Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประวัติการศึกษาและหลักสูตรไทย - Coggle Diagram
ประวัติการศึกษาและหลักสูตรไทย
การศึกษาของไทยสมัยโบราณ
(พ.ศ. 1800-2411)
สมัยสุโขทัย (พ่อขุนรามคำแหง พ.ศ.1800-1981)
สถานที่สอน – วัด สำนักราชบัณฑิต
ผู้สอน – พระ,พราหมณ์ ,กษัตริย์
ผู้เรียน – ประชาชนทั่วไป บุตรหลานขุนนาง ข้าราชการ
หลักฐานทางการศึกษา – ศิลาจารึก ไตรภูมิพระร่ว
ง
การจัดการเรียนการสอน – ไม่มีการจัดห้องเรียน ใครใคร่เรียนเรียนใครใคร่สอนสอน ไม่มีสื่อการสอน ไม่มีแบบเรียน สอนแบบสะกดคำอ่าน ท่องจำเล่า
สมัยกรุงศรีอยุธยา
( ยุคทองของวรรณคดี พระบรมไตรโลกนาถ-พระนารายณ์ พ.ศ.1893 – 2310)
สถานที่สอน – วัด ราชวัง สำนักราชบัณฑิต โรงเรียนสอนศาสนามิชันนารี
ผู้สอน – พระ พวกมิชชันนารี
ผู้เรียน – ประชาชนทั่วไป บุตรหลานขุนนาง ข้าราชการ
การจัดการเรียนการสอน – ตามแต่สมัครใจเรียน สื่อการสอนหนังสือจินดามณี สอนแบบอ่านเขียน ท่องจำ การสอนเชิงปฏิบัติ เช่น การหล่อปืนใหญ่ การใช้ปืนไฟ การสร้างป้อมค่าย การทำขนมฝรั่ง
วิชาที่สอน – ธรรมะ การแต่งโคลงกลอน คริสต์ศาสนา การเรือน ภาษาไทย บาลี เขมร ฝรั่งเศส
หลักฐานทางการศึกษา – พระไตรปิฎก มหาชาติคำหลวง กาสรวลศรีปราชญ์อนิรุทธ์คำฉันท์ เป็นต้น
สมัยกรุงธนบุรี(พระเจ้าตากสิน พ.ศ. 2310-2325)
สถานที่สอน – วัด ราชสำนัก
• ผู้สอน – พระ ศิลปินสาขาต่างๆ เท่าที่หลงเหลือ
• ผู้เรียน – ประชาชนทั่วไป บุตรหลานขุนนาง ข้าราชการ
• การจัดการเรียนการสอน – ไม่เน้นด้านการรู้หนังสือ แต่เน้นด้านศิลปะการแสดง
• วิชาที่สอน – ธรรมะ การแต่งโคลงกลอน นาฏศิลป์ การพลศึกษา การฝึกอาวุธ
• หลักฐานทางการศึกษา – ตำราเท่าที่เหลือ รามเกียรติ์บางตอน อิเหนาคำฉันท์
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ( รัชกาลที่ 1-4 พ.ศ. 2325-2411)
สถานที่สอน – วัด ราชสำนัก สำนักราชบัณฑิต โรงเรียนชาย
ผู้สอน – พระ ครูต่างประเทศ
ผู้เรียน – ศิษย์วัด ประชาชนทั่วไป บุตรหลานขุนนาง ข้าราชการ
การจัดการเรียนการสอน – เรียนตามความสมัครใจ ยังไม่มีการแบ่งชั้นเรียนแน่นอนนอกจากแบ่งเป็นชั้น 1 เรียน ก ข นโม ประถม ก กา ชั้น 2 เรียน อ่านแบบเรียนจินดามณี ชั้น 3 เรียนเลขเบื้องต้น เริ่มใช้ กระดานชนวน ดินสอหินดินสอพอง ไม้บรรทัด ที่รองหนังสือ
วิชาที่สอน – การอ่านหนังสือ เลข การกวี
หลักฐานทางการศึกษา – ศิลาจารึกสรรพวิทยาการต่างที่วัดพระเชตุพน ให้บุคคลทั่วไปได้เรียนด้วยตนเอง
วรรณคดีที่สำคัญ - สามก๊ก ราชาธิราช สังข์ทอง พระอภัยมณี อิเหนา พระมะเหลเถไถ ฯลฯ
สรุปการศึกษาของไทยสมัยโบราณ
1. ยึดหลักปรัชญาจิตนิยม ที่ เน้นพัฒนาการด้านจิตใจ เน้นการเข้าใจชีวิตส่งเสริมคุณธรรมศีลธรรม ศิลปะ ผลิตคนให้เป็นนักอักษรศาสตร์ และศิลปศาสตร์ เป็นผู้รอบรู้
2. สภาวะประเทศ เจริญรุ่งเรืองสลับกับช่วงขยายอาณานิคมมีการ ทำศึกสงคราม
3. วัดและรัฐเป็นศูนย์กลางประชาคม เป็นสถานที่สอน และประกอบพิธีทางศาสนา
