Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการพยาบาลพื้นฐานของการพยาบาลจิตเวช - Coggle Diagram
หลักการพยาบาลพื้นฐานของการพยาบาลจิตเวช
บทบาทพยาบาล
ระดับพื้นฐาน
เป็นผู้จัดสรรสิ่งแวดล้อมเพื่อการรักษา
สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับบุคคล วัตถุและสภาพความเป็นอยู่
จัดสภาพหอให้คล้ายกับบ้าน
คำนึงถึงความสะดวกสบาย สวยงามและสุขอนามัย
เป็นเหมือนตัวแทนของแม่
เลี้ยงดูหรือบำรุงเลี้ยงให้ผู้รับบริการมีความสุขสบาย
ดูแลห้ามปรามไม่ให้ผู้รับบริการทะเลาะวิวาทกัน
คอยประคับประคองจิตใจในระยะต้นๆ
ให้เรียนรู้ประสบการณ์ที่ดีต่างๆและแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม
เป็นตัวแทนสังคม
มีหน้าที่ช่วยให้ผู้รับบริการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
จัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้รับบริการแสดงออกถึงความสามารถและกล้าแสดงตัวอย่างที่เหมาะสมในสังคม
เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ
รับฟังผู้รับบริการ
ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือตามความเหมาะสม
พยาบาลเป็นเสมือนครู
สอนกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันแก่ผู้รับบริการที่ขาดความสนใจตัวเอง
บอกกิจกรรมที่ผู้รับบริการต้องทำในขณะที่อยู่โรงพยาบาล
แนะนำการอยู่ร่วมกันในหอผู้รับบริการ
ทางการรักษาพยาบาลที่ใช้เทคนิคทางการพยาบาล
มีหน้าที่ในการพยาบาลพื้นฐานทุกประเภท
ช่วยแพทย์ทำการรักษาทางร่างกาย
สังเกตพฤติกรรมและบันทึกข้อมูลข่าวสารแก่ทีมรักษาพยาบาล เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
บทบาทหน้าที่ระดับสูง
ที่ปรึกษา
มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง
ให้คำปรึกษาและแนะแนวแก่บุคคลที่มีปัญหาหรืออยู่ในภาวะวิกฤต เพื่อลดความเครียด
ผู้ติดต่อให้ความร่วมมือ
ให้การช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตในแผนกต่างๆ
ประเมินพฤติกรรมให้การวินิจฉัยและวางแผนการพยาบาลแก่ผู้รับบริการ
ผู้บำบัดรักษาเบื้องต้น
คัดกรองผู้รับบริการและให้การบำบัดรักษาในเบื้องต้น
ในโรงพยาบาล ขั้นต้นอาจให้คำปรึกษา ให้จิตบำบัดประคับประคองให้ยาตามแผนการรักรักษาของแพทย์
ผู้นำการบำบัด
หน้าที่
สร้างสัมพัธภาพกับผู้รับบริการเชิงการรักษา
ทำจิตบำบัดประคับประคอง
ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้รับบริการ
ให้ความรู้
ผู้ประสานงาน
ดำรงไว้ซึ่งสิทธิของผู้ป่วยและคุณภาพของงานบริการ
บทบาทอิสระ กึ่งอิสระ และไม่อิสระ
บทบาทอิสระ คืองานที่พยาบาลทำได้โดยตัดสินใจเอง
บทบาทกึ่งอิสระ คืองานที่พยาบาลตัดสินใจเอง ภายใต้กรอบของสหวิชาชีพ
บทบาทไม่อิสระ คืองานที่พยาบาลทำโดยรับคำสั่งจากวิชาชีพอื่น
หลักการพื้นฐานของการพยาบาลจิตเวช
คุณลักษณะ
มีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตเวช
การพยาบาลจิตวิทยา
สังคมวิทยาปัญหาสังคม
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการช่วยเหลือผู้รับบริการได้อย่างถูกต้อง
ยอมรับในพฤติกรรมของผู้รับบริการและหาแนวทางแก้ไขให้ดีขึ้น
มีความสม่ำเสมอในการกระทำและคำพูด เป็นที่ไว้วางใจสำหรับผู้รับบริการ
มีความเป็นอิสระและเชื่อถือในตนเอง
มีความอดทน เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
หลักการพยาบาลจิตเวช
1) Patient need to be accepted exactly as they are
ผู้ป่วยต้องการการ ยอมรับในสภาพที่เขาเป็นอยู่
