Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล - Coggle Diagram
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยพยาบาลขณะตั้งครรภ์
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1 มีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจาก ได้รับ Gensulin N และ Novorapid penfill
ข้อมูลสนับสนุน
SD : -
OD :
ครรภ์ที่ 3 เป็นเบาหวานชนิด GDM
น้ำหนัก 74.2 kg. ส่วนสูง 157 cm. BMI (ก่อนการตั้งครรภ์) = 30.10 kg/m2
ตรวจ Bs 50 g.= 234 mg%
ผลตรวจปัสสาวะ GA 33 wks. 1 day by u/s 22/12/63 Sugar :+3 Albumin:+2
ตรวจ OGTT = 108-242-198-95 (ผิดปกติ 3 ค่า)
ได้รับยาลดน้ำตาล Gensulin N และ Novorapid penfill
วัตถุประสงค์การพยาบาล
ไม่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
เกณฑ์การประเมินผล
1.ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น เหงื่อออกมาก ตัวเย็น ใจสั่น เวียนศีรษะ ซึม สับสน
2.ค่าน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 60-95 mg%
3.ไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ หรือพบเพียงปริมาณเล็กน้อย
4.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ความดันโลหิต 100/60-130-80 mmHg ชีพจร 60-100 ครั้ง/นาที หายใจ 16-24 ครั้ง/นาที
กิจกรรมการพยาบาล
1.สอบถามและประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่ เหงื่อออกมาก ตัวเย็น ใจสั่น เวียนศีรษะ ซึม สับสน
2.หากมีอาการน้ำตาลต่ำ ให้ดื่มน้ำหวาน 1 แก้ว น้ำผึ้ง ลูกอมหวาน หรือน้ำผลไม้
3.แนะนำการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา
4.ควรพกน้ำตาลหรือลูกอมติดตัวเสมอ
5.ติดตามระดับน้ำตาลหลังรับประทานขนมหวาน เพื่อรักษาอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ ให้รอ 15 นาที ก่อนวัดระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้ง
6.ติดตามระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง
7.ประเมินสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง
ประเมินผล
ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่ เหงื่อออกมาก ตัวเย็น ใจสั่น เวียนศีรษะ ซึม สับสน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 2 เสี่ยงต่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจาก GDMA2
ข้อมูลสนับสนุน
SD : -
OD :
ครรภ์ที่ 3 เป็นเบาหวานชนิด GDM
น้ำหนัก 74.2 kg. ส่วนสูง 157 cm. BMI (ก่อนการตั้งครรภ์) = 30.10 kg/m2
ผลตรวจปัสสาวะ GA 33 wks. 1 day by u/s 22/12/63 Sugar : +3 Albumin : +2
ตรวจ Bs 50 g.= 234 mg%
ตรวจ OGTT = 108-242-198-95 (ผิดปกติ 3 ค่า)
วัตถุประสงค์การพยาบาล
ไม่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
เกณฑ์การประเมินผล
1.ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เช่น หิวบ่อย กินจุ กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย
2.ค่าน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 60-95 mg%
3.ไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ หรือพบเพียงปริมาณเล็กน้อย
4.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ความดันโลหิต 100/60-130-80 mmHg ชีพจร 60-100 ครั้ง/นาที หายใจ 16-24 ครั้ง/นาที
กิจกรรมการพยาบาล
1.ดูแลให้ Gensulin N 10 unit sc hs. และ Novorapid penfill 14-6-6-0 unit sc ac เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ปกติ ให้ Insulin ให้ตรงเวลา
