Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบผิวหนัง - Coggle Diagram
บทที่ 6 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบผิวหนัง
โรคสะเก็ดเงิน
(Psoriasis)
ปัจจัยร่วมกัน
พันธุกรรม
ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
ปัจจัยกระตุ้นภายนอก
ชนิดของสะเก็ดเงิน
1.ชนิดผื่นหนา (Plaque psoriasis)
ชนิดผื่นขนาดเล็ก (Guttate psoriasis)
ชนิดตุ่มหนอง (Pustular psoriasis)
ชนิดผื่นแดงลอกทั่วตัว (Erythrodermic
psoriasis)
5.สะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ (Inverse psoriasis)
6.สะเก็ดเงินบริเวณมือเท้า (Palmoplantar psoriasis)
7.เล็บสะเก็ดเงิน (Psoriatic nails)
ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (Psoriatic arthritis)
การรักษา
ยาทาภายนอก
1.ยาทาคอติโคสเตียรอยด์ (topical corticosteroids)
น้ำมันดิน (tar)
แอนทราลิน (anthralin, dithranol)
อนุพันธ์วิตามิน D (calipotriol)
ยาทากลุ่ม calcineurin inhibitor
(tacrolimus,pimecrolimus)
ยารับประทาน
เมทโทเทรกเสท (methotrexate)
อาซิเทรติน (acitretin)
ไซโคลสปอริน (cyclosporin)
การฉายแสงอาทิตย์เทียม (Phototherapy)เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีในการรักษาสะเก็ดเงิน โดยจะใช้รังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งปัจจุบันที่ใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงินมีอยู่ด้วยกัน2 ชนิด คือ รังสีอัลตราไวโอเลต A และรังสีอัลตราไวโอเลต B
ยาฉีดกลุ่มชีวภาพ (Biological agents)
Erythema Multiforme
อาการ
ไข้
รู้สึกไม่สบายตัว
คันตามผิวหนัง
ปวดข้อ
มีผื่นขึ้น
การรักษา
ค้นหาสาเหตุและรักษาต้นเหตุ เช่นการหยุดยาที่แพ้ หรือรักษาโรคติดเชื้อ
บริเวณที่เป็นตุ่มน้ำให้ทำความสะอาดและทำแผล
รับประทานยาแก้แพ้เช่น chlorpheniramine 4 mgวันละ 4 ครั้ง
ในรายที่เป็นรุนแรงแพทย์จะรับตัวไว้รักษา และให้ยา steroid
สาเหตุ
ร้อยละ 50 เกิดจากแพ้ยา เช่น sulfonamides,barbiturates,NSAIDS,phenyltoin,allopurinol,
penicillin
ส่วนที่เหลือเกิดจากติดเชื้อ เช่น เริม mycoplasma วัคซีน เช่น BCG โปลิโอ เชื้อราบางชนิด
โรคผิวหนังที่เกิดจากแพ้ยา หลังจากได้รับยาที่แพ้จะเกิดผื่น ลักษณะที่สำคัญคือจะมีผื่นได้หลายรูปแบบในคนคนเดียวกัน เริ่มต้นอาจจะเป็นผื่นแดงแบนราบ (erythematous macules ) หรือตุ่มแข็ง ตุ่มน้ำใส และตุ่มพอง (vesicle)
เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (cellulitis)
คือ ภาวะติดเชื้อบริเวณผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ส่งผลให้มีอาการบวมแดง ปวด หรือร้อนบริเวณที่มีการติดเชื้อ บางรายอาจมีไข้หรืออาการอื่น ๆ ร่วมด้วย
อาการ
มีไข้
มีอาการปวดภายใน 1-2 วันแรกที่เริ่มเกิดอาการ และเจ็บเมื่อถูกกดหรือสัมผัสโดนบริเวณนั้น
รู้สึกอุ่นหรือร้อนบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ
เกิดแผล หรือมีผื่นขึ้นบริเวณที่เกิดอาการ และอาจขยายตัวลุกลามไปอย่างรวดเร็ว
เกิดรอยบุ๋มบริเวณผิวหนัง
ปวดกล้ามเนื้อ
การรักษา Cellulitis
แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานตามความรุนแรงของอาการ แรกเริ่มอาจให้รับประทานยาประมาณ 7-14 วัน
การป้องกัน Cellulitis