การรับรู้และยอมรับในพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออก
ด้านการกระทำ
คำพูด
ความคิด
ยอมรับว่าผู้ป่วยเป็นบุคคลหนึ่ง
การใช้คำพูด (Verbal)
โดยกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความรู้สึกไม่สบาย
ความคับข้องใจต่างๆ
การใช้พฤติกรรมแสดงการยอมรับ (Non-verbal)-
การแสดงออกทางสีหน้า สายตา
ท่าทีที่แสดงความจริงใจ
การรับฟัง การนั่งเป็นเพื่อน
การให้ความช่วยเหลือ
ไม่แสดงการตำหนิหรือลงโทษ
2) Self-understanding is uses as a therapeutic tools
ความเข้าใจตนเอง เป็นเครื่องมือในการรักษา
การเข้าใจ และรับรู้ในการกระทำ ความคิด และอารมณ์ของ ตนเอง
พยาบาลต้องใช้ความเข้าใจตนเองเป็นเครื่องมือในการรักษาผู้ป่วย
เป็นพื้นฐานส่งเสริมความเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้อื่น
ช่วยในการตอบสนองความต้องการ
ช่วยในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย
3) Consistency can be used to contribute to the patient security
ความสม่ำเสมอจะช่วยให้เกิดความมั่นคงทางจิตใจ
การปฏิบัติตัวอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
เกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นคง
เกิดความรู้สึกไว้วางใจ
ความเชื่อถือในตัวพยาบาล
5) Change in patient behavior through emotional experience not by rational interpretation
พฤติกรรมของผู้ป่วยจะเปลี่ยนได้เมื่อผู้ป่วยมีประสบการณ์ทางอารมณ์แต่ จะไม่เปลี่ยนด้วยการให้เหตุผล
ประสบการณ์ทางอารมณ์ (Emotional experience)
ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดจากการได้พบเห็นสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองมาก่อน
การให้เหตุผล (Rational interpretation)
การอธิบายโดยใช้เหตุผลเพื่อให้บุคคลเปลี่ยนความคิด ท่าที และพฤติกรรม ต่างๆ
8) Realistic nurse-pantient-relationship
สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลเเละผู้ป่วย ต้องเป็นไปด้วยความจริงใจเเละถูกต้องตามเเบบของวิชาชีพ
Professional relationship จะต้องมี
ระยะเวลาเริ่มต้น
ระยะสร้างสัมพันธภาพ
ระยะสิ้นสุดสัมพันธภาพ
7) Observation of mentally ill patient directed toward “Why” of behavior
การสังเกตผู้ป่วยด้วยการใช้คำถามกับตนเองว่า “ทำไม” ผู้ป่วยจึงมีพฤติกรรมเช่นนั้น
การใช้คำถามว่า “ทำไม”
จะช่วยให้พยาบาลทราบและเข้าใจพฤติกรรม
ความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งจะเป็นผลให้สามารถปฏิบัติการ
พยาบาลจึงควรมีลักษณะ 3 ประการ
มีการตระหนักรู้ในตนเอง (Awareness)
มีการตื่นตัวและไว (Alertness)
สังเกตอย่างตรงไปตรงมา (Objectivity)
6) Avoiding increase in patient anxiety
หลีกเลี่ยงการเพิ่มความวิตกกังวล ให้กับผู้ป่วย
ต้องมีความระมัดระวังในการกระทำที่จะไม่ไปสร้างความกระทบกระเทือนใจผู้ป่วย
ทำให้เกิดความวิตกกังวลได้
9) Nursing care centered on patient as a person not on control of symptoms
การพยาบาลต้องคำนึงถึงความเป็นบุคคลและปัญหาของผู้ป่วย ไม่ใช่เพื่อการควบคุม อาการของผู้ป่วย
ควรพิจารณาตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยเป็นเฉพาะรายไป และปฏิบัติด้วย ความเหมาะสม
4) Reassurance must be given in a suitable and in an acceptable manner
การให้กำลังใจควรทำอย่างเหมาะสมในท่าทีที่ยอมรับผู้ป่วย
การให้กำลังใจผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ไม่ให้กำลังใจมากไปเพราะจะทำให้หมดคุณค่า