2.แนะนำให้รับประทานอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ
-อาหารว่าง 10.00 น. เช่น กล้วยน้ำว้า หรือมะละกอ 8 ชิ้น ส้ม 1 ผล
-อาหารว่าง 14.00 น. เช่น กล้วยน้ำว้า หรือมะละกอ 8 ชิ้น ส้ม 1 ผล ก่อนนอนให้กินนมจืด 1 กล่อง
3.แนะนำอาหารเบาหวาน 1800 แคลอรี่ต่อวัน
4.แนะนำรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
5.ควบคุมน้ำหนักมารดาให้เพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม BMI 18.5-24.9kg/m2 (normal weight) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 11.5-16 kg. (ไตรมาสแรก 0.5-2 kg, ไตรมาสสองและสาม 0.5 kg/week) BMI 25-29.9kg/m2 (overweight) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 7-11.5 kg. (ไตรมาสแรก 0.5-2 kg, ไตรมาสสองและสาม 0.25 kg/week) BMI > 30 kg/m2 ควรเพิ่ม 5-9 kg. (0.22 kg/week)
6.งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่
7.แนะนำให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น การเดิน และการวิ่งบนเครื่องออกกำลังกาย แบ่งทำวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 5-10 นาที
8.สังเกตอาการหิวบ่อย กินจุ กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย แสดงว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
9.ติดตามระดับน้ำตาลขณะงดอาหาร DTX หลังรับประทานอาหารและก่อนนอน ถ้าระดับน้ำตาลสูง 240 mg% นาน 24 ชั่วโมง ให้มาพบแพทย์ทันที
ประเมินผล
ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เช่น หิวบ่อย กินจุ กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย
ข้อวินิจฉัยพยาบาลระยะคลอด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1 ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Hypovolemic shock จากการเสียเลือด ระหว่างการผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
SD: -
OD:
1.บริเวณที่ผ่าตัดเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมาก การผ่าตัดจึงถูกเส้นเลือดง่าย และอาจ ทำให้เสียเลือดมากระหว่างผ่าตัด
2.การเสียเลือดระหว่างการผ่าตัด 500 ml
3.ความดันโลหิต 128/72 mmHg
4.ชีพจร 90 ครั้ง/นาที
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะช็อค
เกณฑ์การประเมิน
1.สัญญาณชีพปกติ T= 36.5-37.4 องศาเซลเซียส P = 60-100 ครั้ง / นาที RR = 12-24 ครั้ง/นาที BP = systolic 90-140mmHg , Diastolic 60-90 mmHg
2.Hct. ≥ 30%
3.O2Sat 95-100 %
4.ปัสสาวะออก ≥ 30 มล./ชม.
กิจกรรมการพยาบาล
จัดเตรียมเตรียมเลือดไว้ก่อนการผ่าตัด พร้อมตรวจสอบความถูกต้องของเลือด และส่วนประกอบของเลือด
ประเมินและบันทึกระดับสัญญาณชีพของผู้ป่วยทุก 5 นาที และประเมินระดับการรู้สึกตัวตลอดระยะเวลาการ ผ่าตัด
ประเมินการสูญเสียเลือดจากบาดแผลผ่าตัด โดยต้องรีบรายงานสูติแพทย์และวิสัญญีแพทย์ ถ้าพบว่ามีการเสีย เลือดมาก
ตรวจสอบระดับ ฮีมาโตคริต ถ้าพบว่ามีระดับน้อยกว่า 30 % ต้องรายงานแพทย์เพื่อให้เลือดทดแทน ก่อนให้ ต้องตรวจสอบความถูกต้องอีกครั่งหนึ่ง พร้อมทั้งลงบันทึกให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ให้ได้รับยาและสารน้ำ
ดูแลให้ได้รับได้รับ ARI 1,000 ml. + syntocinon 30 unit เป็นยากระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูก และเฝ้าระวังผลข้างเคียงจากการใช้ยา คือ อาจทำให้ความดันโลหิตต่ำ ตามแผนการรักษาของแพทย์ และบันทึกปริมาณของสารน้ำเข้าออก
