การส่งเสริมการแสวงหาและเตรียมความพร้อม
ส่งเสริมสนับสนุนและวางแผนร่วมกันกับบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ประเมินความพร้อมและติดต่อประสานกับครอบครัว ญาติ
เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตพูดถึงศักยภาพของตนเองในการเผชิญกับปัญหา
5) การประเมินผลการพยาบาล
ตัวอย่างผลลัพธ์ทางการพยาบาลสำหรับบุคคลที่มีภาวะวิกฤติ
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติมีความเครียดหรือความวิตกกังวลลดลง
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติมีอาการและอาการแสตงทางกายที่เป็นผลมาจากสถานการณ์วิกฤติของชีวิตลดลง
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติมีวิธีการเผชิญปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติสามารถบอกถึงขั้นตอนหรือวิธีการในการไปขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาชีวิตในอนาคต
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติสามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสมกับบริบทชีวิตของตนเองได้ หากต้องต้องเผชิญกับปัญหาชีวิตในอนาคต