ต้องเป็นความจริง
มีไหวพริบที่จะให้กำลังใจในเวลาที่เหมาะสมถูกจังหวะความต้องการของผู้ป่วย
พยาบาลต้องเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย
10) Routines and procedures explained at patients level of understanding
กิจวัตรประจำวันหรือกิจกรรมต่างๆ ควรอธิบายตามระดับความเข้าใจของผู้ป่วย
คำนึงถึงสภาพความพร้อมของผู้ป่วย ใช้ภาษาที่ง่ายๆ ได้ใจความ ต้องอธิบายบ่อยๆ หรือทบทวน เป็นระยะๆ
11) Verbal and physical force avoided if possible
หลีกเลี่ยงการใช้ คำพูดหรือกำลังบังคับผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น
12) Many procedures modified but basic principle unaltered
วิธีการต่างๆ ในการให้การพยาบาลเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมแต่หลักการต้องคงเดิม
เจตคติต่อการเจ็บป่วย
1) ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจไม่สามารถแยกออกจากกันได้
2) มนุษย์ทุกคนมีคุณค่าและศักดิ์ศรีของตนเอง พยาบาลต้องเข้าใจและยอมรับ
3) มนุษย์ทุกคนต้องการความช่วยเหลือประคับประคองด้านจิตใจ โดยเฉพาะ ในการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
4) มนุษย์ทุกคนมีความต้องการทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ที่อยู่อาศัย ความ อบอุ่น อาหาร เสื้อผ้า การสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม
5) การสื่อสารเป็นการแลกเปลี่ยนในสังคม ทั้งการพูด การเขียน การแสดงสี หน้า ท่าทาง และน้ำเสียง พยาบาลควรระมัดระวังในคำพูดและท่าทีที่มีต่อผู้ป่วย
6) การรับรู้เกี่ยวกับความเป็นจริงเป็นลักษณะเฉพาะตัว เหตุการณ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นการพูด การเห็น
7) การสำนึกระมัดระวังตนเอง (Self-awareness) พยาบาลจะต้องระมัดระวังความรู้สึก ของตนเองที่จะมีต่อการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย
8) อัตมโนทัศน์เกิดจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงในสังคม บุคคลจะรู้ว่า ตนเองมีฐานะอะไรในสังคม
9) ความคิดความรู้สึก อารมณ์และปฏิกิริยาก่อให้เกิดพฤติกรรมความเข้าใจ ในสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความไวต่อการรับรู้จากการสังเกต
10) พฤติกรรมทุกอย่างมีความหมาย แนวคิดนี้ทำให้พยาบาลได้ช่วยให้ผู้ป่วย ได้รับความช่วยเหลือ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของพยาบาลในการแปลพฤติกรรมของผู้ป่วย
11) พฤติกรรมไม่คงที่ พฤติกรรมของผู้ป่วยอาจเปลี่ยนแปลงในระหว่างที่ เจ็บป่วย พยาบาลต้องคาดการณ์ให้ได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ต้องให้การช่วยเหลือ รับฟัง อธิบาย ให้ ความเชื่อมั่น เพื่อให้ผู้ป่วยไว้วางใจ
12) ความเครียดอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกและความ จำเป็นอื่นๆ พยาบาลต้องค้นหาสาเหตุ อาการ และช่วยผู้ป่วยในการปรับตัวต่อความเครียดนั้น
13) บุคคลมีความสามารถในการเผชิญ (Coping) กับความเครียดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งและกลไกการปรับตัวต่อความเครียด
14) การเจ็บป่วยเป็นการเรียนรู้ชนิดหนึ่ง พยาบาลควรให้ความรู้ผู้ป่วยในเรื่อง เจตคติ พฤติกรรมที่ช่วยลดความวิตกกังวล ท่าทีของพยาบาลควรเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความไว้วางใจให้ ผู้ป่วย และให้ผู้ป่วยฝึกไว้วางใจผู้อื่น