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ Hypoxia
การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะ Hypovolemic shock ผู้ป่วยมีสัญญาณชีพอยูในระดับปกติ T= 36.4 องศาเซลเซียส P= 90 ครั้ง/นาที BP = 128/72 mmHg RR = 20 ครั้ง/นาที
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 2 เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกและ ยาป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
ข้อมูลสนับสนุน
SD : -
OD: -ได้รับ ARI 1,000 ml. + syntocinon 30 unit
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยากระตุ้นการ หดรัดตัวของมดลูก
เกณฑ์การประเมินผล
1.สัญญาณชีพปกติ T= 36/5-37.4 องศาเซลเซียส P= 60-100 ครั้ง/นาที BP = อยู่ในช่วง systolic 90-140 mmHg ,Diastolic 60-90 mmHg RR = 12-24 ครั้ง/นาที
2.ไม่มีอาการและอาการแสดงมดลูกแตก (Rupture of the uterus) เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด กดเจ็บ บริเวณหน้าท้อง หน้าท้องมองเห็นสองลอน ปวดบริเวณเหนือหัวเหน่า ผู้คลอดกระสับกระส่าย กระวนกระวาย ชีพจรเบาเร็ว หายใจไม่สม่ำเสมอ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินผลข้างเคียงจากการได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกโดยสังเกตการณ์หดรัดตัวของมดลูกและ ความดันโลหิตต่ำ
ประเมินสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที 4 ครั้ง และ 30 นาที 2 ครั้ง จนครบ 2 ชั่วโมง โดยเน้นที่ความดันโลหิต ชีพจร และอัตราการหายใจ
3.ประเมินอาการและอาการแสดงมดลูกแตก (Rupture of the uterus) - อาการและอาการแสดงก่อนมดลูกแตก : ปวดท้องอย่างรุนแรง มี Hypovolemic shock อาการและอาการแสดงมดลูกแตกแล้ว : มีเลือดออกทางช่องคลอด กดเจ็บบริเวณหน้าท้อง หน้าท้องมองเห็นสอง ลอน ปวดบริเวณเหนือหัวเหน่า ผู้คลอดกระสับกระส่าย กระวนกระวาย ชีพจรเบาเร็ว หายใจไม่สม่ำเสมอ
ดูแลสายสวนปัสสาวะไม่ให้หัก พับ งอ และ urine bag อยู่ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะ เพื่อช่วยให้มดลูกหดรัดตัว ได้ดี ป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
ประเมินผล
สัญญาณชีพปกติ T= 36.1 องศาเซลเซียส P= 88 ครั้ง/นาที BP = 128/83 mmHg RR = 18 ครั้ง/นาที
ไม่มีอาการและอาการแสดงมดลูกแตก (Rupture of the uterus)
ข้อวินิจฉัยพยาบาลระยะหลังคลอด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 1 มารดามีโอกาสเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมีแผลผ่าตัดและแผลบริเวณมดลูก
ข้อมูลสนับสนุน
SD : -
OD :
มารดาหลังคลอดได้รับการผ่าตัดคลอด C/S มี blood loss 500 ml. (20/01/64)
มารดาหลังคลอดมีแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้อง และแผลบริเวณมดลูก
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะตกเลือด
เกณฑ์การประเมินผล
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
อุณหภูมิร่างกาย 36.5 – 37.5 C
ความดันโลหิต 90/60 – 140/90 mmHg
อัตราการเต้นของหัวใจ 60 – 100 bpm
อัตราการหายใจ 16 – 20 bpm
ไม่มีอาการแสดงของภาวะตกเลือด เช่น หน้ามือ ใจสั่น มือเย็น ซีด วิงเวียนศีรษะ
ไม่มีอาการเเสดงของภาวะช็อค
บริเวณแผลผ่าตัดทางหน้าท้อง ไม่มี bleeding หรือ discharge ซึม
