Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวทางการรักษาเบื้องต้นในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิด Mild…
แนวทางการรักษาเบื้องต้นในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิด Mild preeclampsia
การดูแลทั่วไป
รับสตรีตั้งครรภ์ไว้ในโรงพยาบาล
จัดให้นอนพักในท่าตะแคงซ้าย และจัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ
งดอาหารเค็ม
วัดความดันโลหิตและชีพจรทุก 4 ชั่วโมง
-ชั่งน้ำหนักตัว วันละครั้ง
-บันทึกปริมาณน้ำดื่มและปัสสาวะตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน
หรือเก็บปัสสาวะตลอด 24 ชั่วโมง
-ตรวจโปรตีนในปัสสาวะวิธี Albustix วันละครั้ง หรือเก็บปัสสาวะตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อหาปริมาณโปรตีน
-ตรวจ CBC, Urine exam, Creatinine ในเลือด
Deep tendon refex: DTRs
0 คือ ไม่มีการตอบสนอง (no reflex)
+1 คือ ตอบสนองช้า (hyporeflex)
+2 คือ ตอบสนองปกติ (normal DTR)
+3 คือ ตอบสนองเร็วกว่าปกติ (brisk DTR)
+4 คือ ตอบสนองเร็วมาก จนเกร็งกระตุก (very brisk DTR with)
-ตรวจลักษณะอาการบวมกดบุ๋ม (pitting edema) ซึ่งแบ่งได้ 4 เกรด ดังรูป ดังนี้
1+ จะมีลักษณะกดบุ๋มลึก 2 มิลลิมตร เมื่อปล่อยอาการบุ๋มจะหายไปอย่างรวดเร็ว
2+ จะมีลักษณะกดบุ๋มลึก 4 มิลลิมตร อาการมจะหายไปภายใน 10-15 วินาที
3+ จะมีลักษณะกดบุ๋มลึ 6 มิลลิมตร อาการมจะหายไปมากกว่า 1 นาที
4+ จะมีลักษณะกดบุ๋มลึก 8 มิลลิเมตร อาการบุ๋มจะหายไปใน 2-3 นาที
การตรวจทดสอบสุขภาพของทารกในครรภ์
ฟังเสียงอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ อย่างน้อยเช้า-เย็น
จดบันทึกการดิ้นของทารกในครรภ์
ตรวจหาระดับเอสตริออล (Estriol) ในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง หรือหาระดับ Serum uncongugated estriol ในเลือด
ตรวจประเมินสภาพทารกในครรภ์ นอนสตรสเทส (Non-stress test) อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้
การให้ยา
ให้ยากล่อมประสาท อาจเลือกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ฟีโนบาร์บิทอล (Phenobarbital) 30-60 มิลลิกรัมรับประทานวันละ 3-4 ครั้งหรือไดอะซีแปม (diazepam) 2-5 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง
หลีกเลี่ยงการให้ยขับปัสสาวะ (Diuretics) และยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ได้แก่ แอมพิชิลิน (Ampiciin) เนื่องจากอาจทำให้ระดับของเอสตริออล ในปัสสาวะลดต่ำลงได้
การทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง
อายุครรภ์ครบ 38 สัปดาห์ขึ้นไป
ภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น Impending eclampsia หรือ Eclampsia
สภาพสุขภาพทารกในครภ์เลวลง
ระดับเอสตริออลลดลงจากระดับพื้นฐาน ร้อยละ 40 หรือมากกว่าหรือผลการตรวจสอบ Non-stress test ได้ผลเป็น Nonreactive
ตรวจพบ Positive oxytocin challenge test
การดูแลในระหว่างคลอด
จัดให้นอนในท่าตะแคงซ้าย
ตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ รีเฟล็กซ์ทุก 30 นาที จากนั้นให้บันทึกทุก 1 ชั่วโมง วัดปริมาณสารน้ำที่เข้าและออกจากร่างกายทุก 4 ชั่วโมง
ให้ยาแก้ปวดในระยะแรกของการคลอด โดยให้มอร์ฟิน (Morphine) 10 มิลลิกรัมหรือเพทริดี (Pethidine) 75-100มิลลิกรัม รวมกับสปารีน (Sparine) หรือฟีเนอร์เกน (Phenerga) 25-50 มิลลิกรัมฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก 4-6 ชั่วโมงหรือใช้ Continuous epidural block
ให้แมกนีเซียม ซัลเฟท (Magnesium sulfate) ถ้าโรคมีความรุนแรงมากขึ้นเป็น Severe preeclampsia
ช่วยคลอดโดยใช้คีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศ ตามความเหมาะสม
หลีกเลี่ยงการใช้สารจำพวกเออร์กอท (Ergot) โดยให้ออกซิโตชิน (Oxytocin) ในขนาด 10-20 ยูนิตในน้ำเกลือ 1000 มิลลิลิตร หยดเข้าเส้นเลือดดำแทนภายหลังจากทารกคลอดแล้ว
การดูแลหลังคลอด
ระยะหลังคลอดควรเฝ้าดูอาการ ความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ รีเฟล็กซ์ วัดปริมาณสารน้ำที่เข้าและออกจากร่างกาย โดยเฉพาะในระยะ 24-48 ชั่วโมงหลังคลอด
ในกรณีที่หลังผ่าตัดทำคลอดทางหน้าท้อง ควรฉีดยาแก้ปวดมอร์ฟีน (Morphine) 10 มิลลิลิกรัมหรือเพทธิดีน (Pethidine) 75-100 มิลลิกรัม เข้ากล้ามเนื้อระงับอาการปวดทุก 4-6 ชั่วโมง