15) ความสนใจและแนวถนัดตามธรรมชาติของแต่ละบุคคลเป็นพลังในการ พัฒนาบุคลิกภาพ การสังเกตและการช่วยเหลือ โดยจัดหากิจกรรมให้ผู้ป่วยกระทำตามความถนัดจึง เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ด้านสังคม ทักษะอาชีพ ซึ่งมีผลต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วย
16) การเจริญเติบโตของมนุษย์และพัฒนาการทางบุคลิกภาพ เป็นผลจาก กระบวนการที่ซับซ้อนในประสบการณ์ชีวิตของบุคคล
17) มโนทัศน์เกี่ยวกับความเจ็บป่วยอาจมาจากวัฒนธรรม สังคม ครอบครัว ความคิด และความเชื่อของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ซึ่งอาจมีอิทธิพลต่อความ เจ็บป่วย การรักษา และการหายจากความเจ็บป่วยของบุคคล
18) ความเจ็บป่วยอาจทำให้การทำหน้าที่ของชีวิตผันแปรหรือต้องพึ่งพาผู้อื่น พยาบาลต้องช่วยประคับประคองด้านอารมณ์ และหาทางช่วยให้ผู้ป่วยมีภาพลักษณ์ (Self-image) ที่ ดี และยอมรับข้อจำกัดของตัวเอง
19) การฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นหัวใจของการบำบัดระยะฟื้นฟูเป็นระยะสำคัญต่อ การบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยกลับสู่สภาวะที่ดีที่สุดทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา
20)การฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นอิทธิพลจากความร่วมมือของผู้ป่วยและครอบครัว
ระบบการดูแลอย่างต่อเนื่อง :
ขอบเขตงานสุขภาพจิตและจิตเวชในระบบสาธารณสุขในประเทศ
กรมสุขภาพจิต
เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบนโยบายและยุทธศาสตร์
หน้าที่
ให้บริการสถาบันจิตเวชศาสตร์
ให้บริการจิตเวชเฉพาะทางในโรงพยาบาล
โรงพยาบาลจิตเวชและสถาบันจิตเวชศาสตร์ มีทั้งหมด 17 แห่ง
การบูรณาการงานสุขภาพจิตเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขแต่ระดับ
การดูแลสุขภาพด้วยตนเองในระดับครอบครัว
เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดีโดยให้การดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติในชุมชน
บริการสาธารณสุขมูลฐาน
ดำเนินการโดยประชาชนเองหรืออาสาสมัคร(อสม.)
ให้ให้สุขภาพจิตศึกษา
คัดคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต
โรคจิต
ออทิสติก
โรคซึมเศร้า
ให้ให้การช่วยเหลือประคับประคองด้านจิตใจ
บริบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ
บริการรักษาพยาบาลระดับแรกที่ให้บริการโดยบุคลากรสาธารณสุข
การบริการ
การคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต
การให้การปรึกษา
การผสมผสานการดูแลสุขภาพจิตในงานอื่นๆ
การฝากครรภ์และคลินิกเด็กดี
บริบริการสุขภาพระดับทุติยภูมิ
ดำเนินการโดยโรงพยาบาลชุมชน
เป็เป็นหน่วยบริการที่ให้บริการรักษาผู้ป่วยนอก
วินิจฉัยและรักษาโรค
ติดตามดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง
ช่วยเหลือฟื้นฟูจิตใจในภาวะวิกฤต
ปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือหน่วยบริการสาธารณสุขมูลฐานและหน่วยบริการปฐมภูมิ
บริการสุขภาพระดับตติยภูมิ
ให้บริการเฉพาะทางโดยผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลศูนย์คณะแพทย์ศาตของมหาลัยและโรงพยาบาลสถาบันจิตเวช
มีจิตแพทย์ร่วมกับทีมสหวิชาชีพบริการจิตเวชครบวงจร
การตรวจประเมินวินิจฉัย
บำบัดรักษาฟื้นฟูตลอดจนการส่งเสริมสนับสนุน
เครือข่ายและบริการสุขภาพจิตชุมชน
ดำเนินการผ่านทาง
โรงเรียน
วัด
องค์กรท้องถิ่นต่างๆ
เป้าหมาย
การป้องกันปัญหา
การส่งเสริมสุขภาพจิต