กระเพาะปัสสาวะไม่โป่งตึงปัสสาวะได้เองภายใน 6-8 ชั่วโมง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้องและเลือดหรือน้ำคาวปลาที่ออกจากช่องคลอด ปริมาณ สี ลักษณะ ของเลือดที่ออกช่องคลอดซึ่งต้องออกน้อยกว่า 1,000 ml. ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดโดยใส่แผ่นอนามัยไว้และจด บันทึกว่าใช้ผ้าอนามัยทั้งหมดกี่แผ่นโดยหากมีเลือดออกผ้าอนามัย 1 แผ่นชุ่มเท่ากับ 50 cc. เพื่อประเมินปริมาณ สี ลักษณะของเลือด
ประเมินสัญญาณชีพของผู้คลอดทุก 4 ชั่วโมงถ้าพบว่าสัญญาณชีพผิดปกติเช่น หายใจเร็ว ชีพจร เบาเร็ว ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นในระยะแรกและเริ่มลดต่ำลงในระยะหลังและมี Pulse Pressure แคบลงควรรีบ รายงานแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที
ดูแลเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะของมารดาหลังคลอด retained foley’s catheter เพราะถ้ากระเพาะ ปัสสาวะเต็มจะส่งผลท้าให้มดลูกให้สูงขึ้นเนื่องจากกระเพาะปัสสาวะไปเบียดมดลูกให้ลอยสูงขึ้นจากปกติ
สอบถามอาการของมารดาเกี่ยวกับความรู้สึกเหนื่อยอ่อนเพลียหน้ามืดเวียนศีรษะใจสั่นหรือไม่เพราะ เป็นอาการของการสูญเสียเลือดและน้ำของร่างกายมากกว่าปกติ
ให้แนะนำในการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันภาวะตกเลือด ดังนี้
ให้ทารกได้ดูดนมบ่อยๆ เพราะจะทำให้ร่างกายของผู้คลอดหลั่งฮอร์โมน oxytocin ออกมา ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะช่วยในเรื่องการหดรัดตัวของมดลูกได้
ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะ อาหารที่เป็น high protein เช่น เนื้อ นม ไข่ หรือผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม เพราะสารอาหารเหล่านี้จะ ช่วยซ่อมแซมแผลให้หายได้เร็วขึ้น
หากมีอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด ใจสั่น วิงเวียนศีรษะ เปลี่ยนผ้าอนามัยมากกว่า 2 ชิ้น ภายใน 1 ชั่วโมง ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบ การประเมินผล
การประเมินผล
สัญญาณชีพภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 36.1 องศาเซลเซียส
อัตราการเต้นของหัวใจ 88 ครั้งต่อนาที
ความดันโลหิต 123/78mmHg
อัตราการหายใจ 18 ครั้งต่อนาที
Pain Scores 1 คะแนน
ผู้ป่วยไม่มีอาการหน้ามืดใจสั่นตัวเย็นเหงื่อออก ไม่มีอาการอ่อนเพลีย
แผลผ่าตัดทางหน้าท้อง ไม่มี bleeding หรือ discharge ซึม
กระเพาะปัสสาวะไม่โป่งตึง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 2 มารดามีภาวะไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
SD:
มารดาหลังคลอดบอกว่า “ปวดบริเวณแผล เวลาเปลี่ยนท่าค่ะ”
OD:
มีแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้อง
หน้านิ่ว คิ้วขมวด เมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย
ประเมินระดับความปวด ให้คะแนนความปวด = 1 คะแนน
วัตถุประสงค์
เพื่อบรรเทาอาการปวดแผลผ่าตัดและปวดมดลูก
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่บ่นปวดแผลผ่าตัดหรือ Pain score ลดลงจากเดิม
มีสีหน้าสดชื่นขึ้น เคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น นอนหลับพักผ่อนได้
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินระดับความปวด โดยใช้คะแนนความปวด (Pain score)
คะแนน 1-2 หมายถึงยอมรับได้ไม่ต้องการรักษาพยาบาล
คะแนน 3-4 หมายถึงมีอาการปวดเล็กน้อยพอทนได้
คะแนน 5-6 หมายถึงปวดปานกลาง บางครั้งต้องการบรรเทาด้วยวิธีใด-วิธีหนึ่ง อาจไม่จ้าเป็นต้อง ใช้ยาแก้ปวด คะแนนมากกว่า 6 ขึ้นไป ควรได้รับการบ้าบัดรักษาอาจใช้ยาแก้ปวดร่วมด้วย โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ ถึง 10 หรือผู้ป่วยบอกว่าทนไม่ไหว