ไม่แกะหรือเกาผิวหนัง เพราะบางครั้งการเกาสามารถทำให้เกิดแผลได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคผิวหนังมักจะมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อมากขึ้น
หากมีผิวแห้งควรใช้ครีมทาบำรุงผิว เพื่อให้ผิวมีความชุ่มชื้นและไม่เสี่ยงต่อการแห้งแตกจนทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้
สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการบาดเจ็บและการเกิดแผลทุกครั้งที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทำงานที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์แหลมคม เล่นกีฬาที่มีการปะทะ เป็นต้น
ผู้ที่มีบาดแผลควรทำความสะอาดแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกวัน โดยใช้ผ้าพันแผลหรือพลาสเตอร์สะอาดปิดแผลไว้ เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย ควรระมัดระวังไม่ให้เกิดบาดแผลตามผิวหนัง
Stevens-Johnson Syndrome
อาการ
รู้สึกเจ็บปวดตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ
เกิดผื่นแดงที่ตรงกลางมีสีเข้มและรอบข้างมีสีจาง จากนั้นผื่นจะค่อย ๆ ลุกลามและเพิ่มจำนวนขึ้น
เกิดแผลพุพองตามผิวหนังและเยื่อเมือกบุผิวบริเวณริมฝีปาก ช่องปาก จมูก ตา และอวัยวะเพศ
ผิวหนังชั้นนอกหลุดลอก เผยให้เห็นผิวด้านในที่มีลักษณะคล้ายผิวไหม้
การใช้ยา
ยาต้านการติดเชื้อ เช่น เพนิซิลลิน โคไตรม็อกซาโซล
ยาระงับอาการปวด เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน
ยากันชักหรือยารักษาอาการป่วยทางจิต เช่น ฟีโนบาร์บิทัล เฟนิโทอิน เซอร์ทราลีน คาร์บามาซีปีน และอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากอยู่ในระหว่างเข้ารับการรักษาโรคด้วยวิธีฉายรังสี
ยารักษาโรคเกาต์ เช่น อัลโลพูรินอล เป็นต้น
การรักษา
ประคบเย็นเพื่อช่วยให้ผิวหนังที่ตายแล้วหลุดออกง่ายขึ้น จากนั้นจึงใช้ผ้าพันแผลปลอดเชื้อพันรอบผิวหนังบริเวณที่มีอาการ
ให้น้ำและสารอาหารผ่านทางจมูก ช่องท้อง หรือหลอดเลือด เนื่องจากการสูญเสียผิวหนังส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและสารอาหารมากกว่าปกติ
ใช้ผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้นหรือมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ทาผิวเป็นประจำ
ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาชาหรือยาฆ่าเชื้อ เพื่อช่วยให้กลืนอาหารได้ง่ายขึ้น
ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติบริเวณดวงตา แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาหยอดตาหรือยาป้ายตา
ใช้ยาแก้ปวดชนิดรุนแรงเพื่อบรรเทาอาการปวดตามร่างกาย
ให้ยาปฏิชีวนะ หากผู้ป่วยมีอาการเข้าข่ายภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
ให้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อควบคุมอาการอักเสบของผิวหนัง
ความผิดปกติของผิวหนังและเยื่อเมือกบุผิวชนิดรุนแรงที่พบได้ไม่บ่อย โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อหรือการตอบสนองของร่างกายต่อยาบางชนิด
Fungal infection
อาการ
มีผื่น แผล คัน บวม แดง ถ้าเกิดที่ผิวหนังเช่น โรคกลาก เกลื้อน โรคน้ำกัดเท้า
อาการอักเสบ บวม เป็นก้อน ฝี หนอง เมื่อเกิดในเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆเช่น โรคเชื้อราใน ช่องคลอด ปอดอักเสบจากเชื้อรา สมองอักเสบจากเชื้อรา