สนับสนุุนให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในชุมชนได้
มีการจัดตั้งชมรมญาติและผู้ป่วยจิตเวชเพื่อให้การช่วยเหลือซึ่งกัน
ความร่วมมือของชุมชนเป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมสุขภาพจิตชุมชน
ลักษณะการจัดบริการสุขภาพจิตและจิตเวช
บริการผู้ป่วยใน
หมายถึง
ให้บริการผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตที่รุนแรงและจำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลและใช้เวลาในการบำบัดให้สั้นแต่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
การรักษา
การทำจิตบำบัดรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
การบำบัดด้วยการให้ยา
บริการผู้ป่วยนอก
หมายถึง
ให้บริการแก่ผู้ป่วยจิตเวชไม่จำเป็นต้องรับไว้ในโรงพยาบาล ให้การรักษาในระยะสั้น หรือเป็นผู้ป่วยเก่าที่นัด หรือผู้ป่วยใหม่ที่มารักษา
การรักษา
การใช้ยา
จัดบริการหน่วยเคลื่อนที่ ในระดับหมู่บ้าน
ตรวจบำบัดรักษา
ครอบครัวบำบัด
การเยี่ยมบ้าน
การให้คำแนะนำช่วยเหลือ
บริการจิตเวชฉุกเฉิน
หมายถึง
การตรวจรักษาตลอด 24 ชั่วโมง แก่ผู้ป่วยที่เกิดขึ้นกระทันหัน ฉุกเฉินหรือตกอยู่ในภาวะวิกฤต
ตัวอย่าง
ผู้ป่วยอาละวาด
พยายามฆ่าตัวตาย
ติดสารเสพติด
มีปัญหาทางจิตเรื้อรัง
ผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบ
บริการผู้ป่วยเฉพาะบางเวลา
หมายถึง
ให้บริการผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นแต่ไม่สามารถกลับบ้านหรือกลับสังคมได้อย่างเต็มตัว
การบริการ
บริการโรงพยาบาลกลางวัน
หมายถึง
ผู้ป่วยจะมาโรงพยาบาลในกลางวันและกลับไปอยู่บ้านในช่วงกลางคืน
การรักษา
ครอบครัวบำบัด
ชุมชนบำบัด ฝึกงานอาชีพ
การบำบัดรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
กลุ่มกิจจกรรมบำบัด
บริการโรงพยาบาลกลางคืน
หมายถึง
การให้บริการผู้ป่วยเฉพาะกลางคืนส่วนกลางวันไปทำงานหรือทำกิจกรรมได้ตามปกติ
การรักษา
ส่งเสริมให้ใช้ชีวิตแบบไม่พึ่งผู้อื่นมากเกินไป
ส่งเสริมให้เห็นคุณค่าในตนเอง
บริการให้คำปรึกษาและการศึกษา
การให้คำปรึกษา แนะแนว
ฝึกอบรม เผยแพร่ความรู้
นำไปประขุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพจิต
บริการอื่น ๆ
บำบัดรักษาโรคสุราเรื้อรังและสารเสพติด
ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่
เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจและวิธีการปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิต
ติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการกลับบ้าน
ส่งต่อเครือข่ายในชุมชน
ศูนย์บริการสาธารณสุข
โรงพยาบาลใกล้บ้าน
รพ.สต
ศึกษาค้นคว้าวิจัยและการประเมินผล
เพื่อหาแนวทางป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิต
เพื่อการจัดบริการสุขภาพที่เหมาะสม
ตรวจคัดกรอง
ให้การรักษาโดยเร็วเพื่อป้องกันการป่วยเรื้อรัง
ส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาที่เหมาะสม
การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน
ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจากรงพยาบาลสู่บ้านและชุมชน
พึ่งพาตนเองได้
ดูแลตนเองเมื่อเผชิญกับปัญหาได้
ปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันได้
สุขภาพจิตในผู้สูงอายุ
ตรวจวินิฉัย
บำบัด
ฟื้นฟู
ผู้สูงอายุที่ปกติ
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตและพยาธิสภาพของสมอง
สุขภาพจิตเด็ก
บำบัดรักษา
ตรวจวินิจฉัย