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่า Fowler’s position หลังครบนอนราบ 12 ชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้อง หย่อนตัวจากการที่ข้อสะโพกงอ ช่วยลดอาการตึงแผลผ่าตัด ท้าให้เจ็บแผลน้อยลง
แนะนำการเคลื่อนไหว เปลี่ยนอิริยาบถให้ใช้มือหรือหมอนนุ่ม ๆ พยุงแผลผ่าตัดและให้เปลี่ยนอิริยาบถ ช้า ๆ ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล
ขณะไอให้ใช้มือพยุงแผลไว้และให้หายใจเข้าช้า ๆ แล้วไอออกมาแรง ๆ
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดและสงบ เพื่อให้มารดาพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลง
การประเมินผล
เคลื่อนไหวร่างกายดีขึ้น แสดงสีหน้าเจ็บปวดเล็กน้อยเป็นบางครั้ง
นอนหลับพักผ่อนได้
Pain score = 0 คะแนน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 4 มารดามีโอกาสเกิดภาวะท้องผูกหลังคลอด
ข้อมูลสนับสนุน
SD:
มารดาหลังคลอดบอกว่า “เวลาขยับมาก ๆ จะปวดแผลเลยไม่อยากขยับตัว”
OD:
มารดาคลอดด้วยวิธี C/S
-มารดายังไม่ถ่ายมา 3 วัน
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
มารดาไม่เกิดการท้องผูก
เกณฑ์การประเมินผล
มารดาสามารถอุจจาระได้เอง อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
มารดาไม่มีอาการแน่นอึดอัดท้อง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความรุนแรงของอาการท้องผูก
อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงสาเหตุของการท้องผูกหลังคลอดที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อให้มารดาได้ตระหนักและ ป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องผูกขึ้น การท้องผูกหลังคลอดนั้นเกิดจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ส่วนที่ต้องบีบ อุจจาระออกมามีการชะลอตัว ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่กล้ามเนื้อหน้าท้องของมารดานั้นยังหย่อนอยู่ ทำให้ ความดันภายในช่องท้องลดลง ประกอบกับฮอร์โมน Progesterone ที่มีการผลิตเพิ่มสูงขึ้นในระหว่างการ ตั้งครรภ์ ทำให้กล้ามเนื้อของลำไส้มีการคลายตัว จึงทำให้มารดาอาจมีอาการท้องผูกหลังคลอดได้
แนะนำการรับประทานอาหารให้แก่มารดา ให้มารดารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ตาม หลักของโภชนาการ โดยเฉพาะอาหารที่มีกากใยสูง ควรรับประทานเพิ่ม เพราะอาหารที่มีกากใยสูงจะช่วย ให้ขับถ่ายได้สะดวก อุจจาระนิ่ม ไม่แข็ง และยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดริดสีดวงได้อีกด้วย อาหารที่ กากใยมาก เช่น -ผัก : ผักโขม บรอกโคลี มะเขือเทศ แครอท ใบชะพลู ใบยอ ใบตำลึง ใบกระเพรา ใบขี้เหล็ก เป็นต้น
-ผลไม้ : มะม่วงสุก องุ่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง ส้ม กล้วย มะละกอสุก มะพร้าว แตงโม
-ธัญพืช : ข้าวกล้อง ลูกเดือย ข้าวโอ๊ต และขนมปังโฮลวีต หรืออาหารที่ไม่ขัดสี
แนะน้าให้มารดาดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้วต่อวัน หรือวันละ 2 – 3 ลิตรต่อวัน จะช่วยในการ กระตุ้นการขับถ่ายได้ดีขึ้น
แนะน้าให้มารดาดื่มน้ำผลไม้ก่อนนอน เช่น น้ำลูกพรุน ลูกพรุนถือว่าเป็นผลไม้ที่มีกากใยสูง และเป็นยา ระบายตามธรรมชาติ ช่วยในการกระตุ้นการขับถ่าย
แนะนำให้มารดาหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดท้องผูก หรือเครื่องดื่มที่มักจะทำให้ท้องผูก เช่น แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลมเป็นต้น สำหรับมารดาที่ต้องการรับประทานอาหารอย่างอื่นที่นอกเหนือจาก ผัก ผลไม้ และธัญพืช ให้มารดาเปลี่ยนมารับประทานโยเกิร์ต นมเปรี้ยว