4. ผู้นำของประเทศเน้นการทำนุบำรุงด้านการศาสนา และวรรณคดี มากกว่าด้านการศึกษา
5. การจัดการเรียนการสอน เป็นไปด้วยความสมัครใจไม่มีการบังคับ ไม่มีค่าจ้างสำหรับผู้สอน ไม่มีการแบ่งชั้นเรียนที่ชัดเจน สอนแบบอ่าน ท่องจำ เล่าปากต่อปากมีเขียนบ้าง สื่อการสอนมี แบบเรียนจินดามณีเป็นหลัก วิชาที่สอนเน้นธรรมะศาสตร์ด้านอาวุธ การแต่งโคลงกลอน และการอ่านหนังสือ วิชาการปฏิบัติ เช่น วิชาช่างต่าง ๆ การฝึกอาวุธ การหล่อปืนใหญ่ การสร้างป้อมปราการ เป็นต้น
6. การศึกษาของสตรีไม่ได้รับการสนับสนุน นอกจากเรียนการเรือนที่บ้าน หรือในราชสำนัก
การศึกษาไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา
( พ.ศ. 2412-2474)
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนปลาย ( รัชกาลที่ 5-7 )
สมัยรัชกาลที่ 5 (พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว )
สถานที่สอน – จัดตั้งโรงเรียนชาย โรงเรียนสตรี โรงเรียนราษฎร์ โรงเรียนสอนภาษาโรงเรียนแพทย์ โรงเรียนปริยัติธรรม
• แผนการศึกษา – ประกาศใช้โครงการศึกษาตามแนวคิดตะวันตก แบ่งระดับการศึกษาเป็ นประถม มัธยม สายสามัญ สายวิสามัญ มีหลักสูตรการสอนตามระดับ มีการตรวจนิเทศโรงเรียน
• หน่วยงานด้านการศึกษา – จัดตั้งกรมศึกษาธิการ กรมฝึกหัดครู
• ผู้สอน – ครูไทย ครูชาวต่างประเทศ
• การจัดการเรียนการสอน – มีการแบ่งระดับชั้นเรียน ใช้สื่อแบบเรียนภาษาไทย 6 เล่มนิเทศโรงเรียน
• วิชาที่สอน – ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ การคัดลายมือ การแต่งจดหมาย เลข บัญชี และวิชาช่างต่าง ๆ
สมัยรัชกาลที่ 6 (พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ปรับปรุงพัฒนาแผนการศึกษา – ประกาศใช้โครงการศึกษาเน้นสายวิชาชีพ พ.ร.บ.ประถมศึกษา ภาคบังคับ 1 กย.2464 พ.ร.บ. โรงเรียนราษฎร์ 2461
หน่วยงานด้านการศึกษาระดับสูง – จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยจัดตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การจัดการเรียนการสอนและวิชาที่สอน – เช่นเดียวกับสมัยรัชกาลที่ 5 แต่เพิ่มวิชาการช่างมากขึ้น
สมัยรัชกาลที่ 7 ( พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว )
ปรับปรุงพัฒนาแผนการศึกษา – แบ่งหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายออกเป็นแผนกกลาง แผนกภาษา และแผนกวิทยาศาสตร์
การจัดการเรียนการสอน – ไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร ต้องยุบโรงเรียนจำนวนมากเพื่อตัดปัญหาด้านงบประมาณ
สรุปการศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา
1. เป็นการวางรากฐานของการจัดการศึกษาที่ครบถ้วน เริ่มตั้งแต่การสร้างโรงเรียน การประกาศใช้โครงการศึกษาแบ่งเป็นระดับประถม มัธยม และอาชีวศึกษา การสร้างหลักสูตรและแบบเรียน การประเมินผล การนิเทศโรงเรียน
2. มีการบังคับการรู้หนังสือ โดยประกาศใช้ พ.ร.บ.ประถมศึกษาภาคบังคับปี 2464 เพื่อให้เด็กอายุถึงเกณฑ์ 7 ปี บริบูรณ์ต้องเข้าโรงเรียน ถือเป็นการพัฒนาบุคคลและสร้างโอกาสให้คนได้เรียนรู้