ฟื้นฟู
อารมณ์
จิตใจ
พฤติกรรม
ความคิด
สติปัญญาบกพร่อง
ลักษณะและขอบเขตงาน 4 มิติ
1) การส่งเสริมสุขภาพจิต (Promotion of Mental Health)
เป็นการป้องกันปัญหา สุขภาพจิตขั้นต้น (Primary prevention)
โดยมีหลักการ
สุขภาพจิตดีมีพื้นฐานจากการกำเนิดที่ดี
มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
ได้รับความรักความอบอุ่นจากมารดา บิดา หรือผู้เลี้ยงดู
มีความไว้วางผู้อื่น มีการแสดงออกที่เหมาะสม เชื่อมั่นในตนเอง
มีความมั่นคงทางจิตใจ ยอมรับตนเอง
การปฏิบัติการพยาบาล คือ
การให้ความรู้ประชาชนในเรื่องสุขภาพจิต
เริ่มตั้งแต่การให้ความรู้และคำแนะนำก่อนสมรสในการมีคู่ครองที่เหมาะสม
โรคทางพันธุกรรม
การให้กำเนิดทารกที่บิดามารดามีความพร้อมการเลี้ยงดูทารก เด็ก และวัยรุ่นให้เจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจ
พัฒนาการของบุคคลทุกวัย
ความต้องการและการตอบสนองความต้องการของบุคคล
2) การป้องกันปัญหาสุขภาพจิตหรือรักษาภาวะทางสุขภาพจิตให้ดี (Prevention or Maintenance of Mental Health)
ปัญหาสุขภาพจิตเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัย
ชีวิตของมนุษย์มีทั้งการเจริญเติบโตการพัฒนาการตามวัย (Growth and Development)
การ เปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และความรับผิดชอบตามหน้าที่ของบุคคลในสังคม
เหตุปัจจัยที่ทำให้ บุคคลเกิดความขัดแย้ง ความคับข้องใจ ความเครียด และวิตกกังวลได้
การปฏิบัติการพยาบาลต้องกระทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บุคคลได้รักษาระดับของสุขภาพจิตให้ดีอยู่เสมอ พยาบาลจะเป็นผู้ให้ ความรู้ ช่วยเหลือ
ช่วยเหลือแนะนำในเรื่องการปรับตัว (Adaptation and Adjustment)
3) การบำบัดรักษา (Therapeutic or Restoration of Mental Health)
บุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตหากไม่ขจัดให้หมดไปอาจทำให้เจ็บป่วยเป็นโรคจิต โรคประสาทได้
การปฏิบัติการพยาบาล
ต้องให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตหรือผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตให้ได้รับการรักษาทันท่วงที
เพื่อไม่ให้สุขภาพจิตเสื่อมหรือลุกลาม
ซึ่งจัดเป็นการป้องกันขั้นที่ 2 (Secondary prevention)
กิจกรรมทางการพยาบาล
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
การให้ยา
การดูแล ทางด้านร่างกาย
4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation of Mental Health)
ผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตใจ
ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จะขาดความสนใจตนเองและสิ่งแวดล้อม
การตัดสินใจไม่ดี
ขาดความสามารถในการเข้าสังคม
รวมทั้งขาดการดูแลช่วยเหลือตนเอง
การปฏิบัติการพยาบาล
ฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
ซึ่งจัดเป็นการป้องกันขั้นที่ 3 (Tertiary prevention)
โดยจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการรักษา
การบำบัดทางความคิด
การจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัด
ให้การรักษาบำบัดอื่นๆ ร่วมกับบุคลากรในทีมจิตเวช
รายชื่อสมาชิก
น.ส.ณัฐการณ์ ไชยฤทธิ์ เลขที่ 25 62111301026
น.ส.พลอย บุญก่อสร้าง เลขที่ 54 62111301056
น.ส.ชุตินันท์ วงค์ตาผา เลขที่ 19 62111301020
น.ส.วิลันดา เจริญธรรม เลขที่ 79 62111301082
น.ส.จันทร์จิรา อนุกูล เลขที่ 10 62111301011
น.ส.วารุณี ศรีเจริญ เลขที่ 77 62111301080