แนะนำให้มารดาออกกำลังกายเบา ๆ หรือเดิน เพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ท้าให้การขับถ่ายดีขึ้น ให้มารดาออกกำลังกายโดยเฉพาะการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง เช่น การเดินเร็ว ๆ การว่ายน้ำ เป็นต้น
การประเมินผล
-มารดายังไม่ถ่ายอุจจาระ มีผายลม
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 3 มารดาหลังคลอดเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเนื่องจากร่างกายอ่อนเพลียจากการ เสียเลือดและน้ำหลังคลอด
ข้อมูลสนับสนุน
SD :
มารดาหลังคลอดบอกว่ารู้สึกว่าเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวกเนื่องจากมีแผลผ่าตัดบริเวณหน้า ท้อง เวลาเปลี่ยนท่ารู้สึกเจ็บแผล
OD :
มารดาหลังคลอดคลอดบุตรด้วยวิธีการผ่าตัดคลอด
มารดาหลังคลอดสูญเสียเลือด 500 ml
มารดาหลังคลอดมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
fall score = 3 คะแนน
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้ม
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้คลอดไม่เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้คลอด อาการอ่อนเพลีย และ fall score เพื่อวางแผนการพยาบาล ป้องกันการพลัดตกหกล้ม
ดูแลให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียง 8 – 10 ชั่วโมง
ช่วยเหลือมารดาหลังคลอดทำกิจกรรมที่มารดาหลังคลอดไม่สามารถทำได้ หรือช่วยอำนวยความ สะดวก
จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย มีแสงสว่างเพียงพอ และจัดของให้ผู้คลอดสามารถหยิบใช้งาน ได้สะดวก
ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทั้ง 2 ข้างทุกครั้งหลังให้การพยาบาล เพื่อป้องกันผู้คลอดพลัดตกเตียง
แนะนำให้ผู้คลอดรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และเพียงพอกับความ ต้องการของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายมีแรง ป้องกันการพลัดตกหกล้ม
การประเมินผล
ผู้คลอดไม่เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม
fall score = 3 คะแนน
ข้อข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 5 มารดามีโอกาสเกิดภาวะติดเชื้อในระยะหลังผ่าตัดคลอด เนื่องจากมีแผล บริเวณหน้าท้องและในโพรงมดลูก
ข้อมูลสนับสนุน
SD : -
OD :
มารดาหลังคลอดมีแผลผ่าตัดที่หน้าท้อง
มีน้ำคาวปลาไหลตลอดเวลา (Lochia rubra)
วัตถุประสงค์
ไม่มีภาวะติดเชื้อหลังผ่าตัดคลอด
เกณฑ์การประเมินผล
1.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนี้ อุณหภูมิร่างกาย 36.5-37.4 องศาเซลเซียส อัตราการเต้นของชีพจร 60-100 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 18-24 ครั้ง/นาที ความดันโลหิตค่า Systolic อยู่ในช่วง 90-140 มิลลิเมตรปรอท และค่า Diastolic อยู่ในช่วง 60-90 มิลลิเมตรปรอท
2.แผลผ่าตัดไม่มี Discharge ซึม ไม่มีการอักเสบบวม แดง ร้อน
3.น้ำคาวปลาไหลสะดวก ไม่มีกลิ่นเหม็น มีการเปลี่ยนแปลงปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินลักษณะแผลแผลผ่าตัดและน้ำคาวปลา ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น แผลผ่าตัดมี Discharge ซึม มีการอักเสบ บวม แดง ร้อน น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น ควรรายงานแพทย์