3. สร้างความเท่าเทียมกันในการศึกษาของหญิงและชาย โดยการจัดตั้งโรงเรียนสตรีขึ้น
4. เป็นจุดเริ่มต้นของการขยายการศึกษาสู่มวลชนเพื่อความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษา
5. ด้านการจัดการเรียนการสอนมีหลากหลายวิชามากขึ้น แบ่งเป็นระดับชั้นต่าง เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพของตนเอง แม้ว่าบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ยังเป็นแบบครูเป็นศูนย์ ใช้วิธีการบรรยายให้จดตามคำบอกเน้นเนื้อหาวิชามากกว่าการปฏิบัติ
6. ขยายโอกาสในระดับอุดมศึกษา โดยการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคลากรด้านการศึกษา
7. มีการปลกูฝังค่านิยมในการประกอบอาชีพอิสระโดยการสร้างสถาบันการอาชีวศึกษาซึ่งถือเป็นก้าวแห่งการพัฒนาในการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของอาชีพการรับราชการ แม้ว่าจะไม่ได้ผลเท่าที่ควรก็ตาม
8. การประกาศใช้ พ.ร.บ.โรงเรียนราษฎร์ซึ่งส่วนมากเป็นโรงเรียนคริสต์เพื่อควบคุมโรงเรียนเอกชนเหล่านี้มิให้อบรมแนวคิดที่รัฐไม่ต้องการให้เกิดแก่เยาวชน แต่สอนให้มีการอ่าน เขียน พูด ภาษาไทยอย่างถูกทั้งปลูกฝังค่านิยมความรักในความเป็นซึ่งเป็นผลดีอย่างมหาศาลต่อประเทศไทย เพราะไม่เกิดปัญหาด้านการเกื้อกูล
การศึกษาไทยสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง
( พ.ศ. 2475-2502 )
การจัดระบบการศึกษา
ประกาศแผนการศึกษาชาติ ประถมเป็น 6 ชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย สายอาชีวศึกษาประกาศใช้พ.ร.บ. ประถมศึกษา พ.ศ. 2478เพื่อขยายโอกาส จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นหลายแห่ง จัดตั้งศูนย์อบรมการศึกษาผู้ใหญ่ กระทรวงศึกษาธิการร่วมมือกับองค์การยูเนสโกเพื่อปรับปรุงการศึกษาไทย มีโครงการฝึกหัดครูชนบทและจัดตั้งกรมสามัญศึกษา
การศึกษาของไทยสมัยพัฒนาการศึกษา
พ.ศ.2503-ปัจจบุน
การพัฒนาด้านการศึกษา
1. ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 เน้นจริยศึกษา พลศึกษาพุทธิศึกษา และหัตถศึกษา
2. ประกาศใช้หลักสูตรประถมศึกษา และ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น มีการประกาศใช้แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 1 – 8
3. ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เพื่อเตรียมความพร้อมส าหรับเด็กอย่างน้อย 1ปี ก่อนเข้าเรียนระดับประถมศึกษา
4. ส่งเสริมการศึกษาของบุคคลากรด้านศาสนา
5. เน้นการจัดเครือข่ายการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศ และสื่อมวลชนท ุกประเภท ในการให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน
6. ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จนถึงปัจจบุ นัซึ่งเน้นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนในท ุกด้านท ุกระดับช่วงชั้นให้มีค ุณภาพ มีความรู้ และด ารงตนอย่างมีความส ุขในสังคม