การรักษา
การทายา สอดยา กินยา หรือฉีดยา ต้านเชื้อรา ซึ่งจะใช้วิธีการใดขึ้นกับตำแหน่งที่เกิดโรคและความรุนแรงของโรค
การป้องกัน
การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) การรักษาผิวหนังให้แห้งและสะอาดเสมอ การไม่ใช่ของใช้ร่วมกับผู้อื่นเช่น เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้า หวี และการใช้ถุงยางอนามัยชายเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพราะเชื้อราบางชนิดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เช่น โรคเชื้อราในช่องคลอด
Herpes simplex
เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes simplex หรือ HSV ซึ่งเป็นไวรัสต่างชนิดกับงูสวัด และอีสุกอีใส ถึงแม้จะก่อให้เกิดตุ่มน้ำบนผิวหนังได้คล้ายๆกัน
สาเหตุ
Herpes Simplex virus type 1 หรือ เชื้อ HSV ชนิดที่ 1 มักพบการติดเชื้อบริเวณปากหรือรอบๆ ปาก เกิดขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น มีความเครียด พักผ่อนน้อย ร่างกายอยู่ในช่วงพักฟื้นจากการเจ็บป่วยหรือผ่าตัด หรือ แม้แต่ช่วงที่ผู้หญิงมีประจำเดือน ก็สามารถป่วยด้วยโรคนี้ได้ เช่น อาการเริมที่ปาก
Herpes Simplex virus type 2 หรือ เชื้อ HSV ชนิดที่ 2 เป็นการติดเชื้อที่บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ หรือ อวัยวะเพศ ช่องคลอด ปากมดลูก ทหารหนัก อวัยวะเพศชาย ถุงอัณฑะ
อาการ
าการของเริมที่ปาก และเริมที่อวัยวะเพศนั้นค่อนข้างคล้ายกัน โดยจะมีตุ่มน้ำใสบริเวณที่ติดเชื้อ ได้แก่ ปาก อวัยวะเพศ ทวารหนัก บั้นท้าย หรือต้นขา มีอาการเจ็บปวด แสบที่บริเวณแผล
การรักษา
การบรรเทาอาการเจ็บปวด โดยแพทย์อาจสั่งยาบรรเทาอาการปวด ซึ่งแผลจากโรคเริมจะสามารถหายเองได้ภายในเวลา 2-6 สัปดาห์
การควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส โดยปกติแล้วเมื่อมีอาการของโรคเริม แพทย์มักจะสั่งใช้ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) หรือยาวาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส และช่วยลดความรุนแรงของอาการ โดยยาเหล่านี้จะอยู่ในรูปของยาชนิดรับประทาน นอกจากนี้ ยาที่มีส่วนประกอบของอะไซโคลเวียร์ที่อยู่ในรูปแบบครีมสำหรับทา ก็ยังนิยมนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการของเริมในขณะที่เป็นได้ด้วย
Herpes Zoster
อาการ
ปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนัง หลังจากนั้น 2-3 วัน มีผื่นแดงขึ้นตรงบริเวณที่ปวด แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำใส ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย ผื่นมักเรียงกันเป็นกลุ่ม หรือเป็น แถวยาวตามแนวเส้นประสาท และจะแตกออกเป็นแผล ต่อมาจะตกสะเก็ด และหายได้เองใน 2 สัปดาห์ และเมื่อแผลหายแล้ว อาจยังมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทได้
การรักษา
สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรืองูสวัดขึ้นที่บริเวณหน้า หรือมีอาการปวดรุนแรงตั้งแต่แรกที่มีผื่นขึ้น แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสภายใน 2-3 วัน หลังเกิดอาการ เพื่อลดความรุนแรง และช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น รวมทั้งช่วยลดอาการปวดแสบ ปวดร้อนในภายหลังได้
สำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เป็นโรคเอดส์ หรือเป็นงูสวัดชนิดแพร่กระจายทั้งตัว แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ รวมถึงต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดขึ้นที่ตา ต้องรักษาร่วมกับจักษุแพทย์ ซึ่งจะได้รับยาต้านไวรัสชนิดทาน และหยอดตาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตา
การป้องกัน
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสตั้งแต่ก่อนเป็น
ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
หลีกเลี่ยงการสัมผัสผื่น และตุ่มโรคของผู้ป่วยงูสวัด โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสหรือไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
Chickenpox, Varicella
อาการ
ระยะไข้ ประมาณ 1-2 วัน ไม่ว่าจะเป็นไข้สูงหรือต่ำ มีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัวและปวดกล้ามเนื้อ
ระยะผื่นขึ้น จะขึ้นเป็นผื่นแดงเม็ดเล็ก ๆ ต่อมากลายเป็นเม็ดใส และเพิ่มปริมาณมากขึ้นภายใน 3 - 5 วัน พบผื่นบริเวณลำตัวก่อนลามไปคอ ใบหน้า ศีรษะ แขน ขา ทั่วลำตัว เนื้อเยื่อในช่องปาก และลำคอ ตุ่มอาจเป็นหนองเมื่อติดเชื้อแบคทีเรีย
ระยะตกสะเก็ด ภายใน 1 - 3 วัน สะเก็ดแผลจะค่อย ๆ ลอก จางหายไปประมาณ 2 สัปดาห์
วิธีรักษา
ถ้ามีอาการไข้ ให้เช็ดตัวกินยาลดไข้พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาแอสไพริน
ทายาแก้คัน หรือยาบรรเทาอาการคัน
ตัดเล็บให้สั้น เพื่อป้องกันการเกาซึ่งจะทำให้แผลเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ใช้น้ำเกลือ (สำหรับล้างแผล) เช็ดแผลเพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น
ใช้สบู่ยาฟอกตัวอาบน้ำ เพื่อป้องกันการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง
ผู้ใหญ่ หรือเด็กอายุเกิน 12 ปีขึ้นไป และเด็กทารก จะใช้ยาต้านไวรัสในการรักษาร่วมด้วย เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้สามารถเกิดโรคแทรกซ้อนได้บ่อย
ถ้าเกิดอาการเหมือนแน่นหน้าอก หายใจเร็ว ไข้ไม่ลด ปวดศรีษะ ตุ่มเป็นหนอง จะต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลเพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้เช่น ภาวะปอดอักเสบ สมองอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด
การป้องกัน
วัคซีนสามารถป้องกันได้ผลกว่า 90 - 95% ฉีดแล้วอาจมีโอกาสเป็นได้อีก ประมาณ 2 - 10% แต่อาการไม่รุนแรง เริ่มฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 1 ปี ขึ้นไป และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4 - 6 ปี จะป้องกันได้เพิ่มขึ้นเป็น 99% แต่ผู้ใหญ่ หรือเด็กโต>13 ปี แนะนำให้ฉีด 2 เข็มห่างกัน 4-8 สัปดาห์ สามารถป้องกันได้ยาวนาน 20 ปี คนที่เคยเป็นอีสุกอีใสแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน
คอีสุกอีใสเป็นโรคติดต่อผ่านทางลมหายใจ ไอ และจาม การสัมผัสกับผู้ป่วยหรือใช้ของร่วมกัน มักจะระบาดในปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน ช่วงเดือน มกราคม-เมษายน พบมากในเด็กวัย 5-9 ปี ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella Virus) มีระยะฟักตัว 10-21 วัน คนไข้จะสามารถแพร่เชื้อโรคได้ตั้งแต่ก่อนที่จะมีอาการ 2 วัน จนถึงมีตุ่มน้ำแตกกลายเป็นสะเก็ด