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์จากหน้าไปหลังทุกครั้งหลังถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะแนะน้าให้เปลี่ยน ผ้าอนามัยทุก 3-4 ชั่วโมงหรือเมื่อเปียกชุ่ม
ตรวจและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะติดเชื้อ
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เพื่อส่งเสริมการหายของแผลให้เร็วขึ้น
การประเมินผล
แผลผ่าตัดไม่มี Discharge ซึมเปื้อนผ้าก๊อซปิดแผล ไม่มีการอักเสบบวม แดง ร้อน
น้ำคาวปลาสีแดง ไหลสะดวก ไม่มีกลิ่นเหม็น
สัญญาณชีพปกติ - อุณหภูมิร่างกาย 36.1 องศาเซลเซียส
อัตราการเต้นของชีพจร 88 ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ 18 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต 128/83 มิลลิเมตรปรอท
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 6 ส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและการให้นมอย่างถูกวิธี
ข้อมูลสนับสนุน
SD : -
OD :
มารดาเอาลูกเข้าเต้าไม่ถูกวิธี
วัตถุประสงค์
เพื่อคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตร
เพื่อให้มารดามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างน้อย 6 เดือน
เพื่อให้มารดามีความมั่นใจ สามารถให้บุตรดูดนมได้ถูกวิธีและมีปริมาณน้ำนมเพียงพอ
เกณฑ์การประเมินผล
มารดามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างน้อย 6 เดือน
มารดาให้นมบุตรได้อย่างถูกต้องและมีปริมาณน้ำนมเพียงพอ
ทารกดูดนมได้ทุก 2-3 ชั่วโมง ไม่ร้องกวน
เต้านมมารดาไม่คัดตึง ไม่มีการอักเสบ
คลายความวิตกกังวลมีความมั่นใจในการเลี้ยงดูบุตร
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการและประเมินความวิตกกังวล
เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการระบายความรู้สึกวิตกกังวล ซักถามข้อสงสัย
ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และอธิบายให้ทราบถึงกลไกการหลั่งน้ำนมระยะหลังคลอด 1 วันน้ำนมที่สร้างยังมีปริมาณน้อย ต้องได้รับการกระตุ้นโดยให้ทารกดูดนมหลังคลอดภายใน ½ - 1 ชั่วโมงซึ่งเป็น ระยะทารกตื่นตัว ให้ทารกดูดนมมารดาทุก 2-3 ชั่วโมงหรือตามที่ทารกต้องการวันละ 9-10 ครั้งและให้ดูดอย่าง ถูกวิธี โดยสอดหัวนมเข้าปากให้พอดีกับจังหวะอ้าปากของทารก ให้ทารกอมหัวนมเข้าไปลึกจนเหงือกกดบริเวณ ลานนม ให้ดูดข้างละ 15-20 นาทีและสลับข้างดูด ครั้งต่อไปให้ดูดข้างที่ให้ดูดครั้งที่แล้วก่อน เพราะน้ำนมที่ เหลือค้างเต้าจะมีพลังงานสูงและป้องกันไม่ให้เต้านมคัดตึง
แนะน้ำการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพิ่มเนื้อสัตว์ นมไข่ ผัก ผลไม้ กินให้ครบ 3 มื้อและดื่ม น้ำประมาณวันละ 15-20 แก้ว เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์พร้อมผลิตน้ำนม
อธิบายให้ทราบว่าความเครียดหรือความวิตกกังวลมีผลต่อการผลิตน้ำนม ควรทำตัวให้สบายทั้ง ร่างกายและจิตใจ และสร้างความมั่นใจว่าจะให้ทารกดูดนมได้
สอนสาธิตท่าให้นมบุตรทั้งท่านั่งและท่านอน โดยในช่วง 12 ชั่งโมงหลังผ่าตัดสอนในท่านอน (Side lying position) หลังจากนั้นฝึกในท่าฟุตบอล ซึ่งเหมาะสำหรับมารดาผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง เพื่อช่วยลดอาการ ปวดแผลผ่าตัด และสอนการบีบน้ำนมที่ถูกต้อง
การประเมินผล
มารดามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียว 6 เดือน
สามารถอุ้มบุตรดูดนมได้ถูกต้อง น้ำนมไหลเล็กน้อย
เต้านมมารดาคัดตึงลดลง
มารดามีสีหน้าสดชื่นขึ้น มีความมั่นใจในการเลี้ยงดูบุตร